แบงก์ชาติเปิดเผยแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศลอตแรกจะเพิ่มวงเงินในส่วนของซื้ออสังหาฯ ในต่างประเทศ เงินให้กู้ยืมกิจการในต่างประเทศ ซื้อกิจการในต่างประเทศ “ประสาร” ชี้การเข้าสู่เออีซี และราคาสินทรัพย์ทั่วโลกลด จะเป็นแรงดันให้นักลงทุนไทยย้ายฐานและซื้อกิจการในต่างประเทศมากขึ้น คาดทั้งปี 55 คนไทยขนเงินลงทุนนอกโดยตรงกว่า 3.7 แสนล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศระยะแรกจะออกมาในช่วงปลายไตรมาส 3 นี้ เน้นขยายวงเงินในธุรกรรมเดิมและเพิ่มประเภทสินทรัพย์เป็นสำคัญ อาทิ ธุรกรรมที่เกี่ยวกับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ เพื่อการลงทุนหรือเป็นที่อยู่อาศัย จากเดิมกำหนดให้ซื้อได้ไม่เกิน 10 ล้านเหรียญฯต่อปี จึงจะขยายวงเงินส่วนนี้เพิ่มขึ้น เพราะเห็นว่าธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีการย้ายฐานการผลิตในต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งเริ่มมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยออกไปลงทุนสร้างโครงการในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้การซื้ออสังหาฯ ในต่างประเทศสูงกว่าวงเงินที่กำหนด
เช่นเดียวกับนิติบุคคลในไทยจะให้กู้ยืมแก่กิจการที่ไม่ใช่บริษัทในเครือในต่างประเทศ ซึ่งธปท.คาดว่าจะเพิ่มวงเงินมากกว่า 50 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นหลักเกณฑ์เดิมในปัจจุบัน และอาจจะผ่อนผันเพิ่มเติมให้แก่ผู้ที่มีเงินได้เป็นเงินตราต่างประเทศไม่ต้องนำรายได้กลับเข้าประเทศในวงเงินที่สูงกว่า 50,000 ล้านเหรียญฯต่อปี สำหรับบุคคลธรรมดาที่ไปลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศทั้งกิจการในเครือหรือลงทุนเป็นเจ้าของกิจการตั้งแต่สัดส่วน 10% ขึ้นไปจะพิจารณาขยายวงเงินการลงทุนเพิ่มจากเดิมที่เคยอนุญาตไว้ที่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ การออกมาตการผ่อนคลายดังกล่าว ธปท.จะทยอยออกมาทีละมาตรการตามจังหวะและเวลาที่เหมาะสม
ส่วนแผนในระยะยาว ส่วนหนึ่งที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ คือ ไม่กำหนดเวลาในการนำเงินเข้ามาในประเทศเวลาใดหรือไม่จำเป็นต้องนำเงินเข้าประเทศก็ได้ จากปัจจุบันกำหนดให้ผู้ส่งออกสามารถนำเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออก ฝากเงินไว้ในต่างประเทศสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หลังจากนั้น ให้นำเงินเข้ามาในประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวทางที่ผู้ส่งออกขอผ่อนผันมายังธปท.มาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา แต่ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาว่าควรทำหรือไม่ เพราะในช่วงที่ตลาดการเงินโลกผันผวนมาก การไม่นำเงินรายด้จากการส่งออกเข้าประเทศ อาจจะมีผลต่อกดดันต่อค่าเงินบาทได้
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า หลังจากที่ธปท.ได้สั่งให้สายตลาดการเงินทบทวนสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกในด้านต่างๆ พบว่า ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ธปท.ยังสามารถที่จะออกมาตรการผ่อนคลายหลักเกณฑ์ตามแผนแม่บทเงินฯ ได้อยู่ เพราะช่วงครึ่งหลังของปีนี้มีโอกาสที่เงินจะไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยยังมีอยู่ต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ดังกล่าวทำแบบมีเงื่อนไข ไม่ใช่เปิดเสรีทั้งหมด ซึ่งภาวะของการเงินโลกที่ผันผวนมากเช่นนี้ หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงแบบกลับทิศทาง ธปท.ก็ยังมีเครื่องมือที่จะดึงเงินกลับเข้ามาประเทศ หรือลดการไหลออกของเงินทุนได้
“ธปท.เห็นว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) จะมีผลให้นักลงทุนไทยสนใจขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ขณะเดียวกันราคาลดลงของสินทรัพย์ในต่างประเทศเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของแรงจูงใจให้นักธุรกิจไทยเข้าไปซื้อกิจการในต่างประเทศเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าตลอดทั้งปี 55 คนไทยจะนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ น่าจะไม่ต่ำกว่า 11,000-12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 341,000-372,000 ล้านบาท (31บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ)”
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 55 มีนักลงทุนไทยนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศทั้งสิ้น 6,575 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายของประเทศสุทธิเป็นเงินไหลออก 1,300 ล้านเหรียญฯ และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1,900 ล้านเหรียญฯ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศระยะแรกจะออกมาในช่วงปลายไตรมาส 3 นี้ เน้นขยายวงเงินในธุรกรรมเดิมและเพิ่มประเภทสินทรัพย์เป็นสำคัญ อาทิ ธุรกรรมที่เกี่ยวกับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ เพื่อการลงทุนหรือเป็นที่อยู่อาศัย จากเดิมกำหนดให้ซื้อได้ไม่เกิน 10 ล้านเหรียญฯต่อปี จึงจะขยายวงเงินส่วนนี้เพิ่มขึ้น เพราะเห็นว่าธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีการย้ายฐานการผลิตในต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งเริ่มมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยออกไปลงทุนสร้างโครงการในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้การซื้ออสังหาฯ ในต่างประเทศสูงกว่าวงเงินที่กำหนด
เช่นเดียวกับนิติบุคคลในไทยจะให้กู้ยืมแก่กิจการที่ไม่ใช่บริษัทในเครือในต่างประเทศ ซึ่งธปท.คาดว่าจะเพิ่มวงเงินมากกว่า 50 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นหลักเกณฑ์เดิมในปัจจุบัน และอาจจะผ่อนผันเพิ่มเติมให้แก่ผู้ที่มีเงินได้เป็นเงินตราต่างประเทศไม่ต้องนำรายได้กลับเข้าประเทศในวงเงินที่สูงกว่า 50,000 ล้านเหรียญฯต่อปี สำหรับบุคคลธรรมดาที่ไปลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศทั้งกิจการในเครือหรือลงทุนเป็นเจ้าของกิจการตั้งแต่สัดส่วน 10% ขึ้นไปจะพิจารณาขยายวงเงินการลงทุนเพิ่มจากเดิมที่เคยอนุญาตไว้ที่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ การออกมาตการผ่อนคลายดังกล่าว ธปท.จะทยอยออกมาทีละมาตรการตามจังหวะและเวลาที่เหมาะสม
ส่วนแผนในระยะยาว ส่วนหนึ่งที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ คือ ไม่กำหนดเวลาในการนำเงินเข้ามาในประเทศเวลาใดหรือไม่จำเป็นต้องนำเงินเข้าประเทศก็ได้ จากปัจจุบันกำหนดให้ผู้ส่งออกสามารถนำเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออก ฝากเงินไว้ในต่างประเทศสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หลังจากนั้น ให้นำเงินเข้ามาในประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวทางที่ผู้ส่งออกขอผ่อนผันมายังธปท.มาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา แต่ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาว่าควรทำหรือไม่ เพราะในช่วงที่ตลาดการเงินโลกผันผวนมาก การไม่นำเงินรายด้จากการส่งออกเข้าประเทศ อาจจะมีผลต่อกดดันต่อค่าเงินบาทได้
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า หลังจากที่ธปท.ได้สั่งให้สายตลาดการเงินทบทวนสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกในด้านต่างๆ พบว่า ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ธปท.ยังสามารถที่จะออกมาตรการผ่อนคลายหลักเกณฑ์ตามแผนแม่บทเงินฯ ได้อยู่ เพราะช่วงครึ่งหลังของปีนี้มีโอกาสที่เงินจะไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยยังมีอยู่ต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ดังกล่าวทำแบบมีเงื่อนไข ไม่ใช่เปิดเสรีทั้งหมด ซึ่งภาวะของการเงินโลกที่ผันผวนมากเช่นนี้ หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงแบบกลับทิศทาง ธปท.ก็ยังมีเครื่องมือที่จะดึงเงินกลับเข้ามาประเทศ หรือลดการไหลออกของเงินทุนได้
“ธปท.เห็นว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) จะมีผลให้นักลงทุนไทยสนใจขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ขณะเดียวกันราคาลดลงของสินทรัพย์ในต่างประเทศเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของแรงจูงใจให้นักธุรกิจไทยเข้าไปซื้อกิจการในต่างประเทศเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าตลอดทั้งปี 55 คนไทยจะนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ น่าจะไม่ต่ำกว่า 11,000-12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 341,000-372,000 ล้านบาท (31บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ)”
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 55 มีนักลงทุนไทยนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศทั้งสิ้น 6,575 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายของประเทศสุทธิเป็นเงินไหลออก 1,300 ล้านเหรียญฯ และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1,900 ล้านเหรียญฯ