ASTVผู้จัดการรายวัน - ส.โรงแรมไทย รุดหารือกระทรวงพาณิชย์ เตรียมกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข การลงทุน ในธุรกิจโรงแรม หวังใช้เป็นกำแพงย่อยๆหลังเปิดเออีซี เพื่อช่วยเป็นเกราะป้องกันให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอี ชี้ หลายประเทศในอาเซียนก็เริ่มวางเงื่อนไขการลงทุนในธุรกิจโรงแรมของนักลงทุนข้ามชาติแล้ว ส่วนไทยยังไม่ได้เริ่มขยับ
นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ด้านกฏหมาย สมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า ขณะนี้ทางสมาคมฯอยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงพาณิชย์ ถึงการวางเงื่อนไขการลงทุนของผู้ประกอบการโรงแรมข้ามชาติ ที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558
โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ธุรกิจโรงแรมกลุ่มผู้ลงทุนรายกลางและรายย่อยของประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอี ยังสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ แม้จะเปิดเออีซีแล้วก็ตาม เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีเงื่อนไขใดๆนอกจากเม็ดเงินที่จะลงทุนเท่านั้น ตรงนี้อาจทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของประเทศไทย อาจเสียเปรียบทางการแข่งขันได้
“ภายหลังเปิดเออีซี ทุกอย่างต้องเสรีตามเงื่อนไขของเออีซี แต่เราก็สามารถสร้างเกณฑ์มาตรฐานขึ้นมาเป็นกำแพงเล็กๆ ไว้ป้องกันผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีอีกทีได้เช่นกัน ระหว่างนั้นก็ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้แข็งแกร่ง พร้อมแข่งขันได้ ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ อย่าง เครือโรงแรมดุสิตธานี กลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น และแม้แต่กลุ่มไมเนอร์กรุ๊ป เราไม่ค่อยเป็นห่วง เพราะ ผู้ประกอบการายใหญ่กลุ่มนี้ นอกจากแข็งแรงพอตั้งรับ ยังทำธุรกิจเชิงรุกได้ดีอีกด้วย”
เบื้องต้น ในส่วนของสมาคมโรงแรม หาก ร่างกฏกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียนธุรกิจโรงแรม ที่ผ่อนปรนเงื่อนไขให้โรงแรมที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้ในอดีต เข้ามาจดทะเบียน ได้ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ทางสมาคมก็จะรีบจัดโครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเน้นที่ความรู้ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการ ตลอดจนโครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่บุคลากร
โดยกลุ่มที่สมาคมเป็นห่วงมากที่สุดคือผู้ประกอบการรายเล็กทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ส่วน จังหวัดที่เป็นเกทเวย์ติดต่อชายแดน ไม่ห่วงมากนัก เพราะกลุ่มนี้จะชินกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอยู่แล้ว
สำหรับความคืบหน้า การออกกฏกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียนธุรกิจโรงแรม ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เซ็นอนุมัติเรียบร้อยแล้ว วิธีการจากนี้ คือนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมอาคาร เพื่อทราบ จากนั้น นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกฏหมายการท่องเที่ยว กระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาก่อนส่งตอให้กฤษฎีกาตีความ ก่อนออกประกาศใช้เป็นกฏกระทรวง
ออกตามความในพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร รวมกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมา มั่นใจว่าจะประกาศใช้ได้ในเดือนตุลาคมศกนี้ เชื่อว่าตจะมีผู้ประกบอการโรงแรม ทอยยอเข้ามาจดทะเบียนจำนวนมากในที่นี้ 80% จะเป็นผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอี แน่นอน
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสมาคมโรงแรมไทย ว่า ควรมีการปรับโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมสมาชิก จากปัจจุบัน จะเก็บค่าธรรมเนียมรายปีเท่ากันทุกโรงแรม คือ 3 พันบาท และค่าธรรมเนียมรายห้อง ซึ่งโรงแรมที่ห้องเยอะก็จ่ายมาก ดังนั้นจึงเห็นสมควรลดค่าธรรมเนียมรายปี โดยแบ่งเป็นเหรดราคา ว่าโรงแรมขนาดใหญ่ก็ต้องเสียมากกว่าโรงแรมขนาดเล็กเพื่อความยุติธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน เริ่มจัดทำกฏเกณฑ์เงื่อนไขการลงทุนสำหรับต่างประเทศที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศของตัวเองบ้างแล้ว โดยในส่วนของโรงแรม ซึ่งถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่บรรจุอยู่ในเงื่อนไขการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยที่อินโดนีเซียกำหนดว่า ให้ต่างชาติลงทุนในธุรกิจโรงแรมได้เฉพาะที่เป็นระดับมากกว่า 3 ดาวขึ้นไป ซึ่งเป็นไปได้ที่ต้องการจะกันโรงแรมระดับตั้งแต่ 3 ดาวลงมาให้เป็นอาชีพของคนท้องถิ่น ขณะที่ประเทศพม่า รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขการลงทุนในธุรกิจโรงแรมของต่างชาติไว้ว่า โรงแรมนั้นจะต้องจ้างแรงงานที่เป็นชาวพม่ามากกว่ากึ่งหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนประเทศไทยนอกจากวงเงินลงทุนแล้ว ยังไม่มีการกำหนดเงื่อนไขใดๆ และยังถือเป็นประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างสดใสเป็นที่สนใจของนักลงทุน
นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ด้านกฏหมาย สมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า ขณะนี้ทางสมาคมฯอยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงพาณิชย์ ถึงการวางเงื่อนไขการลงทุนของผู้ประกอบการโรงแรมข้ามชาติ ที่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558
โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ธุรกิจโรงแรมกลุ่มผู้ลงทุนรายกลางและรายย่อยของประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอี ยังสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ แม้จะเปิดเออีซีแล้วก็ตาม เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีเงื่อนไขใดๆนอกจากเม็ดเงินที่จะลงทุนเท่านั้น ตรงนี้อาจทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของประเทศไทย อาจเสียเปรียบทางการแข่งขันได้
“ภายหลังเปิดเออีซี ทุกอย่างต้องเสรีตามเงื่อนไขของเออีซี แต่เราก็สามารถสร้างเกณฑ์มาตรฐานขึ้นมาเป็นกำแพงเล็กๆ ไว้ป้องกันผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีอีกทีได้เช่นกัน ระหว่างนั้นก็ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้แข็งแกร่ง พร้อมแข่งขันได้ ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ อย่าง เครือโรงแรมดุสิตธานี กลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา หรือ ซีพีเอ็น และแม้แต่กลุ่มไมเนอร์กรุ๊ป เราไม่ค่อยเป็นห่วง เพราะ ผู้ประกอบการายใหญ่กลุ่มนี้ นอกจากแข็งแรงพอตั้งรับ ยังทำธุรกิจเชิงรุกได้ดีอีกด้วย”
เบื้องต้น ในส่วนของสมาคมโรงแรม หาก ร่างกฏกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียนธุรกิจโรงแรม ที่ผ่อนปรนเงื่อนไขให้โรงแรมที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้ในอดีต เข้ามาจดทะเบียน ได้ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว ทางสมาคมก็จะรีบจัดโครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเน้นที่ความรู้ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการ ตลอดจนโครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่บุคลากร
โดยกลุ่มที่สมาคมเป็นห่วงมากที่สุดคือผู้ประกอบการรายเล็กทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ส่วน จังหวัดที่เป็นเกทเวย์ติดต่อชายแดน ไม่ห่วงมากนัก เพราะกลุ่มนี้จะชินกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอยู่แล้ว
สำหรับความคืบหน้า การออกกฏกระทรวง ว่าด้วยการจดทะเบียนธุรกิจโรงแรม ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เซ็นอนุมัติเรียบร้อยแล้ว วิธีการจากนี้ คือนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมอาคาร เพื่อทราบ จากนั้น นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกฏหมายการท่องเที่ยว กระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาก่อนส่งตอให้กฤษฎีกาตีความ ก่อนออกประกาศใช้เป็นกฏกระทรวง
ออกตามความในพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร รวมกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมา มั่นใจว่าจะประกาศใช้ได้ในเดือนตุลาคมศกนี้ เชื่อว่าตจะมีผู้ประกบอการโรงแรม ทอยยอเข้ามาจดทะเบียนจำนวนมากในที่นี้ 80% จะเป็นผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอี แน่นอน
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสมาคมโรงแรมไทย ว่า ควรมีการปรับโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมสมาชิก จากปัจจุบัน จะเก็บค่าธรรมเนียมรายปีเท่ากันทุกโรงแรม คือ 3 พันบาท และค่าธรรมเนียมรายห้อง ซึ่งโรงแรมที่ห้องเยอะก็จ่ายมาก ดังนั้นจึงเห็นสมควรลดค่าธรรมเนียมรายปี โดยแบ่งเป็นเหรดราคา ว่าโรงแรมขนาดใหญ่ก็ต้องเสียมากกว่าโรงแรมขนาดเล็กเพื่อความยุติธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน เริ่มจัดทำกฏเกณฑ์เงื่อนไขการลงทุนสำหรับต่างประเทศที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศของตัวเองบ้างแล้ว โดยในส่วนของโรงแรม ซึ่งถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่บรรจุอยู่ในเงื่อนไขการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยที่อินโดนีเซียกำหนดว่า ให้ต่างชาติลงทุนในธุรกิจโรงแรมได้เฉพาะที่เป็นระดับมากกว่า 3 ดาวขึ้นไป ซึ่งเป็นไปได้ที่ต้องการจะกันโรงแรมระดับตั้งแต่ 3 ดาวลงมาให้เป็นอาชีพของคนท้องถิ่น ขณะที่ประเทศพม่า รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขการลงทุนในธุรกิจโรงแรมของต่างชาติไว้ว่า โรงแรมนั้นจะต้องจ้างแรงงานที่เป็นชาวพม่ามากกว่ากึ่งหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น
ส่วนประเทศไทยนอกจากวงเงินลงทุนแล้ว ยังไม่มีการกำหนดเงื่อนไขใดๆ และยังถือเป็นประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างสดใสเป็นที่สนใจของนักลงทุน