การเข้าสู่อำนาจมาคู่กับความชอบธรรม
หากไร้ซึ่งความชอบธรรม จะใช้อำนาจได้อย่างไร
ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ดูเหมือนจะมีที่มาหรือ “เหตุ” จากการเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและกฎหมายปรองดอง แต่หากมองลงไปในเนื้อแท้แล้วปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็น “ผล” จากการขาดความชอบธรรม (legitimacy)โดยแท้
นักรัฐศาสตร์มักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอๆ ว่า ความถูกต้องตามตัวกฎหมายนั้นไม่พอเพียงที่จะเป็นความชอบธรรมได้เพราะอาจชอบธรรมทางกฎหมายแต่ไม่ชอบธรรมทางการเมือง แต่ที่ปรากฏในระยะหลังนั้นมักเป็นไปในทางตรงกันข้ามเสียมากกว่า
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในบริบทของประเทศไทยที่ผ่านมาก็คือ คำกล่าวของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ลงมติ “หักดิบกฎหมาย” ให้ทักษิณหลุดพ้นจากข้อหาซุกหุ้นภาคแรกเนื่องจากให้น้ำหนักของคนที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่าความถูกต้องของกฎหมาย ถูกผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไรเวลาที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้ว
ความชอบธรรมที่นักรัฐศาสตร์ให้ความสำคัญมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ก็คือ (1) การเข้าสู่อำนาจ (2) ความสามารถ หรือ performance และ(3) พฤติกรรมที่สอดคล้องกับจริยธรรมและคุณธรรมที่อยู่นอกเหนือจากกฎหมายที่มีอยู่
ในยุคการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อำนาจที่นักการเมืองได้มาจากประชาชนด้วยการลงคะแนนเสียงจึงเป็นที่มาของความชอบธรรม หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า เสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์ ดังนั้นผู้ที่ชนะการเลือกตั้งจึงมีความชอบธรรมที่จะเข้าสู่อำนาจ
เมื่อเข้าสู่อำนาจโดยชอบธรรมแต่ความสามารถไม่ปรากฏ ทำงานไม่ได้ผล สังคมก็จะถวิลหา “ตัวช่วย” ผู้ที่มีบารมี หรือ charisma ที่เป็นความหวังที่จะเข้ามาปัดเป่าบรรเทาปัญหาให้พวกเขาได้ เช่น มหาตมะ คานธี หรือ อองซาน ซูจี หรือในบางกรณีอาจจะละเลยความชอบธรรม (1) เสีย เช่น ฮิตเลอร์ หรือ สฤษดิ์ ทำให้การใช้กำลังเพื่อเข้าสู่อำนาจกลับกลายเป็นความชอบธรรม
การแก้ไขหรือจัดการปัญหาน้ำไม่ได้จนทำให้น้ำ “ท่วม” ทั้งแผ่นดิน หรือทำให้สินค้า “แพง” ทั้งแผ่นดิน หรือบริหารประเทศที่ “ส่อ” ไปในทางสุ่มเสี่ยงต่อความล้มเหลวทางเศรษฐกิจจนประชาชนเดือดร้อนไปทั่วหล้าในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เช่นเดียวกัน
แม้ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยจะอ้างเสมอว่าเข้าสู่อำนาจด้วยความชอบธรรมด้วยการเลือกตั้ง แต่เมื่อปรากฏว่ายิ่งลักษณ์ขาดซึ่งความสามารถ ประชาชนจึงเรียกร้องหา “ตัวช่วย” แม้จะโดยการปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย ผิดยุคผิดสมัย หรือมีการวางแผนโดยอำมาตย์เพื่อยึดอำนาจการปกครองจากไพร่แต่อย่างใดไม่
การเข้าสู่อำนาจ และความสามารถ จึงเป็นสององค์ประกอบของความชอบธรรม แม้จะชอบธรรมถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ยิ่งลักษณ์ แต่การจะอยู่ในอำนาจอย่าว่าแต่ให้ครบ 4 ปีตามที่กฎหมายให้โอกาสเอาไว้ดูเหมือนว่าจะทำได้ยากยิ่ง การท่องคาถาอ้างแต่ว่ามาจากการเลือกตั้งเพื่อทำให้มีความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจดูจะไม่สมเหตุสมผลมากขึ้นทุกขณะ ยิ่งพยายามลอยตัวเอาตนเองออกจากปัญหา ไม่พยายามจะรับผิดชอบอะไรเลย ยิ่งทำให้สังคมถวิลหา “ตัวช่วย” ที่ไม่ใช่เธอมากขึ้นทุกที ยิ่งลักษณ์จึงยิ่งกลายเป็น “นายกฯ เป็ดง่อย” ขาดบารมี เนื่องมาจากการด้อยความสามารถของยิ่งลักษณ์เอง
องค์ประกอบสุดท้ายของความชอบธรรมก็คือพฤติกรรมที่สอดคล้องกับจริยธรรมและคุณธรรมที่อยู่นอกเหนือจากกฎหมายที่มีอยู่
กล่าวง่ายๆ ก็คือพฤติกรรมทั้ง (ก) ทางการเมืองที่สอดคล้องกับกฎหมาย ศีลธรรม วัฒนธรรมประเพณี และ (ข) ภาพลักษณ์ส่วนตน ที่มีความสำคัญเหนือกว่าการเข้าสู่อำนาจและความสามารถเสียอีก
ทักษิณผู้เป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ในขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้ละเมิดกฎหมายและกระทำการขัดต่อหลักนิติรัฐในหลายๆ กรณี แต่ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและอธิบายต้นตอพฤติกรรมของทักษิณได้เป็นอย่างดีก็คือ การซุกหุ้นเพื่อปิดบังการเป็น “เจ้าของ” กิจการที่เป็นคู่สัญญากับรัฐคือ ชินคอร์ป โดยอ้างว่าลูก พี่เมีย และยิ่งลักษณ์เป็นเจ้าของแทนตนเองตามคำพิพากษายึดทรัพย์ที่ยืนยันข้อเท็จจริงนี้
แม้ฝ่ายค้านในช่วงก่อนการปฏิวัติ 19 ก.ย. 49 จะมีเพียงหยิบมือเดียวในขณะที่ทักษิณก้าวเข้าสู่อำนาจในวาระที่สองด้วยความชอบธรรม มีจำนวน ส.ส.ในสภาเกือบสามในสี่ แต่ทักษิณกลับเลือกที่จะยุบสภาหนีการอภิปรายในเรื่องการซุกหุ้น แม้ในขณะนั้นยังไม่มีใครสามารถยืนยันข้อเท็จจริงว่าเจ้าของชินคอร์ปตัวจริงคือทักษิณและภรรยาก็ตาม
ดังนั้นพฤติกรรมต่างกรรมต่างวาระที่ทักษิณในขณะเป็นนายกฯ ที่ได้ละเมิดกฎหมายโดยไม่ปฏิบัติตามหรือตะแบงตีความกฎหมายโดยอ้างความสามารถ จึงทำให้เสียความชอบธรรมทางการเมืองจนหลักความชอบธรรมสององค์ประกอบแรกคือการเข้าสู่อำนาจและความสามารถไม่อาจที่จะนำมาอ้างเพื่อรักษาความชอบธรรมทางการเมืองเอาไว้ได้ เนื่องจากขาดความชอบธรรมที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือพฤติกรรมที่สอดคล้องกับจริยธรรมและคุณธรรมที่อยู่นอกเหนือจากกฎหมายที่มีอยู่
การปฏิวัติเมื่อ 19 ก.ย. 49 จึงกลายเป็นความชอบธรรมเพราะเอาทักษิณผู้ที่ขาดความชอบธรรมออกจากอำนาจแม้จะมิใช่วัตถุประสงค์หลักก็ตาม
ความพยายามในการผ่านกฎหมายปรองดองและการแก้รัฐธรรมนูญของยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยก็ไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด เพราะเป็นการออกกฎหมายที่มีลักษณะของการขัดแย้งกฎหมายหลักของประเทศคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ การไปสนับสนุนความไม่ถูกต้องของกฎหมายดังกล่าวทั้งสองจึงนำมาซึ่งความไม่ชอบธรรมทางการเมืองของยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
อย่าลืมว่า การเปิด/ปิดสภาฯ เป็นอำนาจโดยตรงและเฉพาะตัวของนายกฯ เช่นเดียวกับการยุบสภา หาใช่ของประธานสภาฯ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านแต่อย่างใดไม่ การออกพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมหมายความว่านายกฯ ประสงค์จะผ่านกฎหมายที่ต้องการและปิดเมื่อได้กฎหมายนั้นแล้ว สภาฯ จึงเป็นเครื่องมือในการบริหารของนายกฯ ในระบอบการเมืองไทยที่เป็นอยู่ ไม่มีนายกฯ คนใดอยากเปิดสภาฯ รอฝ่ายค้านยื่นอภิปรายหากไม่มีกฎหมายบังคับให้เปิด อีกทั้งตนเองยังเป็นสมาชิกสภาฯ จะปฏิเสธว่า “หนูไม่รู้” เรื่องกฎหมายทั้งสองฉบับหรือเป็นเรื่องของสภาฯ ไปได้อย่างไร
ในแง่วัฒนธรรมและประเพณี การขยายเวลาประชุมสภาฯ โดยไม่มีกำหนดปิดและพิจารณาอย่างเอาเป็นเอาตายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งๆ ที่ไม่ปรากฏข้อบกพร่องร้ายแรงที่ต้องเร่งด่วนแก้ไข ในขณะที่กฎหมายที่จำเป็นกว่า เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินฉบับใหม่ กลับละเลยไม่ได้รับความสำคัญ ดูจะมีนัยซ่อนเร้น การขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวมและขัดกับประเพณีปฏิบัติที่แสดงถึงความไม่ชอบธรรมของยิ่งลักษณ์อย่างชัดแจ้ง
เช่นเดียวกับในเรื่องศีลธรรม ไม่ว่าสังคมใดเรื่องอื้อฉาวในทางเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องใหญ่ พฤติกรรมส่วนตนที่ปกปิดซ่อนเร้นจากกรณีโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ที่นำมาซึ่งภาพลักษณ์ส่วนตนที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี แต่ยิ่งลักษณ์ก็มิได้คำนึงถึงสถานะนายกฯ ที่ตนเองดำรงอยู่ หลีกเลี่ยงที่จะแสดงความบริสุทธิ์ใจโดยการแสดงข้อเท็จจริงหรือตอบข้อซักถามอย่างตรงไปตรงมาในช่องทางที่ถูกต้อง เช่น การตอบกระทู้นี้ในสภาฯ
จึงอาจกล่าวได้ว่า ความวุ่นวายทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ปฐมเหตุอยู่ที่ความพยายามที่จะสร้างความชอบธรรมจอมปลอมให้เกิดขึ้นกับยิ่งลักษณ์และทักษิณโดยแท้
หากไร้ซึ่งความชอบธรรม จะใช้อำนาจได้อย่างไร
ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ดูเหมือนจะมีที่มาหรือ “เหตุ” จากการเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและกฎหมายปรองดอง แต่หากมองลงไปในเนื้อแท้แล้วปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็น “ผล” จากการขาดความชอบธรรม (legitimacy)โดยแท้
นักรัฐศาสตร์มักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอๆ ว่า ความถูกต้องตามตัวกฎหมายนั้นไม่พอเพียงที่จะเป็นความชอบธรรมได้เพราะอาจชอบธรรมทางกฎหมายแต่ไม่ชอบธรรมทางการเมือง แต่ที่ปรากฏในระยะหลังนั้นมักเป็นไปในทางตรงกันข้ามเสียมากกว่า
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในบริบทของประเทศไทยที่ผ่านมาก็คือ คำกล่าวของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ลงมติ “หักดิบกฎหมาย” ให้ทักษิณหลุดพ้นจากข้อหาซุกหุ้นภาคแรกเนื่องจากให้น้ำหนักของคนที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่าความถูกต้องของกฎหมาย ถูกผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไรเวลาที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้ว
ความชอบธรรมที่นักรัฐศาสตร์ให้ความสำคัญมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ก็คือ (1) การเข้าสู่อำนาจ (2) ความสามารถ หรือ performance และ(3) พฤติกรรมที่สอดคล้องกับจริยธรรมและคุณธรรมที่อยู่นอกเหนือจากกฎหมายที่มีอยู่
ในยุคการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อำนาจที่นักการเมืองได้มาจากประชาชนด้วยการลงคะแนนเสียงจึงเป็นที่มาของความชอบธรรม หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า เสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์ ดังนั้นผู้ที่ชนะการเลือกตั้งจึงมีความชอบธรรมที่จะเข้าสู่อำนาจ
เมื่อเข้าสู่อำนาจโดยชอบธรรมแต่ความสามารถไม่ปรากฏ ทำงานไม่ได้ผล สังคมก็จะถวิลหา “ตัวช่วย” ผู้ที่มีบารมี หรือ charisma ที่เป็นความหวังที่จะเข้ามาปัดเป่าบรรเทาปัญหาให้พวกเขาได้ เช่น มหาตมะ คานธี หรือ อองซาน ซูจี หรือในบางกรณีอาจจะละเลยความชอบธรรม (1) เสีย เช่น ฮิตเลอร์ หรือ สฤษดิ์ ทำให้การใช้กำลังเพื่อเข้าสู่อำนาจกลับกลายเป็นความชอบธรรม
การแก้ไขหรือจัดการปัญหาน้ำไม่ได้จนทำให้น้ำ “ท่วม” ทั้งแผ่นดิน หรือทำให้สินค้า “แพง” ทั้งแผ่นดิน หรือบริหารประเทศที่ “ส่อ” ไปในทางสุ่มเสี่ยงต่อความล้มเหลวทางเศรษฐกิจจนประชาชนเดือดร้อนไปทั่วหล้าในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เช่นเดียวกัน
แม้ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยจะอ้างเสมอว่าเข้าสู่อำนาจด้วยความชอบธรรมด้วยการเลือกตั้ง แต่เมื่อปรากฏว่ายิ่งลักษณ์ขาดซึ่งความสามารถ ประชาชนจึงเรียกร้องหา “ตัวช่วย” แม้จะโดยการปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย ผิดยุคผิดสมัย หรือมีการวางแผนโดยอำมาตย์เพื่อยึดอำนาจการปกครองจากไพร่แต่อย่างใดไม่
การเข้าสู่อำนาจ และความสามารถ จึงเป็นสององค์ประกอบของความชอบธรรม แม้จะชอบธรรมถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ยิ่งลักษณ์ แต่การจะอยู่ในอำนาจอย่าว่าแต่ให้ครบ 4 ปีตามที่กฎหมายให้โอกาสเอาไว้ดูเหมือนว่าจะทำได้ยากยิ่ง การท่องคาถาอ้างแต่ว่ามาจากการเลือกตั้งเพื่อทำให้มีความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจดูจะไม่สมเหตุสมผลมากขึ้นทุกขณะ ยิ่งพยายามลอยตัวเอาตนเองออกจากปัญหา ไม่พยายามจะรับผิดชอบอะไรเลย ยิ่งทำให้สังคมถวิลหา “ตัวช่วย” ที่ไม่ใช่เธอมากขึ้นทุกที ยิ่งลักษณ์จึงยิ่งกลายเป็น “นายกฯ เป็ดง่อย” ขาดบารมี เนื่องมาจากการด้อยความสามารถของยิ่งลักษณ์เอง
องค์ประกอบสุดท้ายของความชอบธรรมก็คือพฤติกรรมที่สอดคล้องกับจริยธรรมและคุณธรรมที่อยู่นอกเหนือจากกฎหมายที่มีอยู่
กล่าวง่ายๆ ก็คือพฤติกรรมทั้ง (ก) ทางการเมืองที่สอดคล้องกับกฎหมาย ศีลธรรม วัฒนธรรมประเพณี และ (ข) ภาพลักษณ์ส่วนตน ที่มีความสำคัญเหนือกว่าการเข้าสู่อำนาจและความสามารถเสียอีก
ทักษิณผู้เป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ในขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้ละเมิดกฎหมายและกระทำการขัดต่อหลักนิติรัฐในหลายๆ กรณี แต่ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและอธิบายต้นตอพฤติกรรมของทักษิณได้เป็นอย่างดีก็คือ การซุกหุ้นเพื่อปิดบังการเป็น “เจ้าของ” กิจการที่เป็นคู่สัญญากับรัฐคือ ชินคอร์ป โดยอ้างว่าลูก พี่เมีย และยิ่งลักษณ์เป็นเจ้าของแทนตนเองตามคำพิพากษายึดทรัพย์ที่ยืนยันข้อเท็จจริงนี้
แม้ฝ่ายค้านในช่วงก่อนการปฏิวัติ 19 ก.ย. 49 จะมีเพียงหยิบมือเดียวในขณะที่ทักษิณก้าวเข้าสู่อำนาจในวาระที่สองด้วยความชอบธรรม มีจำนวน ส.ส.ในสภาเกือบสามในสี่ แต่ทักษิณกลับเลือกที่จะยุบสภาหนีการอภิปรายในเรื่องการซุกหุ้น แม้ในขณะนั้นยังไม่มีใครสามารถยืนยันข้อเท็จจริงว่าเจ้าของชินคอร์ปตัวจริงคือทักษิณและภรรยาก็ตาม
ดังนั้นพฤติกรรมต่างกรรมต่างวาระที่ทักษิณในขณะเป็นนายกฯ ที่ได้ละเมิดกฎหมายโดยไม่ปฏิบัติตามหรือตะแบงตีความกฎหมายโดยอ้างความสามารถ จึงทำให้เสียความชอบธรรมทางการเมืองจนหลักความชอบธรรมสององค์ประกอบแรกคือการเข้าสู่อำนาจและความสามารถไม่อาจที่จะนำมาอ้างเพื่อรักษาความชอบธรรมทางการเมืองเอาไว้ได้ เนื่องจากขาดความชอบธรรมที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือพฤติกรรมที่สอดคล้องกับจริยธรรมและคุณธรรมที่อยู่นอกเหนือจากกฎหมายที่มีอยู่
การปฏิวัติเมื่อ 19 ก.ย. 49 จึงกลายเป็นความชอบธรรมเพราะเอาทักษิณผู้ที่ขาดความชอบธรรมออกจากอำนาจแม้จะมิใช่วัตถุประสงค์หลักก็ตาม
ความพยายามในการผ่านกฎหมายปรองดองและการแก้รัฐธรรมนูญของยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยก็ไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด เพราะเป็นการออกกฎหมายที่มีลักษณะของการขัดแย้งกฎหมายหลักของประเทศคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ การไปสนับสนุนความไม่ถูกต้องของกฎหมายดังกล่าวทั้งสองจึงนำมาซึ่งความไม่ชอบธรรมทางการเมืองของยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
อย่าลืมว่า การเปิด/ปิดสภาฯ เป็นอำนาจโดยตรงและเฉพาะตัวของนายกฯ เช่นเดียวกับการยุบสภา หาใช่ของประธานสภาฯ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านแต่อย่างใดไม่ การออกพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมหมายความว่านายกฯ ประสงค์จะผ่านกฎหมายที่ต้องการและปิดเมื่อได้กฎหมายนั้นแล้ว สภาฯ จึงเป็นเครื่องมือในการบริหารของนายกฯ ในระบอบการเมืองไทยที่เป็นอยู่ ไม่มีนายกฯ คนใดอยากเปิดสภาฯ รอฝ่ายค้านยื่นอภิปรายหากไม่มีกฎหมายบังคับให้เปิด อีกทั้งตนเองยังเป็นสมาชิกสภาฯ จะปฏิเสธว่า “หนูไม่รู้” เรื่องกฎหมายทั้งสองฉบับหรือเป็นเรื่องของสภาฯ ไปได้อย่างไร
ในแง่วัฒนธรรมและประเพณี การขยายเวลาประชุมสภาฯ โดยไม่มีกำหนดปิดและพิจารณาอย่างเอาเป็นเอาตายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ทั้งๆ ที่ไม่ปรากฏข้อบกพร่องร้ายแรงที่ต้องเร่งด่วนแก้ไข ในขณะที่กฎหมายที่จำเป็นกว่า เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงินฉบับใหม่ กลับละเลยไม่ได้รับความสำคัญ ดูจะมีนัยซ่อนเร้น การขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวมและขัดกับประเพณีปฏิบัติที่แสดงถึงความไม่ชอบธรรมของยิ่งลักษณ์อย่างชัดแจ้ง
เช่นเดียวกับในเรื่องศีลธรรม ไม่ว่าสังคมใดเรื่องอื้อฉาวในทางเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องใหญ่ พฤติกรรมส่วนตนที่ปกปิดซ่อนเร้นจากกรณีโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ที่นำมาซึ่งภาพลักษณ์ส่วนตนที่ขัดต่อศีลธรรมอันดี แต่ยิ่งลักษณ์ก็มิได้คำนึงถึงสถานะนายกฯ ที่ตนเองดำรงอยู่ หลีกเลี่ยงที่จะแสดงความบริสุทธิ์ใจโดยการแสดงข้อเท็จจริงหรือตอบข้อซักถามอย่างตรงไปตรงมาในช่องทางที่ถูกต้อง เช่น การตอบกระทู้นี้ในสภาฯ
จึงอาจกล่าวได้ว่า ความวุ่นวายทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ปฐมเหตุอยู่ที่ความพยายามที่จะสร้างความชอบธรรมจอมปลอมให้เกิดขึ้นกับยิ่งลักษณ์และทักษิณโดยแท้