เอเจนซีส์-ผลศึกษา “โออีซีดี” ระบุกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยติด “อันดับ 10 ของโลก” และ “อันดับ 1 ในอาเซียน” ในฐานะเมืองใหญ่ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และเป็นเมืองสุ่มเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และการทำลายล้างของคลื่น “สตอร์ม เซิร์จ” คาดมูลค่าทรัพย์สินในกรุงเทพฯ ที่สุ่มเสี่ยงต่อหายนะดังกล่าว อาจพุ่งสูงถึง 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ราว 34.9 ล้านล้านบาท ในปี 2070 หรืออีก 58 ปี นับจากนี้
รายงานขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1961 และมีฐานอยู่ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส ระบุว่า มีเมืองท่ามากกว่า 130 แห่งทั่วโลกที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อภัยคุกคามจากเหตุน้ำท่วม เพราะคลื่น “สตอร์ม เซิร์จ” , ภัยคุกคามจากพายุ รวมถึงการที่ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น และมีอุณหภูมิอุ่นขึ้นกว่าปกติ ซึ่งทางโออีซีดีระบุว่า กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ ที่ขาดการวางแผนด้านการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และยังมีการบริหารจัดการในเชิงโครงสร้างที่ย่ำแย่ ซึ่งแน่นอนว่า จะยิ่งส่งผลให้มีคนกรุงเทพฯ ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงจากภัยคุกคามดังกล่าวมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับในอีกหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก
ผลการศึกษาขององค์การระหว่างประเทศซึ่งมีสมาชิก 34 ชาติดังกล่าว ระบุว่า เมืองหลวงของไทยซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกขนานนามว่า “เวนิสตะวันออก” แห่งนี้ อาจตกอยู่ในอันตรายจากภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมากขึ้น ซึ่งภายในปี 2070 ประชากรของกรุงเทพฯ ไม่ต่ำกว่า 5.1 ล้านคน จะตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสารพัดภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์คลื่นซัดกระหน่ำชายฝั่ง น้ำท่วม หรือพายุ
ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินในเมืองหลวงของไทยที่สุ่มเสี่ยงถูกทำลาย ก็คิดเป็นวงเงินมหาศาลถึง 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 34.9 ล้านล้านบาท และทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นมหานครที่เสี่ยงต่อภัยคุกคามจากสภาพอากาศโลกมากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก แต่เป็นเมืองที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายโฮเซ อังเฆล กูร์เรีย อดีตนักการทูตชาวเม็กซิกัน วัย 62 ปี ในฐานะเลขาธิการใหญ่ของโออีซีดี เปิดเผยว่า เหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้ว และสร้างความเสียหายเป็นวงเงินมากกว่า 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1.43ล้านล้านบาทนั้น ถือเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า นับจากนี้เมืองหลวงของไทยจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
ทั้งนี้ รายงานของโออีซีดีระบุว่า 10 เมืองใหญ่ของโลกที่สุ่มเสี่ยงจะถูกทำลาย หรือเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกมากที่สุด คือ เมืองไมอามี มลรัฐฟลอริดา ของสหรัฐฯ, นครกว่างโจว ของจีน, มหานครนิวยอร์กและเมืองนวร์ก ของสหรัฐฯ, เมืองโกลกาตาหรือกัลกัตตาของอินเดีย,นครเซี่ยงไฮ้ของจีน , เมือง มุมไบของอินเดีย, เมืองเทียนจินหรือเทียนสินของจีน, กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น, เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน และปิดท้ายด้วยกรุงเทพมหานครของไทย ในอันดับที่ 10
รายงานขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1961 และมีฐานอยู่ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส ระบุว่า มีเมืองท่ามากกว่า 130 แห่งทั่วโลกที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อภัยคุกคามจากเหตุน้ำท่วม เพราะคลื่น “สตอร์ม เซิร์จ” , ภัยคุกคามจากพายุ รวมถึงการที่ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น และมีอุณหภูมิอุ่นขึ้นกว่าปกติ ซึ่งทางโออีซีดีระบุว่า กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ ที่ขาดการวางแผนด้านการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และยังมีการบริหารจัดการในเชิงโครงสร้างที่ย่ำแย่ ซึ่งแน่นอนว่า จะยิ่งส่งผลให้มีคนกรุงเทพฯ ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงจากภัยคุกคามดังกล่าวมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับในอีกหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก
ผลการศึกษาขององค์การระหว่างประเทศซึ่งมีสมาชิก 34 ชาติดังกล่าว ระบุว่า เมืองหลวงของไทยซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกขนานนามว่า “เวนิสตะวันออก” แห่งนี้ อาจตกอยู่ในอันตรายจากภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมากขึ้น ซึ่งภายในปี 2070 ประชากรของกรุงเทพฯ ไม่ต่ำกว่า 5.1 ล้านคน จะตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสารพัดภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์คลื่นซัดกระหน่ำชายฝั่ง น้ำท่วม หรือพายุ
ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินในเมืองหลวงของไทยที่สุ่มเสี่ยงถูกทำลาย ก็คิดเป็นวงเงินมหาศาลถึง 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 34.9 ล้านล้านบาท และทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นมหานครที่เสี่ยงต่อภัยคุกคามจากสภาพอากาศโลกมากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก แต่เป็นเมืองที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายโฮเซ อังเฆล กูร์เรีย อดีตนักการทูตชาวเม็กซิกัน วัย 62 ปี ในฐานะเลขาธิการใหญ่ของโออีซีดี เปิดเผยว่า เหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้ว และสร้างความเสียหายเป็นวงเงินมากกว่า 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1.43ล้านล้านบาทนั้น ถือเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า นับจากนี้เมืองหลวงของไทยจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
ทั้งนี้ รายงานของโออีซีดีระบุว่า 10 เมืองใหญ่ของโลกที่สุ่มเสี่ยงจะถูกทำลาย หรือเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกมากที่สุด คือ เมืองไมอามี มลรัฐฟลอริดา ของสหรัฐฯ, นครกว่างโจว ของจีน, มหานครนิวยอร์กและเมืองนวร์ก ของสหรัฐฯ, เมืองโกลกาตาหรือกัลกัตตาของอินเดีย,นครเซี่ยงไฮ้ของจีน , เมือง มุมไบของอินเดีย, เมืองเทียนจินหรือเทียนสินของจีน, กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น, เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน และปิดท้ายด้วยกรุงเทพมหานครของไทย ในอันดับที่ 10