ASTVผู้จัดการรายวัน/ศูนย์ข่าวเชียงใหม่-"สุเมธ"เผยในหลวงทรงแนะแก้ปัญหาน้ำต้องทำเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำถึงปลายน้ำ ด้านชาวตำบลปากพระ เมืองสุโขทัย ยังอ่วม เหตุน้ำทะลักท่วมบ้านเรือน 120 หลัง เหตุแนวคันดินพัง สำรวจพบบ้านเสียหายไปแล้ว 7 หลัง พบผู้เสียชีวิต 1 ราย ส่วน “บางระกำโมเดล” ก็ระทมพอกัน เผยพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 10,000 ไร่ เสียหาย
นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานประชุมองค์กรเครือข่ายเมืองใหญ่ของเอเชีย 21 ในหัวข้อ "พระอัจฉริยภาพด้านการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" โดยมีการยกโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไขปัญหาน้ำ เช่น โครงการแก้มลิง การทำเขื่อน การทำฝายชะลอน้ำต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งว่า การบริหารจัดการน้ำจะต้องทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ โดยให้ดูเรื่องต้นไม้ จะต้องดูแลไม่ให้ถูกทำลาย เพราะ 15-20% ที่ฝนตกลงมา น้ำจะต้องอยู่ในป่า เพราะป่าจะทำหน้าที่ดูดซับน้ำ
นอกจากนั้น จะต้องมีการทำแก้มลิง เพื่อที่จะนำน้ำที่เป็นส่วนเกินนำมาเก็บไว้เพื่อใช้ในเวลาหน้าแล้ง รวมถึงการทำฝายชะลอน้ำ เพื่อให้น้ำไหลช้าลง และสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ และให้ป่าฟื้นกลับคืนมาได้
ส่วนการบริหารจัดการน้ำช่วงกลางน้ำ จะต้องบริหารจัดการน้ำในผืนป่าเศรษฐกิจ เช่น สวนผลไม้ สวนผักต่างๆ เพราะพื้นที่ป่าเศรษฐกิจจะทำหน้าที่เหมือนป่าเช่นเดียวกัน และคงต้องมีการบริหารจัดการน้ำ ต้องมีการคำนวณการใช้น้ำอย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นและต้องทำ แต่ต้องดูถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่า และไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
ส่วนปลายน้ำ ในพื้นที่ของกรุงเทพฯ พบว่ามีขยะและน้ำเสียจำนวนมาก ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการให้เป็นระบบ โดยพึ่งพาธรรมชาติ และใช้สติปัญญาของคนในการบริหารจัดการให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ระหว่างคนและธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็ควรสร้างให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วย
**สุโขทัยระทมท่วม120ครัวเรือน
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สุโขทัย วานนี้ (13 มิ.ย.) ราษฎรยังคงได้รับความเดือดร้อนต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยเฉพาะที่หมู่ 5 ต.ยางซ้าย และหมู่ 2 ต.ปากพระ อ.เมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นจุดที่มีแนวคันดินพังจนน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน 120 หลัง ล่าสุดสำรวจพบมีบ้านถูกกระแสน้ำซัดพังเสียหายบางส่วน 7 หลัง คือ บ้านของนายวิมาน บุญพวง, นายสังเวียน ทองพงษ์เนียม, นายวน ทองพงษ์เนียม, นายสมพร ริดระสะ, นายสมพร แก่นดอน, นายจิระวัฒน์ แก่นดอน และนางส้มแป้น ปรีชา ทั้งหมดอยู่หมู่ 2 ต.ปากพระ กำลังทหารจากจังหวัดทหารบกพิษณุโลกต้องนำเรือท้องแบนขนไม้และอุปกรณ์เร่งเข้าไปช่วยเหลือซ่อมแซมให้เพื่อป้องกันไม่ให้พังเสียหายเพิ่ม
ส่วนที่หมู่ 5 ต.ยางซ้าย ได้เกิดเหตุสลดหลังพบผู้เฒ่าวัย 61 ปีจมน้ำเสียชีวิตอยู่ที่หน้าบ้านตัวเอง ทราบชื่อคือ นายอำนวย อ้นป้อม จากการสอบสวนทราบว่า นายอำนวย (ผู้ตาย) ออกจากบ้านไปรับเงินผู้สูงอายุ และเดินลุยน้ำกลับเข้าบ้านตอน 1 ทุ่มของวันที่ 12 มิ.ย. ซึ่งขณะนั้นกำลังมีฝนตกหนัก คาดว่านายอำนวยคงเกิดมีอาการเป็นลมหน้ามืด และจมน้ำเสียชีวิตตรงหน้าบ้านของตนเอง กระทั่ง 9 โมงเช้าวันที่ 13 มิ.ย. มีเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปถ่ายรูปบ้านซึ่งถูกน้ำท่วมเสียหายเพื่อเตรียมแจ้งขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และพบนายอำนวยนอนเสียชีวิตอยู่ในน้ำหน้าบ้านตัวเอง จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ
**เหยื่อ“บางระกำโมเดล”โวย"ปู"
รายงานข่าวแจ้งว่า การทัวร์นกขมิ้นในพื้นที่พิษณุโลกและสุโขทัยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วานนี้ (13 มิ.ย.) มีเกษตรกร 8 ตำบลในพื้นที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย และ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการบางระกำโมเดล ได้เตรียมที่จะขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี
โดยนายอำนวย รักฉาย อดีต ส.อบจ.สุโขทัย เขต อ.กงไกรลาศ ตัวแทนเกษตรกร กล่าวว่า เกษตรกรต้องการให้รัฐบาลจ่ายค่าชดเชยความเสียหายของนาข้าวที่กำลังจะได้เก็บเกี่ยวกว่า 10,000 ไร่ แต่ต้องมาจมน้ำเสียหาย เพราะมีคันดินมาปิดกั้นขวางทางน้ำ ตรงบริเวณโครงการบางระกำโมเดล ซึ่งความเสียหายครั้งนี้ เกิดจากผู้รับเหมาโครงการ ไม่ใช่จากภัยตามธรรมชาติ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
นอกจากนี้ ยังต้องการให้รัฐช่วยดำเนินการยกระดับถนนคันคลองบริเวณคลองกล่ำ คลองไผ่ปากหวาน และคลองจิกเอน ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ เพื่อให้เป็นแนวกั้นน้ำ ป้องกันไม่ให้น้ำในคลองเอ่อล้นเข้าท่วมนาข้าวอย่างยั่งยืนต่อไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่บริเวณประตูระบายน้ำคูหาสุวรรณ ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย กำลังเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี และทหารจากจังหวัดทหารบกพิษณุโลกจำนวนกว่า 100 นาย ได้ช่วยกันเร่งบรรจุกระสอบทรายขนเข้าไปซ่อมแซมพนังกั้นน้ำด้านปีกขวาของประตูระบายน้ำคูหาสุวรรณที่ถูกกระแสน้ำยมกัดเซาะพัง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำที่ท่วม 2 ชุมชนขณะนี้ขยายวงกว้างเข้าไปในพื้นที่เศรษฐกิจฝั่งตะวันตก ขณะที่บ้านเรือนราษฎรกว่า 1,000 ครอบครัวในชุมชนคูหาสุวรรณ และชุมชนคลองโพธิ์ ยังคงมีระดับน้ำท่วมสูง 30-50 เซนติเมตร
**นายกฯบี้ผู้ว่าฯ 6จังหวัดเร่งทำงาน
วันเดียวกันนี้ ที่ห้องประชุมเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ รับฟังการบรรยายสรุปจากรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ และได้ประชุมทางวีดิโอคอนเฟอเรนซ์กับผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดในกลุ่มจังหวัดพื้นที่กลางน้ำ 6 จังหวัด ประกอบไปด้วย จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิษณุโลก อุทัยธานี ชัยนาท และพิจิตร โดยมีคณะรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมด้วย
จากนั้น นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้ร่วมกันแถลงข่าวว่า นายกฯ ได้สั่งการให้บริหารจัดการพื้นที่แก้มลิง ที่เป็นรอยต่อของ 3 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และสิงห์บุรี ที่ต้องบริหารจัดการร่วมกัน พร้อมกับมอบหมายให้สำนักงานชลประทานจังหวัดของ 3 จังหวัดทำงานในการควบคุมน้ำให้สอดคล้องกัน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัดร่วมรับรู้ตัดสินใจด้วย และให้มีการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดระดับกลุ่มจังหวัด รวมทั้งให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยเข้ามาควบคุม
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำให้เน้นทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องการเก็บเกี่ยวข้าว ผลผลิตทางการเกษตรให้ทันก่อนที่น้ำจะมา และเรื่องความพร้อมของถนน เส้นทางสัญจรเพื่อความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน
สำหรับประเด็นที่นายกฯ ได้สั่งการให้ผู้ว่าฯ ในพื้นที่กลางน้ำ 6 จังหวัดดำเนินการ คือ 1.เรื่องโครงการก่อสร้างและป้องกันตามปฏิทินงานที่ได้กำหนดไว้ นายกฯ ย้ำให้ดำเนินงานทุกโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ค.2555 2.กรณีโครงการใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ทันในเดือนก.ค.2555 ให้กระทรวงมหาดไทยปรับสัญญาการทำงานให้เร็วขึ้น โดยให้เสร็จสิ้นภายในเดือนก.ค.2555 3.กรณีบริษัทที่ไม่มีเครื่องมือหรือมีอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ให้หน่วยงานราชการเข้าไปช่วยเหลือ โดยให้แก้ไขสัญญาจ่ายเงินตามจริงตามที่บริษัทเอกชนดำเนินการ 4.นายกฯ แสดงความเป็นห่วงต่อหัวเมืองหลักๆ ที่สำคัญ เช่น นครสวรรค์และอุทัยธานี ว่า มีความเป็นห่วงต่อระบบป้องกัน โดยได้เน้นย้ำให้ก่อสร้าง เตรียมมาตรการป้องกันรับมือกับสถานการณ์น้ำ 5.ทุกจังหวัดที่เป็นเส้นทางน้ำผ่าน จะต้องไม่ก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อให้น้ำไหลผ่านลงแม่น้ำหลักๆ ได้สะดวก ถ้าหากมีสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางน้ำภายในจังหวัด จังหวัดนั้นจะต้องรับผิดชอบ
**ตากเคลียร์พื้นที่รับ“ปู”ดูน้ำเขื่อนภูมิพล
นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเตรียมการต้อนรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางมาตรวจราชการและติดตามการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ปลายน้ำ กลางน้ำ และต้นน้ำ และรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา เพื่อนำไปสู่การพิจารณาจัดระบบบริหารจัดการน้ำเป็นการบูรณาการร่วมของทุกหน่วยงาน และได้เตรียมสถานทีประชุมที่ห้องประชุมเขื่อนภูมิพล รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของระบบและอุปกรณ์ที่จะมีการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มจังหวัดที่อยู่แนวแม่น้ำสายต่างๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในทุกจังหวัดของปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขและบริหารจัดการน้ำไม่ให้มีการเกิดปัญหาซ้ำในปีนี้
ในส่วนของการรักษาความปลอดภัยนั้น พล.ต.ต.สมพล อัครเดโชชัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนกว่า 500 นาย โดยผสานกำลังจากทุกสถานี รวมทั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ วางกำลังดูแลและรักษาความปลอดภัยทั้งด้านในและพื้นที่รอบๆ ที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีและคณะจะมีการพักนอนค้างที่เขื่อนภูมิพล และจะมีการประชุมและฟังสรุปสถานการณ์น้ำในวันนี้ช่วงเช้า ก่อนที่จะเดินทางไป จ.เชียงใหม่
**กนอช.ยันน้ำท่วมเหนือแค่ฝนต้นฤดู
นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) กล่าวว่า สาเหตุน้ำท่วมที่จังหวัดภาคเหนือ เช่น แพร่ หรือสุโขทัย ครั้งนี้ เกิดจากฝนต้นฤดูที่ตกหนักจึงเกิดน้ำนองฉับพลับ ท่วมขังประมาณ 1-2 วัน และยืนยันว่า ไม่ใช่มวลน้ำขนาดใหญ่ เพราะเปรียบเทียบจากปีก่อนมวลน้ำขนาดใหญ่จะมาช่วงส.ค.-ก.ย. ดังนั้นจึงไม่ควรตะหนก เพราะจากการคาดการณ์ปีนี้ฝนจะตกทั่วทุกพื้นที่ จึงขอให้ท้องถิ่นเร่งบริหารจัดการน้ำท่วมฉับพลัน โดยให้ อบต. จัดทำแผนที่พื้นที่ปลูกข้าว ทำสวน ทำไร่ รวมถึงเกษตรกรควรจะถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน โดยเพาะพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทาน แก้มลิง เพื่อไว้ยื่นไว้เป็นหลักฐานขอรับเงินเยียวยาชดเชย
**"มาร์ค"แนะ"ปู"เยี่ยมชาวบ้าน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลตัดสินใจกู้เงิน 4 แสนล้านไปแล้ว ก็ควรจะทำแนวทางเพื่อที่จะได้ผลที่เป็นรูปธรรม ส่วนการทัวร์ของนายกฯ คิดว่า หวังผลทางการเมืองหรือการตลาดมากกว่า และควรจะปรับแผนไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมในขณะนี้ด้วย เพราะปีนี้น้ำมาเร็วกว่าปีที่แล้ว
นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานประชุมองค์กรเครือข่ายเมืองใหญ่ของเอเชีย 21 ในหัวข้อ "พระอัจฉริยภาพด้านการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" โดยมีการยกโครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไขปัญหาน้ำ เช่น โครงการแก้มลิง การทำเขื่อน การทำฝายชะลอน้ำต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งว่า การบริหารจัดการน้ำจะต้องทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ โดยให้ดูเรื่องต้นไม้ จะต้องดูแลไม่ให้ถูกทำลาย เพราะ 15-20% ที่ฝนตกลงมา น้ำจะต้องอยู่ในป่า เพราะป่าจะทำหน้าที่ดูดซับน้ำ
นอกจากนั้น จะต้องมีการทำแก้มลิง เพื่อที่จะนำน้ำที่เป็นส่วนเกินนำมาเก็บไว้เพื่อใช้ในเวลาหน้าแล้ง รวมถึงการทำฝายชะลอน้ำ เพื่อให้น้ำไหลช้าลง และสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ และให้ป่าฟื้นกลับคืนมาได้
ส่วนการบริหารจัดการน้ำช่วงกลางน้ำ จะต้องบริหารจัดการน้ำในผืนป่าเศรษฐกิจ เช่น สวนผลไม้ สวนผักต่างๆ เพราะพื้นที่ป่าเศรษฐกิจจะทำหน้าที่เหมือนป่าเช่นเดียวกัน และคงต้องมีการบริหารจัดการน้ำ ต้องมีการคำนวณการใช้น้ำอย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นและต้องทำ แต่ต้องดูถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่า และไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
ส่วนปลายน้ำ ในพื้นที่ของกรุงเทพฯ พบว่ามีขยะและน้ำเสียจำนวนมาก ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการให้เป็นระบบ โดยพึ่งพาธรรมชาติ และใช้สติปัญญาของคนในการบริหารจัดการให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ระหว่างคนและธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็ควรสร้างให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วย
**สุโขทัยระทมท่วม120ครัวเรือน
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สุโขทัย วานนี้ (13 มิ.ย.) ราษฎรยังคงได้รับความเดือดร้อนต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยเฉพาะที่หมู่ 5 ต.ยางซ้าย และหมู่ 2 ต.ปากพระ อ.เมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นจุดที่มีแนวคันดินพังจนน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน 120 หลัง ล่าสุดสำรวจพบมีบ้านถูกกระแสน้ำซัดพังเสียหายบางส่วน 7 หลัง คือ บ้านของนายวิมาน บุญพวง, นายสังเวียน ทองพงษ์เนียม, นายวน ทองพงษ์เนียม, นายสมพร ริดระสะ, นายสมพร แก่นดอน, นายจิระวัฒน์ แก่นดอน และนางส้มแป้น ปรีชา ทั้งหมดอยู่หมู่ 2 ต.ปากพระ กำลังทหารจากจังหวัดทหารบกพิษณุโลกต้องนำเรือท้องแบนขนไม้และอุปกรณ์เร่งเข้าไปช่วยเหลือซ่อมแซมให้เพื่อป้องกันไม่ให้พังเสียหายเพิ่ม
ส่วนที่หมู่ 5 ต.ยางซ้าย ได้เกิดเหตุสลดหลังพบผู้เฒ่าวัย 61 ปีจมน้ำเสียชีวิตอยู่ที่หน้าบ้านตัวเอง ทราบชื่อคือ นายอำนวย อ้นป้อม จากการสอบสวนทราบว่า นายอำนวย (ผู้ตาย) ออกจากบ้านไปรับเงินผู้สูงอายุ และเดินลุยน้ำกลับเข้าบ้านตอน 1 ทุ่มของวันที่ 12 มิ.ย. ซึ่งขณะนั้นกำลังมีฝนตกหนัก คาดว่านายอำนวยคงเกิดมีอาการเป็นลมหน้ามืด และจมน้ำเสียชีวิตตรงหน้าบ้านของตนเอง กระทั่ง 9 โมงเช้าวันที่ 13 มิ.ย. มีเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปถ่ายรูปบ้านซึ่งถูกน้ำท่วมเสียหายเพื่อเตรียมแจ้งขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และพบนายอำนวยนอนเสียชีวิตอยู่ในน้ำหน้าบ้านตัวเอง จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ
**เหยื่อ“บางระกำโมเดล”โวย"ปู"
รายงานข่าวแจ้งว่า การทัวร์นกขมิ้นในพื้นที่พิษณุโลกและสุโขทัยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วานนี้ (13 มิ.ย.) มีเกษตรกร 8 ตำบลในพื้นที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย และ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการบางระกำโมเดล ได้เตรียมที่จะขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี
โดยนายอำนวย รักฉาย อดีต ส.อบจ.สุโขทัย เขต อ.กงไกรลาศ ตัวแทนเกษตรกร กล่าวว่า เกษตรกรต้องการให้รัฐบาลจ่ายค่าชดเชยความเสียหายของนาข้าวที่กำลังจะได้เก็บเกี่ยวกว่า 10,000 ไร่ แต่ต้องมาจมน้ำเสียหาย เพราะมีคันดินมาปิดกั้นขวางทางน้ำ ตรงบริเวณโครงการบางระกำโมเดล ซึ่งความเสียหายครั้งนี้ เกิดจากผู้รับเหมาโครงการ ไม่ใช่จากภัยตามธรรมชาติ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
นอกจากนี้ ยังต้องการให้รัฐช่วยดำเนินการยกระดับถนนคันคลองบริเวณคลองกล่ำ คลองไผ่ปากหวาน และคลองจิกเอน ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ เพื่อให้เป็นแนวกั้นน้ำ ป้องกันไม่ให้น้ำในคลองเอ่อล้นเข้าท่วมนาข้าวอย่างยั่งยืนต่อไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่บริเวณประตูระบายน้ำคูหาสุวรรณ ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย กำลังเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี และทหารจากจังหวัดทหารบกพิษณุโลกจำนวนกว่า 100 นาย ได้ช่วยกันเร่งบรรจุกระสอบทรายขนเข้าไปซ่อมแซมพนังกั้นน้ำด้านปีกขวาของประตูระบายน้ำคูหาสุวรรณที่ถูกกระแสน้ำยมกัดเซาะพัง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำที่ท่วม 2 ชุมชนขณะนี้ขยายวงกว้างเข้าไปในพื้นที่เศรษฐกิจฝั่งตะวันตก ขณะที่บ้านเรือนราษฎรกว่า 1,000 ครอบครัวในชุมชนคูหาสุวรรณ และชุมชนคลองโพธิ์ ยังคงมีระดับน้ำท่วมสูง 30-50 เซนติเมตร
**นายกฯบี้ผู้ว่าฯ 6จังหวัดเร่งทำงาน
วันเดียวกันนี้ ที่ห้องประชุมเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ รับฟังการบรรยายสรุปจากรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ และได้ประชุมทางวีดิโอคอนเฟอเรนซ์กับผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดในกลุ่มจังหวัดพื้นที่กลางน้ำ 6 จังหวัด ประกอบไปด้วย จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิษณุโลก อุทัยธานี ชัยนาท และพิจิตร โดยมีคณะรัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมด้วย
จากนั้น นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้ร่วมกันแถลงข่าวว่า นายกฯ ได้สั่งการให้บริหารจัดการพื้นที่แก้มลิง ที่เป็นรอยต่อของ 3 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และสิงห์บุรี ที่ต้องบริหารจัดการร่วมกัน พร้อมกับมอบหมายให้สำนักงานชลประทานจังหวัดของ 3 จังหวัดทำงานในการควบคุมน้ำให้สอดคล้องกัน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 3 จังหวัดร่วมรับรู้ตัดสินใจด้วย และให้มีการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดระดับกลุ่มจังหวัด รวมทั้งให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยเข้ามาควบคุม
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำให้เน้นทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องการเก็บเกี่ยวข้าว ผลผลิตทางการเกษตรให้ทันก่อนที่น้ำจะมา และเรื่องความพร้อมของถนน เส้นทางสัญจรเพื่อความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน
สำหรับประเด็นที่นายกฯ ได้สั่งการให้ผู้ว่าฯ ในพื้นที่กลางน้ำ 6 จังหวัดดำเนินการ คือ 1.เรื่องโครงการก่อสร้างและป้องกันตามปฏิทินงานที่ได้กำหนดไว้ นายกฯ ย้ำให้ดำเนินงานทุกโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ค.2555 2.กรณีโครงการใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ทันในเดือนก.ค.2555 ให้กระทรวงมหาดไทยปรับสัญญาการทำงานให้เร็วขึ้น โดยให้เสร็จสิ้นภายในเดือนก.ค.2555 3.กรณีบริษัทที่ไม่มีเครื่องมือหรือมีอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ให้หน่วยงานราชการเข้าไปช่วยเหลือ โดยให้แก้ไขสัญญาจ่ายเงินตามจริงตามที่บริษัทเอกชนดำเนินการ 4.นายกฯ แสดงความเป็นห่วงต่อหัวเมืองหลักๆ ที่สำคัญ เช่น นครสวรรค์และอุทัยธานี ว่า มีความเป็นห่วงต่อระบบป้องกัน โดยได้เน้นย้ำให้ก่อสร้าง เตรียมมาตรการป้องกันรับมือกับสถานการณ์น้ำ 5.ทุกจังหวัดที่เป็นเส้นทางน้ำผ่าน จะต้องไม่ก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อให้น้ำไหลผ่านลงแม่น้ำหลักๆ ได้สะดวก ถ้าหากมีสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางน้ำภายในจังหวัด จังหวัดนั้นจะต้องรับผิดชอบ
**ตากเคลียร์พื้นที่รับ“ปู”ดูน้ำเขื่อนภูมิพล
นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเตรียมการต้อนรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางมาตรวจราชการและติดตามการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ปลายน้ำ กลางน้ำ และต้นน้ำ และรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา เพื่อนำไปสู่การพิจารณาจัดระบบบริหารจัดการน้ำเป็นการบูรณาการร่วมของทุกหน่วยงาน และได้เตรียมสถานทีประชุมที่ห้องประชุมเขื่อนภูมิพล รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของระบบและอุปกรณ์ที่จะมีการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัดในกลุ่มจังหวัดที่อยู่แนวแม่น้ำสายต่างๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในทุกจังหวัดของปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขและบริหารจัดการน้ำไม่ให้มีการเกิดปัญหาซ้ำในปีนี้
ในส่วนของการรักษาความปลอดภัยนั้น พล.ต.ต.สมพล อัครเดโชชัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนกว่า 500 นาย โดยผสานกำลังจากทุกสถานี รวมทั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ วางกำลังดูแลและรักษาความปลอดภัยทั้งด้านในและพื้นที่รอบๆ ที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีและคณะจะมีการพักนอนค้างที่เขื่อนภูมิพล และจะมีการประชุมและฟังสรุปสถานการณ์น้ำในวันนี้ช่วงเช้า ก่อนที่จะเดินทางไป จ.เชียงใหม่
**กนอช.ยันน้ำท่วมเหนือแค่ฝนต้นฤดู
นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) กล่าวว่า สาเหตุน้ำท่วมที่จังหวัดภาคเหนือ เช่น แพร่ หรือสุโขทัย ครั้งนี้ เกิดจากฝนต้นฤดูที่ตกหนักจึงเกิดน้ำนองฉับพลับ ท่วมขังประมาณ 1-2 วัน และยืนยันว่า ไม่ใช่มวลน้ำขนาดใหญ่ เพราะเปรียบเทียบจากปีก่อนมวลน้ำขนาดใหญ่จะมาช่วงส.ค.-ก.ย. ดังนั้นจึงไม่ควรตะหนก เพราะจากการคาดการณ์ปีนี้ฝนจะตกทั่วทุกพื้นที่ จึงขอให้ท้องถิ่นเร่งบริหารจัดการน้ำท่วมฉับพลัน โดยให้ อบต. จัดทำแผนที่พื้นที่ปลูกข้าว ทำสวน ทำไร่ รวมถึงเกษตรกรควรจะถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน โดยเพาะพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทาน แก้มลิง เพื่อไว้ยื่นไว้เป็นหลักฐานขอรับเงินเยียวยาชดเชย
**"มาร์ค"แนะ"ปู"เยี่ยมชาวบ้าน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลตัดสินใจกู้เงิน 4 แสนล้านไปแล้ว ก็ควรจะทำแนวทางเพื่อที่จะได้ผลที่เป็นรูปธรรม ส่วนการทัวร์ของนายกฯ คิดว่า หวังผลทางการเมืองหรือการตลาดมากกว่า และควรจะปรับแผนไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านที่เดือดร้อนจากน้ำท่วมในขณะนี้ด้วย เพราะปีนี้น้ำมาเร็วกว่าปีที่แล้ว