ดร.กิตติพงษ์ แจ้งกมลกุลชัย
ดารานีย์ วัจนะวุฒิวงศ์
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา ศาลสูงสุดของออสเตรเลียได้พิจารณาตัดสินให้รัฐบาลเป็นฝ่ายชนะคดีฟ้องร้องโดยบริษัทยาสูบเพื่อหาข้อยุติว่า การบัญญัติกฎหมายเพื่อบังคับใช้ซองบุหรี่แบบเรียบไม่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ความถูกต้องของกฎหมายที่บังคับใช้ซองบุหรี่แบบเรียบ ซึ่งรวมไปถึงการตัดสินว่าออสเตรเลียจะต้องจ่ายเงินชดเชยจำนวนมากให้กับฟิลลิป มอร์ริส เอเชีย ลิมิเต็ด หรือไม่ จะยังคงเป็นประเด็นและยังต้องมีการพิจารณาคดีต่อไปอีกนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีพิพาทในเวทีการค้าระดับโลก โดยในปัจจุบันประเทศยูเครนi (เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555) ประเทศฮอนดูรัสii (เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555) และประเทศสาธารณรัฐโดมินิกันiii (เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555) ได้ยื่นคำขอปรึกษาหารือกับประเทศออสเตรเลีย (Requests for Consultations) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทในองค์การการค้าโลก ทั้งนี้ ประเทศอื่นๆ ก็ได้แสดงเจตนาที่จะเริ่มข้อพิพาทหรือเข้าร่วมในฐานะบุคคลที่สามเช่นกัน
ถ้าคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทมีความเห็นคัดค้านมาตรการซองบุหรี่แบบเรียบ มาตรการดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมายภายใต้องค์การการค้าโลก โดยประเทศออสเตรเลียจะมีหน้าที่ในการทำให้กฎหมายของตนสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่ตนมีอยู่ ซึ่งหากประเทศออสเตรเลียไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ประเทศออสเตรเลียอาจได้รับการตอบโต้ทางการค้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ตั้งแต่ประเทศออสเตรเลียได้แจ้งต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ถึงร่างพระราชบัญญัติซองบุหรี่แบบเรียบ เป็นครั้งแรกในเดือนเมษายน 2554 มาตรการนี้ได้กลายเป็นประเด็นในการอภิปรายอย่างกว้างขวางในองค์การระหว่างประเทศดังกล่าว สมาชิกองค์การการค้าโลกจำนวนมากขึ้นได้แสดงความวิตกและตั้งคำถามต่อประเทศออสเตรเลีย และยังวิพากษ์วิจารณ์ข้อจำกัดการค้าระหว่างประเทศที่ไม่จำเป็น และการละเมิดต่อหัวใจสำคัญของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นผลมาจากมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ การวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นทั้งต่อคณะกรรมการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลกและคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS Council) ขององค์การการค้าโลก
ประเทศที่ได้แสดงความวิตกและตั้งคำถามต่อมาตรการดังกล่าวมีกว่า 24iv ประเทศ ทั้งประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการซองบุหรี่แบบเรียบในระหว่างการอภิปรายต่อหน้าคณะกรรมการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลกและคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS Council) ขององค์การการค้าโลก โดยประเทศกำลังพัฒนาได้เน้นย้ำว่ามาตรการซองบุหรี่แบบเรียบจะส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจของตนอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากหลายประเทศพึ่งพาอุตสาหกรรมยาสูบอย่างมากโดยเป็นแหล่งที่มาของรายได้และการจ้างงาน ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วได้เน้นถึงความวิตกต่อการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า บางประเทศแสดงความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการซองบุหรี่แบบเรียบที่อาจขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ยาสูบ
สมาชิกองค์การการค้าโลกมิได้คัดค้านวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุขของประเทศออสเตรเลีย แต่บรรดาสมาชิกโต้แย้งว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้าอย่างไม่จำเป็น (อันเป็นการละเมิดข้อ 2.2 ของความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า) เนื่องจากบรรดาสมาชิกดังกล่าวเห็นว่ามาตรการนี้เป็นการจำกัดการค้าเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุขตามที่ประเทศออสเตรเลียได้ระบุไว้ บรรดาสมาชิกยังได้โต้แย้งอีกว่ามาตรการซองบุหรี่แบบเรียบขัดขวางการใช้เครื่องหมายทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม (อันเป็นการละเมิดต่อข้อ 20 ของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า) และจะก่อให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้บริโภค (อันเป็นการละเมิดต่อข้อ 10 ของอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า)
สำหรับในประเทศไทยได้มีการผลักดันการใช้มาตรการซองบุหรี่แบบเรียบเช่นเดียวกัน โดยล่าสุดร่างพระราชบัญญัติควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ. ..... ที่อยู่ในระหว่างการจัดทำประชาพิจารณ์ที่จะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายนนี้ คณะยกร่างฯ ได้กล่าวในงานประชาพิจารณ์ว่า มาตรา 40 ในหมวด 6 การควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบนั้นเป็นมาตรการบังคับใช้ซองบุหรี่แบบเรียบ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการชี้แจงประเด็นข้อขัดแย้งทางการค้าที่อาจเกิดขึ้นเช่นกรณีข้อพิพาทในประเทศออสเตรเลีย
ดารานีย์ วัจนะวุฒิวงศ์ หุ้นส่วนร่วมบริหาร กรรมการผู้จัดการแผนกทรัพย์สินทางปัญญา บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำนักงานกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และได้รับการยอมรับระดับนานาชาติในด้านทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า “ในประเทศไทยนั้น เครื่องหมายทางการค้านับเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่าตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กำหนดให้ได้รับความคุ้มครองเป็นทรัพย์สินทางปัญญาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตราที่ 86 ข้อกำหนดที่ใช้บังคับกับฉลากของซองบุหรี่ให้เป็นแบบเรียบนับเป็นการบังคับไม่ให้แสดงลักษณะเฉพาะของตราสินค้า และลักษณะที่สร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์บนซองบุหรี่ ตัวอย่างเช่น ตราสินค้า โลโก สี รูปแบบอักษรที่ได้ถูกออกแบบไว้ และกราฟิก การอนุญาตให้ใช้ตราสินค้าหรือชื่อสินค้าในรูปแบบตัวอักษรและสีแบบมาตรฐานนั้นเป็นการยึดเอาไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่ายิ่งไปจากเจ้าของเครื่องหมายการค้า ทั้งในด้านมูลค่าทางทรัพย์สิน มูลค่าจากการใช้สิทธิ การโอนสิทธิ และค่าความนิยมโดยรวมของเครื่องหมายการค้า จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะได้รับการชดเชยความเสียหายจากการถูกยึดไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว อันเกิดจากมาตรการที่กำหนดให้ฉลากของซองบุหรี่เป็นแบบเรียบ การคำนวณมูลค่าของตราสินค้านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่สำคัญมากในการที่จะใช้ในการพิจารณา”
ดร.กิตติพงษ์ แจ้งกมลกุลชัย Associate Director ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ไบรอัน เคฟ อินเตอร์เนชั่นแนลคอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “การห้ามใช้ตราสินค้าและโลโกนั้นเป็นการสร้างอุปสรรคทางการค้า เนื่องจากการห้ามดังกล่าวจะทำให้การนำเข้าบุหรี่ที่มียี่ห้อจากต่างประเทศนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อบุหรี่ยี่ห้อธรรมดาทั่วไปมีราคาถูกลงเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นการละเมิดความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลกที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก ดังนั้นรัฐบาลไทยควรรอผลลัพธ์จากปัญหาข้อพิพาทมาตรการซองบุหรี่แบบมาตรฐานที่ห้ามใช้ตราสินค้าและโลโกของประเทศออสเตรเลียก่อนที่จะเดินหน้าดำเนินการใดๆ”
_______________________________________
iWTO DISPUTE SETTLEMENT: DISPUTE DS434, Australia — Certain Measures Concerning Trademarks and Other Plain Packaging Requirements Applicable to Tobacco Products and Packaging,http://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/cases_e/ds434_e.htm
iiWTO DISPUTE SETTLEMENT: DISPUTE DS435, Australia — Certain Measures Concerning Trademarks and Other Plain Packaging Requirements Applicable to Tobacco Products and Packaging,http://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/cases_e/ds435_e.htm
iiiWTO DISPUTE SETTLEMENT: DISPUTE DS434, Australia — Certain Measures Concerning Trademarks and Other Plain Packaging Requirements Applicable to Tobacco Products and Packaging,http://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/cases_e/ds441_e.htm
ivประเทศที่ได้แสดงความวิตกและตั้งคำถามต่อมาตรการดังกล่าวมีกว่า 24 ประเทศ ได้แก่ ประเทศชิลี ประเทศจีน ประเทศโคลอมเบีย ประเทศคิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน ประเทศเอกวาดอร์ ประเทศเอลซัลวาดอร์ สหภาพยุโรป ประเทศฮอนดูรัส ฮ่องกง ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจอร์แดน ประเทศเม็กซิโก ประเทศมอลโดวา ประเทศนิคารากัว ประเทศไนจีเรีย ประเทศฟิลิปปินส์ รัสเซีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศตุรกี ประเทศยูเครน ประเทศแซมเบีย และประเทศซิมบับเว
ดารานีย์ วัจนะวุฒิวงศ์
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา ศาลสูงสุดของออสเตรเลียได้พิจารณาตัดสินให้รัฐบาลเป็นฝ่ายชนะคดีฟ้องร้องโดยบริษัทยาสูบเพื่อหาข้อยุติว่า การบัญญัติกฎหมายเพื่อบังคับใช้ซองบุหรี่แบบเรียบไม่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ความถูกต้องของกฎหมายที่บังคับใช้ซองบุหรี่แบบเรียบ ซึ่งรวมไปถึงการตัดสินว่าออสเตรเลียจะต้องจ่ายเงินชดเชยจำนวนมากให้กับฟิลลิป มอร์ริส เอเชีย ลิมิเต็ด หรือไม่ จะยังคงเป็นประเด็นและยังต้องมีการพิจารณาคดีต่อไปอีกนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีพิพาทในเวทีการค้าระดับโลก โดยในปัจจุบันประเทศยูเครนi (เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555) ประเทศฮอนดูรัสii (เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555) และประเทศสาธารณรัฐโดมินิกันiii (เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555) ได้ยื่นคำขอปรึกษาหารือกับประเทศออสเตรเลีย (Requests for Consultations) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทในองค์การการค้าโลก ทั้งนี้ ประเทศอื่นๆ ก็ได้แสดงเจตนาที่จะเริ่มข้อพิพาทหรือเข้าร่วมในฐานะบุคคลที่สามเช่นกัน
ถ้าคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทมีความเห็นคัดค้านมาตรการซองบุหรี่แบบเรียบ มาตรการดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมายภายใต้องค์การการค้าโลก โดยประเทศออสเตรเลียจะมีหน้าที่ในการทำให้กฎหมายของตนสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่ตนมีอยู่ ซึ่งหากประเทศออสเตรเลียไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ประเทศออสเตรเลียอาจได้รับการตอบโต้ทางการค้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ตั้งแต่ประเทศออสเตรเลียได้แจ้งต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ถึงร่างพระราชบัญญัติซองบุหรี่แบบเรียบ เป็นครั้งแรกในเดือนเมษายน 2554 มาตรการนี้ได้กลายเป็นประเด็นในการอภิปรายอย่างกว้างขวางในองค์การระหว่างประเทศดังกล่าว สมาชิกองค์การการค้าโลกจำนวนมากขึ้นได้แสดงความวิตกและตั้งคำถามต่อประเทศออสเตรเลีย และยังวิพากษ์วิจารณ์ข้อจำกัดการค้าระหว่างประเทศที่ไม่จำเป็น และการละเมิดต่อหัวใจสำคัญของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นผลมาจากมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ การวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นทั้งต่อคณะกรรมการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลกและคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS Council) ขององค์การการค้าโลก
ประเทศที่ได้แสดงความวิตกและตั้งคำถามต่อมาตรการดังกล่าวมีกว่า 24iv ประเทศ ทั้งประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการซองบุหรี่แบบเรียบในระหว่างการอภิปรายต่อหน้าคณะกรรมการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลกและคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS Council) ขององค์การการค้าโลก โดยประเทศกำลังพัฒนาได้เน้นย้ำว่ามาตรการซองบุหรี่แบบเรียบจะส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจของตนอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากหลายประเทศพึ่งพาอุตสาหกรรมยาสูบอย่างมากโดยเป็นแหล่งที่มาของรายได้และการจ้างงาน ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วได้เน้นถึงความวิตกต่อการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า บางประเทศแสดงความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการซองบุหรี่แบบเรียบที่อาจขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ยาสูบ
สมาชิกองค์การการค้าโลกมิได้คัดค้านวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุขของประเทศออสเตรเลีย แต่บรรดาสมาชิกโต้แย้งว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้าอย่างไม่จำเป็น (อันเป็นการละเมิดข้อ 2.2 ของความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า) เนื่องจากบรรดาสมาชิกดังกล่าวเห็นว่ามาตรการนี้เป็นการจำกัดการค้าเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุขตามที่ประเทศออสเตรเลียได้ระบุไว้ บรรดาสมาชิกยังได้โต้แย้งอีกว่ามาตรการซองบุหรี่แบบเรียบขัดขวางการใช้เครื่องหมายทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม (อันเป็นการละเมิดต่อข้อ 20 ของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า) และจะก่อให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้บริโภค (อันเป็นการละเมิดต่อข้อ 10 ของอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า)
สำหรับในประเทศไทยได้มีการผลักดันการใช้มาตรการซองบุหรี่แบบเรียบเช่นเดียวกัน โดยล่าสุดร่างพระราชบัญญัติควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ. ..... ที่อยู่ในระหว่างการจัดทำประชาพิจารณ์ที่จะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายนนี้ คณะยกร่างฯ ได้กล่าวในงานประชาพิจารณ์ว่า มาตรา 40 ในหมวด 6 การควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบนั้นเป็นมาตรการบังคับใช้ซองบุหรี่แบบเรียบ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการชี้แจงประเด็นข้อขัดแย้งทางการค้าที่อาจเกิดขึ้นเช่นกรณีข้อพิพาทในประเทศออสเตรเลีย
ดารานีย์ วัจนะวุฒิวงศ์ หุ้นส่วนร่วมบริหาร กรรมการผู้จัดการแผนกทรัพย์สินทางปัญญา บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำนักงานกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และได้รับการยอมรับระดับนานาชาติในด้านทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า “ในประเทศไทยนั้น เครื่องหมายทางการค้านับเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่าตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กำหนดให้ได้รับความคุ้มครองเป็นทรัพย์สินทางปัญญาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตราที่ 86 ข้อกำหนดที่ใช้บังคับกับฉลากของซองบุหรี่ให้เป็นแบบเรียบนับเป็นการบังคับไม่ให้แสดงลักษณะเฉพาะของตราสินค้า และลักษณะที่สร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์บนซองบุหรี่ ตัวอย่างเช่น ตราสินค้า โลโก สี รูปแบบอักษรที่ได้ถูกออกแบบไว้ และกราฟิก การอนุญาตให้ใช้ตราสินค้าหรือชื่อสินค้าในรูปแบบตัวอักษรและสีแบบมาตรฐานนั้นเป็นการยึดเอาไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมูลค่ายิ่งไปจากเจ้าของเครื่องหมายการค้า ทั้งในด้านมูลค่าทางทรัพย์สิน มูลค่าจากการใช้สิทธิ การโอนสิทธิ และค่าความนิยมโดยรวมของเครื่องหมายการค้า จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะได้รับการชดเชยความเสียหายจากการถูกยึดไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว อันเกิดจากมาตรการที่กำหนดให้ฉลากของซองบุหรี่เป็นแบบเรียบ การคำนวณมูลค่าของตราสินค้านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่สำคัญมากในการที่จะใช้ในการพิจารณา”
ดร.กิตติพงษ์ แจ้งกมลกุลชัย Associate Director ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ไบรอัน เคฟ อินเตอร์เนชั่นแนลคอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า “การห้ามใช้ตราสินค้าและโลโกนั้นเป็นการสร้างอุปสรรคทางการค้า เนื่องจากการห้ามดังกล่าวจะทำให้การนำเข้าบุหรี่ที่มียี่ห้อจากต่างประเทศนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากผู้บริโภคหันไปซื้อบุหรี่ยี่ห้อธรรมดาทั่วไปมีราคาถูกลงเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นการละเมิดความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าขององค์การการค้าโลกที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก ดังนั้นรัฐบาลไทยควรรอผลลัพธ์จากปัญหาข้อพิพาทมาตรการซองบุหรี่แบบมาตรฐานที่ห้ามใช้ตราสินค้าและโลโกของประเทศออสเตรเลียก่อนที่จะเดินหน้าดำเนินการใดๆ”
_______________________________________
iWTO DISPUTE SETTLEMENT: DISPUTE DS434, Australia — Certain Measures Concerning Trademarks and Other Plain Packaging Requirements Applicable to Tobacco Products and Packaging,http://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/cases_e/ds434_e.htm
iiWTO DISPUTE SETTLEMENT: DISPUTE DS435, Australia — Certain Measures Concerning Trademarks and Other Plain Packaging Requirements Applicable to Tobacco Products and Packaging,http://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/cases_e/ds435_e.htm
iiiWTO DISPUTE SETTLEMENT: DISPUTE DS434, Australia — Certain Measures Concerning Trademarks and Other Plain Packaging Requirements Applicable to Tobacco Products and Packaging,http://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/cases_e/ds441_e.htm
ivประเทศที่ได้แสดงความวิตกและตั้งคำถามต่อมาตรการดังกล่าวมีกว่า 24 ประเทศ ได้แก่ ประเทศชิลี ประเทศจีน ประเทศโคลอมเบีย ประเทศคิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน ประเทศเอกวาดอร์ ประเทศเอลซัลวาดอร์ สหภาพยุโรป ประเทศฮอนดูรัส ฮ่องกง ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจอร์แดน ประเทศเม็กซิโก ประเทศมอลโดวา ประเทศนิคารากัว ประเทศไนจีเรีย ประเทศฟิลิปปินส์ รัสเซีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศตุรกี ประเทศยูเครน ประเทศแซมเบีย และประเทศซิมบับเว