กรมโรงงานอุตสาหกรรมเผยยอดตั้งโรงงาน 6 เดือนแรก(ม.ค.-มิ.ย.55) 1,727 แห่งลดลงจากปีก่อน 452 แห่ง ขณะที่มูลค่าลงทุน5.8หมื่นล้านบาทลดลงเกือบเท่าตัวเหตุนักลงทุนชะลอแผนก่อสร้างจากความวิตกวิกฤตยูโรโซนและอีกส่วนหนีค่าจ้างเพิ่มไปเพื่อนบ้าน
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555(ม.ค.-มิ.ย.) มีผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) อย่างไม่เป็นทางการ 1,727 ราย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 452 ราย มีการจ้างงาน 37,018 คน ลดลง13,000 คน และ มูลค่าลงทุน 58,666 ล้านบาทลดลงเกือบเท่าตัว เนื่องจากนักลงทุนชะลอแผนการก่อสร้างโรงงานออกไปก่อนจากความกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจยุโรป และอีกส่วนหนึ่งหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลวันละ 300 บาททั่วประเทศที่จะมีผลในวันที่ 1 ม.ค. 56รวมถึงการรุกตลาดรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558
“การตั้งโรงงานใหม่ภาพรวมถือว่าน่าพอใจเพราะในช่วงที่ผ่านมาไทยประสบปัญหาน้ำท่วม รวมถึงขณะนี้ทั่วโลกยังเผชิญกับวิกฤตการเงินของยุโรป ส่วนใหญ่นักลงทุนที่ขอตั้งโรงงานจะย้ายไปอยู่ภาคอีสานและภาคตะวันออก เพื่อต้องการเลี่ยงปัญหาของน้ำท่วม อย่างไรก็ตามในส่วนของ จ.พระนครศรีอยุธยาและ จ.ปทุมธานี ที่ถูกน้ำท่วมอย่างหนักก็มีโรงงานเข้ามาลงทุนใหม่ในระดับที่สูงเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมาตรการป้องกันน้ำของรัฐบาลและการสร้างเขื่อนกั้นน้ำของผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้จังหวัดที่มีการลงทุนสูงใน 6 เดือนที่ผ่านมา โดย จ. นครราชสีมา มูลค่าสูงสุด 5,500 ล้านบาท สมุทรสาคร 4,763 ล้านบาท พระนครศรีอยุธยา 4,687 ล้านบาท ชลบุรี 3,764 ล้านบาท สมุทรปราการ 3,357 ล้านบาท ระยอง 2,946 ล้านบาท ปทุมธานี และ ฉะเชิงเทรา 2,359 ล้านบาท เป็นต้น
สำหรับยอดการปิดกิจการอย่างไม่เป็นทาการในช่วง 6 เดือน อยู่ที่กว่า 500 แห่ง เงินทุนรวม 6,000 ล้านบาท และ เลิกการจ้างงาน 15,000 คน ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ตัวเลขการปิดกิจการอยู่ที่ 452 แห่ง, เงินลงทุน 5,471 ล้านบาท และ การจ้างงานอยู่ที่ระดับ 11,812 คน ครึ่งปีต่างด้าวขนเงินเข้า4.3พันล้าน
นายอิทธิพล ช้างหลำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยในเดือนมิ.ย.2555 จำนวน 21 ราย เพิ่มขึ้น 17% มีเงินทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 377 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 111 คน ทำให้ยอดรวม 6 เดือนของปี 2555 มีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจแล้วจำนวน 154 รายเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 39% และมีเงินทุนที่นำมาใช้ในการประกอบธุรกิจรวม 4,391 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40%
สำหรับธุรกิจที่ได้รับอนุญาตในเดือนมิ.ย. ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการ จำนวน 11 รายเงินลงทุน 340 ล้านบาท 2.ธุรกิจสำนักงานผู้แทน จำนวน 7 ราย เงินลงทุน 21 ล้านบาท 3.ธุรกิจนายหน้าตัวแทน จำนวน 1 ราย เงินลงทุน 3 ล้านบาท 4.ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 1 ราย ลงทุน 9 ล้านบาท 5.คู่สัญญากับภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 ราย ลงทุน 4 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555(ม.ค.-มิ.ย.) มีผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) อย่างไม่เป็นทางการ 1,727 ราย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 452 ราย มีการจ้างงาน 37,018 คน ลดลง13,000 คน และ มูลค่าลงทุน 58,666 ล้านบาทลดลงเกือบเท่าตัว เนื่องจากนักลงทุนชะลอแผนการก่อสร้างโรงงานออกไปก่อนจากความกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจยุโรป และอีกส่วนหนึ่งหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลวันละ 300 บาททั่วประเทศที่จะมีผลในวันที่ 1 ม.ค. 56รวมถึงการรุกตลาดรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558
“การตั้งโรงงานใหม่ภาพรวมถือว่าน่าพอใจเพราะในช่วงที่ผ่านมาไทยประสบปัญหาน้ำท่วม รวมถึงขณะนี้ทั่วโลกยังเผชิญกับวิกฤตการเงินของยุโรป ส่วนใหญ่นักลงทุนที่ขอตั้งโรงงานจะย้ายไปอยู่ภาคอีสานและภาคตะวันออก เพื่อต้องการเลี่ยงปัญหาของน้ำท่วม อย่างไรก็ตามในส่วนของ จ.พระนครศรีอยุธยาและ จ.ปทุมธานี ที่ถูกน้ำท่วมอย่างหนักก็มีโรงงานเข้ามาลงทุนใหม่ในระดับที่สูงเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมาตรการป้องกันน้ำของรัฐบาลและการสร้างเขื่อนกั้นน้ำของผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้จังหวัดที่มีการลงทุนสูงใน 6 เดือนที่ผ่านมา โดย จ. นครราชสีมา มูลค่าสูงสุด 5,500 ล้านบาท สมุทรสาคร 4,763 ล้านบาท พระนครศรีอยุธยา 4,687 ล้านบาท ชลบุรี 3,764 ล้านบาท สมุทรปราการ 3,357 ล้านบาท ระยอง 2,946 ล้านบาท ปทุมธานี และ ฉะเชิงเทรา 2,359 ล้านบาท เป็นต้น
สำหรับยอดการปิดกิจการอย่างไม่เป็นทาการในช่วง 6 เดือน อยู่ที่กว่า 500 แห่ง เงินทุนรวม 6,000 ล้านบาท และ เลิกการจ้างงาน 15,000 คน ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ตัวเลขการปิดกิจการอยู่ที่ 452 แห่ง, เงินลงทุน 5,471 ล้านบาท และ การจ้างงานอยู่ที่ระดับ 11,812 คน ครึ่งปีต่างด้าวขนเงินเข้า4.3พันล้าน
นายอิทธิพล ช้างหลำ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวได้อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทยในเดือนมิ.ย.2555 จำนวน 21 ราย เพิ่มขึ้น 17% มีเงินทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 377 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% และมีการจ้างงานคนไทยจำนวน 111 คน ทำให้ยอดรวม 6 เดือนของปี 2555 มีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจแล้วจำนวน 154 รายเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 39% และมีเงินทุนที่นำมาใช้ในการประกอบธุรกิจรวม 4,391 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40%
สำหรับธุรกิจที่ได้รับอนุญาตในเดือนมิ.ย. ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการ จำนวน 11 รายเงินลงทุน 340 ล้านบาท 2.ธุรกิจสำนักงานผู้แทน จำนวน 7 ราย เงินลงทุน 21 ล้านบาท 3.ธุรกิจนายหน้าตัวแทน จำนวน 1 ราย เงินลงทุน 3 ล้านบาท 4.ธุรกิจค้าปลีก จำนวน 1 ราย ลงทุน 9 ล้านบาท 5.คู่สัญญากับภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 ราย ลงทุน 4 ล้านบาท