ASTVผู้จัดการรายวัน - กระทรวงการท่องเที่ยว จับมือ กลาโหม โปรโมทแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร ชี้ มีแหล่งท่องเที่ยวสวยงามมาก แถมยังได้โอกาสปลุกจิตสำนึกรักชาติ ด้าน กลาโหม ได้ที เล็งของบ 30 ล้านบาท พัฒนาอุทยานฯสงครามเก้าทัพ
นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU) กับพลเอกเสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหมกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร จุดประสงค์ เพื่อ นำเสนอพื้นที่ท่องเที่ยวในเขตทหาร ให้เป็นที่รู้จักของประชาชนในการที่จะกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และ ปลุกกระแสความรักชาติ ความสามัคคี และความภูมิใจของคนในชาติ โดยจะดำเนินงานทั้งด้านการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาแหล่งให้มีมาตรฐาน และ การสร้างกิจกรรมทางการตลาด
ทั้งนี้จะมอบหมายให้กรมการท่องเที่ยว ไปรวบรวมรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหารมาจัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และไปร่วมหารือกับกระทรวงกลาโหม ในการร่วมมือกันพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหารและเตรียมมอบหมายให้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ไปช่วยส่งเสริมทางการตลาดให้เป็นที่รู้จักต่อประชาชน เพราะหลายแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร จัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวประเภทอันซีน
กลาโหมขอ 30 ล. พัฒนาอุทยานฯเก้าทัพ
ทางด้านพลตรีปวริศ แจ่มสว่าง ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก กล่าวว่า จากนี้ไปทางกองทัพบกจะไปกำหนดจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ โดยจะเชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งของกลาโหม และ ของกระทรวงการท่องเที่ยว มาร่วมประชุมหารือ สร้างความเข้าใจ พร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร โดยให้แต่ละกองทัพไปคิดรูปแบบการทำงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐ
“ปัจจุบัน แหล่งท่องเที่ยวในเขตทหารที่เปิดให้ประชาชน เข้าไปเที่ยว มีทั้งหมด 40 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ของกองทัพบก 16 แห่ง กองทัพเรือ 14 แห่ง กองทัพอากาศ 4 แห่ง กองบัญชาการทหารสูงสุด 4 แห่ง และ กระทรวงกลาโหม 2 แห่ง โดยทั้งหมด มีหลายสถานที่ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตของประชาชนแล้ว เช่น อ่างมะนาม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พระมหาเจดีย์ ดอยอินทนนท์ เป็นต้น ยังไม่นับรวมแหล่งท่องเที่ยวที่เปิดเฉพาะกิจให้นักเรียน นักศึกษา ไปเข้าค่ายฝึกอบรม “
อย่างไรก็ตาม 5 เดือนแรกปีนี้ มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหารรวม กว่า 140,000 คน แต่หากนับรวมที่เปิดให้นักเรียน นักศึกษา เข้าค่ายฝึกอบรม จะมียอดคนเที่ยวแล้ว 200,000 คน ซึ่ง โครงการMOU ครั้ง นี้ กลาโหม หวังว่า จะทำให้ แหล่งท่องเที่ยวของกองทัพเป็นที่รู้จักของประชาชนมากยิ่งขึ้น เพราะเกือบทุกแหล่ง จะช่วยสร้างจิตสำนึกของความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ล่าสุด เตรียมเสนอของบประมาณจากกระทรวงการท่องเที่ยว หรือหน่วยงานภาครัฐ วงเงิน 30 ล้านบาท ใช้พัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ จ.กาญจนบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ การก่อตั้งประเทศไทย ส่วนแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของกลาโหมที่น่าสนใจ เช่น ค่ายฝึกรบพิเศษธงชัย จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติที่สวยงาม
เหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวผจญภัย ศึกษาเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรม และศาสนา และค่ายในเขตกรมทหารพรานที่ 42 ที่จังหวัดปัตตานี มีชายหาดที่สวยงาม เหมาะที่จะเปิดให้ประชาชนเข้าไปท่องเที่ยว เป็นต้น
นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU) กับพลเอกเสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหมกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ทหาร จุดประสงค์ เพื่อ นำเสนอพื้นที่ท่องเที่ยวในเขตทหาร ให้เป็นที่รู้จักของประชาชนในการที่จะกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และ ปลุกกระแสความรักชาติ ความสามัคคี และความภูมิใจของคนในชาติ โดยจะดำเนินงานทั้งด้านการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาแหล่งให้มีมาตรฐาน และ การสร้างกิจกรรมทางการตลาด
ทั้งนี้จะมอบหมายให้กรมการท่องเที่ยว ไปรวบรวมรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหารมาจัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และไปร่วมหารือกับกระทรวงกลาโหม ในการร่วมมือกันพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหารและเตรียมมอบหมายให้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ไปช่วยส่งเสริมทางการตลาดให้เป็นที่รู้จักต่อประชาชน เพราะหลายแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร จัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวประเภทอันซีน
กลาโหมขอ 30 ล. พัฒนาอุทยานฯเก้าทัพ
ทางด้านพลตรีปวริศ แจ่มสว่าง ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก กล่าวว่า จากนี้ไปทางกองทัพบกจะไปกำหนดจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ โดยจะเชิญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งของกลาโหม และ ของกระทรวงการท่องเที่ยว มาร่วมประชุมหารือ สร้างความเข้าใจ พร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร โดยให้แต่ละกองทัพไปคิดรูปแบบการทำงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐ
“ปัจจุบัน แหล่งท่องเที่ยวในเขตทหารที่เปิดให้ประชาชน เข้าไปเที่ยว มีทั้งหมด 40 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ของกองทัพบก 16 แห่ง กองทัพเรือ 14 แห่ง กองทัพอากาศ 4 แห่ง กองบัญชาการทหารสูงสุด 4 แห่ง และ กระทรวงกลาโหม 2 แห่ง โดยทั้งหมด มีหลายสถานที่ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตของประชาชนแล้ว เช่น อ่างมะนาม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พระมหาเจดีย์ ดอยอินทนนท์ เป็นต้น ยังไม่นับรวมแหล่งท่องเที่ยวที่เปิดเฉพาะกิจให้นักเรียน นักศึกษา ไปเข้าค่ายฝึกอบรม “
อย่างไรก็ตาม 5 เดือนแรกปีนี้ มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหารรวม กว่า 140,000 คน แต่หากนับรวมที่เปิดให้นักเรียน นักศึกษา เข้าค่ายฝึกอบรม จะมียอดคนเที่ยวแล้ว 200,000 คน ซึ่ง โครงการMOU ครั้ง นี้ กลาโหม หวังว่า จะทำให้ แหล่งท่องเที่ยวของกองทัพเป็นที่รู้จักของประชาชนมากยิ่งขึ้น เพราะเกือบทุกแหล่ง จะช่วยสร้างจิตสำนึกของความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ล่าสุด เตรียมเสนอของบประมาณจากกระทรวงการท่องเที่ยว หรือหน่วยงานภาครัฐ วงเงิน 30 ล้านบาท ใช้พัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ จ.กาญจนบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ การก่อตั้งประเทศไทย ส่วนแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของกลาโหมที่น่าสนใจ เช่น ค่ายฝึกรบพิเศษธงชัย จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติที่สวยงาม
เหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวผจญภัย ศึกษาเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรม และศาสนา และค่ายในเขตกรมทหารพรานที่ 42 ที่จังหวัดปัตตานี มีชายหาดที่สวยงาม เหมาะที่จะเปิดให้ประชาชนเข้าไปท่องเที่ยว เป็นต้น