กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้รับคำร้องของบุคคล และมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แจ้งให้รัฐสภารอการดำเนินการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อน เพราะว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 291 จึงควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ
ต่อมามีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคกลไกทางกฎหมายมีคนต้องการทำให้ขบวนการนี้สร้างความสับสนให้กับสาธารณชนไทยจนจับต้นชนปลายไม่ถูก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของนักการเมืองเสื้อแดง เช่น ผู้ร้องต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง เพราะอัยการสูงสุดซึ่งเป็นองค์กรอิสระเช่นกัน ไม่ได้ดำเนินการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญในเวลาอันควร
จากการปฏิบัติหน้าที่รักษากระบวนการยุติธรรม ตามหลักรัฐธรรมนูญและนิติธรรมแห่งรัฐของศาลรัฐธรรมนูญให้ชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เกิดปฏิกิริยาตอบโต้การปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญอย่างทันทีทันใด จากสมาชิกพรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง และทนายประจำตัวทักษิณ นายนพดล ปัทมะ นักกฎหมายซาตาน ที่เคยได้รับทุนมหิดลศึกษาเล่าเรียน แต่ปราศจากจิตสำนึก ไม่สามารถแบ่งแยกชั่วดีได้
คนในพรรคเพื่อไทยทั้งที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเป็นคณะรัฐมนตรี ต่างออกมาวิพากษ์ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าจะรับเรื่องการพิจารณาให้ยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ไว้พิจารณา โดยไม่ผ่านอัยการสูงสุดไม่ได้ และมีการปลุกระดมจากแกนนำหน้าเดิมๆ เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายนพดล ปัทมะ ซึ่งเป็นนักกฎหมายแท้ๆ แต่กลับต้องการใช้กฎหมู่ โดยกล่าวว่า “คนเสื้อแดงจะลุกฮือต่อต้านศาลรัฐธรรมนูญ”
มีการสร้างม็อบเสื้อแดงชุมนุมหน้ารัฐสภา มีการข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญทุกรูปแบบอย่างลับๆ และเปิดเผย โดยการใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือกดดันศาล ตลอดจนขู่ที่จะเอาชีวิตคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อันเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย
จากพฤติกรรมชั่วของคนเสื้อแดง ในการข่มขู่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะอำนาจตุลาการนั้นกระทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเป็นพระโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และด้วยพระราชอำนาจของพระองค์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นนิติราชประเพณีปฏิบัติกันมาช้านานแล้วในการปกครองบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะตุลาการศาลทั้งปวงให้กระทำการตัดสินด้วยความยุติธรรมแทนพระองค์ จึงเสมือนหนึ่งว่าคนเสื้อแดงกำลังก้าวล่วงพระราชอำนาจ ที่ทรงมอบให้คณะตุลาการ โดยเฉพาะคณะตุลาการนั้นได้ใช้ดุลพินิจ และอำนาจทางตุลาการระงับยับยั้งภัยการเมือง ที่สามารถพัฒนาไปสู่ความรุนแรง
หากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรคเพื่อไทยที่มีเสียงข้างมากดื้อดึงและพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร้เหตุผล เพราะเพียงต้องการขจัดอุปสรรคในวิถีทางการเมืองของพวกเขา และเพราะคนไทยเชื่อว่าร่างการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 นั้น มีวาระซ่อนเร้น ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามนิติราชประเพณีปฏิบัติที่เป็นคุณกับปวงชนชาวไทยมาช้านานแล้ว แต่รัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทย หรือฉบับทักษิณนั้น เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศมี “การปกครองแบบรัฐใหม่ โดยเฉพาะแนวคิดในการลดพระราชอำนาจทางการเมือง และยุบองค์กรอิสระทางนิติธรรมทั้งหลาย เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการบริหารรัฐใหม่” ของพวกเขา
แต่ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ทางการเมือง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เมื่อผู้เข้าร่วมพัฒนาชาติไทย หรืออดีตสมาชิกกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือกองกำลังปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ซึ่งครั้งหนึ่งมี พ.ท.พโยม จุลานนท์ อดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการกองกำลังปลดแอกฯ นี้และเป็นบิดาของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีได้ออกมาปักหลักชุมนุมหน้าศาลรัฐธรรมนูญ และประกาศแถลงการณ์ชัดเจนว่า “จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลรัฐธรรมนูญ”
จึงเกิดปรากฏการณ์แดงรักชาติปะทะแดงทักษิณ แดงรักชาติไม่เคยออกมาร่วมเป็นกลุ่มก้อนเช่นนี้มาก่อน แต่อาจจะแบ่งแยกอย่างอิสระปะปนอยู่ในทุกส่วนของสังคม โดยพวกที่คลั่งอนาธิปไตยนิยมล้มเจ้า ก็จะมุ่งเกาะทักษิณและพรรคเพื่อไทย ส่วนอดีตผู้เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยที่มีพื้นความคิดเสรีสังคมนิยม ก็มีอิสระที่จะคิดที่จะพิจารณาความถูกต้องชั่วดีของสังคม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้ๆ กันว่าทุนนิยมสามานย์กำลังครอบคลุมทำลายโครงสร้างสังคมธรรมของไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 ด้วยทรงตระหนักถึงภัยทุนนิยมสามานย์จะเกาะกิน และทำลายโครงสร้างเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตทำมาหากินอย่างถูกทำนองคลองธรรมของคนไทย ซึ่งหลักการนี้แหละที่ทำให้พวกทุนนิยมสามานย์ไม่ชอบนโยบายและทฤษฎีนี้ของพระองค์ เมื่อทุนนิยมสามานย์มาบรรจบกับพวกอนาธิปไตยนิยมจึงเกิดขบวนการล้มเจ้าที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศว่ามีจริงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551
เงื่อนไขสำคัญที่อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ออกจากป่าเข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทยนั้น มีปัจจัยเกื้อกูลหลายปัจจัย แต่จะขอแสดงให้เห็นเพียง 2 ข้อหลักๆ ที่สำคัญยิ่ง ดังนี้
ประการแรก เป็นที่ประจักษ์ว่าประชาชนโดยเฉพาะชาวนาชาวไร่และกรรมกรต้องเข้าป่าจับอาวุธเข้าต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาล เพราะว่าเกิดวงจรอุบาทว์ขึ้นในระบบราชการ ตั้งแต่ระดับบนถึงระดับล่าง สร้างความเสียหายและขมขื่นให้กับชาวบ้านชาวช่องด้วยหลักการของนายทุนขุนศึก
นายทุนสามานย์เอาเปรียบประชาชน นำเอาส่วนของผลกำไรจากการเอาเปรียบประชาชนตาดำๆ ไปแบ่งให้ทหารเผด็จการที่มีอำนาจรัฐ ทำให้สองส่วนนี้เป็นเงื่อนไขเพราะชาวบ้านถูกข่มเหงรังแกโดยนายทุน ข้าราชการเข้าข้างนายทุน เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม เขาจึงต้องพึ่งอุดมการณ์อื่นที่ดูจะมีอนาคตกว่า
เมื่อข้อพิสูจน์ผ่านสู่พระเนตร พระกรรณ์ เพราะชาวบ้านถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัว ทำให้กลุ่มข้าราชการอุดมการณ์ และทหารประชาธิปไตยอาชีพ เริ่มเคลื่อนไหวทางความคิดและกดดันนายทุนสามานย์ทั้งหลาย และกลุ่มทหารอาชีพอุดมการณ์มีส่วนร่วมในการขับไล่รัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และผู้กุมกำลังทหาร พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 โดยในครั้งนั้น พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ และพล.อ.ประเสริฐ ธรรมศิริ ขณะเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 กระทำการรัฐประหารเงียบ กดดันให้ 2 จอมพล และ 1 พันเอก ออกจากประเทศไทยเพื่อลดความตึงเครียดทางการเมืองซึ่งวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเรียกวันนั้นว่าวันมหาวิปโยคขณะทรงออกโทรทัศน์ให้ประชาชนกลับเข้าสู่ความสงบโดยเร็ว
โครงสร้างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 นั้น เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และในที่สุดกลายเป็นกลไกขจัดข้าราชการพลเรือน ทหาร และตำรวจชั่ว ลดความขัดแย้งทุกระดับสังคม โดยเฉพาะในชนบทห่างไกล ทำให้ชาวนาชาวไร่ไม่ให้ความร่วมมือ และเข้าป่าไปร่วมกับ พคท.
การทุจริตคอร์รัปชันลดน้อยลงบ้าง ความโปร่งใสในเชิงการเมืองสว่างไสวขึ้นบ้างหลังยุค 14 ตุลาคม 2516 ความเจริญกระจายออกสู่ชนบทมากขึ้น ทำให้พื้นที่ดำเนินกลยุทธ์ของ พคท. ทั้งสงครามการเมืองและสงครามกองโจรก่อการร้ายลดน้อยลง รวมทั้งในปี พ.ศ. 2518 ด้วยกลยุทธ์ทางการทูตของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ขอให้รัฐบาลจีนของเหมา เจ๋อตง ยุติการสนับสนุนทางทหารกับ พคท.เป็นผลสำเร็จ เกิดนโยบายการเมือง 2 ระดับ คือ ระดับรัฐบาลกับรัฐบาล และพรรคกับพรรค ทำให้ พคท.อ่อนแอลง แต่เกิดเหตุการณ์ 9 ตุลาคม 2519 นิสิต นักศึกษา และปัญญาชนถูกผลักดันให้เข้าป่า แต่แนวคิดขัดกันกับกลุ่มอนุรักษ์ใน พคท.ทำให้ไม่สามารถจัดประชุมสมัชชา พคท.ครั้งที่ 4 ขึ้นได้จนทำให้พรรคไม่สามารถจัดแนวนโยบายขึ้นใหม่ได้ จึงเป็นตัวเสริมให้สมาชิกถอนตัวเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย
แต่ปัจจัยสำคัญประการที่สองนั้น ได้แก่แนวความคิดของกลุ่มหัวก้าวหน้ารุนแรงในซีกซ้ายของ พคท.ที่มีนโยบาย “นำเข้าคอมมิวนิสต์” หมายถึงจะมีการใช้กำลังต่างชาติเข้ามาทำสงครามปฏิวัติกับกองทัพไทย โดยใช้ยุทธวิธีบัวตูมบัวบาน หมายถึงการเปิดศึกในเมืองใหญ่ๆ ทุกเมือง ด้วยการก่อวินาศกรรม การสังหารข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพลเมืองผู้บริสุทธิ์ เมื่อสร้างสมรภูมิในเมือง แล้วกระจายออกเหมือนดอกบัวบานสู่ชนบท
แนวคิด “การนำเข้าคอมมิวนิสต์” จึงถูกต่อต้านโดยสมาชิกคอมมิวนิสต์รักชาติ หรือแดงผู้รักชาตินั่นเอง และวันนี้เขาทั้งหมดก็กลับเข้ามามีบทบาทรักษาชาติ ปกป้องสถาบัน และดำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งนิติรัฐ
อีกนัยหนึ่งก็คือ แดงผู้รักชาติกำลังออกมาปกป้องอำนาจอธิปไตยของชาติ เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดของปวงชนชาวไทย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบ่งออกเป็น 3 อำนาจ คือ อำนาจบริหารโดยรัฐบาลใช้อำนาจนี้ อำนาจนิติบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกใช้อำนาจนี้ และอำนาจตุลาการโดยคณะตุลาการใช้อำนาจนี้ และทั้งสามอำนาจนี้มีคณะผู้รับสนองพระราชโองการตามอำนาจที่กล่าวไปแล้วนำไปบริหารจัดการ และปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้มีความสุขสมบูรณ์ อย่างยุติธรรมตามนัยนิติธรรมแห่งรัฐธรรมนูญการปกครอง
อำนาจอธิปไตยมีความเด็ดขาด มีความมั่นคงถาวร เข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อน และแบ่งแยกไม่ได้ ซึ่งหมายถึงการแบ่งแยกรัฐซึ่งหมายถึงสิทธิเสรีภาพในการปกครองบ้านเมือง มีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการ มีบูรณภาพแห่งแผ่นดินที่ผู้คนอาศัยอยู่ การแบ่งแยกอำนาจนี้จึงกระทำไม่ได้ แต่คนเสื้อแดงที่เข้ายึดครองพื้นที่ราชประสงค์นั้น เป็นการกระทำผิดหลักอธิปไตยเพราะมีการแบ่งแยกพื้นที่ มีการลิดรอนเสรีภาพในการสัญจร และดำรงชีพของคนบริเวณราชประสงค์และพื้นที่หลายแห่งในกรุงเทพฯ
แต่ที่สำคัญยิ่งตามหลักอธิปไตยนั้น อำนาจทั้งสามจะต้องแยกจากกัน หากให้เข้าใจง่ายๆ คือ หากกลุ่มนิติบัญญัติเป็นคนกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มคนที่บริหารปกครองประเทศแล้วทรราชเกิดขึ้นทันที และจะเกิดเป็นสามานย์ทรราชอีกเช่นกัน หากว่าทั้งกลุ่มปกครองและออกกฎหมายเป็นผู้พิพากษาเองนั้น เรียกว่าเป็นเผด็จการทรราชสมบูรณ์แบบ ขณะนี้บ้านเมืองเราก็ใกล้จุดนี้เข้าไปทุกทีแล้ว
ผู้ที่เข้าใจและให้แนวคิดเชิงการคานอำนาจกันทั้งสามอำนาจ ก็คือปราชญ์การเมืองอังกฤษ ชื่อ จอห์น ล็อค แห่งศตวรรษที่ 17 และพัฒนาโดย บารอน เดอ มองเตกิว ที่ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ กล่าวอ้างไว้ในหนังสือน่าอ่าน เรื่อง “ราชประชาสมาสัยเป็นคำตอบสุดท้าย” หรือการร่วมมือกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนในการสร้างความสุขสมบูรณ์ของสังคม
ปรากฏการณ์แดงรักชาติ น่าจะเป็นข้อพิสูจน์เชิงปฏิบัติเรื่องความสัมพันธ์รู้รักสามัคคี ระหว่างแดงผู้รักชาติกับสังคมไทยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งครั้งหนึ่งพวกเขาเคยคาดหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยกำลังอาวุธ แต่บัดนี้กลับแสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยปัญญา ที่ไม่ใช้ทั้งกำลังอาวุธ และทุนเงินตราเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างที่คนเสื้อแดง ภายใต้การนำของทักษิณต้องการจะเปลี่ยนแปลงด้วยกำลังอาวุธและเงินตรา
ต่อมามีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคกลไกทางกฎหมายมีคนต้องการทำให้ขบวนการนี้สร้างความสับสนให้กับสาธารณชนไทยจนจับต้นชนปลายไม่ถูก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของนักการเมืองเสื้อแดง เช่น ผู้ร้องต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง เพราะอัยการสูงสุดซึ่งเป็นองค์กรอิสระเช่นกัน ไม่ได้ดำเนินการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญในเวลาอันควร
จากการปฏิบัติหน้าที่รักษากระบวนการยุติธรรม ตามหลักรัฐธรรมนูญและนิติธรรมแห่งรัฐของศาลรัฐธรรมนูญให้ชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เกิดปฏิกิริยาตอบโต้การปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญอย่างทันทีทันใด จากสมาชิกพรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง และทนายประจำตัวทักษิณ นายนพดล ปัทมะ นักกฎหมายซาตาน ที่เคยได้รับทุนมหิดลศึกษาเล่าเรียน แต่ปราศจากจิตสำนึก ไม่สามารถแบ่งแยกชั่วดีได้
คนในพรรคเพื่อไทยทั้งที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเป็นคณะรัฐมนตรี ต่างออกมาวิพากษ์ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าจะรับเรื่องการพิจารณาให้ยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ไว้พิจารณา โดยไม่ผ่านอัยการสูงสุดไม่ได้ และมีการปลุกระดมจากแกนนำหน้าเดิมๆ เช่น นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายนพดล ปัทมะ ซึ่งเป็นนักกฎหมายแท้ๆ แต่กลับต้องการใช้กฎหมู่ โดยกล่าวว่า “คนเสื้อแดงจะลุกฮือต่อต้านศาลรัฐธรรมนูญ”
มีการสร้างม็อบเสื้อแดงชุมนุมหน้ารัฐสภา มีการข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญทุกรูปแบบอย่างลับๆ และเปิดเผย โดยการใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือกดดันศาล ตลอดจนขู่ที่จะเอาชีวิตคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อันเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย
จากพฤติกรรมชั่วของคนเสื้อแดง ในการข่มขู่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะอำนาจตุลาการนั้นกระทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเป็นพระโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และด้วยพระราชอำนาจของพระองค์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และเป็นนิติราชประเพณีปฏิบัติกันมาช้านานแล้วในการปกครองบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะตุลาการศาลทั้งปวงให้กระทำการตัดสินด้วยความยุติธรรมแทนพระองค์ จึงเสมือนหนึ่งว่าคนเสื้อแดงกำลังก้าวล่วงพระราชอำนาจ ที่ทรงมอบให้คณะตุลาการ โดยเฉพาะคณะตุลาการนั้นได้ใช้ดุลพินิจ และอำนาจทางตุลาการระงับยับยั้งภัยการเมือง ที่สามารถพัฒนาไปสู่ความรุนแรง
หากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรคเพื่อไทยที่มีเสียงข้างมากดื้อดึงและพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร้เหตุผล เพราะเพียงต้องการขจัดอุปสรรคในวิถีทางการเมืองของพวกเขา และเพราะคนไทยเชื่อว่าร่างการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 นั้น มีวาระซ่อนเร้น ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามนิติราชประเพณีปฏิบัติที่เป็นคุณกับปวงชนชาวไทยมาช้านานแล้ว แต่รัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทย หรือฉบับทักษิณนั้น เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศมี “การปกครองแบบรัฐใหม่ โดยเฉพาะแนวคิดในการลดพระราชอำนาจทางการเมือง และยุบองค์กรอิสระทางนิติธรรมทั้งหลาย เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการบริหารรัฐใหม่” ของพวกเขา
แต่ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์ทางการเมือง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เมื่อผู้เข้าร่วมพัฒนาชาติไทย หรืออดีตสมาชิกกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือกองกำลังปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ซึ่งครั้งหนึ่งมี พ.ท.พโยม จุลานนท์ อดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการกองกำลังปลดแอกฯ นี้และเป็นบิดาของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีได้ออกมาปักหลักชุมนุมหน้าศาลรัฐธรรมนูญ และประกาศแถลงการณ์ชัดเจนว่า “จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และศาลรัฐธรรมนูญ”
จึงเกิดปรากฏการณ์แดงรักชาติปะทะแดงทักษิณ แดงรักชาติไม่เคยออกมาร่วมเป็นกลุ่มก้อนเช่นนี้มาก่อน แต่อาจจะแบ่งแยกอย่างอิสระปะปนอยู่ในทุกส่วนของสังคม โดยพวกที่คลั่งอนาธิปไตยนิยมล้มเจ้า ก็จะมุ่งเกาะทักษิณและพรรคเพื่อไทย ส่วนอดีตผู้เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยที่มีพื้นความคิดเสรีสังคมนิยม ก็มีอิสระที่จะคิดที่จะพิจารณาความถูกต้องชั่วดีของสังคม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้ๆ กันว่าทุนนิยมสามานย์กำลังครอบคลุมทำลายโครงสร้างสังคมธรรมของไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 ด้วยทรงตระหนักถึงภัยทุนนิยมสามานย์จะเกาะกิน และทำลายโครงสร้างเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตทำมาหากินอย่างถูกทำนองคลองธรรมของคนไทย ซึ่งหลักการนี้แหละที่ทำให้พวกทุนนิยมสามานย์ไม่ชอบนโยบายและทฤษฎีนี้ของพระองค์ เมื่อทุนนิยมสามานย์มาบรรจบกับพวกอนาธิปไตยนิยมจึงเกิดขบวนการล้มเจ้าที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศว่ามีจริงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551
เงื่อนไขสำคัญที่อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ออกจากป่าเข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทยนั้น มีปัจจัยเกื้อกูลหลายปัจจัย แต่จะขอแสดงให้เห็นเพียง 2 ข้อหลักๆ ที่สำคัญยิ่ง ดังนี้
ประการแรก เป็นที่ประจักษ์ว่าประชาชนโดยเฉพาะชาวนาชาวไร่และกรรมกรต้องเข้าป่าจับอาวุธเข้าต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาล เพราะว่าเกิดวงจรอุบาทว์ขึ้นในระบบราชการ ตั้งแต่ระดับบนถึงระดับล่าง สร้างความเสียหายและขมขื่นให้กับชาวบ้านชาวช่องด้วยหลักการของนายทุนขุนศึก
นายทุนสามานย์เอาเปรียบประชาชน นำเอาส่วนของผลกำไรจากการเอาเปรียบประชาชนตาดำๆ ไปแบ่งให้ทหารเผด็จการที่มีอำนาจรัฐ ทำให้สองส่วนนี้เป็นเงื่อนไขเพราะชาวบ้านถูกข่มเหงรังแกโดยนายทุน ข้าราชการเข้าข้างนายทุน เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม เขาจึงต้องพึ่งอุดมการณ์อื่นที่ดูจะมีอนาคตกว่า
เมื่อข้อพิสูจน์ผ่านสู่พระเนตร พระกรรณ์ เพราะชาวบ้านถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัว ทำให้กลุ่มข้าราชการอุดมการณ์ และทหารประชาธิปไตยอาชีพ เริ่มเคลื่อนไหวทางความคิดและกดดันนายทุนสามานย์ทั้งหลาย และกลุ่มทหารอาชีพอุดมการณ์มีส่วนร่วมในการขับไล่รัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และผู้กุมกำลังทหาร พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 โดยในครั้งนั้น พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ และพล.อ.ประเสริฐ ธรรมศิริ ขณะเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 กระทำการรัฐประหารเงียบ กดดันให้ 2 จอมพล และ 1 พันเอก ออกจากประเทศไทยเพื่อลดความตึงเครียดทางการเมืองซึ่งวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเรียกวันนั้นว่าวันมหาวิปโยคขณะทรงออกโทรทัศน์ให้ประชาชนกลับเข้าสู่ความสงบโดยเร็ว
โครงสร้างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 นั้น เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และในที่สุดกลายเป็นกลไกขจัดข้าราชการพลเรือน ทหาร และตำรวจชั่ว ลดความขัดแย้งทุกระดับสังคม โดยเฉพาะในชนบทห่างไกล ทำให้ชาวนาชาวไร่ไม่ให้ความร่วมมือ และเข้าป่าไปร่วมกับ พคท.
การทุจริตคอร์รัปชันลดน้อยลงบ้าง ความโปร่งใสในเชิงการเมืองสว่างไสวขึ้นบ้างหลังยุค 14 ตุลาคม 2516 ความเจริญกระจายออกสู่ชนบทมากขึ้น ทำให้พื้นที่ดำเนินกลยุทธ์ของ พคท. ทั้งสงครามการเมืองและสงครามกองโจรก่อการร้ายลดน้อยลง รวมทั้งในปี พ.ศ. 2518 ด้วยกลยุทธ์ทางการทูตของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ขอให้รัฐบาลจีนของเหมา เจ๋อตง ยุติการสนับสนุนทางทหารกับ พคท.เป็นผลสำเร็จ เกิดนโยบายการเมือง 2 ระดับ คือ ระดับรัฐบาลกับรัฐบาล และพรรคกับพรรค ทำให้ พคท.อ่อนแอลง แต่เกิดเหตุการณ์ 9 ตุลาคม 2519 นิสิต นักศึกษา และปัญญาชนถูกผลักดันให้เข้าป่า แต่แนวคิดขัดกันกับกลุ่มอนุรักษ์ใน พคท.ทำให้ไม่สามารถจัดประชุมสมัชชา พคท.ครั้งที่ 4 ขึ้นได้จนทำให้พรรคไม่สามารถจัดแนวนโยบายขึ้นใหม่ได้ จึงเป็นตัวเสริมให้สมาชิกถอนตัวเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย
แต่ปัจจัยสำคัญประการที่สองนั้น ได้แก่แนวความคิดของกลุ่มหัวก้าวหน้ารุนแรงในซีกซ้ายของ พคท.ที่มีนโยบาย “นำเข้าคอมมิวนิสต์” หมายถึงจะมีการใช้กำลังต่างชาติเข้ามาทำสงครามปฏิวัติกับกองทัพไทย โดยใช้ยุทธวิธีบัวตูมบัวบาน หมายถึงการเปิดศึกในเมืองใหญ่ๆ ทุกเมือง ด้วยการก่อวินาศกรรม การสังหารข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพลเมืองผู้บริสุทธิ์ เมื่อสร้างสมรภูมิในเมือง แล้วกระจายออกเหมือนดอกบัวบานสู่ชนบท
แนวคิด “การนำเข้าคอมมิวนิสต์” จึงถูกต่อต้านโดยสมาชิกคอมมิวนิสต์รักชาติ หรือแดงผู้รักชาตินั่นเอง และวันนี้เขาทั้งหมดก็กลับเข้ามามีบทบาทรักษาชาติ ปกป้องสถาบัน และดำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งนิติรัฐ
อีกนัยหนึ่งก็คือ แดงผู้รักชาติกำลังออกมาปกป้องอำนาจอธิปไตยของชาติ เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดของปวงชนชาวไทย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบ่งออกเป็น 3 อำนาจ คือ อำนาจบริหารโดยรัฐบาลใช้อำนาจนี้ อำนาจนิติบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกใช้อำนาจนี้ และอำนาจตุลาการโดยคณะตุลาการใช้อำนาจนี้ และทั้งสามอำนาจนี้มีคณะผู้รับสนองพระราชโองการตามอำนาจที่กล่าวไปแล้วนำไปบริหารจัดการ และปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้มีความสุขสมบูรณ์ อย่างยุติธรรมตามนัยนิติธรรมแห่งรัฐธรรมนูญการปกครอง
อำนาจอธิปไตยมีความเด็ดขาด มีความมั่นคงถาวร เข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อน และแบ่งแยกไม่ได้ ซึ่งหมายถึงการแบ่งแยกรัฐซึ่งหมายถึงสิทธิเสรีภาพในการปกครองบ้านเมือง มีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการ มีบูรณภาพแห่งแผ่นดินที่ผู้คนอาศัยอยู่ การแบ่งแยกอำนาจนี้จึงกระทำไม่ได้ แต่คนเสื้อแดงที่เข้ายึดครองพื้นที่ราชประสงค์นั้น เป็นการกระทำผิดหลักอธิปไตยเพราะมีการแบ่งแยกพื้นที่ มีการลิดรอนเสรีภาพในการสัญจร และดำรงชีพของคนบริเวณราชประสงค์และพื้นที่หลายแห่งในกรุงเทพฯ
แต่ที่สำคัญยิ่งตามหลักอธิปไตยนั้น อำนาจทั้งสามจะต้องแยกจากกัน หากให้เข้าใจง่ายๆ คือ หากกลุ่มนิติบัญญัติเป็นคนกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มคนที่บริหารปกครองประเทศแล้วทรราชเกิดขึ้นทันที และจะเกิดเป็นสามานย์ทรราชอีกเช่นกัน หากว่าทั้งกลุ่มปกครองและออกกฎหมายเป็นผู้พิพากษาเองนั้น เรียกว่าเป็นเผด็จการทรราชสมบูรณ์แบบ ขณะนี้บ้านเมืองเราก็ใกล้จุดนี้เข้าไปทุกทีแล้ว
ผู้ที่เข้าใจและให้แนวคิดเชิงการคานอำนาจกันทั้งสามอำนาจ ก็คือปราชญ์การเมืองอังกฤษ ชื่อ จอห์น ล็อค แห่งศตวรรษที่ 17 และพัฒนาโดย บารอน เดอ มองเตกิว ที่ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ กล่าวอ้างไว้ในหนังสือน่าอ่าน เรื่อง “ราชประชาสมาสัยเป็นคำตอบสุดท้าย” หรือการร่วมมือกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนในการสร้างความสุขสมบูรณ์ของสังคม
ปรากฏการณ์แดงรักชาติ น่าจะเป็นข้อพิสูจน์เชิงปฏิบัติเรื่องความสัมพันธ์รู้รักสามัคคี ระหว่างแดงผู้รักชาติกับสังคมไทยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งครั้งหนึ่งพวกเขาเคยคาดหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยกำลังอาวุธ แต่บัดนี้กลับแสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยปัญญา ที่ไม่ใช้ทั้งกำลังอาวุธ และทุนเงินตราเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างที่คนเสื้อแดง ภายใต้การนำของทักษิณต้องการจะเปลี่ยนแปลงด้วยกำลังอาวุธและเงินตรา