อะไรคือจิตวิญญาณธรรมศาสตร์และมันหายไปได้อย่างไร
มีผู้กล่าวหลายครั้งให้ได้ยินว่า จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในปัจจุบันนั้นหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเสื้อแดงตัวเอ้ที่เคยอาละวาดให้ปลดรูปที่ทุกบ้านมีออกกล่าววิพากษ์อธิการบดีธรรมศาสตร์คนปัจจุบันว่าสมควรไปฟื้นฟูจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ดังปรากฏในคำแถลงให้สัมภาษณ์บางส่วน เมื่อ 2 ก.ค.ที่ผ่านมาดังต่อไปนี้
ความเห็นดังกล่าวของนายสมคิดเป็นแนวคิดฝักใฝ่เผด็จการ ที่เคยเป็นเลขานุการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ทำให้เป็นห่วงจิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย ตนไม่ได้กล่าวหามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่อยากให้นายสมคิดปรับปรุงตัว เพื่อให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมายิ่งใหญ่เช่นในอดีต
อะไรคือจิตวิญญาณธรรมศาสตร์และมันหายไปได้อย่างไร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อาจกล่าวได้ว่าอยู่คู่มากับความมีเสรีภาพทั้งในด้านความคิดและการแสดงออกก็ว่าได้ ยุคทองของเสรีภาพน่าจะอยู่ในช่วงหลัง 14 ต.ค. และหดหายไปอย่างรวดเร็วราวกับน้ำค้างต้องแสงแดดเมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ต.ค.
เหตุการณ์เมื่อ 14 ต.ค. คือการลุกฮือ หรือ up rising โดยนักศึกษากลุ่มหนึ่งเพื่อเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพของประชาชนจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ขอเพียงให้ “มี” เท่านั้นยังไม่รู้เลยว่า “มี” แล้วจะดีกว่าเดิมที่ “ไม่มี” หรือไม่
การต่อสู้เพื่อให้ “มี” รัฐธรรมนูญจึงเป็นการต่อสู้ในสิ่งที่ตนเองเชื่อว่าเป็นความถูกต้อง แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่าสู้อยู่กับใคร มีโอกาสชนะมากน้อยเพียงใด ผลลัพธ์หากแพ้จะมีสภาพอย่างไร เป็นบางเรื่องที่วิญญูชนบางครั้งพึงกระทำ
นี่กระมังที่เรียกว่าเป็นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ เป็นจิตวิญญาณที่สู้เพื่อความถูกต้อง สู้เพื่อความดีโดยไม่ยอมประนีประนอมกับความชั่ว ไม่ยอมดูเขาโกงโดยไม่ว่าอะไรหากตัวเองจะได้ประโยชน์ด้วย เลือกข้างเพราะไม่ยอมเป็นกลางระหว่างความดีกับความชั่วเฉกเช่นเดียวกับไม่ยอมเป็นกลางกินข้าวผสมขี้
ในอีกทางหนึ่งเหตุการณ์เมื่อ 6 ต.ค.ก็ได้ให้บทเรียนว่า หากไม่ใช้สติหลักคิดมาวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ทำอยู่นับจาก 14 ต.ค.เป็นความถูกต้องหรือไม่ หากไม่ เสรีภาพที่ใช้ก็เกินเลยขอบเขตความรับผิดชอบ ผลร้ายจึงเป็นปลายทางและสร้างปมแห่งความเคียดแค้นในใจบางคนจนถึงปัจจุบัน
แต่ล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน จะเรียกได้ไหมว่ายุคทองของการใช้เสรีภาพได้หวนกลับคืนมาอีกจากกรณีอาจารย์บางคนเป็นหัวหอกเสนอให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ หรือการที่ไปฝักใฝ่กับฝ่ายเสื้อแดงและต่อสู้ทางความคิดให้กับนักโทษหนีคดี ทักษิณ ชินวัตร มันเป็นเสรีภาพที่เกินเลยจากขอบเขตของความรับผิดชอบหรือไม่ มีสติใช้หลักการวิเคราะห์แล้วเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำถูกต้องมากน้อยเพียงใด
ในทำนองเดียวกัน นักศึกษาก็ยืนอยู่บนความเป็นกลางแบบจอมปลอม ยอมดูเขาโกง ยอมให้คนแซงแถว เพียงเพราะไม่กล้าใช้เสรีภาพในการทำดีประพฤติดีแสดงออกว่าตนเองมีสิทธิที่จะไม่ยอม ยืนยันตนเองว่ามีสิทธิที่จะเลือกข้างทำความดี
เสื้อสีแดงในตู้เสื้อผ้าจึงถูกทอดทิ้งเพียงเพราะไม่กล้าและ/หรือไม่อยากขัดใจครอบครัว ไม่อยากขัดใจเพื่อน แต่กล้ายอมขัดใจตัวเอง กล้ายอมขัดใจกับความถูกต้อง ทำไมจึงต้องยอมจำนนให้คนเสื้อแดงเอาสีแดงไปครอบครองผูกขาดแต่ผู้เดียว แม้ไม่เห็นด้วยกับพวกเขาก็สามารถใส่สีแดงหรือสีอื่นๆ ได้ อย่ามาผูกขาดความคิดหรือความถูกต้องหรือประชาธิปไตยแบบส่วนตัวด้วยจำนวน
นี่กระมังที่เป็นสาเหตุให้จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในปัจจุบันหายไป เพราะขาดความ “กล้า” ที่จะทำดีโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นผู้เดียวที่กระทำหรือไม่ ในขณะที่มีความ “กล้า” ที่จะทำไม่ดีมากกว่าเดิมเพราะมีคนทำให้เห็นเป็นจำนวนที่มากกว่า ไม่มีใครยอมลงนรกเพื่อคนอื่น หรือไม่มี The Last Boy Scout หรือ The Last Samurai อีกต่อไป
ความถูกต้องจึงกลายเป็นเรื่องที่ “วัด” ด้วยจำนวน การมีเสียงข้างมากจึงกลายเป็นเครื่องยืนยันความถูกต้อง ความถูกต้องชอบธรรมในสังคมจึงวัดด้วยคะแนนเสียงจากบัตรเลือกตั้งแต่เพียงอย่างเดียว หาใช่กฎหมายแต่อย่างใดไม่ กลายเป็นสังคมที่ “วัด” ด้วยขนาดของกำปั้นเหมือนเช่นในยุคหิน
หากมหาวิทยาลัยคือโลกจำลองเพื่อเตรียมคนเข้าสู่โลกของความเป็นจริง ความกล้าที่จะยึดถือหรือต่อสู้ในหลักการของความถูกต้องที่ตนเองเชื่อ จึงเป็นสิ่งที่คาดหวังว่าผู้ที่ผ่านมหาวิทยาลัยออกไปจะมีติดตัวไปดุจดังจิตวิญญาณ หาไม่แล้วกระดาษแผ่นเดียวจะมีคุณค่าอะไรนักหนา
จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในยุคนี้ที่หายไปจึงเป็นเพราะนิ่งดูดาย เอาตัวรอด ไม่คัดค้านอนาธิปไตยของคนเสื้อแดงและประชาธิปไตยส่วนตัวของทักษิณต่างหาก หาได้เป็นไปอย่างคำวิพากษ์ข้างต้นไม่
มีผู้กล่าวหลายครั้งให้ได้ยินว่า จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในปัจจุบันนั้นหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเสื้อแดงตัวเอ้ที่เคยอาละวาดให้ปลดรูปที่ทุกบ้านมีออกกล่าววิพากษ์อธิการบดีธรรมศาสตร์คนปัจจุบันว่าสมควรไปฟื้นฟูจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ดังปรากฏในคำแถลงให้สัมภาษณ์บางส่วน เมื่อ 2 ก.ค.ที่ผ่านมาดังต่อไปนี้
ความเห็นดังกล่าวของนายสมคิดเป็นแนวคิดฝักใฝ่เผด็จการ ที่เคยเป็นเลขานุการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ทำให้เป็นห่วงจิตวิญญาณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย ตนไม่ได้กล่าวหามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่อยากให้นายสมคิดปรับปรุงตัว เพื่อให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมายิ่งใหญ่เช่นในอดีต
อะไรคือจิตวิญญาณธรรมศาสตร์และมันหายไปได้อย่างไร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อาจกล่าวได้ว่าอยู่คู่มากับความมีเสรีภาพทั้งในด้านความคิดและการแสดงออกก็ว่าได้ ยุคทองของเสรีภาพน่าจะอยู่ในช่วงหลัง 14 ต.ค. และหดหายไปอย่างรวดเร็วราวกับน้ำค้างต้องแสงแดดเมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ต.ค.
เหตุการณ์เมื่อ 14 ต.ค. คือการลุกฮือ หรือ up rising โดยนักศึกษากลุ่มหนึ่งเพื่อเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพของประชาชนจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ขอเพียงให้ “มี” เท่านั้นยังไม่รู้เลยว่า “มี” แล้วจะดีกว่าเดิมที่ “ไม่มี” หรือไม่
การต่อสู้เพื่อให้ “มี” รัฐธรรมนูญจึงเป็นการต่อสู้ในสิ่งที่ตนเองเชื่อว่าเป็นความถูกต้อง แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่าสู้อยู่กับใคร มีโอกาสชนะมากน้อยเพียงใด ผลลัพธ์หากแพ้จะมีสภาพอย่างไร เป็นบางเรื่องที่วิญญูชนบางครั้งพึงกระทำ
นี่กระมังที่เรียกว่าเป็นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ เป็นจิตวิญญาณที่สู้เพื่อความถูกต้อง สู้เพื่อความดีโดยไม่ยอมประนีประนอมกับความชั่ว ไม่ยอมดูเขาโกงโดยไม่ว่าอะไรหากตัวเองจะได้ประโยชน์ด้วย เลือกข้างเพราะไม่ยอมเป็นกลางระหว่างความดีกับความชั่วเฉกเช่นเดียวกับไม่ยอมเป็นกลางกินข้าวผสมขี้
ในอีกทางหนึ่งเหตุการณ์เมื่อ 6 ต.ค.ก็ได้ให้บทเรียนว่า หากไม่ใช้สติหลักคิดมาวิเคราะห์ว่าสิ่งที่ทำอยู่นับจาก 14 ต.ค.เป็นความถูกต้องหรือไม่ หากไม่ เสรีภาพที่ใช้ก็เกินเลยขอบเขตความรับผิดชอบ ผลร้ายจึงเป็นปลายทางและสร้างปมแห่งความเคียดแค้นในใจบางคนจนถึงปัจจุบัน
แต่ล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบัน จะเรียกได้ไหมว่ายุคทองของการใช้เสรีภาพได้หวนกลับคืนมาอีกจากกรณีอาจารย์บางคนเป็นหัวหอกเสนอให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ หรือการที่ไปฝักใฝ่กับฝ่ายเสื้อแดงและต่อสู้ทางความคิดให้กับนักโทษหนีคดี ทักษิณ ชินวัตร มันเป็นเสรีภาพที่เกินเลยจากขอบเขตของความรับผิดชอบหรือไม่ มีสติใช้หลักการวิเคราะห์แล้วเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำถูกต้องมากน้อยเพียงใด
ในทำนองเดียวกัน นักศึกษาก็ยืนอยู่บนความเป็นกลางแบบจอมปลอม ยอมดูเขาโกง ยอมให้คนแซงแถว เพียงเพราะไม่กล้าใช้เสรีภาพในการทำดีประพฤติดีแสดงออกว่าตนเองมีสิทธิที่จะไม่ยอม ยืนยันตนเองว่ามีสิทธิที่จะเลือกข้างทำความดี
เสื้อสีแดงในตู้เสื้อผ้าจึงถูกทอดทิ้งเพียงเพราะไม่กล้าและ/หรือไม่อยากขัดใจครอบครัว ไม่อยากขัดใจเพื่อน แต่กล้ายอมขัดใจตัวเอง กล้ายอมขัดใจกับความถูกต้อง ทำไมจึงต้องยอมจำนนให้คนเสื้อแดงเอาสีแดงไปครอบครองผูกขาดแต่ผู้เดียว แม้ไม่เห็นด้วยกับพวกเขาก็สามารถใส่สีแดงหรือสีอื่นๆ ได้ อย่ามาผูกขาดความคิดหรือความถูกต้องหรือประชาธิปไตยแบบส่วนตัวด้วยจำนวน
นี่กระมังที่เป็นสาเหตุให้จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในปัจจุบันหายไป เพราะขาดความ “กล้า” ที่จะทำดีโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นผู้เดียวที่กระทำหรือไม่ ในขณะที่มีความ “กล้า” ที่จะทำไม่ดีมากกว่าเดิมเพราะมีคนทำให้เห็นเป็นจำนวนที่มากกว่า ไม่มีใครยอมลงนรกเพื่อคนอื่น หรือไม่มี The Last Boy Scout หรือ The Last Samurai อีกต่อไป
ความถูกต้องจึงกลายเป็นเรื่องที่ “วัด” ด้วยจำนวน การมีเสียงข้างมากจึงกลายเป็นเครื่องยืนยันความถูกต้อง ความถูกต้องชอบธรรมในสังคมจึงวัดด้วยคะแนนเสียงจากบัตรเลือกตั้งแต่เพียงอย่างเดียว หาใช่กฎหมายแต่อย่างใดไม่ กลายเป็นสังคมที่ “วัด” ด้วยขนาดของกำปั้นเหมือนเช่นในยุคหิน
หากมหาวิทยาลัยคือโลกจำลองเพื่อเตรียมคนเข้าสู่โลกของความเป็นจริง ความกล้าที่จะยึดถือหรือต่อสู้ในหลักการของความถูกต้องที่ตนเองเชื่อ จึงเป็นสิ่งที่คาดหวังว่าผู้ที่ผ่านมหาวิทยาลัยออกไปจะมีติดตัวไปดุจดังจิตวิญญาณ หาไม่แล้วกระดาษแผ่นเดียวจะมีคุณค่าอะไรนักหนา
จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในยุคนี้ที่หายไปจึงเป็นเพราะนิ่งดูดาย เอาตัวรอด ไม่คัดค้านอนาธิปไตยของคนเสื้อแดงและประชาธิปไตยส่วนตัวของทักษิณต่างหาก หาได้เป็นไปอย่างคำวิพากษ์ข้างต้นไม่