วานนี้(26 มิ.ย.55) ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5(ททบ.5) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมลเกด อัคฮาด ที่เสียชีวิตในวัดปทุมวนารามเดินทางไปยัง ศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อหารือแนวทางการฟ้องร้องผู้เกี่ยวข้อง และผู้สั่งการสลายการชุมนุมในปี 2553ว่า ขณะนี้คดียังอยู่ในขั้นตอนของการไต่สวนของอัยการ แต่หากคิดว่า ทำแล้วจะดีก็คงไม่สามารถห้ามได้ แต่โดยความเห็นส่วนตัวมองว่าไม่น่าจะใช่ เพราะประเทศไทยก็ต้องใช้กฎหมายของเรา ใช้สิทธิให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากจะเอาทุกอย่างคงไม่ได้ ไม่มีใครอยากให้เกิดเรื่องขึ้น ตนพูดไปก็จะทะเลาะกันอีก ดังนั้นจึงอยากพูดสั้นๆว่า ขอให้เข้าใจว่า ทหารทุกคนทำหน้าที่และพยายามทำให้ดีที่สุด แต่หากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาก็ไปสอบสวนหาคนผิดก็ว่ากันไป
“ท้ายที่สุดจะเอาอย่างไร จะให้อยู่ร่วมกันไม่ได้เลยหรือไง ผมไม่รู้ คนไทย ประเทศไทย มันเกิดแบบนี้ขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร ผมไม่เข้าใจ มันต้องรักกัน สามัคคีกัน ช่วยกัน มองแต่ส่วนที่ดี ถ้าเราคบคนแล้วเรามองแต่ส่วนที่ไม่ดีของเขามันจะก็รู้สึกเกลียดขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกวันๆ เพราะเรามองแต่สิ่งที่ไม่ดี ตรงกันข้ามลองเลือกมองแต่สิ่งที่ดีของเขา มันก็จะทำให้เราคบคนอื่นได้มากขึ้น อย่างน้อยเราก็มีส่วนที่ทำให้เขามีส่วนที่ดีขึ้นในอนาคต ถ้าเรามีเพื่อนที่ไม่ชอบสักคนหนึ่ง แล้วจะเลิกคบไปเลยมันไม่ได้อะไร นอกจากเสียเพื่อนไปคนหนึ่ง แต่หากเราเลือกส่วนที่ดีของเขามามอง คนนี้อาจจะไม่ดีสัก 5 มีดีอยู่อยู่ 1ก็เอา 1 นั้นมาคุยกัน เดี๋ยวมันอาจจะทำให้สิ่งที่ไม่ดีกลับมาเป็นดีทั้งหมด นี่คือสิ่งที่ผมทำมาตลอดชีวิตผม ถ้าทำอย่างนี้มันจะดีขึ้น ประเทศไทยต้องก้าวไปข้างหน้า เอาส่วนที่ดีมาคุยกัน หากมัวแต่รื้อส่วนที่ไม่ดีมาคุยอย่างนี้ก็ไม่มีจบ กระบวนการประชาธิปไตยก็ไม่เกิด ไปหากันให้เจอ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.วันธัย สุวารี รองโฆษกทัพบก แถลงว่า เป็นเรื่องของผู้สูญเสียที่จะไปดำเนินการ แต่ในส่วนของกองทัพบกไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไป เราทำได้เพียงการรวบรวมข้อมูลหลักฐาน และมอบให้กับเจ้าหน้าที่สอบสวนไปแล้ว ทั้งนี้กองทัพบก มีทนายความและเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย ดูแลเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนอยูในชั้นศาลที่จะสรุปและหาสาเหตุของการเสียชีวิตว่าเกิดจากอะไร ซึ่งบางครั้ง บางสถานการณ์ บางคดีมีพยานหลายปาก และให้ข้อมูลที่แตกต่างกันไป แต่ที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นการให้ปากคำของพยานปากแรกเท่านั้น และในส่วนของทบ.เอง ถ้ามีโอกาสจะพูดให้เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม การออกมาชี้แจงดังกล่าวไม่ได้ที่จะหักล้างการให้การของพยาน ยืนยันว่ากองทัพบกไม่ได้ทำร้ายประชาชน ซึ่งในกรณี 6 ศพในวัดปทุมวนาราม เราก็มีพยานหลักฐานในส่วนของเจ้าหน้าที่ เก็บรวบรวมข้อมูลไว้หมดแล้ว
วันเดียวกัน ที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ นายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) หรือคนเสื้อแดง เดินทางมารอการปล่อยตัวผู้ต้องขังคดีอาญา จำนวน13 คน จำเลยในความผิดลอบวางเพลิงศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี2553และถูกศาลพิพากษาให้จำคุกคนละ 20 ปี 8 เดือน
ภายหลังศาลจังหวัดมุกดาหารอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ต้องขังคดีวางเพลิง เผาทรัพย์และบุกรุกสถานที่ราชการ โดยใช้หลักทรัพย์ประกันตัวรายละ 2 ล้านบาท รวม 26 ล้านบาท
ประกอบด้วย นายดวง คนยืน , นายทวีศักดิ์ แข็งแรง ,นายณัฐวุฒิ พิกุลศรี ,นายไมตรี พันธ์คูณ ,นายนพชัย พิกุลศรี ,นายพนม กันนอก ,นายวิชัย อุลุพันธุ์ , นายประคอง , ทองน้อย , นายวินัย ปิ่นศิลปะชัย ,นายสมัคร ลุนริลา , นายแก่น หนองพุดสา , นายทินวัฒน์ เมืองโคตร และนายวิชิต อินตะ
นายนรินทร์พงศ์ กล่าวว่า ผู้ต้องขังบางส่วนที่ถูกปล่อยตัวในวันนี้ เป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต เคยเข้ารับการรักษาด้านจิตเวช และเมื่อถูกควบคุมตัวในเรือนจำก็เข้ารับการรักษาต่อเนื่องที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ส่วนความคืบหน้าการขอประกันตัวผู้ต้องขังเสื้อแดง ในเขตศาลกรุงเทพฯที่เหลืออีก 14 รายนั้น คาดว่าจะสามารถยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวได้ในวันที่ 27 มิ.ย.นี้
“ศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้พิจารณาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องขัง 13 คน ซึ่งส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีวางเพลิงเผาทรัพย์ และบุกรุกสถานที่ราชการ โดยตีราคาประกัน คนละ 2 ล้านบาท รวมทั้งหมดเป็นเงิน 26 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ศาลได้ส่งหมายปล่อยตัวถึงเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ที่ได้ทำการปล่อยตัวผู้ต้องขังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
ขณะนี้ยังมีผู้ต้องขังที่ยังติดค้างอยู่ในเรือนจำ จ.มหาสารคาม 9 ราย , อุดรธานี 5 ราย , อุบลราชธานี 4 ราย ซึ่งกำลังรอคำสั่งศาลอยู่ ส่วนผู้ต้องขังในเขตกรุงเทพฯ อีก14 รายนั้นคาดว่าประมาณ 2-3 วันจะไปยื่นคำร้องขอปล่อยตัวศาลในพื้นที่กรุงเทพฯต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากที่คำนวณไว้ตอนแรกงบประมาณที่คณะรัฐมนตรี ( ครม.) อนุมัติให้กองทุนยุติธรรม จำนวน 43,840,000 บาท ที่จะใช้ในการประกันตัว จะเพียงพอหรือไม่ นายนรินท์พงศ์ กล่าวว่า การประกันตัวของผู้ชุมนุม ตนไม่เคยคาดการณ์งบประมาณไว้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะขึ้นอยู่กับศาลเป็นผู้พิจารณา ซึ่งไม่จำเป็นว่าศาลจะพิจารณาตัวประกัน รายละ 2 ล้านบาทเสมอไป บางรายอาจน้อยกว่านั้นก็ได้ แต่หากงบประมาณไม่พอก็เป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องอนุมัติมา ไม่ใช่หน้าที่ของตน เพราะตนมีหน้าที่แค่ดำเนินการในเรื่องของการประกันตัวเท่านั้น
สำหรับผู้ต้องขังรายอื่นที่สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีก 40 คน ตามเขตอำนาจศาลต่างๆ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลว่า จะให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่
ทั้งนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องขังที่ถูกจับกุมในการชุมนุมของ นปช. รวม 31 รายใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.มหาสารคาม 9 ราย , อุดรธานี 5 ราย , อุบลราชธานี 4 ราย และมุกดาหาร 13 ราย
สำหรับบรรยากาศบริเวณด้านหน้าเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ได้มีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งมารอรับตัวผู้ต้องขัง แต่ไม่มีแกนนำนปช.เดินทางมาด้วยมีเพียงทีมทนายจากสมาคมทนายความฯเท่านั้น.
“ท้ายที่สุดจะเอาอย่างไร จะให้อยู่ร่วมกันไม่ได้เลยหรือไง ผมไม่รู้ คนไทย ประเทศไทย มันเกิดแบบนี้ขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร ผมไม่เข้าใจ มันต้องรักกัน สามัคคีกัน ช่วยกัน มองแต่ส่วนที่ดี ถ้าเราคบคนแล้วเรามองแต่ส่วนที่ไม่ดีของเขามันจะก็รู้สึกเกลียดขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกวันๆ เพราะเรามองแต่สิ่งที่ไม่ดี ตรงกันข้ามลองเลือกมองแต่สิ่งที่ดีของเขา มันก็จะทำให้เราคบคนอื่นได้มากขึ้น อย่างน้อยเราก็มีส่วนที่ทำให้เขามีส่วนที่ดีขึ้นในอนาคต ถ้าเรามีเพื่อนที่ไม่ชอบสักคนหนึ่ง แล้วจะเลิกคบไปเลยมันไม่ได้อะไร นอกจากเสียเพื่อนไปคนหนึ่ง แต่หากเราเลือกส่วนที่ดีของเขามามอง คนนี้อาจจะไม่ดีสัก 5 มีดีอยู่อยู่ 1ก็เอา 1 นั้นมาคุยกัน เดี๋ยวมันอาจจะทำให้สิ่งที่ไม่ดีกลับมาเป็นดีทั้งหมด นี่คือสิ่งที่ผมทำมาตลอดชีวิตผม ถ้าทำอย่างนี้มันจะดีขึ้น ประเทศไทยต้องก้าวไปข้างหน้า เอาส่วนที่ดีมาคุยกัน หากมัวแต่รื้อส่วนที่ไม่ดีมาคุยอย่างนี้ก็ไม่มีจบ กระบวนการประชาธิปไตยก็ไม่เกิด ไปหากันให้เจอ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.วันธัย สุวารี รองโฆษกทัพบก แถลงว่า เป็นเรื่องของผู้สูญเสียที่จะไปดำเนินการ แต่ในส่วนของกองทัพบกไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไป เราทำได้เพียงการรวบรวมข้อมูลหลักฐาน และมอบให้กับเจ้าหน้าที่สอบสวนไปแล้ว ทั้งนี้กองทัพบก มีทนายความและเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย ดูแลเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนอยูในชั้นศาลที่จะสรุปและหาสาเหตุของการเสียชีวิตว่าเกิดจากอะไร ซึ่งบางครั้ง บางสถานการณ์ บางคดีมีพยานหลายปาก และให้ข้อมูลที่แตกต่างกันไป แต่ที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นการให้ปากคำของพยานปากแรกเท่านั้น และในส่วนของทบ.เอง ถ้ามีโอกาสจะพูดให้เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม การออกมาชี้แจงดังกล่าวไม่ได้ที่จะหักล้างการให้การของพยาน ยืนยันว่ากองทัพบกไม่ได้ทำร้ายประชาชน ซึ่งในกรณี 6 ศพในวัดปทุมวนาราม เราก็มีพยานหลักฐานในส่วนของเจ้าหน้าที่ เก็บรวบรวมข้อมูลไว้หมดแล้ว
วันเดียวกัน ที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ นายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) หรือคนเสื้อแดง เดินทางมารอการปล่อยตัวผู้ต้องขังคดีอาญา จำนวน13 คน จำเลยในความผิดลอบวางเพลิงศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี2553และถูกศาลพิพากษาให้จำคุกคนละ 20 ปี 8 เดือน
ภายหลังศาลจังหวัดมุกดาหารอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ต้องขังคดีวางเพลิง เผาทรัพย์และบุกรุกสถานที่ราชการ โดยใช้หลักทรัพย์ประกันตัวรายละ 2 ล้านบาท รวม 26 ล้านบาท
ประกอบด้วย นายดวง คนยืน , นายทวีศักดิ์ แข็งแรง ,นายณัฐวุฒิ พิกุลศรี ,นายไมตรี พันธ์คูณ ,นายนพชัย พิกุลศรี ,นายพนม กันนอก ,นายวิชัย อุลุพันธุ์ , นายประคอง , ทองน้อย , นายวินัย ปิ่นศิลปะชัย ,นายสมัคร ลุนริลา , นายแก่น หนองพุดสา , นายทินวัฒน์ เมืองโคตร และนายวิชิต อินตะ
นายนรินทร์พงศ์ กล่าวว่า ผู้ต้องขังบางส่วนที่ถูกปล่อยตัวในวันนี้ เป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต เคยเข้ารับการรักษาด้านจิตเวช และเมื่อถูกควบคุมตัวในเรือนจำก็เข้ารับการรักษาต่อเนื่องที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ส่วนความคืบหน้าการขอประกันตัวผู้ต้องขังเสื้อแดง ในเขตศาลกรุงเทพฯที่เหลืออีก 14 รายนั้น คาดว่าจะสามารถยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวได้ในวันที่ 27 มิ.ย.นี้
“ศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้พิจารณาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องขัง 13 คน ซึ่งส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีวางเพลิงเผาทรัพย์ และบุกรุกสถานที่ราชการ โดยตีราคาประกัน คนละ 2 ล้านบาท รวมทั้งหมดเป็นเงิน 26 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ศาลได้ส่งหมายปล่อยตัวถึงเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ที่ได้ทำการปล่อยตัวผู้ต้องขังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
ขณะนี้ยังมีผู้ต้องขังที่ยังติดค้างอยู่ในเรือนจำ จ.มหาสารคาม 9 ราย , อุดรธานี 5 ราย , อุบลราชธานี 4 ราย ซึ่งกำลังรอคำสั่งศาลอยู่ ส่วนผู้ต้องขังในเขตกรุงเทพฯ อีก14 รายนั้นคาดว่าประมาณ 2-3 วันจะไปยื่นคำร้องขอปล่อยตัวศาลในพื้นที่กรุงเทพฯต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากที่คำนวณไว้ตอนแรกงบประมาณที่คณะรัฐมนตรี ( ครม.) อนุมัติให้กองทุนยุติธรรม จำนวน 43,840,000 บาท ที่จะใช้ในการประกันตัว จะเพียงพอหรือไม่ นายนรินท์พงศ์ กล่าวว่า การประกันตัวของผู้ชุมนุม ตนไม่เคยคาดการณ์งบประมาณไว้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะขึ้นอยู่กับศาลเป็นผู้พิจารณา ซึ่งไม่จำเป็นว่าศาลจะพิจารณาตัวประกัน รายละ 2 ล้านบาทเสมอไป บางรายอาจน้อยกว่านั้นก็ได้ แต่หากงบประมาณไม่พอก็เป็นเรื่องของรัฐบาลที่ต้องอนุมัติมา ไม่ใช่หน้าที่ของตน เพราะตนมีหน้าที่แค่ดำเนินการในเรื่องของการประกันตัวเท่านั้น
สำหรับผู้ต้องขังรายอื่นที่สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีก 40 คน ตามเขตอำนาจศาลต่างๆ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลว่า จะให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่
ทั้งนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องขังที่ถูกจับกุมในการชุมนุมของ นปช. รวม 31 รายใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.มหาสารคาม 9 ราย , อุดรธานี 5 ราย , อุบลราชธานี 4 ราย และมุกดาหาร 13 ราย
สำหรับบรรยากาศบริเวณด้านหน้าเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ได้มีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งมารอรับตัวผู้ต้องขัง แต่ไม่มีแกนนำนปช.เดินทางมาด้วยมีเพียงทีมทนายจากสมาคมทนายความฯเท่านั้น.