ช่วงเวลานี้อยู่ระหว่างการรอฟังศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนผู้ร้องและผู้ถูกร้องกรณีมีผู้ยื่นขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 โดยมีการกล่าวหาว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งการได้มาซึ่งการปกครองประเทศด้วยวิธีการอื่นโดยไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
แต่ดูเหมือนว่าไม่ทันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติวินิจฉัยคำร้องออกมาอย่างไร เสียงข่มขู่กรรโชกศาลรัฐธรรมนูญก็ดังก้องมาจากฝ่ายผู้ถูกร้องและฝ่ายสนับสนุนผู้ถูกร้อง
เสียงเหล่านั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จะต้องเจอกับพลังประชาชนคนเสื้อแดง ทั้งข่มขู่คุกคามจะยื่นถอดถอนและจะจัดการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งเจ๋ง ดอกจิก จตุพร ขวัญชัย ไพรพนา ก่อแก้ว ฯลฯ ต่างออกมาสำรอกข่มขู่คุกคามศาล ราวกับว่าบ้านเมืองนี้พวกเขาเป็นผู้กำหนดชะตากรรมแต่เพียงผู้เดียว อ้างแต่ความชอบธรรมในฐานะเสียงข้างมากที่กุมอำนาจฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ โดยมองว่าอำนาจฝ่ายตุลาการไม่มีความชอบธรรมในสายตาของพวกเขา
ที่ตลกที่สุดก็คือ นายวีรพงษ์ รามางกูร มือไม้ของระบอบทักษิณ กล่าวถ้อยคำตอนหนึ่งว่า “เนื่องจากการเป็นศาลนั้นไม่ได้มาจากประชาชน ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เป็นอิสระปราศจากการตรวจสอบจากสถาบันใดๆ ที่มาจากประชาชนเลย ดังนั้นการเป็นตุลาการไม่ว่าของศาลใดๆ ต้องวางตัวให้เหมาะสมมีวุฒิภาวะในสายตาประชาชน”
ประเด็นสำคัญก็คือ ถ้าพิจารณาจากคำพูดของนายวีรพงษ์เอง การเข้าสู่อำนาจของนายวีรพงษ์ทุกครั้งก็ไม่เคยมาจากประชาชนเลย แต่อำนาจตุลาการนั้นเป็นองค์กรที่มาจากรัฐธรรมนูญ ตุลาการนั้นมีระบบระเบียบและมีที่มา มีจารีตประเพณีและมีระเบียบปฏิบัติ และตัวบทกฎหมายที่ทำให้ศาลต้องยึดมั่นในทำนองคลองธรรม ถ้าอ้างว่าตุลาการไม่มีความชอบธรรมเพราะไม่มาจากประชาชน บ้านเมืองจะปกครองกันอย่างไร
น่าประหลาดก็คือว่า คนที่ออกมาข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญว่าจะต้องตัดสินไปในแนวทางที่ตัวเองต้องการเท่านั้นเรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย
“ใบตองแห้ง” คอลัมนิสต์เสื้อแดง ผู้ดำเนินรายการทางวอยซ์ทีวีของพานทองแท้ถึงกับประกาศว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองฯ ก็ต้อง “ฆ่า” กัน
ฝ่ายคัดค้านกล่าวหาว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีอำนาจในการรับคำร้องตามมาตรา 68 ดังนั้นการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นอำนาจที่ไม่ชอบ แต่คำถามก็คือว่า ใครเป็นผู้ชี้ขาดความคิดนี้ว่าชอบหรือไม่ชอบ ในเมื่ออีกฝ่ายมองว่า การพิจารณากฎหมายไม่ใช่การพิจารณาเพียงแต่ลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏในตัวบท แต่ต้องมองลึกลงไปถึงเจตนาของกฎหมายและความคิดที่อยู่เบื้องหลังตัวอักษรด้วย
คำถามก็คือว่าในเมื่อมันมีความคิดที่แตกต่างกันในมาตรา 68 ทั้งจากฝ่ายที่มองว่าศาลมีอำนาจในการรับคำร้อง และจากฝ่ายที่มองว่าศาลไม่มีอำนาจในการรับคำร้อง นักการเมือง ผู้เชี่ยวชาญ นักกฎหมายหลายคนก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน แล้วจะต้องยึดถือความถูกต้องของฝ่ายไหน หรือยึดว่าเพราะฝ่ายแก้รัฐธรรมนูญมาจากเสียงข้างมาก ดังนั้นจะต้องเป็นฝ่ายถูกเช่นนั้นหรือ
และเมื่อมีความขัดแย้งในเชิงกฎหมายเช่นนี้ก็ชอบแล้วที่จะต้องให้มีผู้มาวินิจฉัยชี้ขาดใช่หรือไม่
ในการตัดสินคดีความตามกระบวนการยุติธรรม เราตัดสินกันด้วยเสียงข้างมากหรือเหตุผลข้อเท็จจริงกันแน่ ข้อพิพาทในประเทศนี้ถ้าเราจะไม่ให้ฝ่ายตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด แล้วจะตัดสินกันด้วยความพอใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออย่างไร
เมื่อมีความเห็นที่แตกต่างกันระบบของบ้านเมืองที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ มันชี้ชัดอยู่แล้วนี่ครับว่า คนที่มีอำนาจชี้ขาดวินิจฉัยข้อขัดแย้งนี้ก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ จะมาอ้างว่า คนเพียง 9 คน จะมาหักล้างเสียงส่วนใหญ่ได้อย่างไร เพราะถ้าอ้างอย่างนั้น เราจะมีอำนาจตุลาการซึ่งเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยไปทำไม และถ้าอ้างกันอย่างนั้นศาลทุกศาลจะขึ้นนั่งบังลังก์พิจารณาอรรถคดีได้อย่างไร
ถ้าเป็นอย่างที่อ้างต่อไปการตัดสินคดีอะไร เราก็ใช้ประชาธิปไตยซิครับไม่ต้องใช้ศาลตัดสิน
ในระบอบประชาธิปไตยนั้นมันมีอะไรที่บอกเหรอครับว่า ถ้าได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลและเสียงข้างมากจะใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ รัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชนสามารถกระทำอะไรที่ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ได้ เอาเถอะฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของเสียงข้างมากนั้นเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อมีอีกฝ่ายมองว่า ไม่ชอบ เสียงข้างน้อยหรือฝ่ายตรงข้ามจะต้องยึดถือมติของเสียงข้างมากโดยอัตโนมัติหรืออย่างไร
ความจริงแล้วถึงตอนนี้ ยังไม่มีใครรู้เลยว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยเรื่องนี้ไปอย่างไร แต่ฝ่ายที่มองว่า ศาลมี “ธง” กลับสร้าง “ธง” ขึ้นมาเสียเองแล้วว่า ศาลจะต้องออกมาชี้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญผิดเพื่อหวังจะล้มรัฐบาลเพราะรับงานจากอำมาตย์ และถ้าเป็นเช่นนั้นจะเอาประชาชนออกมาจัดการกับศาล
คำถามก็คือว่า การข่มขู่คุกคามเพื่อไม่ให้ศาลวินิจฉัยออกนอกเหนือแนวทางที่ตัวเองต้องการเป็นวิถีของประชาธิปไตยที่ควรยึดถือหรือเป็นความชอบที่ควรจะกระทำหรือไม่
เพราะถ้าศาลวินิจฉัยแล้วมีเหตุผลมีประจักษ์พยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้นขัดกับหลักการตามมาตรา 68 จริงๆ โดยไม่ได้มีอคติเคลือบแฝงตามที่ฝ่ายสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญกล่าวหา แต่ปรากฏว่าฝ่ายสนับสนุนสร้างมายาคติให้คนในสังคมเข้าใจเสียก่อนแล้วว่า ถ้าตัดสินออกมาอย่างนั้นแปลว่า ศาลรับงานมาล้มล้างรัฐบาล แล้วบ้านเมืองจะปกครองกันอย่างไร
เพราะถ้าศาลตัดสินไม่ตรงกับความต้องการของตัวเอง แม้ว่าศาลจะตัดสินด้วยความถูกต้องชอบธรรมตามหลักการของกฎหมาย ก็จะกล่าวหาว่าศาลตัดสินโดยไม่ชอบตามที่ได้กล่าวล่วงหน้าไปก่อนแล้ว
ผมคิดว่า ถ้าการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแบบยกร่างใหม่ทั้งฉบับของฝ่ายเสียงข้างมากมีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่มีอำนาจไหนหรอกครับที่จะออกมาคัดค้านหรือยับยั้งได้ แต่เมื่อมีฝ่ายที่เห็นต่างว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชอบ และรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้น ไม่สามารถนำมาแก้ไขเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับได้ วิถีทางในระบอบประชาธิปไตยก็ต้องยอมรับกระบวนการทางกฎหมายเพื่อชี้ขาดตัดสินความเห็นที่ขัดแย้งกันไม่ใช่หรือ
หรือว่าบ้านเมืองนี้ยึดหลักเสียงข้างมากว่าทำอะไรก็ไม่ผิด แบบที่พยายามเรียกร้องว่า การกระทำต่างๆ ที่ผ่านมาของคนเสื้อแดงนั้นต้องไม่ผิดและต้องไม่รับโทษ อำนาจรัฐที่ควบคุมตัวคุมขังคนเสื้อแดงที่ทำผิดกฎหมายจะต้องถูกปล่อยตัวออกมาทั้งหมด
ข้อเรียกร้องเหล่านี้เป็นประชาธิปไตย เป็นครรลองที่ถูกต้องที่ต้องยึดถือตามวิถีของระบอบประชาธิปไตยเช่นนั้นหรือ
ถ้าต้องเป็นอย่างนั้นเขียนกฎหมายให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียเลยดีไหมว่า พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงทำอะไรต้องไม่ผิดและไม่ต้องให้ศาลชี้ขาด หรือบัญญัติให้ประเทศนี้เป็นที่อยู่อาศัยของคนเสื้อแดง และยึดถือหลักการของคนเสื้อแดงแต่ฝ่ายเดียว
แต่ดูเหมือนว่าไม่ทันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติวินิจฉัยคำร้องออกมาอย่างไร เสียงข่มขู่กรรโชกศาลรัฐธรรมนูญก็ดังก้องมาจากฝ่ายผู้ถูกร้องและฝ่ายสนับสนุนผู้ถูกร้อง
เสียงเหล่านั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จะต้องเจอกับพลังประชาชนคนเสื้อแดง ทั้งข่มขู่คุกคามจะยื่นถอดถอนและจะจัดการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งเจ๋ง ดอกจิก จตุพร ขวัญชัย ไพรพนา ก่อแก้ว ฯลฯ ต่างออกมาสำรอกข่มขู่คุกคามศาล ราวกับว่าบ้านเมืองนี้พวกเขาเป็นผู้กำหนดชะตากรรมแต่เพียงผู้เดียว อ้างแต่ความชอบธรรมในฐานะเสียงข้างมากที่กุมอำนาจฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ โดยมองว่าอำนาจฝ่ายตุลาการไม่มีความชอบธรรมในสายตาของพวกเขา
ที่ตลกที่สุดก็คือ นายวีรพงษ์ รามางกูร มือไม้ของระบอบทักษิณ กล่าวถ้อยคำตอนหนึ่งว่า “เนื่องจากการเป็นศาลนั้นไม่ได้มาจากประชาชน ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เป็นอิสระปราศจากการตรวจสอบจากสถาบันใดๆ ที่มาจากประชาชนเลย ดังนั้นการเป็นตุลาการไม่ว่าของศาลใดๆ ต้องวางตัวให้เหมาะสมมีวุฒิภาวะในสายตาประชาชน”
ประเด็นสำคัญก็คือ ถ้าพิจารณาจากคำพูดของนายวีรพงษ์เอง การเข้าสู่อำนาจของนายวีรพงษ์ทุกครั้งก็ไม่เคยมาจากประชาชนเลย แต่อำนาจตุลาการนั้นเป็นองค์กรที่มาจากรัฐธรรมนูญ ตุลาการนั้นมีระบบระเบียบและมีที่มา มีจารีตประเพณีและมีระเบียบปฏิบัติ และตัวบทกฎหมายที่ทำให้ศาลต้องยึดมั่นในทำนองคลองธรรม ถ้าอ้างว่าตุลาการไม่มีความชอบธรรมเพราะไม่มาจากประชาชน บ้านเมืองจะปกครองกันอย่างไร
น่าประหลาดก็คือว่า คนที่ออกมาข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญว่าจะต้องตัดสินไปในแนวทางที่ตัวเองต้องการเท่านั้นเรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย
“ใบตองแห้ง” คอลัมนิสต์เสื้อแดง ผู้ดำเนินรายการทางวอยซ์ทีวีของพานทองแท้ถึงกับประกาศว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองฯ ก็ต้อง “ฆ่า” กัน
ฝ่ายคัดค้านกล่าวหาว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีอำนาจในการรับคำร้องตามมาตรา 68 ดังนั้นการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นอำนาจที่ไม่ชอบ แต่คำถามก็คือว่า ใครเป็นผู้ชี้ขาดความคิดนี้ว่าชอบหรือไม่ชอบ ในเมื่ออีกฝ่ายมองว่า การพิจารณากฎหมายไม่ใช่การพิจารณาเพียงแต่ลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏในตัวบท แต่ต้องมองลึกลงไปถึงเจตนาของกฎหมายและความคิดที่อยู่เบื้องหลังตัวอักษรด้วย
คำถามก็คือว่าในเมื่อมันมีความคิดที่แตกต่างกันในมาตรา 68 ทั้งจากฝ่ายที่มองว่าศาลมีอำนาจในการรับคำร้อง และจากฝ่ายที่มองว่าศาลไม่มีอำนาจในการรับคำร้อง นักการเมือง ผู้เชี่ยวชาญ นักกฎหมายหลายคนก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน แล้วจะต้องยึดถือความถูกต้องของฝ่ายไหน หรือยึดว่าเพราะฝ่ายแก้รัฐธรรมนูญมาจากเสียงข้างมาก ดังนั้นจะต้องเป็นฝ่ายถูกเช่นนั้นหรือ
และเมื่อมีความขัดแย้งในเชิงกฎหมายเช่นนี้ก็ชอบแล้วที่จะต้องให้มีผู้มาวินิจฉัยชี้ขาดใช่หรือไม่
ในการตัดสินคดีความตามกระบวนการยุติธรรม เราตัดสินกันด้วยเสียงข้างมากหรือเหตุผลข้อเท็จจริงกันแน่ ข้อพิพาทในประเทศนี้ถ้าเราจะไม่ให้ฝ่ายตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด แล้วจะตัดสินกันด้วยความพอใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออย่างไร
เมื่อมีความเห็นที่แตกต่างกันระบบของบ้านเมืองที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ มันชี้ชัดอยู่แล้วนี่ครับว่า คนที่มีอำนาจชี้ขาดวินิจฉัยข้อขัดแย้งนี้ก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ จะมาอ้างว่า คนเพียง 9 คน จะมาหักล้างเสียงส่วนใหญ่ได้อย่างไร เพราะถ้าอ้างอย่างนั้น เราจะมีอำนาจตุลาการซึ่งเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยไปทำไม และถ้าอ้างกันอย่างนั้นศาลทุกศาลจะขึ้นนั่งบังลังก์พิจารณาอรรถคดีได้อย่างไร
ถ้าเป็นอย่างที่อ้างต่อไปการตัดสินคดีอะไร เราก็ใช้ประชาธิปไตยซิครับไม่ต้องใช้ศาลตัดสิน
ในระบอบประชาธิปไตยนั้นมันมีอะไรที่บอกเหรอครับว่า ถ้าได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลและเสียงข้างมากจะใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ รัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชนสามารถกระทำอะไรที่ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ได้ เอาเถอะฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของเสียงข้างมากนั้นเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อมีอีกฝ่ายมองว่า ไม่ชอบ เสียงข้างน้อยหรือฝ่ายตรงข้ามจะต้องยึดถือมติของเสียงข้างมากโดยอัตโนมัติหรืออย่างไร
ความจริงแล้วถึงตอนนี้ ยังไม่มีใครรู้เลยว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยเรื่องนี้ไปอย่างไร แต่ฝ่ายที่มองว่า ศาลมี “ธง” กลับสร้าง “ธง” ขึ้นมาเสียเองแล้วว่า ศาลจะต้องออกมาชี้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญผิดเพื่อหวังจะล้มรัฐบาลเพราะรับงานจากอำมาตย์ และถ้าเป็นเช่นนั้นจะเอาประชาชนออกมาจัดการกับศาล
คำถามก็คือว่า การข่มขู่คุกคามเพื่อไม่ให้ศาลวินิจฉัยออกนอกเหนือแนวทางที่ตัวเองต้องการเป็นวิถีของประชาธิปไตยที่ควรยึดถือหรือเป็นความชอบที่ควรจะกระทำหรือไม่
เพราะถ้าศาลวินิจฉัยแล้วมีเหตุผลมีประจักษ์พยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้นขัดกับหลักการตามมาตรา 68 จริงๆ โดยไม่ได้มีอคติเคลือบแฝงตามที่ฝ่ายสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญกล่าวหา แต่ปรากฏว่าฝ่ายสนับสนุนสร้างมายาคติให้คนในสังคมเข้าใจเสียก่อนแล้วว่า ถ้าตัดสินออกมาอย่างนั้นแปลว่า ศาลรับงานมาล้มล้างรัฐบาล แล้วบ้านเมืองจะปกครองกันอย่างไร
เพราะถ้าศาลตัดสินไม่ตรงกับความต้องการของตัวเอง แม้ว่าศาลจะตัดสินด้วยความถูกต้องชอบธรรมตามหลักการของกฎหมาย ก็จะกล่าวหาว่าศาลตัดสินโดยไม่ชอบตามที่ได้กล่าวล่วงหน้าไปก่อนแล้ว
ผมคิดว่า ถ้าการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแบบยกร่างใหม่ทั้งฉบับของฝ่ายเสียงข้างมากมีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่มีอำนาจไหนหรอกครับที่จะออกมาคัดค้านหรือยับยั้งได้ แต่เมื่อมีฝ่ายที่เห็นต่างว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชอบ และรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้น ไม่สามารถนำมาแก้ไขเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับได้ วิถีทางในระบอบประชาธิปไตยก็ต้องยอมรับกระบวนการทางกฎหมายเพื่อชี้ขาดตัดสินความเห็นที่ขัดแย้งกันไม่ใช่หรือ
หรือว่าบ้านเมืองนี้ยึดหลักเสียงข้างมากว่าทำอะไรก็ไม่ผิด แบบที่พยายามเรียกร้องว่า การกระทำต่างๆ ที่ผ่านมาของคนเสื้อแดงนั้นต้องไม่ผิดและต้องไม่รับโทษ อำนาจรัฐที่ควบคุมตัวคุมขังคนเสื้อแดงที่ทำผิดกฎหมายจะต้องถูกปล่อยตัวออกมาทั้งหมด
ข้อเรียกร้องเหล่านี้เป็นประชาธิปไตย เป็นครรลองที่ถูกต้องที่ต้องยึดถือตามวิถีของระบอบประชาธิปไตยเช่นนั้นหรือ
ถ้าต้องเป็นอย่างนั้นเขียนกฎหมายให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียเลยดีไหมว่า พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงทำอะไรต้องไม่ผิดและไม่ต้องให้ศาลชี้ขาด หรือบัญญัติให้ประเทศนี้เป็นที่อยู่อาศัยของคนเสื้อแดง และยึดถือหลักการของคนเสื้อแดงแต่ฝ่ายเดียว