“ต้องร่วมกันต่อสู้ความเลวร้ายของแผ่นดิน” ความขัดแย้งทางการเมืองนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็ใกล้จะครบ 80 ปีบริบูรณ์
ความขัดแย้งมันเป็นทุกข์ของแผ่นดิน แน่นอนว่ามันต้องเกิดจากเหตุคือสมุทัย สมุทัยคือเหตุแห่งความทุกข์อัปรีย์จัญไรของบุคคลและประเทศชาติ
หากเรานำสมุทัยมาใช้ในทางการเมือง สมุทัยคือสภาพการณ์ของการเมืองไทยหรือสภาพที่เป็นอยู่ สภาพที่ดำรงอยู่ตามความเป็นจริงหรือตามที่มันเป็นอยู่จริงๆ มันเป็นระบอบอะไร ผู้ปกครองหลายคนยังเชื่อว่าเป็น “เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นี่คือความเชื่อของผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายใหญ่ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์
แต่ความเป็นจริงอันเป็นสมุทัยของแผ่นดินคือ “ระบอบเผด็จการอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ” หากขยายความออกไปก็พูดได้ว่า
ประการที่หนึ่ง ลักษณะประเทศหรือรูปประเทศคือ ประเทศไทยเป็นประเทศราชอาณาจักรโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ไม่ใช่ประมุขระบอบ...ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของคนทำลายในหลวง
ประการที่สอง ประเทศไทยมีการปกครองโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งการปกครองที่เอากฎหมายเป็นตัวตั้ง ซึ่งปราศจากระบอบหรือหลักการปกครองโดยธรรม การปกครองลักษณะนำเอากฎหมายรัฐธรรมนูญมาเป็นระบอบ แล้วก็เรียกระบอบชนิดนี้ว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นี่คือความเห็นผิดร้ายแรงของคณะผู้ปกครอง และนี่คือความเห็นผิดร้ายแรงของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ นี่คือความเห็นผิดร้ายแรงของนักวิชาการทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันเพียงรายละเอียดเล็กน้อยที่แต่ละฝ่ายจะเอาประโยชน์กันเท่านั้น
ประการที่สาม ประเทศไทยใช้รูปการปกครอง (Form of Government) ระบบรัฐสภา(Parliamentary System) เมื่อเอาการปกครองโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญมาใช้กับรูปการปกครองคือระบบรัฐสภา จึงเรียกว่า “การปกครองรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา” แต่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า “นำกฎหมายรัฐธรรมนูญมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น มันผิดซ้ำซาก ลักษณะการปกครองเช่นนี้จึงเรียกว่า “ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา” นี่คือสภาพการณ์ที่แท้จริงของประเทศไทยครอบงำมานาน 80 ปีแล้ว และเป็นจอมมารแห่งความหายนะของชาติตัวจริง และผลคือเสนามารทักษิณ รัฐบาลทุกรัฐบาล
พระปกเกล้าฯ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ทรงเรียกว่า “เผด็จการโดยอ้อมๆ” การใช้ระบบรัฐสภา การใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางองค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ความสัมพันธ์แห่งองค์กรอำนาจทั้ง 3 ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยเสมอไป
นายชวน หลีกภัย พูดที่บนเวที 2 แห่งที่ลานคนเมืองและที่วงเวียนใหญ่ นายชวนพูดกล่าวหาพรรคเพื่อไทยด้วยเหตุด้วยผลถูกต้องหมด แต่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล เป็นเรื่องของระบบรัฐสภา ไม่ใช่เรื่องของระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายตุลาการ (ศาลรัฐธรรมนูญ) กับฝ่ายรัฐบาล (พรรคเพื่อไทย) ก็ไม่ได้เป็นเป็นขัดแย้งของระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นความขัดแย้งภายในระบบรัฐสภา ซึ่งความเป็นจริงก็คือความขัดแย้งภายในระบบรัฐสภาโดยระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ซึ่ง 80 ปีระบอบประชาธิปไตย ยังไม่เคยเกิดขึ้นแม้เพียงวันเดียว
80 ปี ผู้ปกครองไทยหลงผิดคิดว่า รัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย การมีรัฐธรรมนูญจะเป็นระบอบอะไรก็ได้ เช่น เผด็จการ คอมมิวนิสต์
แต่การมีระบอบประชาธิปไตยหรือหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เกิดมีขึ้นจริงๆ ไม่หลอกลวงประชาชนเพื่อจะไปโค่นเจ้า หากมีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชนและเชิดชูเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ก็จะต้องร่วมกันสร้างหรือร่วมกันสถาปนาขึ้นเรียกว่า “ทรงสถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยธรรม” หรือ “ทรงสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” กล่าวโดยย่อคือ (1) หลักธรรมาธิปไตย (2) หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ (3) หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (4) หลักเสรีภาพบริบูรณ์ (5) หลักความเสมอภาคทางโอกาส (6) หลักภราดรภาพ (7) หลักดุลยภาพ (8) หลักเอกภาพ (9) หลักนิติธรรม
“ประชาชนรับรู้กันทั่วประเทศ ประชาชนเข้าใจและรักษาระบอบประชาธิปไตยโดยธรรมนี้ไว้ และนี่คือการเมืองหรือหลักและวิธีการคิดของประชาชนโดยทั่วไป และนี่คือจุดศูนย์รวมของปวงชนในชาติ และนี่คือหลักแห่งความมั่นคงของชาติ และนี่คือหลักนิติธรรมอันเป็นหลักกฎหมายของชาติ”
“การเข้าถึงสิ่งใดสิ่งนั้นจะต้องมีอยู่ก่อนหรือเกิดขึ้นก่อน” เราจะไปวัดพระแก้ว วัดพระแก้วจะต้องมีอยู่ก่อนจึงไปถึงได้ เข้าถึงได้ ก็เฉกเช่นเดียวกัน ปวงชนในชาติจะเข้าถึงระบอบประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยต้องมีอยู่ก่อน ต้องเกิดก่อน วิธีการที่จะไป (รัฐธรรมนูญ) ทุกหมวด ทุกมาตรา และทุกองค์กร ทุกคน สามารถเข้าถึงระบอบประชาธิปไตยได้ตามวิธีการ (รัฐธรรมนูญ หมวดและมาตรา) ที่กำหนดไว้
หลักการปกครองโดยธรรมหรือระบอบคือจุดหมายร่วมของปวงชนในชาติส่วนรัฐธรรมนูญก็คือวิธีการไปสู่ระบอบหรือการเข้าถึงระบอบเพื่อใช้ระบอบ ดังภาพ คือสัมพันธภาพที่ 1 ระหว่างหลักการปกครองฯ กับปวงชนในชาติ 360 องศาทั่วแผ่นดิน จึงกลายเป็นลักษณะพระธรรมจักร
นี่คือสัมพันธภาพที่ถูกต้องยิ่งใหญ่ระหว่างระบอบฯ กับประชาชน และสัมพันธภาพระหว่างระบอบฯ กับรัฐธรรมนูญ ไม่หลอกลวงประชาชน ความอัปรีย์จัญไร ของพรรคฯ ของนักการเมืองจะหมดไป
80 ปี การเมืองการปกครองเผด็จการรัฐธรรมนูญของคณะราษฎรและถ่ายทอดสู่ทายาททางการเมือง 3-4 พรรคใหญ่ทั้งประชาธิปัตย์ฝ่ายขวาและพรรคเพื่อไทยฝ่ายซ้ายไม่เอาธงไตรรงค์ (ดูเวลาพวกพวกเสื้อแดงชุมนุม)
80 ปี แห่งความเห็นผิด 80 ปี แห่งความขัดแย้ง เสียเวลา เสี่ยงภัย เพราะมันไม่มีระบอบฯ หลักการปกครองโดยธรรมนี่เอง ทั้งพรรค ทั้งกองทัพ ทั้งประชาชน ทั้งฟ้า ทั้งดิน จึงสับสนในการเมืองไปหมด จุดมุ่งหมายไปกันคนละทิศละทาง จึงสับสนวุ่นวายมีแต่ความขัดแย้งท่วมแผ่นดิน รัฐบาลไหนๆ ก็แก้ไขอะไรไม่ได้
ประเทศชาติจึงมีแต่ทรุดลงๆ นักการเมืองรวยขึ้นๆ ทักษิณและตระกูลชินวัตรก็รวยขึ้นๆโกงชาติซ้ำซาก ปู ยิ่งลักษณ์ ก็ยิ่งรวยขึ้น สุมหัวกันออก พ.ร.บ. ล้างผิดให้คนโกง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อประโยชน์แห่งตระกูลชินวัตร เหล่านี้เป็นเรื่องของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภาทั้งสิ้น ครับพี่น้อง “จักยอมตายเพื่อให้ปัญญาแก่ท่านผู้อ่าน”
ความขัดแย้งมันเป็นทุกข์ของแผ่นดิน แน่นอนว่ามันต้องเกิดจากเหตุคือสมุทัย สมุทัยคือเหตุแห่งความทุกข์อัปรีย์จัญไรของบุคคลและประเทศชาติ
หากเรานำสมุทัยมาใช้ในทางการเมือง สมุทัยคือสภาพการณ์ของการเมืองไทยหรือสภาพที่เป็นอยู่ สภาพที่ดำรงอยู่ตามความเป็นจริงหรือตามที่มันเป็นอยู่จริงๆ มันเป็นระบอบอะไร ผู้ปกครองหลายคนยังเชื่อว่าเป็น “เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นี่คือความเชื่อของผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายใหญ่ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์
แต่ความเป็นจริงอันเป็นสมุทัยของแผ่นดินคือ “ระบอบเผด็จการอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ” หากขยายความออกไปก็พูดได้ว่า
ประการที่หนึ่ง ลักษณะประเทศหรือรูปประเทศคือ ประเทศไทยเป็นประเทศราชอาณาจักรโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ไม่ใช่ประมุขระบอบ...ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของคนทำลายในหลวง
ประการที่สอง ประเทศไทยมีการปกครองโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งการปกครองที่เอากฎหมายเป็นตัวตั้ง ซึ่งปราศจากระบอบหรือหลักการปกครองโดยธรรม การปกครองลักษณะนำเอากฎหมายรัฐธรรมนูญมาเป็นระบอบ แล้วก็เรียกระบอบชนิดนี้ว่า “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นี่คือความเห็นผิดร้ายแรงของคณะผู้ปกครอง และนี่คือความเห็นผิดร้ายแรงของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ นี่คือความเห็นผิดร้ายแรงของนักวิชาการทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันเพียงรายละเอียดเล็กน้อยที่แต่ละฝ่ายจะเอาประโยชน์กันเท่านั้น
ประการที่สาม ประเทศไทยใช้รูปการปกครอง (Form of Government) ระบบรัฐสภา(Parliamentary System) เมื่อเอาการปกครองโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญมาใช้กับรูปการปกครองคือระบบรัฐสภา จึงเรียกว่า “การปกครองรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา” แต่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า “นำกฎหมายรัฐธรรมนูญมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น มันผิดซ้ำซาก ลักษณะการปกครองเช่นนี้จึงเรียกว่า “ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา” นี่คือสภาพการณ์ที่แท้จริงของประเทศไทยครอบงำมานาน 80 ปีแล้ว และเป็นจอมมารแห่งความหายนะของชาติตัวจริง และผลคือเสนามารทักษิณ รัฐบาลทุกรัฐบาล
พระปกเกล้าฯ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ทรงเรียกว่า “เผด็จการโดยอ้อมๆ” การใช้ระบบรัฐสภา การใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางองค์กรแห่งอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ความสัมพันธ์แห่งองค์กรอำนาจทั้ง 3 ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยเสมอไป
นายชวน หลีกภัย พูดที่บนเวที 2 แห่งที่ลานคนเมืองและที่วงเวียนใหญ่ นายชวนพูดกล่าวหาพรรคเพื่อไทยด้วยเหตุด้วยผลถูกต้องหมด แต่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล เป็นเรื่องของระบบรัฐสภา ไม่ใช่เรื่องของระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายตุลาการ (ศาลรัฐธรรมนูญ) กับฝ่ายรัฐบาล (พรรคเพื่อไทย) ก็ไม่ได้เป็นเป็นขัดแย้งของระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นความขัดแย้งภายในระบบรัฐสภา ซึ่งความเป็นจริงก็คือความขัดแย้งภายในระบบรัฐสภาโดยระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ซึ่ง 80 ปีระบอบประชาธิปไตย ยังไม่เคยเกิดขึ้นแม้เพียงวันเดียว
80 ปี ผู้ปกครองไทยหลงผิดคิดว่า รัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย การมีรัฐธรรมนูญจะเป็นระบอบอะไรก็ได้ เช่น เผด็จการ คอมมิวนิสต์
แต่การมีระบอบประชาธิปไตยหรือหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เกิดมีขึ้นจริงๆ ไม่หลอกลวงประชาชนเพื่อจะไปโค่นเจ้า หากมีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชนและเชิดชูเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ก็จะต้องร่วมกันสร้างหรือร่วมกันสถาปนาขึ้นเรียกว่า “ทรงสถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยธรรม” หรือ “ทรงสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” กล่าวโดยย่อคือ (1) หลักธรรมาธิปไตย (2) หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ (3) หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชน (4) หลักเสรีภาพบริบูรณ์ (5) หลักความเสมอภาคทางโอกาส (6) หลักภราดรภาพ (7) หลักดุลยภาพ (8) หลักเอกภาพ (9) หลักนิติธรรม
“ประชาชนรับรู้กันทั่วประเทศ ประชาชนเข้าใจและรักษาระบอบประชาธิปไตยโดยธรรมนี้ไว้ และนี่คือการเมืองหรือหลักและวิธีการคิดของประชาชนโดยทั่วไป และนี่คือจุดศูนย์รวมของปวงชนในชาติ และนี่คือหลักแห่งความมั่นคงของชาติ และนี่คือหลักนิติธรรมอันเป็นหลักกฎหมายของชาติ”
“การเข้าถึงสิ่งใดสิ่งนั้นจะต้องมีอยู่ก่อนหรือเกิดขึ้นก่อน” เราจะไปวัดพระแก้ว วัดพระแก้วจะต้องมีอยู่ก่อนจึงไปถึงได้ เข้าถึงได้ ก็เฉกเช่นเดียวกัน ปวงชนในชาติจะเข้าถึงระบอบประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยต้องมีอยู่ก่อน ต้องเกิดก่อน วิธีการที่จะไป (รัฐธรรมนูญ) ทุกหมวด ทุกมาตรา และทุกองค์กร ทุกคน สามารถเข้าถึงระบอบประชาธิปไตยได้ตามวิธีการ (รัฐธรรมนูญ หมวดและมาตรา) ที่กำหนดไว้
หลักการปกครองโดยธรรมหรือระบอบคือจุดหมายร่วมของปวงชนในชาติส่วนรัฐธรรมนูญก็คือวิธีการไปสู่ระบอบหรือการเข้าถึงระบอบเพื่อใช้ระบอบ ดังภาพ คือสัมพันธภาพที่ 1 ระหว่างหลักการปกครองฯ กับปวงชนในชาติ 360 องศาทั่วแผ่นดิน จึงกลายเป็นลักษณะพระธรรมจักร
นี่คือสัมพันธภาพที่ถูกต้องยิ่งใหญ่ระหว่างระบอบฯ กับประชาชน และสัมพันธภาพระหว่างระบอบฯ กับรัฐธรรมนูญ ไม่หลอกลวงประชาชน ความอัปรีย์จัญไร ของพรรคฯ ของนักการเมืองจะหมดไป
80 ปี การเมืองการปกครองเผด็จการรัฐธรรมนูญของคณะราษฎรและถ่ายทอดสู่ทายาททางการเมือง 3-4 พรรคใหญ่ทั้งประชาธิปัตย์ฝ่ายขวาและพรรคเพื่อไทยฝ่ายซ้ายไม่เอาธงไตรรงค์ (ดูเวลาพวกพวกเสื้อแดงชุมนุม)
80 ปี แห่งความเห็นผิด 80 ปี แห่งความขัดแย้ง เสียเวลา เสี่ยงภัย เพราะมันไม่มีระบอบฯ หลักการปกครองโดยธรรมนี่เอง ทั้งพรรค ทั้งกองทัพ ทั้งประชาชน ทั้งฟ้า ทั้งดิน จึงสับสนในการเมืองไปหมด จุดมุ่งหมายไปกันคนละทิศละทาง จึงสับสนวุ่นวายมีแต่ความขัดแย้งท่วมแผ่นดิน รัฐบาลไหนๆ ก็แก้ไขอะไรไม่ได้
ประเทศชาติจึงมีแต่ทรุดลงๆ นักการเมืองรวยขึ้นๆ ทักษิณและตระกูลชินวัตรก็รวยขึ้นๆโกงชาติซ้ำซาก ปู ยิ่งลักษณ์ ก็ยิ่งรวยขึ้น สุมหัวกันออก พ.ร.บ. ล้างผิดให้คนโกง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อประโยชน์แห่งตระกูลชินวัตร เหล่านี้เป็นเรื่องของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภาทั้งสิ้น ครับพี่น้อง “จักยอมตายเพื่อให้ปัญญาแก่ท่านผู้อ่าน”