ASTVผู้จัดการรายวัน-“คมนาคม”เสนอ 55 โครงการ 1.99 ล้านล้านบาท ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง 8 ปี (56-63) ตามกรอบพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ระบบรางลงทุนสูงสุด 1.28ล้านล้าน ทั้งรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้า 10 สาย รองลงมาเป็นโครงข่ายถนน ท่าเรือปากบารา แหลมฉบังเฟส 3 และ สุวรรณภูมิเฟส 2 เน้นลดต้นทุนการขนส่งรับเปิด AEC
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงการคลังเตรียมออกพ.ร.บ.กู้เงินฉบับใหม่วงเงิน 1.6 ล้านล้านบาทแต่รวมแล้วไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางอาเซียนนั้น ในส่วนของกระทรวงคมนาคมได้เสนอกรอบแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง ปี 2556-2563 (8 ปี) วงเงิน 1,990,608.88 ล้านบาท รวม 55 โครงการ
ประกอบด้วย สาขาการขนส่งทางถนน จำนวน 479,122.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.07, สาขาการขนส่งราง จำนวน 1,288,034.96 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.71,สาขาการขนส่งทางน้ำ จำนวน 128,959.82 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.48 และสาขาการขนส่งทางอากาศ จำนวน 94,492.00 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 4.75
โดยโครงข่ายถนน ประกอบด้วย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย) ทางหลวงสายหลักเชื่อมภูมิภาค เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งสินค้า และสนับสนุนกรอบความร่วมมืออาเซียน โครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 (แนวเส้นทางด้านตะวันออก) ซึ่งจะสามารถรองรับการระบายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ , โครงข่ายรถไฟ จะเป็นการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วงเงิน 176,808 ล้านบาท รถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 เส้นทาง ได้แก่ สายเหนือ (กรุงเทพ-เชียงใหม่) สายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพ-หนองคาย และกรุงเทพ-อุบลราชธานี) สายใต้ (กรุงเทพ-หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ สายตะวันออก (กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-ระยอง และ โครงการหลักจะเป็นโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 สาย, โครงข่ายทางอากาศ โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะ 2 เพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเป็น 65 ล้านคนต่อปี โครงข่ายทางน้ำ พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และท่าเรือปากบารา เพื่อรองรับการค้ากับอินเดีย ตะวันออกกลาง อัฟริกาและยุโรป
“แนวคิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งนั้นจะมองระบบการขนส่งที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจย้อน กลับไป10 ปีที่ผ่านมา (2543-2553)ซึ่งพบว่า ระบบขนส่งสาธารณะยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ ทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ความเพียงพอ จึงยังเลือกรถส่วนตัวเป็นหลัก และมอง 5 -8 ปี ต่อจากนี้ อัตราการขยายตัวการขนส่งสินค้าในประเทศแนวโน้มสูงขึ้นคาดว่าปี 2564 จะเพิ่มเป็น 1,700 ล้านตันต่อปีจากปัจจุบัน 550 ล้านตันต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558”นายจุฬากล่าว
การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตรงต่อเวลา แก้ปัญหาคอขวด เป็นต้น โดยในปี 2563 ลดต้นทุนการขนส่งสินค้ารวมเฉลี่ยเหลือ 1.8669 บาท/ตัน-กิโลกรัม จากปัจจุบัน ที่ 1.9949 บาท/ตัน-กิโลกรัม คิดเป็นเงินไม่น้อยกว่า 52,843 ล้านบาทต่อปี เพิ่มปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะร้อยละ 6 ลดค่าใช้จ่ายสูญเสียจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล 80,000 ล้านบาท ประหยัดมูลค่าของเวลาในการเดินทาง 108,000 ล้านบาท ลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม 3,600 ล้านบาท และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง จากร้อยละ 2.5 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2563,เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำจากร้อยละ 8.5 เป็นร้อยละ 10.5 เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางชายฝั่งจากร้อยละ 6.0 เป็นร้อยละ 7.5 ,เพิ่มปริมาณผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จาก 47.4 ล้านคนเป็น 77.3ล้านคน ,ลดความสูญเสียจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 155,000 ล้านบาทต่อปี
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงการคลังเตรียมออกพ.ร.บ.กู้เงินฉบับใหม่วงเงิน 1.6 ล้านล้านบาทแต่รวมแล้วไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางอาเซียนนั้น ในส่วนของกระทรวงคมนาคมได้เสนอกรอบแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง ปี 2556-2563 (8 ปี) วงเงิน 1,990,608.88 ล้านบาท รวม 55 โครงการ
ประกอบด้วย สาขาการขนส่งทางถนน จำนวน 479,122.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.07, สาขาการขนส่งราง จำนวน 1,288,034.96 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.71,สาขาการขนส่งทางน้ำ จำนวน 128,959.82 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.48 และสาขาการขนส่งทางอากาศ จำนวน 94,492.00 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 4.75
โดยโครงข่ายถนน ประกอบด้วย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย) ทางหลวงสายหลักเชื่อมภูมิภาค เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งสินค้า และสนับสนุนกรอบความร่วมมืออาเซียน โครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 (แนวเส้นทางด้านตะวันออก) ซึ่งจะสามารถรองรับการระบายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ , โครงข่ายรถไฟ จะเป็นการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วงเงิน 176,808 ล้านบาท รถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 เส้นทาง ได้แก่ สายเหนือ (กรุงเทพ-เชียงใหม่) สายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพ-หนองคาย และกรุงเทพ-อุบลราชธานี) สายใต้ (กรุงเทพ-หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ สายตะวันออก (กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-ระยอง และ โครงการหลักจะเป็นโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 สาย, โครงข่ายทางอากาศ โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะ 2 เพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเป็น 65 ล้านคนต่อปี โครงข่ายทางน้ำ พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และท่าเรือปากบารา เพื่อรองรับการค้ากับอินเดีย ตะวันออกกลาง อัฟริกาและยุโรป
“แนวคิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งนั้นจะมองระบบการขนส่งที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจย้อน กลับไป10 ปีที่ผ่านมา (2543-2553)ซึ่งพบว่า ระบบขนส่งสาธารณะยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ ทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ความเพียงพอ จึงยังเลือกรถส่วนตัวเป็นหลัก และมอง 5 -8 ปี ต่อจากนี้ อัตราการขยายตัวการขนส่งสินค้าในประเทศแนวโน้มสูงขึ้นคาดว่าปี 2564 จะเพิ่มเป็น 1,700 ล้านตันต่อปีจากปัจจุบัน 550 ล้านตันต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558”นายจุฬากล่าว
การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตรงต่อเวลา แก้ปัญหาคอขวด เป็นต้น โดยในปี 2563 ลดต้นทุนการขนส่งสินค้ารวมเฉลี่ยเหลือ 1.8669 บาท/ตัน-กิโลกรัม จากปัจจุบัน ที่ 1.9949 บาท/ตัน-กิโลกรัม คิดเป็นเงินไม่น้อยกว่า 52,843 ล้านบาทต่อปี เพิ่มปริมาณผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะร้อยละ 6 ลดค่าใช้จ่ายสูญเสียจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล 80,000 ล้านบาท ประหยัดมูลค่าของเวลาในการเดินทาง 108,000 ล้านบาท ลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม 3,600 ล้านบาท และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง จากร้อยละ 2.5 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2563,เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำจากร้อยละ 8.5 เป็นร้อยละ 10.5 เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางชายฝั่งจากร้อยละ 6.0 เป็นร้อยละ 7.5 ,เพิ่มปริมาณผู้โดยสารที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จาก 47.4 ล้านคนเป็น 77.3ล้านคน ,ลดความสูญเสียจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 155,000 ล้านบาทต่อปี