*วิชันของศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ*
การบำรุงรักษาให้ร่างกายของเรา หรือระบบสรีระของเราให้คงสภาพหนุ่มสาวหรือความเยาว์ไว้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือเป้าหมายของศาสตร์ชะลอวัย ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยโมเดลแบบใดก็ตาม ผลพวงที่ได้จากการชะลอวัยนั้นนอกจากจะได้ความเยาว์วัยของสรีระ (เสื่อมช้า) แล้วยังได้สุขภาพที่ดี ไม่ป่วยและอายุยืนยาวตามมาอีกด้วย
ลำพังแค่การดูแลสุขภาพธรรมดา โดยปฏิบัติตามที่ทางการแนะนำให้กินอาหารครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกาย และพยายามไม่เครียดนั้น มันไม่เพียงพอต่อการทำให้เกิดการชะลอวัยได้หรอก อย่างมากก็จะได้สุขภาพดีขึ้นมาในระดับหนึ่ง แต่ยังจะเจ็บป่วยเหมือนคนอื่น และอายุขัยก็จะเท่าๆ กันโดยเฉลี่ยแค่นั้นเอง แต่สิ่งที่ผมต้องการนำเสนอในข้อเขียนชุดนี้ก็คือ ความรู้องค์รวมแบบบูรณาการเกี่ยวกับศาสตร์ชะลอวัย หรือศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ เพื่อบรรลุทั้งความเยาว์วัย สุขภาพที่ดี และความมีอายุยืนยาวถึงร้อยปีหรือกว่านั้นไปพร้อมๆ กัน
การจะมีความเยาว์วัย (แก่ช้า) มีสุขภาพดี และอายุยืนได้นั้น ผู้นั้นจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ให้ชีวิตตนเองเป็นแบบนั้นด้วยอย่างตั้งใจ จริงจัง เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้น ด้วยองค์ความรู้แบบองค์รวม และแบบบูรณาการถึงจะเป็นไปได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ลำพังแค่การใช้ชีวิตแบบธรรมดาเหมือนเช่นที่ผ่านมานั้น ยากจะบรรลุเช่นนั้นได้
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งของคนส่วนใหญ่ก็คือ การใช้ชีวิตแบบธรรมดา (ในความหมายว่าไม่ใส่ใจเรียนรู้องค์ความรู้แบบองค์รวมเพื่อการชะลอวัยและอายุยืน) อาจจะทำให้ผู้นั้นดูเหมือนว่ายังมี “สุขภาพดี” ก็จริงอยู่ แต่ในความจริงแล้ว นั่นอาจเป็นแค่สภาวะที่อาจมีโรค และความเสื่อมสภาพซ่อนอยู่ เพื่อรอเวลาเผยตัวออกมาในอนาคตข้างหน้าก็เป็นได้ใครจะรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตไปตามกระแสบริโภคนิยม ที่ไม่เอาใจใส่ในเรื่องโภชนาการ ยังคงใช้ชีวิตที่เร่งรีบ เคร่งเครียด การบ่อนทำลายสุขภาพตนเองย่อมเป็นไปได้มาก
ศาสตร์ชะลอวัยมองว่า ช่วงวัยหนุ่มวัยสาวของคนเรานั้น เป็นช่วงที่ร่างกายมีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพสูง อันเป็นช่วงชีวิตที่คนเรามีสุขภาพสูงสุด ด้วยเหตุนี้ สุขภาพจึงสัมพันธ์โดยตรงกับความเยาว์ของสรีระ ศาสตร์ชะลอวัยจึงมองว่า หากคนเราคงสภาพความเยาว์ทางสรีระไว้ได้มากเท่าไร สุขภาพก็จะอยู่กับเรานานขึ้นเท่านั้น รวมทั้งการมีอายุยืนยาวตามมาด้วย เพราะฉะนั้น ศาสตร์ชะลอวัยจึงต้องเป็นเรื่องของการบำรุงปรับแต่งให้ร่างกายของเราทรงสภาพเยาว์อยู่เสมอ รวมทั้งการบำบัดฟื้นคืนสู่สภาวะเยาว์ และทำการดูแลรักษาให้ทรงสภาพนั้นให้ดีที่สุด และนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ “สุขภาพ” ในมุมมองของศาสตร์ชะลอวัยจึงต้องเป็นเรื่องของการป้องกันการชราภาพ โดยมีองค์ความรู้อย่างองค์รวมว่า การเสื่อมสภาพหรือความชราภาพของอวัยวะต่างๆ นั้น เกิดได้อย่างไร และจะป้องกันการเสื่อมสภาพนี้ได้อย่างไร
โดยปกติ ความเสื่อมสภาพนี้จะเกิดขึ้นในระดับเซลล์ของเนื้อเยื่ออวัยวะในร่างกายก่อน จนทำให้อวัยวะทำหน้าที่บกพร่อง และเกิดโรคตามมาในที่สุด การจะป้องกันความเสื่อมสภาพ รวมทั้งการทรงสภาพความเยาว์แห่งระบบสรีระของคนเรานั้น ศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการมองว่าจะต้องทำด้วย 3 แนวทางต่อไปนี้ควบคู่พร้อมๆ กันไปคือ
(1) แนวทางการแพทย์เชิงโภชนาการ (แนวทางโภชนบำบัด) หรือการมีโภชนาการที่เหมาะสมที่สุดเพื่อการชะลอวัย มีสุขภาพดี และทำให้อายุยืน
(2) แนวทางการแพทย์เชิงพลังงาน (แนวทางปราณบำบัด) หรือการฝึกฝน พัฒนา บ่มเพาะ ยกระดับระบบพลังงานละเอียด (subtle energy) ในร่างกายของเราให้ทำงานอย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง
(3) แนวทางการแพทย์เชิงจิตวิญญาณ (แนวทางสมาธิบำบัด) หรือการฝึกฝนพัฒนาจิตให้มีความสงบนิ่ง เบา คล่อง ตื่นตัว ตื่นรู้ และเบิกบานอยู่เสมอ
ในข้อเขียนชุดนี้ ผมจะให้ความสำคัญกับการนำเสนอแนวทางที่สองหรือแนวทางการแพทย์เชิงพลังงาน (แนวทางปราณบำบัด) เพื่อการชะลอวัยเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะแนวทางที่หนึ่ง หรือแนวทางโภชนาการบำบัดนั้น ผมได้นำเสนออย่างละเอียดไปแล้วก่อนหน้านี้ จนกลายมาเป็นหนังสือ “สุขภาพยอดคน 1 : วิถีต้านมะเร็ง” (สำนักพิมพ์ Openbooks, พ.ศ. 2555) ส่วนแนวทางที่สาม หรือแนวทางสมาธิบำบัดนั้น จะเป็นงานเขียนชุดต่อไปของผมต่อจากงานเขียนชุดนี้
แต่ก่อนที่ผมจะนำเสนอแนวทางปราณบำบัด หรือแนวทางการแพทย์เชิงพลังงาน เพื่อการชะลอวัยอย่างละเอียดต่อไปนั้น ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่เราจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ การปฏิวัติเชิงชีวโมเลกุล ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้เสียก่อนว่าจะส่งผลสะเทือนต่อศาสตร์ชะลอวัยอย่างไรบ้าง
อาจารย์คาคุ มิจิโอะ (Kaku Michio) ผู้เขียนหนังสือ “Visions : How Science Will Revolutionize the 21th Century” (ในชื่อภาษาไทยคือ “มโนทัศน์แห่งอนาคต” โดยสำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2554) กล่าวว่า การปฏิวัติเชิงชีวโมเลกุลได้เริ่มต้นแล้วพร้อมๆ กับโครงงานจีโนมมนุษย์ (Human Genome Project) หรือโครงการรหัสพันธุกรรมมนุษย์ที่ทำการสร้าง “แผนผัง” ของยีนจำนวน 100,000 ยีนที่ซ่อนอยู่ท่ามกลางโครโมโซม 23 คู่ในเซลล์ของเราได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
สิ่งนี้ทำให้ ชีววิทยาและการแพทย์แห่งศตวรรษที่ 21 จะละเลยแผนที่ทางพันธุกรรมที่ได้จากโครงการรหัสพันธุกรรมมนุษย์นี้ไม่ได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะว่า หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้ถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ที่เป็นยีนประมาณ 100,000 ยีนได้หมดแล้ว การค้นพบแบบฉบับทางพันธุกรรมของโรคพันธุกรรมจะทำได้ไม่ยาก อีกไม่นานคนเราจะสามารถรู้ล่วงหน้าถึงความเสี่ยงสำหรับโรคในอนาคต โดยมีพื้นฐานบนยีนที่ผู้นั้นได้รับการถ่ายทอดมาได้ไม่ยากเช่นกัน
นี่คือแนวทางการรักษาแบบใหม่ที่เรียกกันว่า การแพทย์เชิงโมเลกุล อันเป็นการต่อกรกับโรคทั้งหลายที่ระดับโมเลกุล เพราะการปฏิวัติเชิงชีวโมเลกุลที่เริ่มต้นจากการมีแผนที่พันธุกรรม และลำดับดีเอ็นเอของมนุษย์ จะเปิดโอกาสให้เราสามารถเข้าใจปฏิกิริยาอันซับซ้อนระหว่างยีน โปรตีน เซลล์ และสิ่งแวดล้อมของเราได้
ในอนาคตอันใกล้ การตรวจร่างกายของคนเราจะใช้วิธีเจาะเลือดส่งไปที่ห้องปฏิบัติการพันธุกรรม เพื่อค้นหาลำดับดีเอ็นเอที่สมบูรณ์ของผู้นั้น จากนั้นแพทย์ก็จะบรรจุลำดับพันธุกรรมส่วนตัวของผู้นั้นไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตัดสินว่า ผู้นั้นมีโอกาสเป็นโรคหนึ่งใน 500 โรคทางพันธุกรรมที่เป็นที่รู้จักหรือไม่ แพทย์จะสามารถใช้ลำดับดีเอ็นเอส่วนตัวนั้นในการทำนายโอกาสการเป็นโรคที่เกี่ยวข้อง ทำให้แพทย์สามารถแนะนำมาตรการป้องกันแก่ผู้นั้น หลายปีก่อนที่อาการใดๆ จะเกิดขึ้นได้ จะเห็นได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ ลำดับดีเอ็นเอส่วนตัวจะเป็นรากฐานการวิเคราะห์สุขภาพของคนเรา และการบำบัดยีนอาจรักษาโรคที่ไม่เคยมีใครรักษาได้มาก่อน
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ทิศทางของการแพทย์กระแสหลักในอนาคตอันใกล้กำลังเปลี่ยนจาก การแพทย์ที่มีพื้นฐานบนการรักษาไปสู่การแพทย์ที่มีพื้นฐานบนการป้องกันด้วยการแพทย์เชิงโมเลกุล เพราะเรากำลังเข้าสู่ยุคที่โรคจะถูกทำนายได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น อนึ่ง การแพทย์เชิงโมเลกุลนี้ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับความเร้นลับอย่างหนึ่งของโรคมะเร็งแก่พวกเราไปเรียบร้อยแล้วว่า มีประมาณ 30% ของโรคมะเร็งทั้งหมดที่โยงไปหาการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว และถ้ารวมเรื่องอาหารหรือโภชนาการเข้าไปด้วย เราจะสามารถเชื่อมโยงได้ประมาณ 60% ของโรคมะเร็งทั้งหมด และถ้านำเรื่องวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเข้ามาโยงด้วย จะพบว่า 70% ถึง 90% ของโรคมะเร็งทั้งหมดนั้น สามารถเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้
ถ้าเช่นนั้น การแพทย์เชิงโมเลกุลมีคำตอบอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องความแก่ และการชะลอวัย?
www.dragon-press.com
การบำรุงรักษาให้ร่างกายของเรา หรือระบบสรีระของเราให้คงสภาพหนุ่มสาวหรือความเยาว์ไว้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือเป้าหมายของศาสตร์ชะลอวัย ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยโมเดลแบบใดก็ตาม ผลพวงที่ได้จากการชะลอวัยนั้นนอกจากจะได้ความเยาว์วัยของสรีระ (เสื่อมช้า) แล้วยังได้สุขภาพที่ดี ไม่ป่วยและอายุยืนยาวตามมาอีกด้วย
ลำพังแค่การดูแลสุขภาพธรรมดา โดยปฏิบัติตามที่ทางการแนะนำให้กินอาหารครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกาย และพยายามไม่เครียดนั้น มันไม่เพียงพอต่อการทำให้เกิดการชะลอวัยได้หรอก อย่างมากก็จะได้สุขภาพดีขึ้นมาในระดับหนึ่ง แต่ยังจะเจ็บป่วยเหมือนคนอื่น และอายุขัยก็จะเท่าๆ กันโดยเฉลี่ยแค่นั้นเอง แต่สิ่งที่ผมต้องการนำเสนอในข้อเขียนชุดนี้ก็คือ ความรู้องค์รวมแบบบูรณาการเกี่ยวกับศาสตร์ชะลอวัย หรือศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ เพื่อบรรลุทั้งความเยาว์วัย สุขภาพที่ดี และความมีอายุยืนยาวถึงร้อยปีหรือกว่านั้นไปพร้อมๆ กัน
การจะมีความเยาว์วัย (แก่ช้า) มีสุขภาพดี และอายุยืนได้นั้น ผู้นั้นจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ให้ชีวิตตนเองเป็นแบบนั้นด้วยอย่างตั้งใจ จริงจัง เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้น ด้วยองค์ความรู้แบบองค์รวม และแบบบูรณาการถึงจะเป็นไปได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ลำพังแค่การใช้ชีวิตแบบธรรมดาเหมือนเช่นที่ผ่านมานั้น ยากจะบรรลุเช่นนั้นได้
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งของคนส่วนใหญ่ก็คือ การใช้ชีวิตแบบธรรมดา (ในความหมายว่าไม่ใส่ใจเรียนรู้องค์ความรู้แบบองค์รวมเพื่อการชะลอวัยและอายุยืน) อาจจะทำให้ผู้นั้นดูเหมือนว่ายังมี “สุขภาพดี” ก็จริงอยู่ แต่ในความจริงแล้ว นั่นอาจเป็นแค่สภาวะที่อาจมีโรค และความเสื่อมสภาพซ่อนอยู่ เพื่อรอเวลาเผยตัวออกมาในอนาคตข้างหน้าก็เป็นได้ใครจะรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตไปตามกระแสบริโภคนิยม ที่ไม่เอาใจใส่ในเรื่องโภชนาการ ยังคงใช้ชีวิตที่เร่งรีบ เคร่งเครียด การบ่อนทำลายสุขภาพตนเองย่อมเป็นไปได้มาก
ศาสตร์ชะลอวัยมองว่า ช่วงวัยหนุ่มวัยสาวของคนเรานั้น เป็นช่วงที่ร่างกายมีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพสูง อันเป็นช่วงชีวิตที่คนเรามีสุขภาพสูงสุด ด้วยเหตุนี้ สุขภาพจึงสัมพันธ์โดยตรงกับความเยาว์ของสรีระ ศาสตร์ชะลอวัยจึงมองว่า หากคนเราคงสภาพความเยาว์ทางสรีระไว้ได้มากเท่าไร สุขภาพก็จะอยู่กับเรานานขึ้นเท่านั้น รวมทั้งการมีอายุยืนยาวตามมาด้วย เพราะฉะนั้น ศาสตร์ชะลอวัยจึงต้องเป็นเรื่องของการบำรุงปรับแต่งให้ร่างกายของเราทรงสภาพเยาว์อยู่เสมอ รวมทั้งการบำบัดฟื้นคืนสู่สภาวะเยาว์ และทำการดูแลรักษาให้ทรงสภาพนั้นให้ดีที่สุด และนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ “สุขภาพ” ในมุมมองของศาสตร์ชะลอวัยจึงต้องเป็นเรื่องของการป้องกันการชราภาพ โดยมีองค์ความรู้อย่างองค์รวมว่า การเสื่อมสภาพหรือความชราภาพของอวัยวะต่างๆ นั้น เกิดได้อย่างไร และจะป้องกันการเสื่อมสภาพนี้ได้อย่างไร
โดยปกติ ความเสื่อมสภาพนี้จะเกิดขึ้นในระดับเซลล์ของเนื้อเยื่ออวัยวะในร่างกายก่อน จนทำให้อวัยวะทำหน้าที่บกพร่อง และเกิดโรคตามมาในที่สุด การจะป้องกันความเสื่อมสภาพ รวมทั้งการทรงสภาพความเยาว์แห่งระบบสรีระของคนเรานั้น ศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการมองว่าจะต้องทำด้วย 3 แนวทางต่อไปนี้ควบคู่พร้อมๆ กันไปคือ
(1) แนวทางการแพทย์เชิงโภชนาการ (แนวทางโภชนบำบัด) หรือการมีโภชนาการที่เหมาะสมที่สุดเพื่อการชะลอวัย มีสุขภาพดี และทำให้อายุยืน
(2) แนวทางการแพทย์เชิงพลังงาน (แนวทางปราณบำบัด) หรือการฝึกฝน พัฒนา บ่มเพาะ ยกระดับระบบพลังงานละเอียด (subtle energy) ในร่างกายของเราให้ทำงานอย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง
(3) แนวทางการแพทย์เชิงจิตวิญญาณ (แนวทางสมาธิบำบัด) หรือการฝึกฝนพัฒนาจิตให้มีความสงบนิ่ง เบา คล่อง ตื่นตัว ตื่นรู้ และเบิกบานอยู่เสมอ
ในข้อเขียนชุดนี้ ผมจะให้ความสำคัญกับการนำเสนอแนวทางที่สองหรือแนวทางการแพทย์เชิงพลังงาน (แนวทางปราณบำบัด) เพื่อการชะลอวัยเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะแนวทางที่หนึ่ง หรือแนวทางโภชนาการบำบัดนั้น ผมได้นำเสนออย่างละเอียดไปแล้วก่อนหน้านี้ จนกลายมาเป็นหนังสือ “สุขภาพยอดคน 1 : วิถีต้านมะเร็ง” (สำนักพิมพ์ Openbooks, พ.ศ. 2555) ส่วนแนวทางที่สาม หรือแนวทางสมาธิบำบัดนั้น จะเป็นงานเขียนชุดต่อไปของผมต่อจากงานเขียนชุดนี้
แต่ก่อนที่ผมจะนำเสนอแนวทางปราณบำบัด หรือแนวทางการแพทย์เชิงพลังงาน เพื่อการชะลอวัยอย่างละเอียดต่อไปนั้น ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่เราจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ การปฏิวัติเชิงชีวโมเลกุล ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้เสียก่อนว่าจะส่งผลสะเทือนต่อศาสตร์ชะลอวัยอย่างไรบ้าง
อาจารย์คาคุ มิจิโอะ (Kaku Michio) ผู้เขียนหนังสือ “Visions : How Science Will Revolutionize the 21th Century” (ในชื่อภาษาไทยคือ “มโนทัศน์แห่งอนาคต” โดยสำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2554) กล่าวว่า การปฏิวัติเชิงชีวโมเลกุลได้เริ่มต้นแล้วพร้อมๆ กับโครงงานจีโนมมนุษย์ (Human Genome Project) หรือโครงการรหัสพันธุกรรมมนุษย์ที่ทำการสร้าง “แผนผัง” ของยีนจำนวน 100,000 ยีนที่ซ่อนอยู่ท่ามกลางโครโมโซม 23 คู่ในเซลล์ของเราได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว
สิ่งนี้ทำให้ ชีววิทยาและการแพทย์แห่งศตวรรษที่ 21 จะละเลยแผนที่ทางพันธุกรรมที่ได้จากโครงการรหัสพันธุกรรมมนุษย์นี้ไม่ได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะว่า หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้ถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ที่เป็นยีนประมาณ 100,000 ยีนได้หมดแล้ว การค้นพบแบบฉบับทางพันธุกรรมของโรคพันธุกรรมจะทำได้ไม่ยาก อีกไม่นานคนเราจะสามารถรู้ล่วงหน้าถึงความเสี่ยงสำหรับโรคในอนาคต โดยมีพื้นฐานบนยีนที่ผู้นั้นได้รับการถ่ายทอดมาได้ไม่ยากเช่นกัน
นี่คือแนวทางการรักษาแบบใหม่ที่เรียกกันว่า การแพทย์เชิงโมเลกุล อันเป็นการต่อกรกับโรคทั้งหลายที่ระดับโมเลกุล เพราะการปฏิวัติเชิงชีวโมเลกุลที่เริ่มต้นจากการมีแผนที่พันธุกรรม และลำดับดีเอ็นเอของมนุษย์ จะเปิดโอกาสให้เราสามารถเข้าใจปฏิกิริยาอันซับซ้อนระหว่างยีน โปรตีน เซลล์ และสิ่งแวดล้อมของเราได้
ในอนาคตอันใกล้ การตรวจร่างกายของคนเราจะใช้วิธีเจาะเลือดส่งไปที่ห้องปฏิบัติการพันธุกรรม เพื่อค้นหาลำดับดีเอ็นเอที่สมบูรณ์ของผู้นั้น จากนั้นแพทย์ก็จะบรรจุลำดับพันธุกรรมส่วนตัวของผู้นั้นไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะตัดสินว่า ผู้นั้นมีโอกาสเป็นโรคหนึ่งใน 500 โรคทางพันธุกรรมที่เป็นที่รู้จักหรือไม่ แพทย์จะสามารถใช้ลำดับดีเอ็นเอส่วนตัวนั้นในการทำนายโอกาสการเป็นโรคที่เกี่ยวข้อง ทำให้แพทย์สามารถแนะนำมาตรการป้องกันแก่ผู้นั้น หลายปีก่อนที่อาการใดๆ จะเกิดขึ้นได้ จะเห็นได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ ลำดับดีเอ็นเอส่วนตัวจะเป็นรากฐานการวิเคราะห์สุขภาพของคนเรา และการบำบัดยีนอาจรักษาโรคที่ไม่เคยมีใครรักษาได้มาก่อน
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ทิศทางของการแพทย์กระแสหลักในอนาคตอันใกล้กำลังเปลี่ยนจาก การแพทย์ที่มีพื้นฐานบนการรักษาไปสู่การแพทย์ที่มีพื้นฐานบนการป้องกันด้วยการแพทย์เชิงโมเลกุล เพราะเรากำลังเข้าสู่ยุคที่โรคจะถูกทำนายได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น อนึ่ง การแพทย์เชิงโมเลกุลนี้ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับความเร้นลับอย่างหนึ่งของโรคมะเร็งแก่พวกเราไปเรียบร้อยแล้วว่า มีประมาณ 30% ของโรคมะเร็งทั้งหมดที่โยงไปหาการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว และถ้ารวมเรื่องอาหารหรือโภชนาการเข้าไปด้วย เราจะสามารถเชื่อมโยงได้ประมาณ 60% ของโรคมะเร็งทั้งหมด และถ้านำเรื่องวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเข้ามาโยงด้วย จะพบว่า 70% ถึง 90% ของโรคมะเร็งทั้งหมดนั้น สามารถเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้
ถ้าเช่นนั้น การแพทย์เชิงโมเลกุลมีคำตอบอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องความแก่ และการชะลอวัย?
www.dragon-press.com