‘คนจนไม่ใช่อาชญากร ความจนไม่ใช่อาชญากรรม’ สกรีนตัวหนังสือบนเสื้อยืดที่คนจนสวมใส่สื่อนิยามความหมายอะไรบ้างในสังคมไทยที่ถูกถาโถมด้วยความเหลื่อมล้ำทางทรัพยากรธรรมชาติ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนถูกความอยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรมนับแต่ต้นธารถึงปลายธารขัดขวางการทวงถามเรียกร้องลุกขึ้นสู้ของผู้คนคับแค้นขื่นขม ประชาชนของประเทศไทยไม่ได้มีความเสมอหน้ากันต่อหน้ากฎหมาย (everyone equal before the law) เพราะภายใต้กฎหมายเดียวกันการเลือกปฏิบัติต่างกันสุดขั้วระหว่างคนยากจนกับร่ำรวย ด้วยถึงที่สุดแล้วกฎหมายไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมกับทุกคนได้เสมอกันอันเนื่องมาจากการตีความกฎหมายเพื่อพวกพ้องและผู้มีอำนาจเป็นไปได้เสอในสังคมไทย
ประเทศไทยความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงผูกโยงกับความมั่งคั่งของทรัพย์สินเงินทอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรที่ดินที่ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญสำหรับความเป็นคนที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีควรค่าแก่การเคารพ ประชาชนคนเล็กคนน้อยและเกษตรกรรายย่อยซึ่งสูญเสียสิทธิและเสรีภาพจากการเลือกปฏิบัติทางกฎหมายทั้งในระดับของการกำหนดกฎหมาย การบังคับใช้ ไปจนถึงการกักขังจับกุมจึงถูกปฏิบัติราวกับไม่ได้เป็นมนุษย์หรือประชากรไทยที่รัฐรับรองความชอบธรรมจากหลักการสิทธิมนุษยชน (Human Rights) และหลักนิติธรรม (the Rule of Law) ที่รัฐต้องให้ความเท่าเทียมทุกคน
เมื่อความเท่าเทียมถูกทุบทำลายและลดทอนจากกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ‘ความตายทั้งเป็น’ จึงตกแก่ประชาชนปลายอ้อปลายแขมที่ไม่เท่าทันกฎหมายซึ่งเป็นกระบวนการเฉพาะของนักกฎหมายในการร่างกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐในการบังคับใช้กฎหมาย และฝ่ายนโยบายที่มีอำนาจกำหนดกฎหมาย จนคนทั่วไปไม่อาจเข้าถึงปริมณฑลดังกล่าวได้ไม่ว่าจะในมุมของข้อเสนอแนะ คัดค้าน หรือเรียกร้อง แม้ว่ารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2540 และ 2550 จะให้สิทธิประชาชนรวมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ถ้ามีถึง 50,000 และ 10,000 รายชื่อตามลำดับ ทว่าในท้ายที่สุดจะพัฒนามาเป็นกฎหมายได้หรือไม่ก็ขึ้นกับอำนาจการตัดสินใจของนักการเมืองว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ ถ้าไปขัดขวางผลประโยชน์จากการถือครองทรัพย์สิน โดยเฉพาะที่ดินซึ่งเป็นทรัพยากรหายากและราคาแพงขึ้นทุกวันของผู้มีอำนาจก็ยากจะผ่านออกมาได้
ในสถานการณ์เช่นนี้ ประชาชนจะเข้ามามีส่วนปฏิสัมพันธ์กับอำนาจกฎหมายได้ก็มักเป็นไปในแง่ลบ โดยมักถูกบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายในฐานะของผู้ถูกกระทำเท่านั้น ดังกรณีที่ดินที่เป็นรูปธรรมถึงความบิดเบี้ยวพิกลพิการของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยที่มีเหยื่อเป็นคนจนจำนวนมาก
การจะปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมทางสังคมโดยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจึงต้องปฏิรูปโครงสร้างเพื่อปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจ (power relations) ด้านการเข้าถึงและถือครองทรัพยากรธรรมชาติ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่เคยกระจุกตัวอยู่แต่ในกลุ่มกุมอำนาจการเมืองและทุน โดยเบื้องต้นต้องปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายที่ดินเป็นสำคัญเพื่อจะสามารถหนุนเคลื่อนนโยบาย (policy advocacy) ให้ตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็ทอนภาพความเป็น‘อาชญากรของคนจนและอาชญากรรมของความจน’ ซึ่งเป็นที่รับรู้ทั่วไปในสังคมกรณีที่คนคับแค้นยากจนและเกษตรกรรายย่อยได้เข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าเพื่ออยู่อาศัยหรือทำเกษตร
ด้วยลำพังการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากที่ดินระหว่างประชาชนกับรัฐ ประชาชนกับเอกชน และการกระจายการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรมซึ่งต้องใช้มาตรการหลายด้านตั้งแต่การจัดให้มีโฉนดชุมชน การจัดตั้งธนาคารที่ดินเพื่อจัดหาที่ดินให้กับผู้ไร้ที่ดินทำกิน และการจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนของธนาคารที่ดินและลดการถือครองที่ดินจำนวนมากตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 1 เรื่องการปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ยังไม่เพียงพอ เพราะความเป็นธรรมที่ถูกทำลายลงไปจากกระบวนบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เสมอภาคกันระหว่างคนจนกับรวย คนด้อยอำนาจกับกุมอำนาจ ยังไม่ได้ความเป็นธรรมกลับคืนมาจากการถูกประทับตราเป็นอาชญากร
การคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากรจึงจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดินเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินให้กระจายไปยังประชาชนอย่างเป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะผู้คนที่ถูกจับกุมคุมขังจากการเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อทำการเกษตรหรือพักพิงอาศัยที่กลายมาเป็นอาชญากรของรัฐจากการถูกให้ความหมายว่าเป็นกลุ่มทำลายความสงบเรียบร้อยมั่นคงของประเทศ กลุ่มทำไร่เลื่อนลอย ไปจนถึงกลุ่มบุกรุกที่ดินสาธารณะ ขณะที่กลุ่มทุนที่ส่งเสริมชาวบ้านให้ทำเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่ป่าต้นน้ำกลับไม่ถูกตรวจสอบดำเนินคดี ที่สำคัญการเข้าไปหักร้างถางป่าเพื่อสร้างรีสอร์ตสุดหรูก็กลับรอดหูรอดตารัฐไปได้เช่นกัน
ดังนั้นการมุ่งมั่นสานต่อมติสมัชชาปฏิรูปในการคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนจึงมีคุณูปการยิ่งต่อสังคมไทยเพราะนอกจากจะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเนื่องมาจากกระบวนการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นธรรมที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรที่ดินได้ไม่เท่าเทียมกันแล้ว ยังจะปลดเปลื้องพันธนาการภาพลักษณ์ทางลบที่สังคมโดยเฉพาะรัฐและสื่อมวลชนบางส่วนร่วมกันประทับตราคนยากจนที่เข้าไปใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินในพื้นที่ต่างๆ เพื่อประทังความอยู่รอดของครอบครัวที่สอดผสานเป็นหนึ่งเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและระบบภูมินิเวศที่เห็นผืนแผ่นดินเป็นมากกว่าสินทรัพย์สำหรับเก็งกำไร
การดำเนินการตามมติปฏิรูปประเทศไทยว่าด้วยการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีที่ดินจึงต้องพิจารณาแก้ปัญหาเป็นแต่ละกรณีตามกลไกและกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ทั้งกรณีคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ให้มีการพักโทษ ลดโทษและคุมประพฤติ พร้อมกับให้ระงับและทบทวนการคิดค่าเสียหายในกรณีคดีโลกร้อน คดีที่ดินที่อยูระหว่างการพิจารณาให้มีการจำหน่ายคดีชั่วคราว อนุญาตให้ประชาชนผู้ต้องหาและครอบครัวอยู่อาศัยทำกินในที่ดินเดิม โดยในระยะเร่งด่วนขอให้สามารถใช้บุคคลหรือกองทุนยุติธรรมในการคํ้าประกันตัวแทนหลักทรัพย์ รวมทั้งเน้นการพิจารณาพฤติกรรมของผู้ต้องหาแทนการใช้หลักทรัพย์คํ้าประกัน พร้อมกับให้มีการตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินโดยการตั้งคณะกรรมการกลางที่มีส่วนร่วมจากชุมชนตรวจสอบให้แล้วเสร็จใน 90 วัน
กรณีปัญหาที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ระงับการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการเพิ่มความเดือดร้อนและความรุนแรงกับประชาชน โดยให้ระงับการจับกุมประชาชนที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ที่มีข้อพิพาทที่มิใช่การแผ้วถางหรือบุกเบิกป่าใหม่ รวมถึงระงับการขยายพื้นที่ที่กำลังจะเป็นข้อพิพาทระหว่างชุมชนกับโครงการพัฒนาของภาครัฐหรือเอกชนจนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาหรือมีข้อพิสูจน์เสร็จสิ้น และพื้นที่ที่กำลังดำเนินการโฉนดชุมชน ทั้งนี้ให้คำนึงถึงกฎหมายผังเมืองในส่วนของการวางผังเมืองรวมที่ครอบคลุมทั้งชนบทและเมือง และที่สำคัญให้ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผู้ที่บุกรุกป่ากรณีไม่มีที่ดินทำกินด้วย ด้วยเพราะประชาชนส่วนนี้ถูกผลักให้เข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินเพราะความคับแค้นยากจนบีบบังคับ และปิดกั้นทางเลือกอื่นๆ ไว้ โดยเฉพาะการใช้กฎหมายหรือนโยบายรัฐในการเอื้อประโยชน์ให้เข้าถึงทรัพยากรที่ดิน
ครั้นไม่ยอมจำนนต่อนโยบายและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมก็ต้องลุกขึ้นสู้เรียกร้องสิทธิ ซึ่งผลที่ตามมามักเป็นคดีความยาวเป็นหางว่าวจนจำนวนมากสูญเสียอิสรภาพและหลายคนสิ้นชีวิตในที่กักขังทั้งๆ ที่ไม่ได้บุกรุกที่ดินสาธารณะเหมือนดังกลุ่มทุนแต่อย่างใด ไม่ต่างจากคำกล่าวที่ว่า ‘คุกมีไว้ขังคนจน’ ยิ่งเป็นคนจนที่สังคมติดฉลากว่าเป็นอาชญากรด้วยแล้ว การเรียกร้องจากสังคมโดยเฉพาะรัฐจะเป็นไปได้อย่างไร
ในสภาวการณ์ของข้อเท็จจริงที่ทรัพยากรที่ดินได้กระจุกตัวหนาแน่นมานานในกลุ่มกุมอำนาจการเมืองและทุนทั้งทุนใหม่และทุนเก่า เท่าๆ กับนโยบายและกฎหมายก็ถูกครอบงำจากทุนนิยมในระดับของโครงสร้างและระบบที่ทุกสิ่งแปลงเป็นสินค้า (Commodification) ซื้อขายได้ด้วยเงินตรา
การสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำจึงต้องสร้างนิยามความหมายใหม่ว่า ‘คนจนไม่ใช่อาชญากร ความจนไม่ใช่อาชญากรรม’ ขึ้นมาขับเคี่ยวทวนกระแสว่าสาเหตุที่แท้จริงคือนโยบายและกฎหมายที่ปิดกั้นโอกาสการเข้าถึงทุนทรัพยากรที่ดิน ด้วยตราบใดที่สังคมคงมองคนจนส่วนหนึ่งซึ่งเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงขบวนการทางสังคมที่หนุนเคลื่อนนโยบายและกฎหมายการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมว่าเป็น ‘อาชญากรที่ใช้ความยากจนเป็นเครื่องมือก่ออาชญากรรม’ แล้ว ตราบนั้นความไม่เป็นธรรมเหลื่อมล้ำสุดขั้วก็คงอยู่คู่สังคมไทยต่อไป กระทั่งสังคมไทยเข้าใจผิดไปว่าการไม่เคารพกฎหมายคือ ‘วัฒนธรรมความจน’ จนกระทั่งสกรีนตัวหนังสือบนเสื้อยืดที่คนจนและคนในขบวนการทางสังคมที่ตระหนักในความเท่าเทียมกันของมนุษย์สวมใส่ถูกเปลี่ยนความหมายใหม่เป็น ‘คนจนใช่อาชญากร ความจนใช่อาชญากรรม’
ประเทศไทยความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงผูกโยงกับความมั่งคั่งของทรัพย์สินเงินทอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรที่ดินที่ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญสำหรับความเป็นคนที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีควรค่าแก่การเคารพ ประชาชนคนเล็กคนน้อยและเกษตรกรรายย่อยซึ่งสูญเสียสิทธิและเสรีภาพจากการเลือกปฏิบัติทางกฎหมายทั้งในระดับของการกำหนดกฎหมาย การบังคับใช้ ไปจนถึงการกักขังจับกุมจึงถูกปฏิบัติราวกับไม่ได้เป็นมนุษย์หรือประชากรไทยที่รัฐรับรองความชอบธรรมจากหลักการสิทธิมนุษยชน (Human Rights) และหลักนิติธรรม (the Rule of Law) ที่รัฐต้องให้ความเท่าเทียมทุกคน
เมื่อความเท่าเทียมถูกทุบทำลายและลดทอนจากกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ‘ความตายทั้งเป็น’ จึงตกแก่ประชาชนปลายอ้อปลายแขมที่ไม่เท่าทันกฎหมายซึ่งเป็นกระบวนการเฉพาะของนักกฎหมายในการร่างกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐในการบังคับใช้กฎหมาย และฝ่ายนโยบายที่มีอำนาจกำหนดกฎหมาย จนคนทั่วไปไม่อาจเข้าถึงปริมณฑลดังกล่าวได้ไม่ว่าจะในมุมของข้อเสนอแนะ คัดค้าน หรือเรียกร้อง แม้ว่ารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2540 และ 2550 จะให้สิทธิประชาชนรวมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ถ้ามีถึง 50,000 และ 10,000 รายชื่อตามลำดับ ทว่าในท้ายที่สุดจะพัฒนามาเป็นกฎหมายได้หรือไม่ก็ขึ้นกับอำนาจการตัดสินใจของนักการเมืองว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ ถ้าไปขัดขวางผลประโยชน์จากการถือครองทรัพย์สิน โดยเฉพาะที่ดินซึ่งเป็นทรัพยากรหายากและราคาแพงขึ้นทุกวันของผู้มีอำนาจก็ยากจะผ่านออกมาได้
ในสถานการณ์เช่นนี้ ประชาชนจะเข้ามามีส่วนปฏิสัมพันธ์กับอำนาจกฎหมายได้ก็มักเป็นไปในแง่ลบ โดยมักถูกบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายในฐานะของผู้ถูกกระทำเท่านั้น ดังกรณีที่ดินที่เป็นรูปธรรมถึงความบิดเบี้ยวพิกลพิการของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยที่มีเหยื่อเป็นคนจนจำนวนมาก
การจะปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมทางสังคมโดยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจึงต้องปฏิรูปโครงสร้างเพื่อปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจ (power relations) ด้านการเข้าถึงและถือครองทรัพยากรธรรมชาติ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่เคยกระจุกตัวอยู่แต่ในกลุ่มกุมอำนาจการเมืองและทุน โดยเบื้องต้นต้องปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายที่ดินเป็นสำคัญเพื่อจะสามารถหนุนเคลื่อนนโยบาย (policy advocacy) ให้ตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในสังคมไทย ในขณะเดียวกันก็ทอนภาพความเป็น‘อาชญากรของคนจนและอาชญากรรมของความจน’ ซึ่งเป็นที่รับรู้ทั่วไปในสังคมกรณีที่คนคับแค้นยากจนและเกษตรกรรายย่อยได้เข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าเพื่ออยู่อาศัยหรือทำเกษตร
ด้วยลำพังการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากที่ดินระหว่างประชาชนกับรัฐ ประชาชนกับเอกชน และการกระจายการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรมซึ่งต้องใช้มาตรการหลายด้านตั้งแต่การจัดให้มีโฉนดชุมชน การจัดตั้งธนาคารที่ดินเพื่อจัดหาที่ดินให้กับผู้ไร้ที่ดินทำกิน และการจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนของธนาคารที่ดินและลดการถือครองที่ดินจำนวนมากตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 1 เรื่องการปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ยังไม่เพียงพอ เพราะความเป็นธรรมที่ถูกทำลายลงไปจากกระบวนบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เสมอภาคกันระหว่างคนจนกับรวย คนด้อยอำนาจกับกุมอำนาจ ยังไม่ได้ความเป็นธรรมกลับคืนมาจากการถูกประทับตราเป็นอาชญากร
การคืนความเป็นธรรมแก่ประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากรจึงจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดินเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินให้กระจายไปยังประชาชนอย่างเป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะผู้คนที่ถูกจับกุมคุมขังจากการเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อทำการเกษตรหรือพักพิงอาศัยที่กลายมาเป็นอาชญากรของรัฐจากการถูกให้ความหมายว่าเป็นกลุ่มทำลายความสงบเรียบร้อยมั่นคงของประเทศ กลุ่มทำไร่เลื่อนลอย ไปจนถึงกลุ่มบุกรุกที่ดินสาธารณะ ขณะที่กลุ่มทุนที่ส่งเสริมชาวบ้านให้ทำเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่ป่าต้นน้ำกลับไม่ถูกตรวจสอบดำเนินคดี ที่สำคัญการเข้าไปหักร้างถางป่าเพื่อสร้างรีสอร์ตสุดหรูก็กลับรอดหูรอดตารัฐไปได้เช่นกัน
ดังนั้นการมุ่งมั่นสานต่อมติสมัชชาปฏิรูปในการคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนจึงมีคุณูปการยิ่งต่อสังคมไทยเพราะนอกจากจะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเนื่องมาจากกระบวนการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นธรรมที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรที่ดินได้ไม่เท่าเทียมกันแล้ว ยังจะปลดเปลื้องพันธนาการภาพลักษณ์ทางลบที่สังคมโดยเฉพาะรัฐและสื่อมวลชนบางส่วนร่วมกันประทับตราคนยากจนที่เข้าไปใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินในพื้นที่ต่างๆ เพื่อประทังความอยู่รอดของครอบครัวที่สอดผสานเป็นหนึ่งเดียวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและระบบภูมินิเวศที่เห็นผืนแผ่นดินเป็นมากกว่าสินทรัพย์สำหรับเก็งกำไร
การดำเนินการตามมติปฏิรูปประเทศไทยว่าด้วยการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีที่ดินจึงต้องพิจารณาแก้ปัญหาเป็นแต่ละกรณีตามกลไกและกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ทั้งกรณีคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ให้มีการพักโทษ ลดโทษและคุมประพฤติ พร้อมกับให้ระงับและทบทวนการคิดค่าเสียหายในกรณีคดีโลกร้อน คดีที่ดินที่อยูระหว่างการพิจารณาให้มีการจำหน่ายคดีชั่วคราว อนุญาตให้ประชาชนผู้ต้องหาและครอบครัวอยู่อาศัยทำกินในที่ดินเดิม โดยในระยะเร่งด่วนขอให้สามารถใช้บุคคลหรือกองทุนยุติธรรมในการคํ้าประกันตัวแทนหลักทรัพย์ รวมทั้งเน้นการพิจารณาพฤติกรรมของผู้ต้องหาแทนการใช้หลักทรัพย์คํ้าประกัน พร้อมกับให้มีการตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินโดยการตั้งคณะกรรมการกลางที่มีส่วนร่วมจากชุมชนตรวจสอบให้แล้วเสร็จใน 90 วัน
กรณีปัญหาที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ระงับการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการเพิ่มความเดือดร้อนและความรุนแรงกับประชาชน โดยให้ระงับการจับกุมประชาชนที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ที่มีข้อพิพาทที่มิใช่การแผ้วถางหรือบุกเบิกป่าใหม่ รวมถึงระงับการขยายพื้นที่ที่กำลังจะเป็นข้อพิพาทระหว่างชุมชนกับโครงการพัฒนาของภาครัฐหรือเอกชนจนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาหรือมีข้อพิสูจน์เสร็จสิ้น และพื้นที่ที่กำลังดำเนินการโฉนดชุมชน ทั้งนี้ให้คำนึงถึงกฎหมายผังเมืองในส่วนของการวางผังเมืองรวมที่ครอบคลุมทั้งชนบทและเมือง และที่สำคัญให้ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผู้ที่บุกรุกป่ากรณีไม่มีที่ดินทำกินด้วย ด้วยเพราะประชาชนส่วนนี้ถูกผลักให้เข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินเพราะความคับแค้นยากจนบีบบังคับ และปิดกั้นทางเลือกอื่นๆ ไว้ โดยเฉพาะการใช้กฎหมายหรือนโยบายรัฐในการเอื้อประโยชน์ให้เข้าถึงทรัพยากรที่ดิน
ครั้นไม่ยอมจำนนต่อนโยบายและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมก็ต้องลุกขึ้นสู้เรียกร้องสิทธิ ซึ่งผลที่ตามมามักเป็นคดีความยาวเป็นหางว่าวจนจำนวนมากสูญเสียอิสรภาพและหลายคนสิ้นชีวิตในที่กักขังทั้งๆ ที่ไม่ได้บุกรุกที่ดินสาธารณะเหมือนดังกลุ่มทุนแต่อย่างใด ไม่ต่างจากคำกล่าวที่ว่า ‘คุกมีไว้ขังคนจน’ ยิ่งเป็นคนจนที่สังคมติดฉลากว่าเป็นอาชญากรด้วยแล้ว การเรียกร้องจากสังคมโดยเฉพาะรัฐจะเป็นไปได้อย่างไร
ในสภาวการณ์ของข้อเท็จจริงที่ทรัพยากรที่ดินได้กระจุกตัวหนาแน่นมานานในกลุ่มกุมอำนาจการเมืองและทุนทั้งทุนใหม่และทุนเก่า เท่าๆ กับนโยบายและกฎหมายก็ถูกครอบงำจากทุนนิยมในระดับของโครงสร้างและระบบที่ทุกสิ่งแปลงเป็นสินค้า (Commodification) ซื้อขายได้ด้วยเงินตรา
การสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำจึงต้องสร้างนิยามความหมายใหม่ว่า ‘คนจนไม่ใช่อาชญากร ความจนไม่ใช่อาชญากรรม’ ขึ้นมาขับเคี่ยวทวนกระแสว่าสาเหตุที่แท้จริงคือนโยบายและกฎหมายที่ปิดกั้นโอกาสการเข้าถึงทุนทรัพยากรที่ดิน ด้วยตราบใดที่สังคมคงมองคนจนส่วนหนึ่งซึ่งเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงขบวนการทางสังคมที่หนุนเคลื่อนนโยบายและกฎหมายการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมว่าเป็น ‘อาชญากรที่ใช้ความยากจนเป็นเครื่องมือก่ออาชญากรรม’ แล้ว ตราบนั้นความไม่เป็นธรรมเหลื่อมล้ำสุดขั้วก็คงอยู่คู่สังคมไทยต่อไป กระทั่งสังคมไทยเข้าใจผิดไปว่าการไม่เคารพกฎหมายคือ ‘วัฒนธรรมความจน’ จนกระทั่งสกรีนตัวหนังสือบนเสื้อยืดที่คนจนและคนในขบวนการทางสังคมที่ตระหนักในความเท่าเทียมกันของมนุษย์สวมใส่ถูกเปลี่ยนความหมายใหม่เป็น ‘คนจนใช่อาชญากร ความจนใช่อาชญากรรม’