xs
xsm
sm
md
lg

บทบาททักษิณ คนเสื้อแดง และศาลรัฐธรรมนูญ กับระบบการเมืองไทย

เผยแพร่:   โดย: ว.ร. ฤทธาคนี

ทักษิณเป็นคนที่อยู่ในกระแสการเมือง ลัทธิทุนนิยมสามานย์ และมีความใฝ่สูงมากที่จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินตั้งแต่เป็นเด็ก เพราะมีบิดาเป็นนักธุรกิจการเมือง ทักษิณจึงเข้าใจอำนาจอิทธิพลการเมืองของนักการเมือง และกลไกการสร้างอิทธิพลการเมือง และขั้นบันไดอันดับแรกของเขา คือ การเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร และเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ เพราะเขารับรู้อำนาจอิทธิพลของตำรวจดี โดยมีปัญญาดีเป็นตัวเสริมให้สามารถสอบได้ทุนไปเรียนต่างประเทศ เขาขวนขวายหาเสาหลักจับเพื่ออนาคต จึงไขว่คว้าลูกสาวนายพลตำรวจใหญ่ พล.ต.ท.เสมอ ดามาพงศ์ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มาเป็นภรรยา ก็บรรลุความปรารถนา

เรื่องรุ่นของสถาบันการศึกษาเป็นฐานพลังอำนาจและอิทธิพลทางสังคมที่ทุกวงการในเมืองไทยย่อมรู้ดี พลังรุ่นเตรียมทหารทำให้ทักษิณปฏิบัติงานเป็นนายเวรติดตามนักการเมืองได้ดี และเขามองทะลุว่าจะใหญ่ได้ต้องรวย จึงลาออกจากตำรวจมาทำธุรกิจตามแนวคิดของ อัลวิน ทอฟเฟลอ ผู้วิเคราะห์พลังคลื่นลูกที่สามของสังคมมนุษย์ คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทักษิณเข้าธุรกิจนี้ในจังหวะที่เหมาะ ประกอบกับการที่คลุกคลีกับนักการเมืองมือฉกาจอย่างนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งเมื่อครั้งเป็น รมว.คมนาคม รับผิดชอบกิจการโทรคมนาคม ได้ออกกฎหมายมาปกป้องธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศให้อยู่ในมือคนไทย ทำให้ชินคอร์ปถือกำเนิดจากกิจการค้าคอมพิวเตอร์ของบริษัทชิณวัตร กิจการโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์ และดาวเทียมโทรคมนาคม ทำให้ทักษิณร่ำรวยมากเพราะกิจการโทรคมนาคมของเขาเป็นธุกิจกึ่งผูกขาดเพราะรัฐปกป้อง

ทั้งพลังเงิน คำพูดชวนเชื่อ และบทละครที่ทักษิณสร้างขึ้นให้เป็นตัวตนเป็นคนมือสะอาด และมีอุดมการณ์ ดึงดูดคนหลายคน รวมทั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ว่าเขาคืออัศวินม้าขาวในวงการเมืองไทยใหม่ ที่จะมาปฏิรูปการเมืองให้เป็นอารยะทันสมัย ทักษิณจึงเข้าสู่วงการเมืองอย่างลัดวงจรตามนัยแห่งเงินตรา และได้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่สร้างจากมือคนถือธรรม และพรรคที่สร้างขึ้นมาว่า “พลังธรรม” ซึ่งยิ่งเสริมบุคลิกภาพทางการเมืองให้ทักษิณมากขึ้นเป็นทวีคูณ

แต่ความจริงความชั่วของทักษิณก็ปรากฏขึ้นตั้งแต่คดีซุกหุ้น แต่คนไทยทั้งหลายตาบอดเอง และคิดว่าหลัก “รัฐศาสตร์นำนิติศาสตร์” น่าจะเหมาะสมกับสถานการณ์การเมืองและเพื่อให้พ้นจากตัวเลือกที่นักการเมืองส่วนใหญ่มีอดีตพัวพันกับการคดโกงบ้านเมือง ศาลรัฐธรรมนูญชุดแรกโดยท่านประเสริฐ นาสกุล วีรบุรุษตุลาการที่ล่วงลับไปแล้วแสดงข้อวินิจฉัยเป็นเสียงข้างน้อยว่าทักษิณกระทำผิดกฎหมายซุกหุ้นแต่เสียงข้างมากของคณะตุลาการให้ทักษิณไม่ผิดคดีซุกหุ้นด้วยคะแนน 8 ต่อ 7 จึงเกิดวลี “บกพร่องโดยสุจริต” เป็นวลียาพิษของสังคมไทยเกิดจากต้นไม้พิษที่เกาะกินชาติบ้านเมืองมาจนวันนี้

ทักษิณชนะคดีซุกหุ้น ทำให้โฉมหน้าหลักการพิพากษาเพี้ยนไปเพราะกระแสสังคมชี้นำคณะตุลาการสายรัฐศาสตร์ ทำให้วลีพิษ “ความบกพร่องโดยสุจริต” กลายเป็นปรัชญาเชิงรัฐศาสตร์ที่ครอบงำคนไทยเชิงการเมืองทุกวันนี้ว่า “รัฐบาลโกงกินได้ แต่ถ้าชาติเจริญแล้วไม่เป็นไร”

ช่วงเวลาที่ทักษิณสร้างพรรค เขาตีบทนักการเมืองอุดมการณ์แตกอย่างน่าอัศจรรย์ จนรวบรวมผู้คน ปัญญาชน และนักธุรกิจไว้ในมือมากหน้าหลายตา แต่วาระซ่อนเร้นปรากฏออกมามากมายหลายกรณี และสุดท้ายการเลี่ยงภาษีจากการขายบริษัท ชินคอร์ป จำกัด ให้กับเทมาเส็กแห่งรัฐบาลสิงคโปร์ เป็นจำนวนเงิน 76,000 ล้านบาท ซึ่งในสัญญาซื้อเหมาร่วมนั้น ดาวเทียมไทยคมและเส้นทางบินแอร์เอเชียอันเป็นทรัพย์สมบัติของคนไทยไปขาย แต่คดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาภิเษกซึ่งทำให้เขาถูกตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปีโดยไม่รอลงอาญาซึ่งเขาใช้เล่ห์กลการเมืองหนีคดีออกนอกประเทศโดยที่ไม่มีใครขับไล่ แต่เขาขับไล่ตัวเองเอาตัวรอดหนีคำพิพากษาที่เขาไม่มีทางปฏิเสธไม่ได้ ไม่เหมือนคดีซุกหุ้นที่สังคมคิดผิดจึงเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

การก่อตั้งพรรคไทยรักไทยนั้น ความเจ้าเล่ห์ทางการเมืองของทักษิณที่สำคัญ คือ การเกณฑ์อดีตนักศึกษาที่นิยมลัทธิซีกซ้าย และกลุ่มอนาธิปไตยซีกซ้าย ที่เคลื่อนไหวทั้งกรณี 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เช่น นายภูมิธรรม เวชชยชัย นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช หรือสหายจรัส นายสุธรรม แสงประทุม และนายเกรียงกมล เลาหะไพโรจน์ เป็นต้น คนเหล่านี้ทักษิณจ้างไว้ในพรรคไทยรักไทยเพื่อเป็นฐานเสียงด้านกลุ่มสังคมนิยม ที่มีความชำนาญในเรื่องการสร้างปรัชญาการเมือง ทั้งในซีกเสรีนิยมจนถึงขั้วอนาธิปไตยทำลายสถาบัน

ด้วยกลยุทธ์ผสมผสานความคิดกลุ่มเสรีนิยม สังคมนิยมคอมมิวนิสต์กับกลุ่มอนาธิปไตยนี้เอง ทำให้ทักษิณพลังการเมืองยุคใหม่สูงมาก ประกอบกับเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 จึงมีฐานอิทธิพลตำรวจและทหารหนุนอย่างไม่เคยมีใครในประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้รับมาก่อน

พรรคการเมืองของเขาถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2540 นักปลุกระดมอาชีพถูกซื้อตัว เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายวีระ มุสิกพงศ์ ส่วนกลุ่มผู้หลงใหลในนักอุดมการณ์จอมปลอม เช่น นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง คนพวกนี้จึงกลายเป็นเกราะรายล้อมทักษิณ ที่นิยมความรุนแรงในการชุมนุมประท้วงและการพัฒนาพรรคการเมืองของเขาเกิดจากฐานเสียงผู้ได้ประโยชน์กองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ หรือที่เรียกตัวเองว่ารากหญ้าและพลังการเมืองของเขาเกิดจากลัทธิประชานิยมจนถึงการข่มขู่กรรโชก เช่น ครั้งหนึ่ง พ.ศ. 2548 ทักษิณขู่คนนครสวรรค์ว่า “จังหวัดไหนมอบความไว้วางใจให้เราต้องดูแลเป็นพิเศษ...จังหวัดที่ให้ความไว้วางใจน้อยก็ต้องเอาไว้ทีหลัง” จึงเสมือนหนึ่งว่า “ถ้าคนนครสวรรค์ไม่สนับสนุนพรรคไทยรักไทยแล้ว นครสวรรค์จะเป็นจังหวัดสุดท้ายที่จะได้งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล” มีด้วยหรือที่นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งทั้งติดสินบนและขู่กรรโชกพลเมืองของชาติ เพราะเสียงเขาเป็นเสียงข้างน้อยในสภาและไม่ได้สนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี และถ้ารัฐธรรมนูญไม่ปกป้องเสียงข้างน้อย เช่น คนบางส่วนในจังหวัดนครสวรรค์ในปี 2548 ก็ต้องรับกรรมไป

ดังนั้น กลุ่มรากหญ้าที่เกิดจากลัทธิประชานิยม จึงกลายเป็นเครื่องมือการเมืองของทักษิณ ประกอบกิจกรรมโหดเผาบ้านเผาเมือง ใช้อาวุธสงครามและอาวุธแสวงเครื่องทำร้ายฆ่าทหารและประชาชนผู้บริสุทธิ์สามวาระตั้งแต่เดือนเมษายน 2551, 2552 และพฤษภาหฤโหด 2553 แต่กลับได้ดี ได้ประกันตัวด้วยเงินภาษีของคนไทย

วันที่ 13 กรกฎาคม 2555 จะเป็นวันมหาประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะออกบัลลังก์พิจารณาร่าง พ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 ว่าเข้าข่ายผิดในมาตรา 68 แห่งรัฐธรรมนูญ ว่า พ.ร.บ.ร่างฉบับนี้ร่างขึ้นเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผลพวงของประชาธิปไตย เพราะ ส.ส.ร.ที่รับผิดชอบการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 นั้นเกิดจากเสียงประชาชนทั่วประเทศเลือกตัวแทน และผนวกกับผู้ทรงคุณวุฒิ รวมกันเป็น 200 คน ช่วยกันสร้างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แต่ทักษิณและพวกอาศัยความอ่อนตัวและเจตนารมณ์ที่ให้โอกาสการเมืองไทยได้พัฒนาสู่อารยะ กลับใช้เป็นเครื่องมือสร้างระบอบเผด็จการรัฐสภา โดยอาศัยเสียงข้างมากทั้งในและนอกสภา บริหารจัดการประเทศชาติตามอำเภอใจ จนผู้คนเดือดร้อน มีการเผชิญหน้ากันระหว่างคนไทยสองกลุ่ม จนพัฒนาเกือบเป็นสงครามการเมือง กลุ่มสาวกทักษิณระดมคนรากหญ้าที่เรียกว่าสมัชชาคนจนเสื้อแดง มารวมพลที่สวนจตุจักร เผชิญห่างกันกับกลุ่มคนเสื้อเหลืองเพียงไม่ถึง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดกระแสปลุกสำนึกให้กองทัพออกมารัฐประหาร ป้องกันสงครามกลางเมืองประชาชนใน 19 กันยายน 2549

ตั้งแต่นั้นมาทักษิณทำทุกกรณี ทุกรูปแบบ และทุกวิถีทางที่จะกลับเข้ามามีอำนาจ และเรียกร้องเอาเงินที่ถูกตัดสินว่าเป็นเงินทุจริต 46,000 ล้านบาทคืน เขากล้าทำถึงขนาดเลี้ยงกลุ่มอนาธิปไตยล้มล้างสถาบันที่มีกลุ่มแดงเหวงและธิดาที่เขียนความแตกแยกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศในหนังสือเรื่องป่าแตก สร้างความวุ่นวายและสั่นคลอนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ครั้งหนึ่งคนพวกนี้ต่อต้านทักษิณ อะไรเปลี่ยนพวกเขา เงินหรือแนวร่วมต่อต้านสถาบัน

ยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ให้เป็นฉบับปี 2550 นั้น ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ได้แก้ไขอะไรให้แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 เลยเพียงแต่มีการสร้างกลไกป้องกันมิให้นักการเมืองชั่วได้ใช้ช่องโหว่ความอ่อนตัว และช่องว่างบางประการ สร้างระบอบเผด็จการรัฐสภาอย่างเบ็ดเสร็จ

พ.ร.บ.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 นั้น เป็นอันตรายต่อประเทศชาติและสถาบัน เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล “ทักษิณพูด พรรคเพื่อไทยทำ” เป็นสโลแกนการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย จึงเป็นความระแวงของสังคมไทยว่ามีวาระอะไรซ่อนเร้นอยู่

การพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ดำเนินการอย่างรวดเร็วเกินกว่าปกติ รวมทั้งมีพหุยุทธศาสตร์ที่ผลิตออกมาโดยทักษิณและพวกสร้างความสับสนวุ่นวายในสังคมไทย จนทำให้ศาลรัฐธรรมนูญออกมาแจ้งสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ชะลอการพิจารณาวาระที่ 3 ไว้ก่อน จนกลายเป็นประเด็นร้อนแรง

ศาลรัฐธรรมนูญถูกสร้างขึ้นมาให้พิจารณาร่าง “พระราชบัญญัติ” หรือร่างพระราขบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร หรือของรัฐสภาแล้วแต่กรณี แต่ประเด็นที่ทั้งสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาเห็นชอบแล้วว่ามีข้อขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้อง

ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรอิสระที่ถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับปี 2540 และฉบับปี 2550 อยู่ในอำนาจอธิปไตยของชาติ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยทุกคน ศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นองค์กรที่สำคัญของคนไทยทุกคน ที่ต้องพึ่งพามิให้อำนาจอธิปไตยของเขาถูกย่ำยี

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการสร้างความสมดุลของอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ฝ่าย และศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นของประชาชนด้วยเช่นกัน จึงเป็นสิทธิของคนไทยที่มีสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญได้ตาม มาตรา 68

การออกนั่งบัลลังก์ของคณะตุลาการในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ จะเป็นวันประวัติศาสตร์ที่รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 จะถูกชำแหละในรายละเอียดโดยคณะตุลาการเป็นมาตราๆ ไป คนไทยทั้งปวงจะได้รับรู้ว่าอำนาจประชาชนถูกลิดรอนตรงไหน เพื่อให้นักการเมืองสามารถสร้างอำนาจรัฐโดยไม่ถูกตรวจสอบ พระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์เจ้าจะถูกลิดรอนหรือไม่ การให้อำนาจรัฐบาล หัวหน้ารัฐบาล และรัฐมนตรีนั้นอยากมากมายแต่ตรวจสอบไม่ได้ โดยเฉพาะกฎหมายการตรวจเงินแผ่นดิน กองทัพจะถูกควบคุมอย่างเด็ดขาดโดยอำนาจของนักการเมืองในฐานะรัฐมนตรีที่สามารถสร้างกองทัพของชาติให้เป็นกองทัพของตัวเองและพรรค ข้อคิดเหล่านี้เป็นประเด็นคำถามทั้งสิ้น

แต่ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าผลของการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร หากศาล รธน.ยกคำร้อง ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ต้องถูกนำกราบบังคมทูลขอพระปรมาภิไธยในหลวง และหากข้อแก้ไขที่ศาล รธน.ให้แก้ไขตามข้อวินิจฉัย ไม่ได้รับการแก้ไขในสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นไปได้ เพราะขณะนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยจำนวนมากวิจารณ์ข้อแจ้งของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่มีอำนาจให้ชะลอไว้ก่อนและพวกเขาคงไม่ทำตามที่ศาล รธน.ขอ

ถ้าหากเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ มีความเป็นไปได้ที่ในหลวงไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย เพราะร่าง พ.ร.บ.ยังไม่ได้รับการแก้ไขตามข้อวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และส่งกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาใหม่ แต่ทักษิณประกาสิตไว้แล้วว่าจะต้องแก้รัฐธรรมนูญให้ได้อันเป็นหนทางสุดท้ายของเขา ซึ่งเป็นข่าวหนาหูอยู่ทุกวันนี้ว่าเขายอมไม่ได้แม้กระทั่งนายก่อแก้ว พิกุลทอง ที่หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ลงข่าวหน้าหนึ่งว่า “จะจับคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฐานเป็นกบฏ ถ้าตำรวจไม่จับพวกเขาจะจับเอง” นี่คือประกาสิตของคนนอกกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นข้อคิดสำคัญของคนไทยทั้งชาติเพราะบ้านเมืองกำลังไร้ขือไร้แป

หากสภาผู้แทนราษฎรส่งกลับขึ้นกราบบังคมทูลใหม่โดยที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้รับการแก้ไข เรื่องการเมืองทั้งหมดก็จะสู่ทางตัน ซึ่งเข้าทางฝ่ายอนาธิปไตยที่จะท้าทายพระราชอำนาจ โดยประกาศเป็นกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่มีพระปรมาภิไธย ซึ่งมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาแล้วเมื่ออดีตรัฐบาลทักษิณส่งร่าง พ.ร.บ.ครู ปี พ.ศ. 2548 ในหลวงลงพระปรมาภิไธยแต่ทรงขอให้ตรวจสอบใหม่ แต่ทักษิณมิได้ส่ง พ.ร.บ.ครูฉบับนั้นกลับไปขอโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยใหม่ โดยนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ยุคทักษิณออกมาชี้แจงว่า “ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีข้อผิดพลาดทางเทคนิคเล็กน้อย”

แต่วันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป บทบาททักษิณกร้าวขึ้น คนเสื้อแดงไร้เหตุผลมากขึ้น ไร้สำนึกความเป็นไทยของคนเสื้อแดงลดน้อยลง แต่มีความรุนแรงมากขึ้น และเป็นการตัดสินครั้งสุดท้ายที่สำคัญของทักษิณ ระหว่างความปรารถนาของเขา กับความปรารถนาของคนทั้งชาติโดยมีบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ ความยุติธรรม และความสงบสุขของแผ่นดินเป็นเดิมพัน
มารยาริษยา ตอนที่ 13 อวสาน
มารยาริษยา ตอนที่ 13 อวสาน
อามขี่มอเตอร์ไซค์มาตามทาง ในสภาพคนอกหักหัวใจสลาย วินาทีที่คิดถึงเรื่องถูกดีนี่ปฏิเสธนั้น น้ำตาหนุ่มวัยคะนองก็ไหลรินออกมา ขณะเดียวกัน เพียงดาวเพิ่งขับรถออกมาพ้นบริเวณบ้านโอมเพียงนิดเดียว เสียงมือถือดังขึ้น เพียงดาวมองจอเห็นเป็นโอมโทร.มา แต่อารามรีบจะกดรับสาย จึงทำมือถือหลุดมือไปที่พื้น เพียงดาวโน้มตัวก้มลงเก็บ ครั้นพอเงยหน้าขึ้นมา ก็เห็นรถมอเตอร์ไซค์คนหนึ่งวิ่งสวนมาตัดหน้า ไวเท่าความคิดเพียงดาวรีบหักรถจอดที่ข้างทาง แล้วก้าวลงรถรีบวิ่งเข้าไปหา พอเห็นว่าเป็นมอเตอร์ไซค์ล้มทับตัวอามอยู่ก็ยิ่งตกใจ “น้องอาม!!!” เพียงดาวรีบช่วยยกมอเตอร์ไซค์ขึ้นอย่างทุลักทุเล แล้วยังสังเกตเห็นว่าอามร้องไห้ก็ยิ่งตกใจหนัก “น้องอามเป็นยังไงบ้าง?” “พี่ดาว ผมขอโทษนะครับ” อามเอ่ยขึ้น ใบหน้าหมองเศร้า เพียงดาวไม่เข้าใจ “ขอโทษพี่ทำไม เมื่อกี๊พี่มัวแต่ก้มเก็บมือถือจนเกือบชนน้องอาม พี่ต่างหากที่ต้องขอโทษ” “ผมรู้แล้วครับ ว่าเรื่องพี่ดีนี่...พี่ดาวพูดจริงทุกอย่าง” “น้องอามหมายความว่ายังไงคะ?”
กำลังโหลดความคิดเห็น