ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ผลงานของ บัญชา/คามิน ในการเขียนการ์ตูนล้อเลียนทางการเมืองนั้น มีความแหลมคมทางการเมืองและภาพที่คมชัดน่าประทับใจเสมอมา การนำเสนอเพียงภาพๆเดียวที่สามารถจะอธิบายปรากฏการณ์ที่สลับซับซ้อนได้ถือเป็นเรื่องที่ยากมาก ต้องใช้ความสามารถและพรสวรรค์ในความคิดสร้างสรรค์ที่สูงมาก ดังตัวอย่างที่จะนำเสนอการ์ตูน “แหลเพื่อพี่” ซึ่งลงในเว็บไซต์ www.manager.co.th และหนังสือพิมพ์ ASTV-ผู้จัดการ อยู่เป็นประจำทุกวัน
ภาพแรกเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ที่ทักษิณเรียกร้องให้หยุดการชุมนุมรำลึกของคนเสื้อแดง ต้องเดินหน้าปรองดองกับทุกฝ่ายเพื่อให้นักโทษชายทักษิณได้กลับบ้าน และถ้ายังชุมนุมขัดแย้งกันอยู่ก็จะทำให้นักโทษชายทักษิณไม่ได้กลับบ้าน นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่าที่ผ่านมามีคนได้ประโยชน์ในความขัดแย้งซึ่งนักโทษชายทักษิณเรียกพวกนี้ว่า “พ่อค้าอาวุธได้ประโยชน์” และถึงกับกล่าวว่า “ความบาดหมางและความขัดแย้งในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ถ้ามองย้อนไปแล้ว อยากเรียกว่าปัญญาอ่อนก็ว่าได้”
ที่สำคัญคือนักโทษชายทักษิณเปรียบคนเสื้อแดงเหมือนเรือที่มาส่งนักโทษชายทักษิณถึงฝั่งแล้ว ต่อไปก็จะขึ้นรถเพื่อขึ้นเขา พี่น้องคนเสื้อแดงไม่ต้องจะแบกเรือตามมาขึ้นเขาไปทำไม?
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 บัญชา/คามิน จึงได้เขียนปรากฏการณ์นี้ด้วยภาพการ์ตูนเพียงภาพเดียวว่าเหตุการณ์ครั้งนี้คือการ “ถีบหัวเรือคนเสื้อแดง เพื่อขึ้นรถอำมาตย์ไปเสพสุขบนเขา” (ภาพที่ 1)
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 บัญชา/คามิน เหมือนจะรู้จักอุปนิสัยของนักโทษชายทักษิณ เป็นอย่างดี จึงได้เขียน “การ์ตูนดักคอ” เอาไว้ล่วงหน้าถึงการสนทนาของสารถีบังที่ได้ถามว่า “ไปถีบหัวเค้าส่งอย่างนั้น...ถ้าไปไม่ถึงจุดหมายตอนกลับมา เค้าจะไม่ช่วยอีกนะ” ชายหน้าเหลี่ยมตอบด้วยใบหน้าที่เจ้าเล่ห์ว่า “โอ๊ย..คนพวกนี้โง่จะตาย กลับมา หลอกแป๊บเดียว ก็ใช้ได้เหมือนเก่า” (ภาพที่ 2)
2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บัญชา/คามินอ่านสถานการณ์ล่วงหน้าก่อนเหตุการณ์จริงได้ถึง 6 วัน เมื่อปรากฏความจริงว่าหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง 6 กรณีที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านักการเมืองฉีกรัฐธรรมนูญนั้นกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ และมีคำสั่งให้ชะลอการลงมติวาระที่ 3 ในการฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 เอาไว้ก่อนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้วีดีโอลิงค์มายังอาคารธันเดอร์โดม เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ขออภัยในเหตุการณ์ที่พูดในวันนั้นโดยหลอกคนเสื้อแดงในที่ชุมนุมด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นว่า เพราะ “สัญญาณวันนั้นไม่ดี”
5 มิถุนายน พ.ศ.2555 บัญชา/คามิน จัดให้อีกครั้งถึงภาพที่รถอำมาตย์ติดหล่ม โดยสารถีบังพูดว่า “ใจเสาะจริง...รถติดหล่มนิดเดียว วิ่งกลับไปหาเรือแล้ว” โดยชายหน้าเหลี่ยมวิ่งไปหาเรืออย่างกระหืดกระหอบแล้วพูดว่า “หยุด!...อย่างเพิ่งไป วันนั้นผมไม่ได้ตั้งใจถีบหัวเรือคุณ” (ภาพที่ 3)
จากบรรยากาศที่เดี๋ยวจะประกาศรบกับอำมาตย์ เดี๋ยวถีบหัวเรือคนเสื้อแดงเพื่อขึ้นรถอำมาตย์ เดี๋ยวจะกลับขึ้นมาเรือคนเสื้อแดงมารบกับอำมาตย์อีกนั้น จึงย่อมมีคำถามว่าเหตุใดแกนนำคนเสื้อแดงจึงยอมทำตามเหตุการณ์เหล่านั้นสลับกันไปมาได้หลายครั้งหลายหน คำตอบก็น่าจะเป็นภาพการ์ตูนของบัญชา/คามิน ว่าคนที่เรียกตัวว่าเป็นไพร่ก่อนหน้านี้ วันนี้กลับมาเป็น อำมาตย์ เมียอำมาตย์ และ ใกล้จะเป็นอำมาตย์ ที่เสพสุขกันหมดแล้ว (ภาพที่ 4)
การ์ตูนชุดนี้น่าจะให้บทเรียนที่ต้องตั้งคำถามว่า ธาตุแท้ของนักการเมืองนั้นยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองนั้นได้ประโยชน์สูงสุด และไม่สนใจว่ามวลชนจะรู้สึกอย่างไร เจ็บช้ำน้ำใจอย่างไร ไม่เคยรู้จักคำว่าเสียสละเพื่อประโยชน์ของมวลชน แต่กลับสนับสนุนให้มวลชนเสียสละแม้เอาชีวิตเข้าแลกเพื่อประโยชน์และอำนาจส่วนตน โดยอ้างประชาธิปไตยมาบังหน้า จริงหรือไม่?
“รู้เขาหลอก แต่เต็มใจให้หลอก” จึงไม่ควรจะเป็นเพลงที่นักโทษชายทักษิณมาร้องเพื่อคร่ำครวญว่าตัวเองถูกอำมาตย์หลอก แต่ควรจะเป็นมวลชนคนเสื้อแดงต่างหากที่ต้องร้องเพลงนี้ให้แกนนำคนเสื้อแดงและนักโทษชายทักษิณได้ฟัง จริงหรือไม่?
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ผลงานของ บัญชา/คามิน ในการเขียนการ์ตูนล้อเลียนทางการเมืองนั้น มีความแหลมคมทางการเมืองและภาพที่คมชัดน่าประทับใจเสมอมา การนำเสนอเพียงภาพๆเดียวที่สามารถจะอธิบายปรากฏการณ์ที่สลับซับซ้อนได้ถือเป็นเรื่องที่ยากมาก ต้องใช้ความสามารถและพรสวรรค์ในความคิดสร้างสรรค์ที่สูงมาก ดังตัวอย่างที่จะนำเสนอการ์ตูน “แหลเพื่อพี่” ซึ่งลงในเว็บไซต์ www.manager.co.th และหนังสือพิมพ์ ASTV-ผู้จัดการ อยู่เป็นประจำทุกวัน
ภาพแรกเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ที่ทักษิณเรียกร้องให้หยุดการชุมนุมรำลึกของคนเสื้อแดง ต้องเดินหน้าปรองดองกับทุกฝ่ายเพื่อให้นักโทษชายทักษิณได้กลับบ้าน และถ้ายังชุมนุมขัดแย้งกันอยู่ก็จะทำให้นักโทษชายทักษิณไม่ได้กลับบ้าน นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่าที่ผ่านมามีคนได้ประโยชน์ในความขัดแย้งซึ่งนักโทษชายทักษิณเรียกพวกนี้ว่า “พ่อค้าอาวุธได้ประโยชน์” และถึงกับกล่าวว่า “ความบาดหมางและความขัดแย้งในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง ถ้ามองย้อนไปแล้ว อยากเรียกว่าปัญญาอ่อนก็ว่าได้”
ที่สำคัญคือนักโทษชายทักษิณเปรียบคนเสื้อแดงเหมือนเรือที่มาส่งนักโทษชายทักษิณถึงฝั่งแล้ว ต่อไปก็จะขึ้นรถเพื่อขึ้นเขา พี่น้องคนเสื้อแดงไม่ต้องจะแบกเรือตามมาขึ้นเขาไปทำไม?
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 บัญชา/คามิน จึงได้เขียนปรากฏการณ์นี้ด้วยภาพการ์ตูนเพียงภาพเดียวว่าเหตุการณ์ครั้งนี้คือการ “ถีบหัวเรือคนเสื้อแดง เพื่อขึ้นรถอำมาตย์ไปเสพสุขบนเขา” (ภาพที่ 1)
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 บัญชา/คามิน เหมือนจะรู้จักอุปนิสัยของนักโทษชายทักษิณ เป็นอย่างดี จึงได้เขียน “การ์ตูนดักคอ” เอาไว้ล่วงหน้าถึงการสนทนาของสารถีบังที่ได้ถามว่า “ไปถีบหัวเค้าส่งอย่างนั้น...ถ้าไปไม่ถึงจุดหมายตอนกลับมา เค้าจะไม่ช่วยอีกนะ” ชายหน้าเหลี่ยมตอบด้วยใบหน้าที่เจ้าเล่ห์ว่า “โอ๊ย..คนพวกนี้โง่จะตาย กลับมา หลอกแป๊บเดียว ก็ใช้ได้เหมือนเก่า” (ภาพที่ 2)
2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บัญชา/คามินอ่านสถานการณ์ล่วงหน้าก่อนเหตุการณ์จริงได้ถึง 6 วัน เมื่อปรากฏความจริงว่าหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง 6 กรณีที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านักการเมืองฉีกรัฐธรรมนูญนั้นกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ และมีคำสั่งให้ชะลอการลงมติวาระที่ 3 ในการฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 เอาไว้ก่อนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 นักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ได้วีดีโอลิงค์มายังอาคารธันเดอร์โดม เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ขออภัยในเหตุการณ์ที่พูดในวันนั้นโดยหลอกคนเสื้อแดงในที่ชุมนุมด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นว่า เพราะ “สัญญาณวันนั้นไม่ดี”
5 มิถุนายน พ.ศ.2555 บัญชา/คามิน จัดให้อีกครั้งถึงภาพที่รถอำมาตย์ติดหล่ม โดยสารถีบังพูดว่า “ใจเสาะจริง...รถติดหล่มนิดเดียว วิ่งกลับไปหาเรือแล้ว” โดยชายหน้าเหลี่ยมวิ่งไปหาเรืออย่างกระหืดกระหอบแล้วพูดว่า “หยุด!...อย่างเพิ่งไป วันนั้นผมไม่ได้ตั้งใจถีบหัวเรือคุณ” (ภาพที่ 3)
จากบรรยากาศที่เดี๋ยวจะประกาศรบกับอำมาตย์ เดี๋ยวถีบหัวเรือคนเสื้อแดงเพื่อขึ้นรถอำมาตย์ เดี๋ยวจะกลับขึ้นมาเรือคนเสื้อแดงมารบกับอำมาตย์อีกนั้น จึงย่อมมีคำถามว่าเหตุใดแกนนำคนเสื้อแดงจึงยอมทำตามเหตุการณ์เหล่านั้นสลับกันไปมาได้หลายครั้งหลายหน คำตอบก็น่าจะเป็นภาพการ์ตูนของบัญชา/คามิน ว่าคนที่เรียกตัวว่าเป็นไพร่ก่อนหน้านี้ วันนี้กลับมาเป็น อำมาตย์ เมียอำมาตย์ และ ใกล้จะเป็นอำมาตย์ ที่เสพสุขกันหมดแล้ว (ภาพที่ 4)
การ์ตูนชุดนี้น่าจะให้บทเรียนที่ต้องตั้งคำถามว่า ธาตุแท้ของนักการเมืองนั้นยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองนั้นได้ประโยชน์สูงสุด และไม่สนใจว่ามวลชนจะรู้สึกอย่างไร เจ็บช้ำน้ำใจอย่างไร ไม่เคยรู้จักคำว่าเสียสละเพื่อประโยชน์ของมวลชน แต่กลับสนับสนุนให้มวลชนเสียสละแม้เอาชีวิตเข้าแลกเพื่อประโยชน์และอำนาจส่วนตน โดยอ้างประชาธิปไตยมาบังหน้า จริงหรือไม่?
“รู้เขาหลอก แต่เต็มใจให้หลอก” จึงไม่ควรจะเป็นเพลงที่นักโทษชายทักษิณมาร้องเพื่อคร่ำครวญว่าตัวเองถูกอำมาตย์หลอก แต่ควรจะเป็นมวลชนคนเสื้อแดงต่างหากที่ต้องร้องเพลงนี้ให้แกนนำคนเสื้อแดงและนักโทษชายทักษิณได้ฟัง จริงหรือไม่?