*จีโนมมนุษย์กับการแพทย์เชิงโมเลกุลและศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ*
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ประมาณ 100 ล้านล้านเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 0.1 มิลลิเมตร ภายในแต่ละเซลล์มีนิวเคลียส ภายในนิวเคลียสมี จีโนม (Genome) จีโนม คือ ยีน (Gene) ครบชุดสมบูรณ์ของมนุษย์ที่อยู่บน โครโมโซม (Chromosome) ทั้งหมด 23 คู่ (คำว่า จีโนม มาจากการสนธิคำว่า ยีนกับโครโมโซม นั่นเอง)
โครโมโซม 14 (จากโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่) ในยีนของมนุษย์นั้น เกี่ยวกับความชราโดยตรง กล่าวคือ บนโครโมโซม 14 ในยีนที่เรียกว่า TEP 1 นั้น ผลผลิตของ TEP 1 เป็นโปรตีนองค์ประกอบหนึ่งของเอนไซม์แปลกประหลาดที่สุดชนิดหนึ่งคือ เทโลเมอเรส (telomerase) เพราะการขาดเอนไซม์เทโลเมอเรส จะทำให้ชรา แต่การเพิ่มเทโลเมอเรสทำให้เซลล์เป็นอมตะ (จากหนังสือ “ถอดรหัสจีโนมมนุษย์” โดย Matt Ridley, สำนักพิมพ์สารคดี, พ.ศ. 2552)
ถ้าพูดขยายความให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ทุกครั้งที่มีการทำสำเนาโครโมโซม เอนไซม์ ทำสำเนาดีเอ็นเอที่เรียกว่า โพลีเมอเรส ไม่สามารถเริ่มต้นทำงานที่ต้นสายดีเอ็นเอได้ แต่จะต้องเริ่มตรง “คำ” ที่ถัดเข้ามาในเนื้อความอีกสองสามคำ ดังนั้น เนื้อความจึงสั้นลงทุกครั้งที่ถูกทำสำเนา โดยที่ปลายแต่ละด้านของโครโมโซมจะมีลำดับเบสที่ไม่มีความหมายใดๆ ซึ่งเรียกว่า เทโลเมียร์ (telomere) เทโลเมียร์ชิ้นเล็กๆ นี้แหละที่จะถูกตัดออกไปทุกครั้งที่มีการทำสำเนาโครโมโซม เพราะฉะนั้น หลังจากทำสำเนาไม่กี่ร้อยครั้ง ปลายของโครโมโซมจะสั้นลงจนยีนที่มีความหมายมีโอกาสถูกตัดออกไปด้วย
ในร่างกายของคนเรานั้น เทโลเมียร์กำลังสั้นลงด้วยอัตรา 31 “ตัวอักษร” ต่อปี (ในเนื้อเยื่อบางชนิดอาจมากกว่านั้น) นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเซลล์ถึงแก่ตัว และตายลงเมื่อถึงอายุๆ หนึ่ง และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมร่างกายจึงชราขึ้นเช่นกัน คนที่มีอายุ 80 ปีโดยเฉลี่ยแล้ว เทโลเมียร์จะยาวประมาณห้าในแปดของเมื่อแรกเกิดเท่านั้น
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น เป็นผู้ค้นพบว่า ยีนเทโลเมอเรสนี้อยู่บนโครโมโซม 14 โดยเป็นตัวสร้างโปรตีนที่ตั้งชื่อว่า telomerase associated protein 1 หรือ TEP 1 การค้นพบยีนเทโลเมอเรสนี้ใกล้เคียงกับการค้นพบ “ยีนแห่งความเยาว์วัย” เลยทีเดียว เพราะมันเปิดโอกาสของความเป็นไปได้ในการทดลองสร้างเซลล์อมตะด้วยเทโลเมอเรสในอนาคต แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้
ในการพัฒนาของมนุษย์ตามปกตินั้น ยีนที่สร้างเทโลเมอเรสในเนื้อเยื่อเกือบทั้งหมดจะถูกปิดการทำงาน การปิดสวิตช์ยีนเทโลเมอเรสนี้เปรียบได้กับการตั้งนาฬิกานับเวลาถอยหลัง คือ เทโลเมียร์จะนับจำนวนการแบ่งในแต่ละกลุ่มเซลล์ และเมื่อถึงจุดหนึ่ง เซลล์ก็จะหยุดแบ่งตัวเป็นที่น่าสังเกตว่า เซลล์เชื้อโรคไม่เคยปิดสวิตช์ยีนเทโลเมอเรสเลย ส่วนเซลล์มะเร็งนั้น เปิดสวิตช์ยีนนี้ขึ้นมาใหม่ได้ (เนื้องอกจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว และลุกลาม) ส่วนเซลล์ซึ่งยีนโทโลเมอเรสถูกปิดการทำงานไป จะมีเทโลเมียร์สั้นลงเรื่อยๆ และทำให้เซลล์นั้นเริ่มแก่ตัว ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ได้สร้างเทโลเมียร์ของคนเราให้มีความยาวที่สามารถอยู่ได้นานที่สุด แค่ 75 ถึง 90 ปีโดยเฉลี่ยเท่านั้น โดยที่ กระบวนการเสื่อมทางสรีระของคนทั่วไปที่ไม่ได้ฝึกฝน “ศาสตร์ชะลอวัย” โดยปกติจะเริ่มขึ้นในช่วงอายุระหว่าง 55 ถึง 75 ปี ที่ทำให้คนเหล่านี้เริ่มผมหงอก หลังแข็ง ป่วยกระเสาะกระแสะ ข้อลั่น หูตึง ฯลฯ อันเป็นสัญญาณของความเป็นคนแก่นั่นเอง
อย่างไรก็ดี การที่มนุษย์แต่ละคนมีอายุยืนยาวแตกต่างกัน ยังอาจชี้ให้เห็นถึงการมีเทโลเมียร์ที่ยาวแตกต่างกันด้วย และความยาวของเทโลเมียร์นี้ ก็สามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้เหมือนกับการมีอายุยืนด้วย ผู้ที่มาจากครอบครัวอายุยืน ซึ่งสมาชิกในครอบครัวมีอายุถึง 90 ปี จึงอาจมีเทโลเมียร์ยาวกว่าคนอื่น อย่างไรก็ดี การมีแค่เทโลเมียร์ยาวจะไม่มีประโยชน์อะไร หากร่างกายเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วด้วยปัจจัยอื่น เช่น เทโลเมียร์ของผู้นั้นอาจสั้นลง เพราะร่างกายของผู้นั้นไม่อาจซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้อย่างเหมาะสม
เพราะฉะนั้น ความชราจึงควรมองว่าเป็นกระบวนการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของยีนหลายยีน มากกว่าแค่ถูกควบคุมโดยเทโลเมียร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในจีโนมมนุษย์ มียีนที่มีอิทธิพลต่ออายุขัยถึง 7,000 หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด จึงไม่มีแค่ยีนใดยีนหนึ่งที่เป็น “ยีนชรา” (ยีนที่ทำให้ชรา) ความชราจึงเป็นเรื่องของการเสื่อมสภาพของระบบต่างๆ ในร่างกายอย่างเป็นองค์รวมมากกว่าเป็นเรื่องเฉพาะส่วน
ปัจจุบันนี้ เรารู้แล้วว่า การสูบบุหรี่ช่วยเร่งกระบวนการแก่ตัว เพราะควันบุหรี่จะไปทำลายปอด เมื่อปอดเสียหายก็ต้องซ่อมแซม การต้องซ่อมแซมนี้แหละที่ทำให้เทโลเมียร์สั้นลง จึงทำให้เซลล์ “แก่” เร็วกว่าที่ควรจะเป็น เพราะฉะนั้น เอนไซม์เทโลเมอเรสซึ่งทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้น ก็ยังเป็นความหวังของการแพทย์เชิงโมเลกุลของการแพทย์กระแสหลักแห่งศตวรรษที่ 21 อยู่ดี
ปัจจุบัน การแพทย์เชิงโมเลกุลเพื่อค้นหาความเยาว์วัยตราบนานเท่านานได้รุดหน้าไปเป็นอย่างมาก เพราะมีความพยายามในการบูรณาการรักษาด้วยฮอร์โมนที่ถูกควบคุมอย่างระมัดระวังเข้ากับการรักษาด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งการปลูกอวัยวะขึ้นมาใหม่ สิ่งนี้คือแนวทางสุขภาพกระแสหลักที่ต่อยอดมาจาก การแนะให้เลิกสูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีไขมันต่ำ คอเลสเตอรอลต่ำ และกากอาหารสูง รวมทั้งการไม่เครียดนั่นเอง เพราะการแพทย์กระแสหลักมองว่าการบำบัดด้วยฮอร์โมน น่าจะสามารถมีส่วนช่วยในการควบคุมผลเสียหายบางอย่างของความแก่ชรา และป้องกันจากโรคได้บ้าง ทั้งนี้เพราะการปฏิวัติทางชีวโมเลกุลได้ถอดรหัสให้เห็นแล้วว่า ฮอร์โมนอาจทำหน้าที่ “เปิด” ยีนบางอย่างภายในเซลล์ได้
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังมีความเสี่ยงว่า การชะลอกระบวนการของความแก่ชรา โดยการรักษาด้วยฮอร์โมนนั้นอาจแลกมาด้วยความเสี่ยงจากโรคมะเร็งที่สูงขึ้น อาจเป็นเพราะฮอร์โมนไปเร่งหรือเปิดสวิตช์ยีนเทโลเมอเรส ทำให้เซลล์ขยายตัวได้เร็วขึ้น รวมทั้งเซลล์มะเร็งด้วย นอกจากนี้การเพิ่มความแข็งแกร่งที่นำมาโดยการบำบัดด้วยฮอร์โมนจะไปเพิ่มการออกซิเดชัน ปล่อยอนุมูลอิสระ และก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียข้อมูลและโรคมะเร็งได้ เพราะฉะนั้น การบำบัดด้วยฮอร์โมน จะต้องควบคุมผลข้างเคียงไม่ให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งด้วย ถึงจะเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งขณะนี้ก็ยังอยู่ในขั้นทดลองพยายามกันอยู่เท่านั้น
ฮอร์โมนการเติบโตของมนุษย์ (Human Growth Hormone) หรือ HGH ที่ผลิตขึ้นมาจากการใช้แบคทีเรียที่ผ่านการดัดแปลงทางชีววิทยา (แต่เดิมทีต้องเอามาจากต่อมพิทูอิทารีของศพ ซึ่งได้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น) เมื่อนำมาทดลองใช้กับชายสูงวัยอายุ 65 ปีแล้ว แม้จะมีผลทำให้ผิวหนังของผู้ถูกทดลองนุ่ม และเยาว์วัยขึ้น ไขมันหายไป กล้ามเนื้อที่เคยลีบ แข็งแรงขึ้นก็จริง แต่ความสามารถทางความคิด รวมทั้งความแข็งแรง และความทนทานโดยรวมกลับไม่มีการพัฒนาขึ้นแม้แต่น้อย และยังมีผลข้างเคียงอย่างการปวดตามข้อต่อ ข้อเท้าบวม และมือที่ทำงานติดขัดตามมาด้วย
ในเมื่อการรักษาด้วยฮอร์โมนเพื่อการชะลอวัย ยังไม่อาจเชื่อมั่นได้เต็มที่ในขณะนี้ ขณะที่การปลูกอวัยวะขึ้นมาใหม่เพื่อใช้แทนอวัยวะที่เสื่อมสภาพไปแล้ว ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้ หรือต่อให้ทำได้ก็คงเสียค่าใช้จ่ายที่แพงมาก ด้วยเหตุนี้ ศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ จึงไม่ผนวกเอาการแพทย์เชิงโมเลกุลมาเป็นหนึ่งในเสาหลักที่ค้ำจุนภาคปฏิบัติของตน แต่ยังคงยืนยันที่จะใช้ “การแพทย์เชิงพลังงาน” เป็นเสาหลักที่ค้ำจุนภาคปฏิบัติเพื่อการชะลอวัย และอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง โดยที่ศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการของผมที่มีพื้นฐานอยู่บน “การแพทย์เชิงพลังงาน” นี้ จะมี 3 โมเดลหรือ 3 ตำรับสำหรับภาคปฏิบัติให้เลือกใช้หรือใช้ควบคู่กันไปได้คือ (1) โมเดล “สุขภาพควอนตัม” ของดีปัก โชปรา ที่ได้กล่าวไปแล้ว (2) โมเดล “โยคะ” และ (3) โมเดล “เต๋า” ซึ่งจะได้กล่าวอย่างละเอียดต่อไป
www.dragon-press.com
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ประมาณ 100 ล้านล้านเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 0.1 มิลลิเมตร ภายในแต่ละเซลล์มีนิวเคลียส ภายในนิวเคลียสมี จีโนม (Genome) จีโนม คือ ยีน (Gene) ครบชุดสมบูรณ์ของมนุษย์ที่อยู่บน โครโมโซม (Chromosome) ทั้งหมด 23 คู่ (คำว่า จีโนม มาจากการสนธิคำว่า ยีนกับโครโมโซม นั่นเอง)
โครโมโซม 14 (จากโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่) ในยีนของมนุษย์นั้น เกี่ยวกับความชราโดยตรง กล่าวคือ บนโครโมโซม 14 ในยีนที่เรียกว่า TEP 1 นั้น ผลผลิตของ TEP 1 เป็นโปรตีนองค์ประกอบหนึ่งของเอนไซม์แปลกประหลาดที่สุดชนิดหนึ่งคือ เทโลเมอเรส (telomerase) เพราะการขาดเอนไซม์เทโลเมอเรส จะทำให้ชรา แต่การเพิ่มเทโลเมอเรสทำให้เซลล์เป็นอมตะ (จากหนังสือ “ถอดรหัสจีโนมมนุษย์” โดย Matt Ridley, สำนักพิมพ์สารคดี, พ.ศ. 2552)
ถ้าพูดขยายความให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ทุกครั้งที่มีการทำสำเนาโครโมโซม เอนไซม์ ทำสำเนาดีเอ็นเอที่เรียกว่า โพลีเมอเรส ไม่สามารถเริ่มต้นทำงานที่ต้นสายดีเอ็นเอได้ แต่จะต้องเริ่มตรง “คำ” ที่ถัดเข้ามาในเนื้อความอีกสองสามคำ ดังนั้น เนื้อความจึงสั้นลงทุกครั้งที่ถูกทำสำเนา โดยที่ปลายแต่ละด้านของโครโมโซมจะมีลำดับเบสที่ไม่มีความหมายใดๆ ซึ่งเรียกว่า เทโลเมียร์ (telomere) เทโลเมียร์ชิ้นเล็กๆ นี้แหละที่จะถูกตัดออกไปทุกครั้งที่มีการทำสำเนาโครโมโซม เพราะฉะนั้น หลังจากทำสำเนาไม่กี่ร้อยครั้ง ปลายของโครโมโซมจะสั้นลงจนยีนที่มีความหมายมีโอกาสถูกตัดออกไปด้วย
ในร่างกายของคนเรานั้น เทโลเมียร์กำลังสั้นลงด้วยอัตรา 31 “ตัวอักษร” ต่อปี (ในเนื้อเยื่อบางชนิดอาจมากกว่านั้น) นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเซลล์ถึงแก่ตัว และตายลงเมื่อถึงอายุๆ หนึ่ง และนี่ก็เป็นสาเหตุว่าทำไมร่างกายจึงชราขึ้นเช่นกัน คนที่มีอายุ 80 ปีโดยเฉลี่ยแล้ว เทโลเมียร์จะยาวประมาณห้าในแปดของเมื่อแรกเกิดเท่านั้น
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น เป็นผู้ค้นพบว่า ยีนเทโลเมอเรสนี้อยู่บนโครโมโซม 14 โดยเป็นตัวสร้างโปรตีนที่ตั้งชื่อว่า telomerase associated protein 1 หรือ TEP 1 การค้นพบยีนเทโลเมอเรสนี้ใกล้เคียงกับการค้นพบ “ยีนแห่งความเยาว์วัย” เลยทีเดียว เพราะมันเปิดโอกาสของความเป็นไปได้ในการทดลองสร้างเซลล์อมตะด้วยเทโลเมอเรสในอนาคต แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้
ในการพัฒนาของมนุษย์ตามปกตินั้น ยีนที่สร้างเทโลเมอเรสในเนื้อเยื่อเกือบทั้งหมดจะถูกปิดการทำงาน การปิดสวิตช์ยีนเทโลเมอเรสนี้เปรียบได้กับการตั้งนาฬิกานับเวลาถอยหลัง คือ เทโลเมียร์จะนับจำนวนการแบ่งในแต่ละกลุ่มเซลล์ และเมื่อถึงจุดหนึ่ง เซลล์ก็จะหยุดแบ่งตัวเป็นที่น่าสังเกตว่า เซลล์เชื้อโรคไม่เคยปิดสวิตช์ยีนเทโลเมอเรสเลย ส่วนเซลล์มะเร็งนั้น เปิดสวิตช์ยีนนี้ขึ้นมาใหม่ได้ (เนื้องอกจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว และลุกลาม) ส่วนเซลล์ซึ่งยีนโทโลเมอเรสถูกปิดการทำงานไป จะมีเทโลเมียร์สั้นลงเรื่อยๆ และทำให้เซลล์นั้นเริ่มแก่ตัว ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ได้สร้างเทโลเมียร์ของคนเราให้มีความยาวที่สามารถอยู่ได้นานที่สุด แค่ 75 ถึง 90 ปีโดยเฉลี่ยเท่านั้น โดยที่ กระบวนการเสื่อมทางสรีระของคนทั่วไปที่ไม่ได้ฝึกฝน “ศาสตร์ชะลอวัย” โดยปกติจะเริ่มขึ้นในช่วงอายุระหว่าง 55 ถึง 75 ปี ที่ทำให้คนเหล่านี้เริ่มผมหงอก หลังแข็ง ป่วยกระเสาะกระแสะ ข้อลั่น หูตึง ฯลฯ อันเป็นสัญญาณของความเป็นคนแก่นั่นเอง
อย่างไรก็ดี การที่มนุษย์แต่ละคนมีอายุยืนยาวแตกต่างกัน ยังอาจชี้ให้เห็นถึงการมีเทโลเมียร์ที่ยาวแตกต่างกันด้วย และความยาวของเทโลเมียร์นี้ ก็สามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้เหมือนกับการมีอายุยืนด้วย ผู้ที่มาจากครอบครัวอายุยืน ซึ่งสมาชิกในครอบครัวมีอายุถึง 90 ปี จึงอาจมีเทโลเมียร์ยาวกว่าคนอื่น อย่างไรก็ดี การมีแค่เทโลเมียร์ยาวจะไม่มีประโยชน์อะไร หากร่างกายเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วด้วยปัจจัยอื่น เช่น เทโลเมียร์ของผู้นั้นอาจสั้นลง เพราะร่างกายของผู้นั้นไม่อาจซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้อย่างเหมาะสม
เพราะฉะนั้น ความชราจึงควรมองว่าเป็นกระบวนการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของยีนหลายยีน มากกว่าแค่ถูกควบคุมโดยเทโลเมียร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในจีโนมมนุษย์ มียีนที่มีอิทธิพลต่ออายุขัยถึง 7,000 หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด จึงไม่มีแค่ยีนใดยีนหนึ่งที่เป็น “ยีนชรา” (ยีนที่ทำให้ชรา) ความชราจึงเป็นเรื่องของการเสื่อมสภาพของระบบต่างๆ ในร่างกายอย่างเป็นองค์รวมมากกว่าเป็นเรื่องเฉพาะส่วน
ปัจจุบันนี้ เรารู้แล้วว่า การสูบบุหรี่ช่วยเร่งกระบวนการแก่ตัว เพราะควันบุหรี่จะไปทำลายปอด เมื่อปอดเสียหายก็ต้องซ่อมแซม การต้องซ่อมแซมนี้แหละที่ทำให้เทโลเมียร์สั้นลง จึงทำให้เซลล์ “แก่” เร็วกว่าที่ควรจะเป็น เพราะฉะนั้น เอนไซม์เทโลเมอเรสซึ่งทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้น ก็ยังเป็นความหวังของการแพทย์เชิงโมเลกุลของการแพทย์กระแสหลักแห่งศตวรรษที่ 21 อยู่ดี
ปัจจุบัน การแพทย์เชิงโมเลกุลเพื่อค้นหาความเยาว์วัยตราบนานเท่านานได้รุดหน้าไปเป็นอย่างมาก เพราะมีความพยายามในการบูรณาการรักษาด้วยฮอร์โมนที่ถูกควบคุมอย่างระมัดระวังเข้ากับการรักษาด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งการปลูกอวัยวะขึ้นมาใหม่ สิ่งนี้คือแนวทางสุขภาพกระแสหลักที่ต่อยอดมาจาก การแนะให้เลิกสูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีไขมันต่ำ คอเลสเตอรอลต่ำ และกากอาหารสูง รวมทั้งการไม่เครียดนั่นเอง เพราะการแพทย์กระแสหลักมองว่าการบำบัดด้วยฮอร์โมน น่าจะสามารถมีส่วนช่วยในการควบคุมผลเสียหายบางอย่างของความแก่ชรา และป้องกันจากโรคได้บ้าง ทั้งนี้เพราะการปฏิวัติทางชีวโมเลกุลได้ถอดรหัสให้เห็นแล้วว่า ฮอร์โมนอาจทำหน้าที่ “เปิด” ยีนบางอย่างภายในเซลล์ได้
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังมีความเสี่ยงว่า การชะลอกระบวนการของความแก่ชรา โดยการรักษาด้วยฮอร์โมนนั้นอาจแลกมาด้วยความเสี่ยงจากโรคมะเร็งที่สูงขึ้น อาจเป็นเพราะฮอร์โมนไปเร่งหรือเปิดสวิตช์ยีนเทโลเมอเรส ทำให้เซลล์ขยายตัวได้เร็วขึ้น รวมทั้งเซลล์มะเร็งด้วย นอกจากนี้การเพิ่มความแข็งแกร่งที่นำมาโดยการบำบัดด้วยฮอร์โมนจะไปเพิ่มการออกซิเดชัน ปล่อยอนุมูลอิสระ และก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียข้อมูลและโรคมะเร็งได้ เพราะฉะนั้น การบำบัดด้วยฮอร์โมน จะต้องควบคุมผลข้างเคียงไม่ให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งด้วย ถึงจะเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งขณะนี้ก็ยังอยู่ในขั้นทดลองพยายามกันอยู่เท่านั้น
ฮอร์โมนการเติบโตของมนุษย์ (Human Growth Hormone) หรือ HGH ที่ผลิตขึ้นมาจากการใช้แบคทีเรียที่ผ่านการดัดแปลงทางชีววิทยา (แต่เดิมทีต้องเอามาจากต่อมพิทูอิทารีของศพ ซึ่งได้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น) เมื่อนำมาทดลองใช้กับชายสูงวัยอายุ 65 ปีแล้ว แม้จะมีผลทำให้ผิวหนังของผู้ถูกทดลองนุ่ม และเยาว์วัยขึ้น ไขมันหายไป กล้ามเนื้อที่เคยลีบ แข็งแรงขึ้นก็จริง แต่ความสามารถทางความคิด รวมทั้งความแข็งแรง และความทนทานโดยรวมกลับไม่มีการพัฒนาขึ้นแม้แต่น้อย และยังมีผลข้างเคียงอย่างการปวดตามข้อต่อ ข้อเท้าบวม และมือที่ทำงานติดขัดตามมาด้วย
ในเมื่อการรักษาด้วยฮอร์โมนเพื่อการชะลอวัย ยังไม่อาจเชื่อมั่นได้เต็มที่ในขณะนี้ ขณะที่การปลูกอวัยวะขึ้นมาใหม่เพื่อใช้แทนอวัยวะที่เสื่อมสภาพไปแล้ว ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้ หรือต่อให้ทำได้ก็คงเสียค่าใช้จ่ายที่แพงมาก ด้วยเหตุนี้ ศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ จึงไม่ผนวกเอาการแพทย์เชิงโมเลกุลมาเป็นหนึ่งในเสาหลักที่ค้ำจุนภาคปฏิบัติของตน แต่ยังคงยืนยันที่จะใช้ “การแพทย์เชิงพลังงาน” เป็นเสาหลักที่ค้ำจุนภาคปฏิบัติเพื่อการชะลอวัย และอายุยืนถึงร้อยปีหรือกว่านั้น เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง โดยที่ศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการของผมที่มีพื้นฐานอยู่บน “การแพทย์เชิงพลังงาน” นี้ จะมี 3 โมเดลหรือ 3 ตำรับสำหรับภาคปฏิบัติให้เลือกใช้หรือใช้ควบคู่กันไปได้คือ (1) โมเดล “สุขภาพควอนตัม” ของดีปัก โชปรา ที่ได้กล่าวไปแล้ว (2) โมเดล “โยคะ” และ (3) โมเดล “เต๋า” ซึ่งจะได้กล่าวอย่างละเอียดต่อไป
www.dragon-press.com