วานนี้(17 ก.ค.55) เวลา 12.00 น.ที่หน้าสำนักงานเขตบางแค ชาวบ้านเขตบางแค ประมาณ 300 คน ได้นัดรวมตัวประท้วง เรียกร้องเงินช่วยเหลือเยียวยาน้ำท่วม ลังจากก่อนหน้านี้ ได้เดินทางไปเจรจากับ ผู้อำนวยการเขตบางแคแล้ว เพื่อเรียกร้องเงินเยียวยาน้ำท่วม 20,000 บาท โดยทำการปิดถนนขาเข้า และขาออก ถนนเพชรเกษม ที่เชื่อมระหว่างต่างระดับฉิมพลี กับถนนพระราม 2 ส่งผลให้การจราจรติดขัดยาวกว่า 20 ก.ม. สร้างความเดือดร้อนให้คนใช้รถใช้ถนนอย่างหนัก โดยกลุ่มนี้เรียกร้องพบ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงรองนายกรัฐมนตรี
อีกจุดที่หน้าสำนักงานเขตบางเขน ถ.พหลโยธิน ชาวบ้านของเขตบางเขน ประมาณ 1,400 คน รวมตัวกันเรียกร้องรัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาน้ำท่วม เช่นกันโดยปิดถนนทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก
โดยเวลา 15.32 น. ชาวบ้านได้ปิดถนน ถ.พหลโยธิน รวมถึงทางลงอุโมงค์บางเขน และปิดช่องทางคู่ขนานหน้าสำนักงานเขตบางเขนอยู่ สภาพการจราจรติดขัด มีท้ายต่อเนื่องตลาดยิ่งเจริญ ทิศทางกลับกันด้านขาออกที่จะไปวงเวียนบางเขนยังปิดจราจร รถหนาแน่นติดขัด มีท้ายสะสมใกล้แยกเกษตร
นางวัชราภรณ์ กวยะปาณิก ผู้อำนวยการเขตบางเขน กล่าวว่า ตนได้เจรจารับเรื่องร้องเรียนไว้แล้ว โดยรับปากว่าจะนำเรื่องรายงานให้ผู้บริหารกทม.ทราบ เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป เบื้องต้นประชาชนเข้าใจเป็นอย่างดี แต่ให้กทม.พิจารณาเรื่องนี้เป็นเวลา 15 วัน
ด้านนายพิศณุ เจริญนุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางแค กล่าวว่า วันนี้ประชาชนกว่า 200 คนมาชุมนุมยื่นข้อเรียกร้อง ขอเงินเยียวยาน้ำท่วม 20,000 บาททุกราย และเรียกร้องให้ผู้ที่ยังไม่ได้ยื่นเปิดโอกาสให้ยื่นใหม่ได้ทุกราย โดยให้รายละ 20,000 เช่นกัน ซึ่งขณะนี้ทางเขตได้รับเรื่องไว้ พร้อมเรียกตัวแทนผู้ชุมชนมาชี้แจงว่ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ทำหนังสือไปถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)แล้ว กรณีประชาชนเรียกร้องเงินเยียวยาน้ำท่วม 20,000 ทุกครัวเรือน เพราะก่อนหน้านี้ ก็มีประชาชนเขตสายไหม ดอนเมือง บางพลัด ก็ยื่นข้อเรียกร้องนี้มาเช่นกัน ซึ่งหากกรมปภ.ตอบกลับมาอย่างไรจะแจ้งให้ประชาชนรับทราบทันที ประชาชนได้พอใจจึงได้แยกย้ายสลายการชุมนุมในเวลาต่อมา
ขณะที่นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ได้รับรายงานว่าประชาชนเขตบางเขน มาชุมนุมบริเวณหน้าสำนักงานเขตเพื่อเรียกร้องขอรับเงินเยียวยาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งตนได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงประชาชนว่า หากไม่พอใจเงินที่ได้รับสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ และให้แจ้งด้วยว่ากทม.ได้ขยายเวลาขอรับเงินเยียวยา กรณีที่ประชาชนยังไม่ได้มาลงชื่อในเวลาที่กำหนด ที่สำคัญให้ชี้แจงประชาชนว่า กทม.ได้ทำหนังสือถึงกรมปภ.เพื่อขอเงินเยียวยาน้ำท่วมให้ประชาชน 20,000 บาททุกครัวเรือนแล้ว ทั้งนี้ ได้ทราบมาว่าในวันที่ 18 ก.ค. ประชาชนในพื้นที่เขตดอนเมือง และในวันที่ 20 ก.ค. ประชาชนในพื้นที่เขตทวีวัฒนาจะรวมตัวชุมนุมหน้าสำนักงานเขตเพื่อเรียกร้องกรณีเช่นเดียวกัน
เวลา17.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เข้าเจรจากับชาวบ้านเขตบางเขนที่ประท้วงปิดถนนเรียกร้องเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ล่าสุด ยอมเปิดการจราจรถนนพหลโยธิน ขาเข้า ช่องทางคู่ขนานบริเวณหน้าสำนักงานเขตบางเขนเรียบร้อยแล้ว สำหรับสภาพการจราจรโดยรอบวงเวียนบางเขน รถหนาแน่นติดขัดทั้งถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนรามอินทราและถนนพหลโยธิน
**อนุมัติงบปลูกป่า 21 ล้านบาท
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธาน คณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุมได้อนุมัติงบประมาณ 21 ล้านบาท สำหรับจัดซื้อต้นกล้าเพิ่มเติมเพื่อใช้ปลูกป่าต้นน้ำใน 10 จังหวัดตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ ถึง จ.อุตรดิตถ์ โดยเป็นใช้เงินจากงบประมาณเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยที่เหลืออยู่ ทั้งนี้เป็นการเสริมในส่วนที่ขาดอยู่ของโครงการที่กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการ เบื้องต้นจะเริ่มดำเนินการปลูกให้ได้ 8 ล้านกล้าในวันที่ 8 ส.ค.นี้ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานเปิดงานที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และจะให้ได้ครบ 20 ล้านกล้าภายในเดือน ส.ค.นี้ ทั้งนี้ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้ล่าช้าตามที่เป็นข่าว เพียงแต่มีความไม่ชัดเจนในบางขั้นตอนเท่านั้น แต่ถึงตอนนี้มีแผนงานที่ชัดเจนทั้งหมดแล้ว
**ท้าฝ่ายค้านซัดบริหารน้ำพลาด
นายปลอดประสพยังได้กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการฟ้องร้องนายปลอดประสพ ฐานใส่ร้ายรัฐบาลชุดที่แล้วเป็นต้นเหตุให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 54 เพราะบริหารจัดการน้ำผิดพลาดด้วยว่า อยาก ให้ผู้ที่ต้องการฟ้องร้องรีบดำเนินการ เพื่อที่จะได้นำข้อเท็จจริงมาชี้แจง เพราะล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ของกรณีองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซ่า ก็ได้ออกมายืนยันผลการศึกษาว่าสาเหตุที่น้ำท่วมประเทศไทยเมื่อปีก่อน เป็นเพราะรัฐบาลชุดที่แล้วบริหารจัดการน้ำในเขื่อนใหญ่ผิดพลาด ซึ่งตรงตามข้อมูลที่ตนได้ชี้แจงไปก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลก่อนมีความตั้งใจบางอย่างจึงไม่ปล่อยน้ำในเขื่อนใหญ่
“เรื่องนี้ก็ถึงบางอ้อว่า ทำไมพรรคประชาธิปัตย์จึงขัดขวางไม่ให้นาซ่าเข้ามาทำงานในไทย เพราะโกรธที่เขาที่มาหาว่าตัวเองไม่ปล่อยน้ำ เพราะฉะนั้นใครจะฟ้องผมให้รีบๆทำเลย อยากเป็นจำเลยจะได้ชี้แจง และขอให้ฟ้องนักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าด้วย ไม่ใช่มาขู่ๆว่าจะฟ้องเรื่อยไป” นายปลอดประสพ ระบุ
สำหรับความคืบหน้าการขอรับเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) ของกับบริษัทบริหารจัดการน้ำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาทนั้น นายปลอดประสพ เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 ส.ค.นี้ ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตนจะชี้แจงเรื่องเกี่ยวกับทีโออาร์ดังกล่าวทั้งหมด จึงขอเชิญทางพรรคฝ่ายค้าน และสื่อมวลชนมาร่วมซักถามได้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมรับฟังราว 600-700 คน โดยในวันนั้นจะเปิดโอกาสให้ซักถามเต็มที่
**ปูปัดล็อกสเปกต่างชาติบริหารน้ำ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึง กรณีที่มีการวิจารณ์เรื่องการทำทีโออาร์บริหารจัดการน้ำว่าให้ความสำคัญกับต่างชาติมากกว่าว่า รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับนักลงทุนต่างชาติมากกว่านักลงทุนในประเทศ แต่จะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดของ TOR นั้น นายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) จะเป็นผู้ชี้แจงในรายละเอียดในสัปดาห์หน้า
"ยืนยันว่าไม่ใช่อย่างนั้น และไม่ถือว่าเป็นขั้นตอนที่รวบรัด เบื้องต้นต้องการเพียงขอร่างข้อคิดเห็นและข้อแนะนำ ยังไม่ถึงขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง และเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนต่างประเทศและในประเทศมาดำเนินการ"นายกฯ กล่าว
สำหรับโครงการเร่งด่วนในแผนบริหารจัดการน้ำ ขณะนี้งานก่อสร้างต่างๆ โดยรวมมีความคืบหน้าไปแล้ว 60-70% ส่วนแผนจัดการในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำนั้น จะเร่งระบายน้ำในส่วนของปลายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนที่จะประมวลและรวบรวมข้อมูลในการทำแผนระบบการพยากรณ์และการเตือนภัยให้เป็นเอกภาพ และจะมีการชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบในภาพรวมทั้งหมด
นายกฯ กล่าวด้วยว่า ในการติดตามน้ำว่าจะมีพื้นที่ไหนท่วมนั้น ยืนยันว่าบอกแน่ แต่ต้องขอเวลาสักระยะในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ซึ่งไม่เกินเดือนหน้าจะชี้แจงต่อประชาชน อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถบอกได้ 100% ว่าพื้นที่ไหนท่วมไม่ท่วม แต่แนวโน้มจากการพยากรณ์มีโอกาสเสี่ยงแค่ไหนสามารถบอกได้ แต่เปอร์เซ็นต์ความถูกต้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่มี แต่งบประมาณเร่งด่วนจะนำไปเร่งทำพนังกั้นน้ำ เขื่อน และระบบป้องกันในเวลาที่มีอยู่อย่างไร
** 80% เบิกบ้านท่วมสอบตก
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงรายงานความก้าวหน้าของโครงการภายใต้งบประมาณในการเยียวยาฟื้นฟูและป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ วงเงินงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาทว่า ได้มีการจัดสรรงบประมาณไปแล้ว 1.17 แสนล้านบาท มีการลงนามในสัญญาหรือดำเนินการเองแล้วเป็นเงิน 1.04 แสนล้านบาท ซึ่งมีผลการเบิกจ่ายจาก ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เป็นเงิน 7.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62 ของยอดจัดสรรทั้งหมด โดยมีหน่วยงานที่มีผลดำเนินงานสูงกว่าร้อยละ 80 จำนวน 2 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนีกงานพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นอีก 15 กระทรวงยังดำเนินการต่ำกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้มี 2 จังหวัดที่มีผลดำเนินงานสูงกว่าร้อยละ 80 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร ลำพูน ลำปาง และพะเยา ส่วนอีก 69 จังหวัดการดำเนินงานต่ำกว่าร้อยละ 80
“สำนักงบประมาณได้มีหนังสือให้ส่วนราชการ และจังหวัดที่มีสถานะการเบิกจ่ายและผลการดำเนินงานต่ำ กว่าแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดเร่งรัดปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามแผนการที่กำหนด” นายชลิตรัตน์ กล่าว
อีกจุดที่หน้าสำนักงานเขตบางเขน ถ.พหลโยธิน ชาวบ้านของเขตบางเขน ประมาณ 1,400 คน รวมตัวกันเรียกร้องรัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาน้ำท่วม เช่นกันโดยปิดถนนทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก
โดยเวลา 15.32 น. ชาวบ้านได้ปิดถนน ถ.พหลโยธิน รวมถึงทางลงอุโมงค์บางเขน และปิดช่องทางคู่ขนานหน้าสำนักงานเขตบางเขนอยู่ สภาพการจราจรติดขัด มีท้ายต่อเนื่องตลาดยิ่งเจริญ ทิศทางกลับกันด้านขาออกที่จะไปวงเวียนบางเขนยังปิดจราจร รถหนาแน่นติดขัด มีท้ายสะสมใกล้แยกเกษตร
นางวัชราภรณ์ กวยะปาณิก ผู้อำนวยการเขตบางเขน กล่าวว่า ตนได้เจรจารับเรื่องร้องเรียนไว้แล้ว โดยรับปากว่าจะนำเรื่องรายงานให้ผู้บริหารกทม.ทราบ เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป เบื้องต้นประชาชนเข้าใจเป็นอย่างดี แต่ให้กทม.พิจารณาเรื่องนี้เป็นเวลา 15 วัน
ด้านนายพิศณุ เจริญนุกูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางแค กล่าวว่า วันนี้ประชาชนกว่า 200 คนมาชุมนุมยื่นข้อเรียกร้อง ขอเงินเยียวยาน้ำท่วม 20,000 บาททุกราย และเรียกร้องให้ผู้ที่ยังไม่ได้ยื่นเปิดโอกาสให้ยื่นใหม่ได้ทุกราย โดยให้รายละ 20,000 เช่นกัน ซึ่งขณะนี้ทางเขตได้รับเรื่องไว้ พร้อมเรียกตัวแทนผู้ชุมชนมาชี้แจงว่ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ทำหนังสือไปถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)แล้ว กรณีประชาชนเรียกร้องเงินเยียวยาน้ำท่วม 20,000 ทุกครัวเรือน เพราะก่อนหน้านี้ ก็มีประชาชนเขตสายไหม ดอนเมือง บางพลัด ก็ยื่นข้อเรียกร้องนี้มาเช่นกัน ซึ่งหากกรมปภ.ตอบกลับมาอย่างไรจะแจ้งให้ประชาชนรับทราบทันที ประชาชนได้พอใจจึงได้แยกย้ายสลายการชุมนุมในเวลาต่อมา
ขณะที่นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ได้รับรายงานว่าประชาชนเขตบางเขน มาชุมนุมบริเวณหน้าสำนักงานเขตเพื่อเรียกร้องขอรับเงินเยียวยาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งตนได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงประชาชนว่า หากไม่พอใจเงินที่ได้รับสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ และให้แจ้งด้วยว่ากทม.ได้ขยายเวลาขอรับเงินเยียวยา กรณีที่ประชาชนยังไม่ได้มาลงชื่อในเวลาที่กำหนด ที่สำคัญให้ชี้แจงประชาชนว่า กทม.ได้ทำหนังสือถึงกรมปภ.เพื่อขอเงินเยียวยาน้ำท่วมให้ประชาชน 20,000 บาททุกครัวเรือนแล้ว ทั้งนี้ ได้ทราบมาว่าในวันที่ 18 ก.ค. ประชาชนในพื้นที่เขตดอนเมือง และในวันที่ 20 ก.ค. ประชาชนในพื้นที่เขตทวีวัฒนาจะรวมตัวชุมนุมหน้าสำนักงานเขตเพื่อเรียกร้องกรณีเช่นเดียวกัน
เวลา17.30 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เข้าเจรจากับชาวบ้านเขตบางเขนที่ประท้วงปิดถนนเรียกร้องเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ล่าสุด ยอมเปิดการจราจรถนนพหลโยธิน ขาเข้า ช่องทางคู่ขนานบริเวณหน้าสำนักงานเขตบางเขนเรียบร้อยแล้ว สำหรับสภาพการจราจรโดยรอบวงเวียนบางเขน รถหนาแน่นติดขัดทั้งถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนรามอินทราและถนนพหลโยธิน
**อนุมัติงบปลูกป่า 21 ล้านบาท
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธาน คณะกรรมการการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุมได้อนุมัติงบประมาณ 21 ล้านบาท สำหรับจัดซื้อต้นกล้าเพิ่มเติมเพื่อใช้ปลูกป่าต้นน้ำใน 10 จังหวัดตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ ถึง จ.อุตรดิตถ์ โดยเป็นใช้เงินจากงบประมาณเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยที่เหลืออยู่ ทั้งนี้เป็นการเสริมในส่วนที่ขาดอยู่ของโครงการที่กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการ เบื้องต้นจะเริ่มดำเนินการปลูกให้ได้ 8 ล้านกล้าในวันที่ 8 ส.ค.นี้ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานเปิดงานที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และจะให้ได้ครบ 20 ล้านกล้าภายในเดือน ส.ค.นี้ ทั้งนี้ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้ล่าช้าตามที่เป็นข่าว เพียงแต่มีความไม่ชัดเจนในบางขั้นตอนเท่านั้น แต่ถึงตอนนี้มีแผนงานที่ชัดเจนทั้งหมดแล้ว
**ท้าฝ่ายค้านซัดบริหารน้ำพลาด
นายปลอดประสพยังได้กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการฟ้องร้องนายปลอดประสพ ฐานใส่ร้ายรัฐบาลชุดที่แล้วเป็นต้นเหตุให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 54 เพราะบริหารจัดการน้ำผิดพลาดด้วยว่า อยาก ให้ผู้ที่ต้องการฟ้องร้องรีบดำเนินการ เพื่อที่จะได้นำข้อเท็จจริงมาชี้แจง เพราะล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ของกรณีองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซ่า ก็ได้ออกมายืนยันผลการศึกษาว่าสาเหตุที่น้ำท่วมประเทศไทยเมื่อปีก่อน เป็นเพราะรัฐบาลชุดที่แล้วบริหารจัดการน้ำในเขื่อนใหญ่ผิดพลาด ซึ่งตรงตามข้อมูลที่ตนได้ชี้แจงไปก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลก่อนมีความตั้งใจบางอย่างจึงไม่ปล่อยน้ำในเขื่อนใหญ่
“เรื่องนี้ก็ถึงบางอ้อว่า ทำไมพรรคประชาธิปัตย์จึงขัดขวางไม่ให้นาซ่าเข้ามาทำงานในไทย เพราะโกรธที่เขาที่มาหาว่าตัวเองไม่ปล่อยน้ำ เพราะฉะนั้นใครจะฟ้องผมให้รีบๆทำเลย อยากเป็นจำเลยจะได้ชี้แจง และขอให้ฟ้องนักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าด้วย ไม่ใช่มาขู่ๆว่าจะฟ้องเรื่อยไป” นายปลอดประสพ ระบุ
สำหรับความคืบหน้าการขอรับเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) ของกับบริษัทบริหารจัดการน้ำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาทนั้น นายปลอดประสพ เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 ส.ค.นี้ ที่ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตนจะชี้แจงเรื่องเกี่ยวกับทีโออาร์ดังกล่าวทั้งหมด จึงขอเชิญทางพรรคฝ่ายค้าน และสื่อมวลชนมาร่วมซักถามได้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมรับฟังราว 600-700 คน โดยในวันนั้นจะเปิดโอกาสให้ซักถามเต็มที่
**ปูปัดล็อกสเปกต่างชาติบริหารน้ำ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึง กรณีที่มีการวิจารณ์เรื่องการทำทีโออาร์บริหารจัดการน้ำว่าให้ความสำคัญกับต่างชาติมากกว่าว่า รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับนักลงทุนต่างชาติมากกว่านักลงทุนในประเทศ แต่จะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดของ TOR นั้น นายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.) จะเป็นผู้ชี้แจงในรายละเอียดในสัปดาห์หน้า
"ยืนยันว่าไม่ใช่อย่างนั้น และไม่ถือว่าเป็นขั้นตอนที่รวบรัด เบื้องต้นต้องการเพียงขอร่างข้อคิดเห็นและข้อแนะนำ ยังไม่ถึงขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง และเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนต่างประเทศและในประเทศมาดำเนินการ"นายกฯ กล่าว
สำหรับโครงการเร่งด่วนในแผนบริหารจัดการน้ำ ขณะนี้งานก่อสร้างต่างๆ โดยรวมมีความคืบหน้าไปแล้ว 60-70% ส่วนแผนจัดการในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำนั้น จะเร่งระบายน้ำในส่วนของปลายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนที่จะประมวลและรวบรวมข้อมูลในการทำแผนระบบการพยากรณ์และการเตือนภัยให้เป็นเอกภาพ และจะมีการชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบในภาพรวมทั้งหมด
นายกฯ กล่าวด้วยว่า ในการติดตามน้ำว่าจะมีพื้นที่ไหนท่วมนั้น ยืนยันว่าบอกแน่ แต่ต้องขอเวลาสักระยะในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ซึ่งไม่เกินเดือนหน้าจะชี้แจงต่อประชาชน อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถบอกได้ 100% ว่าพื้นที่ไหนท่วมไม่ท่วม แต่แนวโน้มจากการพยากรณ์มีโอกาสเสี่ยงแค่ไหนสามารถบอกได้ แต่เปอร์เซ็นต์ความถูกต้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่มี แต่งบประมาณเร่งด่วนจะนำไปเร่งทำพนังกั้นน้ำ เขื่อน และระบบป้องกันในเวลาที่มีอยู่อย่างไร
** 80% เบิกบ้านท่วมสอบตก
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงรายงานความก้าวหน้าของโครงการภายใต้งบประมาณในการเยียวยาฟื้นฟูและป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการ วงเงินงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาทว่า ได้มีการจัดสรรงบประมาณไปแล้ว 1.17 แสนล้านบาท มีการลงนามในสัญญาหรือดำเนินการเองแล้วเป็นเงิน 1.04 แสนล้านบาท ซึ่งมีผลการเบิกจ่ายจาก ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เป็นเงิน 7.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62 ของยอดจัดสรรทั้งหมด โดยมีหน่วยงานที่มีผลดำเนินงานสูงกว่าร้อยละ 80 จำนวน 2 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนีกงานพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นอีก 15 กระทรวงยังดำเนินการต่ำกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้มี 2 จังหวัดที่มีผลดำเนินงานสูงกว่าร้อยละ 80 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร ลำพูน ลำปาง และพะเยา ส่วนอีก 69 จังหวัดการดำเนินงานต่ำกว่าร้อยละ 80
“สำนักงบประมาณได้มีหนังสือให้ส่วนราชการ และจังหวัดที่มีสถานะการเบิกจ่ายและผลการดำเนินงานต่ำ กว่าแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้ส่วนราชการและจังหวัดเร่งรัดปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามแผนการที่กำหนด” นายชลิตรัตน์ กล่าว