วานนี้(20 ส.ค.55) เว็บ http://www.otpc.in.th/faq01.html โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ได้เผยแพร่ให้ข้อมูลในหัวข้อคำถามจากครูและผู้อำนวยการ โรงเรียนข้อควรทราบและควรปฏิบัติเนื้อหาในเว็บไซด์ของโครงการ OTPC เป็นการตอบปัญหาในเชิงนโยบายระดับประเทศ โดยมีทั้งหมด 13 ข้อ ในข้อ 8 ระบุชัดว่าไอซีทีมีระบบ Firewall ป้องกันการเข้าเว็บโป๊ในระดับต้น ขัดแย้งกับข้อมูลล่าสุดที่ รมว.ไอซีที ระบุว่าแท็บเล็ตเข้าเวปโปีได้เพราะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานเอง
นายกนก วงศ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา แสดงความประหลาดใจต่อคำชี้แจงของ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ที่ระบุว่า ไม่สามารถบล็อคเวปโป๊ได้ และการใช้งานแท็บเล็ตของเด็ก ป.1 ตามนโยบายนั้น จะเน้นใช้งานแบบออฟไลน์ หรือการเข้าใช้งาน โดยเนื้อหาที่มีบรรจุไว้ในเครื่องแท็บเล็ตแบบไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เนื่องจากเรื่องเหล่านี้มีการท้วงติงแสดงความเป็นห่วงตั้งแต่วันที่มีการแถลงนโยบายแล้ว แต่รัฐบาลก็ยืนยันว่ามีความพร้อมในการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา อีกทั้งยังเคยชี้แจงในกรรมาธิการงบประมาณว่า จะมีวิธีการบล็อคเวปที่ไม่เหมาะสมได้ รวมถึงยังระบุความจำเป็นเกี่ยวกับระบบไวไฟที่จะต้องเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต โดยอ้างการเรียนรู้ของเยาวชน
ดังนั้นหากนโยบายเป็นอย่างที่ รมว.ไอซีทีพูด คือเน้นการใช้แท็บเล็ตแบบไม่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็จะเหลือเฉพาะเนื้อหาที่บรรจุในเครื่อง ซึ่งตนคิดว่าไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อเด็ก ป.1 เนื่องจากยังอ่านภาษาไทยไม่ออก ครูจะเข้าไปดูแลการสอนอย่างไร จึงชัดเจนว่าเนื้อหาสาระที่บรรจุไว้เด็กชั้น ป.1 ไม่มีวันได้ใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ในที่ประชุมกรรมาธิการการศึกษาวันพุธที่ 22 ส.ค.นี้จะเสนอให้กรรมาธิการฯเชิญรมว.ไอซีทีและรมว.ศึกษามาชี้แจงวันพุธนี้ เพราะสิ่งที่เคยชี้แจงไว้ไม่สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ล่าสุดต่อสื่อมวลชน
ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีนักเรียนนำเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก หรือแท็บเล็ต กลับบ้าน แล้วเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยสามารถเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้ ว่า การอนุญาตให้นักเรียนนำเครื่องแท็บเล็ตได้ เป็นดุลพินิจของสถานศึกษา ว่าผู้ปกครองจะสามารถดูแลการใช้งานของเด็กได้หรือไม่
ส่วนกรณีระบบคัดกรองเว็บไซต์นั้น ยืนยันว่า หากเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียน จะไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้อยู่แล้ว เนื่องจากมีเซิร์ฟเวอร์คอยคัดกรองอยู่ แต่หากอยู่นอกเขตโรงเรียน และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะสามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติ เพราะตัวเครื่องยังไม่ได้บรรจุคอนเทนต์คัดกรองเนื้อหา ผู้ปกครองจึงต้องคอยสอดส่องดูแล ไม่ให้ใช้งานในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
เลขาธิการ กพฐ. ระบุว่า สำหรับโรงเรียนในอำเภอแม่สอด จ.ตาก ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้ครูต้องนำเครื่องแท็บเล็ตไปชาร์จที่โรงเรียนอื่น ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ซึ่งโรงเรียนที่พบปัญหาเหล่านี้ สามารถรายงานไปยังเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละจังหวัด เพื่อที่ส่วนกลางจะได้จัดสรรงบประมาณในการแก้ปัญหา เช่น การจัดซื้อเครื่องปั่นไฟ หรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้เพิ่มเติม
รายงานข่าสวแจ้งว่า ว่าขณะที่ เฟซบุ๊ค“สายตรงภาคสนาม” ตั้งข้อสังเกตว่า “ แท็บเล็ต ป.1 สุดมั่ว นายกฯ - รมว.ไอซีที แจงไปคนละทาง” โดย‘ปู’ วาดฝันให้เด็กใช้เน็ตฯเข้าถึงข้อมูล แต่“อนุดิษฐ์” เน้นออฟไลน์
โครงการแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งเรื่องคุณภาพของแท็บเล็ต การจัดหาศูนย์ซ่อมบริการที่กลายเป็นว่าอาชีวะศึกษาคือหน่วยงานที่จะเข้าไปดูแลในการซ่อมแท็บเล็ตเบื้องต้นก่อนส่งไปยังศูนย์ซ่อมของบริษัทเอกชน และยังถูกเปิดโปงว่าแท็บเล็ตที่แจกให้เด็กสามารถเข้าเว็บโป๊ได้ โดยนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีก็ออกยอมรับว่าไม่สามารถบล็อคเว็บโป๊ได้ ซึ่งก็เป็นการให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกับเว็บไซด์ของไอซีทีที่ระบุว่า สามารถบล็อคเว็บโป๊เบื้องต้นได้
ล่าสุดการให้ข้อมูลในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการใช้แท็บเล็ตเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเยาวชนก็ยังมีความสับสนอย่างมาก โดยนายกรัฐมนตรีกับรมว.ไอซีที ชี้แจงกันไปคนละทาง ในขณะที่นายกบอกว่าให้เด็กใช้อินเตอร์เพื่อการเข้าถึงข้อมูล แต่ รมว.ไอซีที ไม่เน้นเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและแนะนำให้ออฟไลน์ไวไฟด้วย
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 ส.ค.55 ตีพิมพ์ในหน้า 8 มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องแท็บเล็ต ดังนี้ “ไม่ใช่การซื้อตัวเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนเท่านั้น เป็นการเชื่อมโยงเด็กเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (wifi) ซึ่งเป็นวิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ต้องการ แต่สิ่งสำคัญ คือ การได้มาของเนื้อหาข้อมูลที่นักเรียนต้องการผลที่ออกมาจะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น”
คำสัมภาษณ์ดังกล่าวขัดแย้งกับคำพูดของนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ ที่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในวันที่ 19 ส.ค.55 ว่า "สำหรับการใช้งานของแท็บเล็ตของเด็ก ป.1 ตามนโยบาย นั้น จะเน้นใช้งานแบบออฟไลน์ หรือการเข้าใช้งานโดยเนื้อ หาที่มีบรรจุไว้ในเครื่องแท็บเล็ตแบบไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ดังนั้นการนำแท็บเล็ตป.1ไปใช้ที่บ้าน ก็ ต้องขอความร่วมมือกับคุณพ่อ-คุณแม่ เป็นหูเป็นตา และ คอยดูแลเด็กๆ ด้วย”
นายกนก วงศ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา แสดงความประหลาดใจต่อคำชี้แจงของ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ที่ระบุว่า ไม่สามารถบล็อคเวปโป๊ได้ และการใช้งานแท็บเล็ตของเด็ก ป.1 ตามนโยบายนั้น จะเน้นใช้งานแบบออฟไลน์ หรือการเข้าใช้งาน โดยเนื้อหาที่มีบรรจุไว้ในเครื่องแท็บเล็ตแบบไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เนื่องจากเรื่องเหล่านี้มีการท้วงติงแสดงความเป็นห่วงตั้งแต่วันที่มีการแถลงนโยบายแล้ว แต่รัฐบาลก็ยืนยันว่ามีความพร้อมในการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา อีกทั้งยังเคยชี้แจงในกรรมาธิการงบประมาณว่า จะมีวิธีการบล็อคเวปที่ไม่เหมาะสมได้ รวมถึงยังระบุความจำเป็นเกี่ยวกับระบบไวไฟที่จะต้องเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต โดยอ้างการเรียนรู้ของเยาวชน
ดังนั้นหากนโยบายเป็นอย่างที่ รมว.ไอซีทีพูด คือเน้นการใช้แท็บเล็ตแบบไม่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็จะเหลือเฉพาะเนื้อหาที่บรรจุในเครื่อง ซึ่งตนคิดว่าไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อเด็ก ป.1 เนื่องจากยังอ่านภาษาไทยไม่ออก ครูจะเข้าไปดูแลการสอนอย่างไร จึงชัดเจนว่าเนื้อหาสาระที่บรรจุไว้เด็กชั้น ป.1 ไม่มีวันได้ใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ในที่ประชุมกรรมาธิการการศึกษาวันพุธที่ 22 ส.ค.นี้จะเสนอให้กรรมาธิการฯเชิญรมว.ไอซีทีและรมว.ศึกษามาชี้แจงวันพุธนี้ เพราะสิ่งที่เคยชี้แจงไว้ไม่สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ล่าสุดต่อสื่อมวลชน
ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีนักเรียนนำเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก หรือแท็บเล็ต กลับบ้าน แล้วเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยสามารถเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้ ว่า การอนุญาตให้นักเรียนนำเครื่องแท็บเล็ตได้ เป็นดุลพินิจของสถานศึกษา ว่าผู้ปกครองจะสามารถดูแลการใช้งานของเด็กได้หรือไม่
ส่วนกรณีระบบคัดกรองเว็บไซต์นั้น ยืนยันว่า หากเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียน จะไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้อยู่แล้ว เนื่องจากมีเซิร์ฟเวอร์คอยคัดกรองอยู่ แต่หากอยู่นอกเขตโรงเรียน และมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะสามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติ เพราะตัวเครื่องยังไม่ได้บรรจุคอนเทนต์คัดกรองเนื้อหา ผู้ปกครองจึงต้องคอยสอดส่องดูแล ไม่ให้ใช้งานในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
เลขาธิการ กพฐ. ระบุว่า สำหรับโรงเรียนในอำเภอแม่สอด จ.ตาก ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้ครูต้องนำเครื่องแท็บเล็ตไปชาร์จที่โรงเรียนอื่น ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ซึ่งโรงเรียนที่พบปัญหาเหล่านี้ สามารถรายงานไปยังเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละจังหวัด เพื่อที่ส่วนกลางจะได้จัดสรรงบประมาณในการแก้ปัญหา เช่น การจัดซื้อเครื่องปั่นไฟ หรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้เพิ่มเติม
รายงานข่าสวแจ้งว่า ว่าขณะที่ เฟซบุ๊ค“สายตรงภาคสนาม” ตั้งข้อสังเกตว่า “ แท็บเล็ต ป.1 สุดมั่ว นายกฯ - รมว.ไอซีที แจงไปคนละทาง” โดย‘ปู’ วาดฝันให้เด็กใช้เน็ตฯเข้าถึงข้อมูล แต่“อนุดิษฐ์” เน้นออฟไลน์
โครงการแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งเรื่องคุณภาพของแท็บเล็ต การจัดหาศูนย์ซ่อมบริการที่กลายเป็นว่าอาชีวะศึกษาคือหน่วยงานที่จะเข้าไปดูแลในการซ่อมแท็บเล็ตเบื้องต้นก่อนส่งไปยังศูนย์ซ่อมของบริษัทเอกชน และยังถูกเปิดโปงว่าแท็บเล็ตที่แจกให้เด็กสามารถเข้าเว็บโป๊ได้ โดยนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีก็ออกยอมรับว่าไม่สามารถบล็อคเว็บโป๊ได้ ซึ่งก็เป็นการให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกับเว็บไซด์ของไอซีทีที่ระบุว่า สามารถบล็อคเว็บโป๊เบื้องต้นได้
ล่าสุดการให้ข้อมูลในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการใช้แท็บเล็ตเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเยาวชนก็ยังมีความสับสนอย่างมาก โดยนายกรัฐมนตรีกับรมว.ไอซีที ชี้แจงกันไปคนละทาง ในขณะที่นายกบอกว่าให้เด็กใช้อินเตอร์เพื่อการเข้าถึงข้อมูล แต่ รมว.ไอซีที ไม่เน้นเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและแนะนำให้ออฟไลน์ไวไฟด้วย
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 ส.ค.55 ตีพิมพ์ในหน้า 8 มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องแท็บเล็ต ดังนี้ “ไม่ใช่การซื้อตัวเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนเท่านั้น เป็นการเชื่อมโยงเด็กเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (wifi) ซึ่งเป็นวิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ต้องการ แต่สิ่งสำคัญ คือ การได้มาของเนื้อหาข้อมูลที่นักเรียนต้องการผลที่ออกมาจะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น”
คำสัมภาษณ์ดังกล่าวขัดแย้งกับคำพูดของนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ ที่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในวันที่ 19 ส.ค.55 ว่า "สำหรับการใช้งานของแท็บเล็ตของเด็ก ป.1 ตามนโยบาย นั้น จะเน้นใช้งานแบบออฟไลน์ หรือการเข้าใช้งานโดยเนื้อ หาที่มีบรรจุไว้ในเครื่องแท็บเล็ตแบบไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ดังนั้นการนำแท็บเล็ตป.1ไปใช้ที่บ้าน ก็ ต้องขอความร่วมมือกับคุณพ่อ-คุณแม่ เป็นหูเป็นตา และ คอยดูแลเด็กๆ ด้วย”