ASTVผู้จัดการรายวัน - ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด “สุเทพ” อดีตรองนายกฯ แทรกแซงข้าราชการประจำกรณีทำหนังสือถึงกระทรวงวัฒนธรรมแต่งตั้ง ส.ส.ช่วยราชการ ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 266 และ 268 ชี้ความผิดสำเร็จแล้ว เตรียมชงเรื่องให้วุฒิสภาลงมติตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี พร้อมยกคำร้อง “อภิสิทธิ์” ตั้งสุเทพเป็น ปธ.กตร. ระบุมีสิทธิตามกฎหมาย
วานนี้ (26 ก.ค.) นายกล้าณรงค์ จันทิก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงมติ ป.ป.ช.กรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง โดยยกคำร้องกรณีที่มีการกล่าวหาว่า นายอภิสิทธิ์ แต่งตั้งนายสุเทพ เป็นประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (กตช.) และประธานคณะกรรมการข้าการตำรวจ (ก.ตร.) ส่อขัดต่อกฎหมาย เพราะนายสุเทพ ได้ประชุมเป็นประธาน กตร.อย่างน้อย 4 ครั้ง
โดย ป.ป.ช. เห็นว่า นายอภิสิทธิ์มีสิทธิ์แต่งตั้งได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้แก่บุคคลอื่นปฏิบัติหน้าที่แทน ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 17 วรรค 1 และมาตรา 30 วรรค 1 อีกทั้งในช่วง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกก็มีคำสั่งสำนักนายกฯมอบหมายให้ พล.อ.ชวลิต รองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กตร.และประธาน กตช.มาแล้ว จึงไม่มีการใช้อำนาจที่ผิดต่อกฎหมาย มีมติยกคำร้องให้ข้อกล่าวหาตกไป
ส่วนกรณีนายสุเทพ ทำหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 25 ก.พ. 2552 ถึง รมว.วัฒนธรรม ส่ง ส.ส. ปชป.และบุคคลอื่นรวม 19 คนไปช่วยราชการที่กระทรวงวัฒนธรรม เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 266 (1) และ 268 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ป.ป.ช.เห็นว่า มีการส่งหนังสือดังกล่าวจริง โดยหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2552 นายสุเทพ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปรับหนังสือคืนจากกระทรวงวัฒนธรรม แต่ ป.ป.ช.ถือว่าการส่งหนังสือไปก็ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว
โดยป.ป.ช.เห็นว่าเป็นการกระทำความผิดจริง เพราะการทำหนังสือดังกล่าวทำในนามรองนายกรัฐมนตรี ถือเป็นการเข้าข่ายการแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของ รมว.วัฒนธรรม และยังเห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและพรรคการเมืองไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่ง ป.ป.ช.จะส่งเรื่องถอดถอนไปที่วุฒิสภาให้ลงมติต่อไป ซึ่งจะมีผลถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
สำหรับ ส.ส. 19 คนที่เกี่ยวข้องไม่เข้าข่ายกระทำผิด เพราะไม่รับรู้และยังไม่มีการช่วยราชการเกิดขึ้น เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเป็นอำนาจหน้าที่รองนายกฯ เท่านั้น
วานนี้ (26 ก.ค.) นายกล้าณรงค์ จันทิก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงมติ ป.ป.ช.กรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง โดยยกคำร้องกรณีที่มีการกล่าวหาว่า นายอภิสิทธิ์ แต่งตั้งนายสุเทพ เป็นประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (กตช.) และประธานคณะกรรมการข้าการตำรวจ (ก.ตร.) ส่อขัดต่อกฎหมาย เพราะนายสุเทพ ได้ประชุมเป็นประธาน กตร.อย่างน้อย 4 ครั้ง
โดย ป.ป.ช. เห็นว่า นายอภิสิทธิ์มีสิทธิ์แต่งตั้งได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้แก่บุคคลอื่นปฏิบัติหน้าที่แทน ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 17 วรรค 1 และมาตรา 30 วรรค 1 อีกทั้งในช่วง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกก็มีคำสั่งสำนักนายกฯมอบหมายให้ พล.อ.ชวลิต รองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กตร.และประธาน กตช.มาแล้ว จึงไม่มีการใช้อำนาจที่ผิดต่อกฎหมาย มีมติยกคำร้องให้ข้อกล่าวหาตกไป
ส่วนกรณีนายสุเทพ ทำหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 25 ก.พ. 2552 ถึง รมว.วัฒนธรรม ส่ง ส.ส. ปชป.และบุคคลอื่นรวม 19 คนไปช่วยราชการที่กระทรวงวัฒนธรรม เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 266 (1) และ 268 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ป.ป.ช.เห็นว่า มีการส่งหนังสือดังกล่าวจริง โดยหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2552 นายสุเทพ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปรับหนังสือคืนจากกระทรวงวัฒนธรรม แต่ ป.ป.ช.ถือว่าการส่งหนังสือไปก็ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว
โดยป.ป.ช.เห็นว่าเป็นการกระทำความผิดจริง เพราะการทำหนังสือดังกล่าวทำในนามรองนายกรัฐมนตรี ถือเป็นการเข้าข่ายการแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของ รมว.วัฒนธรรม และยังเห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและพรรคการเมืองไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่ง ป.ป.ช.จะส่งเรื่องถอดถอนไปที่วุฒิสภาให้ลงมติต่อไป ซึ่งจะมีผลถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
สำหรับ ส.ส. 19 คนที่เกี่ยวข้องไม่เข้าข่ายกระทำผิด เพราะไม่รับรู้และยังไม่มีการช่วยราชการเกิดขึ้น เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเป็นอำนาจหน้าที่รองนายกฯ เท่านั้น