คลังปรับเกณฑ์พักหนี้ดีหลังพบลูกค้าแบงก์รัฐเมินเข้าร่วมโครงการภายใน 20 ส.ค.นี้ เล็งลดหนี้ให้ทันทีโดยอัตโนมัติ 3 ปีกับผู้มีสิทธิ์ทุกราย
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างทบทวนหลักเกณฑ์โครงกาพักหนี้ให้ลูกหนี้ดีครัวเรือนรายละไม่เกิน 5 แสนบาท เพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ โดยการให้สิทธิผู้ที่เข้าข่ายได้เข้าโครงการโดยอัตโนมัติในการได้รับสิทธิลดดอกเบี้ย 3 ปี หากไม่ได้แสดงความจำนงเข้าโครงการและขอพักชำระเงินต้น เพราะไม่ถือว่าธนาคารมีผลกระทบมากขึ้น ขณะที่ประชาชนที่ได้รับสิทธิควรจะได้ประโยชน์เต็มที่ อย่างไรก็ตามขณะนี้หน่วยงานทีเกี่ยวข้องทั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) และปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาว่าการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.ก่อนหน้านี้หรือไม่ โดยจะต้องได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 20 ส.ค.นี้
ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)นั้นขณะนี้ทราบว่ามีเกษตรกรยื่นเข้าโครงการเกือบครบตามจำนวนแล้ว 2 ล้านกว่าราย ส่วนธนาคารออมสินพบว่ายังมีผู้เข้าโครงการหลักพันรายเท่านั้นถือว่าน้อยมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าธนาคารเองมีปัญหาภายในทำให้โครงการยังไม่คืบหน้ามากนัก การปรับเกณฑ์ดังกล่าวก็เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์สูงสุด
นายบุญช่วย เจียดำรงชัย รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้เกษตรกรที่มีสถานะหนี้ปกติไม่เกิน 5 แสนบาท ระยะเวลา 3 ปีว่าจากจำนวนเกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 2.7 ล้านรายวงเงิน 3.2 แสนล้านบาทนั้นขณะนี้มีการแสดงความประสงค์เข้าโครงการพักชำระเงินต้นและลดดอกเบี้ยแล้ว 90% ยังเหลืออีก 10% เท่านั้นที่ยังไม่ได้แสดงความจำนง ซึ่งหลังจากปิดโครงการยังไม่แสดงความจำนงก็จะเข้าสิทธิได้รับการลดดอกเบี้ยโดยอัตโนมัติทั้งหมด
สำหรับตัวเลขขณะนี้มีผู้ยื่นความจำนงพักชำระเงินต้นและลดดอกเบี้ยแล้วประมาณ 1.77 ล้านราย วงเงิน 2.1 แสนล้านบาท และที่เลือกไม่พักเงินต้นแต่ขอลดดอกเบี้ย มีจำนวน 2.57 แสนราย วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท จึงยังเหลืออีกเพียงเล็กน้อยที่ยังไม่ได้เสดงความจำนงโดยเชื่อว่าลูกค้าของธนาคารทีได้รับสิทธิน่าจะเข้าโครงการทั้ง 100%
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนลูกค้าที่เข้าข่ายทั้งหมดเมื่อตัดส่วนของลูกค้าที่เข้าโครงการอื่นไปแล้วเช่น การพักหนี้ที่ประสบอุทกภัยประมาณ 2.8 หมื่นราย วงเงิน 4,477 ล้านบาท และโครงการอื่นๆรวม 1.85 แสนราย วงเงิน 7.5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มีเกษตรกรที่มีสิทธิลดลงจาก 2.9 ล้านรายเหลือ 2.7 ล้านราย วงเงินสินเชื่อจาก 3.9 แสนรายล้านบาทเหลือเพียง 3.2 แสนล้านบาท แต่ก็ส่งผลให้ยอดเงินรายได้ที่หายไปของธนาคารลดลงด้วยจากปีละ 6,000 ล้านบาทเหลือประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารยังสามารถบริหารจัดการและลดต้นทุนด้านอื่นแทนได้และยังเป็นส่วนที่ได้รับชดเชยจากรัฐบาลด้วยครึ่งหนึ่ง.
นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างทบทวนหลักเกณฑ์โครงกาพักหนี้ให้ลูกหนี้ดีครัวเรือนรายละไม่เกิน 5 แสนบาท เพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ โดยการให้สิทธิผู้ที่เข้าข่ายได้เข้าโครงการโดยอัตโนมัติในการได้รับสิทธิลดดอกเบี้ย 3 ปี หากไม่ได้แสดงความจำนงเข้าโครงการและขอพักชำระเงินต้น เพราะไม่ถือว่าธนาคารมีผลกระทบมากขึ้น ขณะที่ประชาชนที่ได้รับสิทธิควรจะได้ประโยชน์เต็มที่ อย่างไรก็ตามขณะนี้หน่วยงานทีเกี่ยวข้องทั้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) และปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาว่าการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี(ครม.ก่อนหน้านี้หรือไม่ โดยจะต้องได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 20 ส.ค.นี้
ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)นั้นขณะนี้ทราบว่ามีเกษตรกรยื่นเข้าโครงการเกือบครบตามจำนวนแล้ว 2 ล้านกว่าราย ส่วนธนาคารออมสินพบว่ายังมีผู้เข้าโครงการหลักพันรายเท่านั้นถือว่าน้อยมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าธนาคารเองมีปัญหาภายในทำให้โครงการยังไม่คืบหน้ามากนัก การปรับเกณฑ์ดังกล่าวก็เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์สูงสุด
นายบุญช่วย เจียดำรงชัย รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้เกษตรกรที่มีสถานะหนี้ปกติไม่เกิน 5 แสนบาท ระยะเวลา 3 ปีว่าจากจำนวนเกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 2.7 ล้านรายวงเงิน 3.2 แสนล้านบาทนั้นขณะนี้มีการแสดงความประสงค์เข้าโครงการพักชำระเงินต้นและลดดอกเบี้ยแล้ว 90% ยังเหลืออีก 10% เท่านั้นที่ยังไม่ได้แสดงความจำนง ซึ่งหลังจากปิดโครงการยังไม่แสดงความจำนงก็จะเข้าสิทธิได้รับการลดดอกเบี้ยโดยอัตโนมัติทั้งหมด
สำหรับตัวเลขขณะนี้มีผู้ยื่นความจำนงพักชำระเงินต้นและลดดอกเบี้ยแล้วประมาณ 1.77 ล้านราย วงเงิน 2.1 แสนล้านบาท และที่เลือกไม่พักเงินต้นแต่ขอลดดอกเบี้ย มีจำนวน 2.57 แสนราย วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท จึงยังเหลืออีกเพียงเล็กน้อยที่ยังไม่ได้เสดงความจำนงโดยเชื่อว่าลูกค้าของธนาคารทีได้รับสิทธิน่าจะเข้าโครงการทั้ง 100%
อย่างไรก็ตาม จากจำนวนลูกค้าที่เข้าข่ายทั้งหมดเมื่อตัดส่วนของลูกค้าที่เข้าโครงการอื่นไปแล้วเช่น การพักหนี้ที่ประสบอุทกภัยประมาณ 2.8 หมื่นราย วงเงิน 4,477 ล้านบาท และโครงการอื่นๆรวม 1.85 แสนราย วงเงิน 7.5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มีเกษตรกรที่มีสิทธิลดลงจาก 2.9 ล้านรายเหลือ 2.7 ล้านราย วงเงินสินเชื่อจาก 3.9 แสนรายล้านบาทเหลือเพียง 3.2 แสนล้านบาท แต่ก็ส่งผลให้ยอดเงินรายได้ที่หายไปของธนาคารลดลงด้วยจากปีละ 6,000 ล้านบาทเหลือประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารยังสามารถบริหารจัดการและลดต้นทุนด้านอื่นแทนได้และยังเป็นส่วนที่ได้รับชดเชยจากรัฐบาลด้วยครึ่งหนึ่ง.