วานนี้(20 ส.ค.55) พ.ต.อ.ดุษฏี อารวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ลงนามอนุมัติคดีเจ้าหน้าที่ธนาคารของรัฐปล่อยสินเชื่อวงเงิน 7.5 พันล้านให้กับเอกชนที่มีการใช้ตั๋วสัญญาปลอมในการสั่งซื้อข้าวจากสวิสเซอร์แลนด์มาค้ำประกัน ซึ่งตามขั้นตอนจะส่งให้อนุกรรมการและผ่านบอร์ดปปท.ชุดใหญ่ อย่างไรก็ตามคดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) ดังนั้นเมื่อผ่านบอร์ดปปท.ชุดใหญ่มแล้วก็จะส่งให้ปปช.ต่อไป และจะมีการแถลงสื่อมวลชนต่อไป
เลขาธิการ ปปท. เปิดเผยว่า พบว่ามีการทำตั๋วสัญญาปลอมหลายใบ ไม่ใช่แต่ได้รับการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารของรัฐแล้ว ยังมีการไปขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์อื่น อีก3-4 ธนาคาร เมื่อรวมมูลค่าความเสียหายแล้วประมาณหมื่นกว่าล้านบาท แต่ปปท. จำเป็นต้องส่งเรื่องดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ธนาคารของรัฐก่อน เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างนำไปสู่การขยายผลในส่วนของธนาคารเอกชนต่อไป
“จากการตรวจสอบมีตั๋วสัญญาการสั่งซื้อข้าวไปสวิสเซอร์แลนด์เป็นตั๋วหลายใบ ตรวจสอบเป็นตั๋วปลอมหมดเท่ากับไม่มีการซื้อก่อนจริง แปลว่าคุณได้เงินกู้ไปไม่ถูกต้อง ผู้บริหารที่มีอำนาจอนุมัติเงินต้องแก้ตัวปปช.ให้ได้อนุมัติเงินไปได้อย่างไร เอากระดาษไม่กี่ใบแล้วให้ตั๋วสัญญาใช้เงินได้ไป 7.5 พันล้านบาทรวมกับธนาคารพาณิชย์หลายหมื่นล้านบาท” เลขาธิการ ปปท. กล่าว
พ.ต.อ.ดุษฏี กล่าวว่า อนุกรรมการพิจารณาเสร็จสิ้นรู้ว่าจะต้องดำเนินคดีกับใครบ้างก่อนส่งให้ ปปช. แต่ละคนก็ถือว่ามีเครดิตในสังคม เรื่องอย่างนี้จะทำไม่ได้หรอกถ้าไม่ใช่ผู้บริหารแบงก์ เพราะเป็นเงินจำนวนมาก แม้จะนำเงินกู้ไปใช้บางส่วนจริงแต่ว่าการที่คุณปล่อยอนุมัติไปไม่ถูกต้อง เงินไม่ใช่ของตัวเอง เป็นเงินภาษีราษฎรที่กระทรวงการคลังสนับสนุน
เลขาธิการ ปปท. กล่าวด้วยว่า ไม่ขอตอบว่าเขาจะนำเงินจำนวนมากนี้ไปใช้ทำอะไร แต่เมื่อมีการทำธุรกรรมดังกล่าว มีปปท.ตรวจสอบชัดเจนแล้วถือว่าเป็นความผิดสำเร็จเมื่อส่งปปช.ถือว่าคดีนี้เกิดขึ้นจะเป็นมูลฐานความผิดการฟอกเงินด้วย
ทั้งนี้คดีการออกตั๋วสัญญาซื้อขายข้าวไปสวิสเซอร์แลนด์เกิดขึ้นเมื่อปี 2547 โดยพบว่ามีการทำตั๋วสัญญาปลอมจากบริษัทเอกชนซื้อขายข้าวชื่อดังเพื่อค้ำประกันขอสินเชื่อธนาคารรัฐและเอกชน ต่อมากรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ ) รับมาดำเนินคดีในส่วนการทำตั๋วสัญญาปลอม แต่การดำเนินคดีกับผู้บริหารแบงก์รัฐที่กระทำผิดกลับเงียบหาย ทำให้ปปท.ต้องนำเรื่องนี้ดำเนินการต่อก่อนส่งให้ปปช.เร็ววันนี้
อีกด้านสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า หลังจากรัฐบาลดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 เป็นต้นมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 (ข้อมูลล่าสุดเท่าที่ตรวจสอบ) กระทรวงพาณิชย์ได้ใช้เงินถึง 58,119,000 บาทในการว่าจ้างเอกชนประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการอย่างน้อย 6 ครั้ง และยังพบอีกว่าเอกชนผู้รับจ้างเป็นรายเดียวกัน คือ บริษัท สอง พอ ดี จำกัด
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า บริษัท สอง พอ ดี จำกัด เพิ่งจดทะเบียนวันที่ 9 มิถุนายน 2554 ทุน 3 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 337/101 ถนนนนทบุรี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี นางกัญภร สกุลนนทสิริ (ชื่อเดิม นางดลพร ขำกิ่ง เป็นภรรยาของ พ.ท.ธนากร ไชยมะโน) พ.ท.ธนากร ไชยมะโน และนางรำไพพรรณ ปนัดเศรษณี เป็นผู้ก่อการจัดตั้ง ผู้ถือหุ้น นางกัญภร สกุลนนทสิริ ถือหุ้นใหญ่ 8,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท จากทั้งหมด 10,000 หุ้น
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า บริษัท ทรี แอง เจิ้ล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือข่าย บริษัท สอง พอดี จำกัด ได้รับว่าจ้างประชาสัมพันธ์โครงการรับจำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต2554/2555 อย่างน้อย 1 โครงการ วงเงิน 9,999,150 บาท (รวม 2 บริษัท 68,118,150 บาท) และ บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัดซึ่งมีผู้ถือหุ้นเชื่อมโยงกันได้รับว่าจ้างประชาสัมพันธ์การรณรงค์บริโภคไข่ไก่ กระทรวงพาณิชย์ วันที่ 7 ก.พ.2555 จำนวน 1,420,000 บาท
ทั้งนี้ บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด ได้รับว่าจ้างประชาสัมพันธ์ในช่วงรัฐบาลไทยรักไทยเป็นรัฐบาลจำนวน 3 สัญญา วงเงิน 18,613,760 บาท
**สอบชาวนาขึ้นบัญชีรับจำนำข้าว
พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ที่ปรึกษา สบ10 กล่าวว่า สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศ เร่งตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวนกว่า 3 ล้านคน ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกกับรัฐบาล เนื่องจาก อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสวมสิทธิ์และทุจริตใน
โครงการนี้ เบื้องต้น ได้รับแจ้งเบาะแสการทุจริต เกือบ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครนายก กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร สุพรรณบุรี อุดรธานี บุรีรัมย์ พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา ชัยภูมิ เพชรบุรี สิงห์บุรี เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง นครศรีธรรมราช ในรูปแบบการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร การวัดความชื้น ทะเบียนเกษตรกรไม่ตรง การหักสิ่งเจือปนเกินกว่าความเป็นจริง โดยจังหวัดที่มีหลักฐานการทุจริตชัดเจนและมีการดำเนินคดีไปแล้ว คือ จังหวัดสกลนคร พบเจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า หรือ อคส. ประจำจุดรับจำนำข้าว ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยออกใบประทวนบัตรให้กับเกษตรกรที่ไม่ได้นำข้าวมาจำนำ ซึ่งจะต้องสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม แต่ยังไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงโรงสีข้าว ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
พล.ต.อ.วรพงษ์ กล่าวด้วยว่า รู้สึกพอใจผลการปฏิบัติเบื้องต้น เนื่องจาก ตำรวจส่วนใหญ่มีความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ และยังไม่พบมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต อีกทั้ง ยังได้รับความร่วมมือจาก เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ อย่างใกล้ชิด
เลขาธิการ ปปท. เปิดเผยว่า พบว่ามีการทำตั๋วสัญญาปลอมหลายใบ ไม่ใช่แต่ได้รับการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารของรัฐแล้ว ยังมีการไปขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์อื่น อีก3-4 ธนาคาร เมื่อรวมมูลค่าความเสียหายแล้วประมาณหมื่นกว่าล้านบาท แต่ปปท. จำเป็นต้องส่งเรื่องดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ธนาคารของรัฐก่อน เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างนำไปสู่การขยายผลในส่วนของธนาคารเอกชนต่อไป
“จากการตรวจสอบมีตั๋วสัญญาการสั่งซื้อข้าวไปสวิสเซอร์แลนด์เป็นตั๋วหลายใบ ตรวจสอบเป็นตั๋วปลอมหมดเท่ากับไม่มีการซื้อก่อนจริง แปลว่าคุณได้เงินกู้ไปไม่ถูกต้อง ผู้บริหารที่มีอำนาจอนุมัติเงินต้องแก้ตัวปปช.ให้ได้อนุมัติเงินไปได้อย่างไร เอากระดาษไม่กี่ใบแล้วให้ตั๋วสัญญาใช้เงินได้ไป 7.5 พันล้านบาทรวมกับธนาคารพาณิชย์หลายหมื่นล้านบาท” เลขาธิการ ปปท. กล่าว
พ.ต.อ.ดุษฏี กล่าวว่า อนุกรรมการพิจารณาเสร็จสิ้นรู้ว่าจะต้องดำเนินคดีกับใครบ้างก่อนส่งให้ ปปช. แต่ละคนก็ถือว่ามีเครดิตในสังคม เรื่องอย่างนี้จะทำไม่ได้หรอกถ้าไม่ใช่ผู้บริหารแบงก์ เพราะเป็นเงินจำนวนมาก แม้จะนำเงินกู้ไปใช้บางส่วนจริงแต่ว่าการที่คุณปล่อยอนุมัติไปไม่ถูกต้อง เงินไม่ใช่ของตัวเอง เป็นเงินภาษีราษฎรที่กระทรวงการคลังสนับสนุน
เลขาธิการ ปปท. กล่าวด้วยว่า ไม่ขอตอบว่าเขาจะนำเงินจำนวนมากนี้ไปใช้ทำอะไร แต่เมื่อมีการทำธุรกรรมดังกล่าว มีปปท.ตรวจสอบชัดเจนแล้วถือว่าเป็นความผิดสำเร็จเมื่อส่งปปช.ถือว่าคดีนี้เกิดขึ้นจะเป็นมูลฐานความผิดการฟอกเงินด้วย
ทั้งนี้คดีการออกตั๋วสัญญาซื้อขายข้าวไปสวิสเซอร์แลนด์เกิดขึ้นเมื่อปี 2547 โดยพบว่ามีการทำตั๋วสัญญาปลอมจากบริษัทเอกชนซื้อขายข้าวชื่อดังเพื่อค้ำประกันขอสินเชื่อธนาคารรัฐและเอกชน ต่อมากรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ ) รับมาดำเนินคดีในส่วนการทำตั๋วสัญญาปลอม แต่การดำเนินคดีกับผู้บริหารแบงก์รัฐที่กระทำผิดกลับเงียบหาย ทำให้ปปท.ต้องนำเรื่องนี้ดำเนินการต่อก่อนส่งให้ปปช.เร็ววันนี้
อีกด้านสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า หลังจากรัฐบาลดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวเปลือก นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 เป็นต้นมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 (ข้อมูลล่าสุดเท่าที่ตรวจสอบ) กระทรวงพาณิชย์ได้ใช้เงินถึง 58,119,000 บาทในการว่าจ้างเอกชนประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการอย่างน้อย 6 ครั้ง และยังพบอีกว่าเอกชนผู้รับจ้างเป็นรายเดียวกัน คือ บริษัท สอง พอ ดี จำกัด
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า บริษัท สอง พอ ดี จำกัด เพิ่งจดทะเบียนวันที่ 9 มิถุนายน 2554 ทุน 3 ล้านบาท ที่ตั้งเลขที่ 337/101 ถนนนนทบุรี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี นางกัญภร สกุลนนทสิริ (ชื่อเดิม นางดลพร ขำกิ่ง เป็นภรรยาของ พ.ท.ธนากร ไชยมะโน) พ.ท.ธนากร ไชยมะโน และนางรำไพพรรณ ปนัดเศรษณี เป็นผู้ก่อการจัดตั้ง ผู้ถือหุ้น นางกัญภร สกุลนนทสิริ ถือหุ้นใหญ่ 8,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท จากทั้งหมด 10,000 หุ้น
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า บริษัท ทรี แอง เจิ้ล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือข่าย บริษัท สอง พอดี จำกัด ได้รับว่าจ้างประชาสัมพันธ์โครงการรับจำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต2554/2555 อย่างน้อย 1 โครงการ วงเงิน 9,999,150 บาท (รวม 2 บริษัท 68,118,150 บาท) และ บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัดซึ่งมีผู้ถือหุ้นเชื่อมโยงกันได้รับว่าจ้างประชาสัมพันธ์การรณรงค์บริโภคไข่ไก่ กระทรวงพาณิชย์ วันที่ 7 ก.พ.2555 จำนวน 1,420,000 บาท
ทั้งนี้ บริษัท พลอย แอนด์ เพชร จำกัด ได้รับว่าจ้างประชาสัมพันธ์ในช่วงรัฐบาลไทยรักไทยเป็นรัฐบาลจำนวน 3 สัญญา วงเงิน 18,613,760 บาท
**สอบชาวนาขึ้นบัญชีรับจำนำข้าว
พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ที่ปรึกษา สบ10 กล่าวว่า สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศ เร่งตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวนกว่า 3 ล้านคน ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกกับรัฐบาล เนื่องจาก อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสวมสิทธิ์และทุจริตใน
โครงการนี้ เบื้องต้น ได้รับแจ้งเบาะแสการทุจริต เกือบ 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครนายก กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร สุพรรณบุรี อุดรธานี บุรีรัมย์ พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา ชัยภูมิ เพชรบุรี สิงห์บุรี เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง นครศรีธรรมราช ในรูปแบบการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร การวัดความชื้น ทะเบียนเกษตรกรไม่ตรง การหักสิ่งเจือปนเกินกว่าความเป็นจริง โดยจังหวัดที่มีหลักฐานการทุจริตชัดเจนและมีการดำเนินคดีไปแล้ว คือ จังหวัดสกลนคร พบเจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า หรือ อคส. ประจำจุดรับจำนำข้าว ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยออกใบประทวนบัตรให้กับเกษตรกรที่ไม่ได้นำข้าวมาจำนำ ซึ่งจะต้องสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม แต่ยังไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงไปถึงโรงสีข้าว ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่
พล.ต.อ.วรพงษ์ กล่าวด้วยว่า รู้สึกพอใจผลการปฏิบัติเบื้องต้น เนื่องจาก ตำรวจส่วนใหญ่มีความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ และยังไม่พบมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต อีกทั้ง ยังได้รับความร่วมมือจาก เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ อย่างใกล้ชิด