ด้วยมีคนถามเข้ามาว่า เผด็จการรัฐธรรมนูญ คืออะไร และเผด็จการรัฐสภาเกิดเพราะอะไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล
“ทุกข์ ย่อมเป็นผลอันเกิดจากเหตุฉันใด เผด็จการรัฐสภาย่อมเป็นผลอันเกิดจากเผด็จการรัฐธรรมนูญฉันนั้น”
พิจารณาง่ายๆ ดังนี้ครับ อดีต 80 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีหลักการปกครองโดยธรรม ก็เท่ากับไม่มีระบอบโดยธรรมเมื่อไม่มีระบอบโดยธรรมตัวระบอบมันหายไปไหน ขอตอบว่า ตัวระบอบมันจึงกลายเป็นแนวคิดของพวกนักการเมืองและกลุ่มทุนเพียงหยิบมือเดียว มันจึงเป็นเผด็จการใช้รัฐธรรมนูญเป็นวิธีการปกครอง จึงเรียกว่าระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ใช้รูปการปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) จึงเรียกเต็มๆ ว่า ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา ดังนั้นจึงเห็นว่าเผด็จการรัฐสภาเป็นผลของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญนั่นเอง
“การทำชั่วทางกาย วาจา เกิดจากจิตชั่ว ฉันใด เผด็จการรัฐภาอันเป็นปรากฏการณ์อันเกิดจากเหตุเลวคือเผด็จการรัฐธรรมนูญ ฉันนั้น”
หากเรามองความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง (นามธรรม) กับการปกครอง (รูปธรรม) การเมือง (ของปวงชน) ซึ่งก็คือหลักการปกครองโดยธรรม ส่วนการปกครองก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นวิธีการปกครอง (วิธีการ คือการให้ทำอย่างนี้ ห้ามทำอย่างนั้น)
หลักการปกครองเป็นเหตุของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างจุดมุ่งหมายกับวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมาย ดังตัวอย่างง่ายๆ มีคนถามว่า “ท่านจะไปไหน” คนนั้นตอบว่า “ไปวัดพระแก้ว” หากเขาถามต่อว่า “ไปอย่างไร” คนนั้นอาจจะตอบว่า “เดิน วิ่ง ขี่รถจักรยาน มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เป็นต้น”
เราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างจุดมุ่งหมายกับวิธีการไป วิธีการย่อมมีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายคือวัดพระแก้ว
เราจะเห็นได้ว่า เราจะเข้าถึงสิ่งใด สิ่งนั้นต้องมีอยู่ก่อน เช่น วัดพระแก้วมีอยู่ก่อนแล้ว เราจึงไปได้ มหาวิทยาลัย มีอยู่ก่อนแล้วเราจึงเข้าไปสมัครเรียน ทำงานได้ หนังสือพิมพ์ มีอยู่ก่อนแล้ว เราจึงเข้าไปทำงานได้
หากเราต้องเดินทางร่วมไปกันทั้งประเทศ 65 ล้านคน จุดมุ่งหมายร่วมของปวงชนทั้งประเทศอันสำคัญยิ่งยวดนั้นคืออะไร และสิ่งนั้นจะต้องมีอยู่ก่อน สิ่งนั้นคืออะไร
ก็ขอตอบว่า จุดมุ่งหมายร่วมของปวงชนในชาติและสิ่งนั้นต้องมีอยู่ก่อน สิ่งนั้น ก็คือ ชาติ (คือหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน) ศาสนา (คือหลักธรรมาธิปไตย) พระมหากษัตริย์ คือ หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีอยู่ก่อน จากนั้นการเข้าถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ปวงชนในชาติย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ที่จะเข้าถึงจุดมุ่งหมาย ดังกล่าวได้
ปวงชนในชาติย่อมมีความเสมอภาคทางโอกาสที่จะเข้าถึงจุดมุ่งหมายนั้นร่วมกันเมื่อมีเสรีภาพ มีความเสมอภาคทางโอกาส ก็แน่นอนว่าเป็นเหตุให้ปวงชนในชาติมีภราดรภาพ ดังนี้แล้ว ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ปวงชนในชาติมีเอกภาพ พลังอันยิ่งใหญ่ของปวงชนในชาติไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมเป็นพลังแห่งการสร้างชาติอย่างยิ่งใหญ่ ดังนี้แล้ว ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ เมื่อเกิดดุลยภาพแล้ว แสดงว่าหลักการปกครองดังกล่าวถูกต้องดีแล้ว จึงเป็นเหตุปัจจัยของหลักการปกครองดังกล่าวตั้งขึ้นเป็นหลักนิติธรรม
นี่คือ หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อันเป็นจุดมุ่งหมายร่วมของปวงชนในชาติ เป็นสัญญาประชาคมของปวงชนในชาติ เป็นหลักที่ให้ความเป็นธรรมแก่ปวงชนในชาติ เป็นหลักแห่งความมั่นคงของชาติหรือเป็นกฎหมายความมั่นคงของชาติ เป็นหลักหรือเป็นเหตุของการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ นี่คือความถูกต้องยิ่งใหญ่ในการสร้างการเมืองการปกครองโดยธรรม จึงได้กล่าวเป็นสัจธรรมว่า “สภาวะนิพพาน ย่อมขึ้นก่อน เกิดก่อนคำสอน 84,000 พระธรรมขันธ์ ฉันใด หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ย่อมมาก่อน เกิดก่อนรัฐธรรมนูญ ฉันนั้น”
แต่เพราะคณะราษฎรทำรัฐประหารและเป็นผู้ปกครองไทยในอดีตไปเรียนมาผิด เห็นผิด คิดผิด ทำผิด เห็นแต่เพียงรูปแบบ (รัฐธรรมนูญ) แล้วไปยึดเอารูปแบบนั้นว่าครอบงำประชาชนยาวนานร่วม 80 ปี และวันนี้ ผู้ปกครองรุ่นล่าสุดผู้มีอำนาจตัวจริงคือทักษิณ ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทยและสมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมาก กำลังดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับที่ 19 เพื่อยกเลิกฉบับที่ 18 โดยอ้างประชาชนเห็นด้วย
ประชาชนที่มีปัญญาไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน เพราะนี่คือการทำผิด ทำความจัญไรให้กับประเทศอีกวาระหนึ่งซ้ำรอยเดิมแบบเดียวกับคณะราษฎรเมื่อ 2475 และสืบทอดความจัญไรทำผิดซ้ำซากมาแล้ว 18 ครั้ง
หากทักษิณ ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย มีอำนาจแล้ว ทำคุณไถ่บาปให้กับประเทศ จะต้องเลิกวิธีคิด “ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย” เพราะมันเป็นวิธีคิดที่เห็นผิด ทำผิดอย่างร้ายแรง จงยกเลิกแผนการ ยกเลิกนโยบายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แล้วกลับหลังหัน ดุจดังองคุลิมาลกลับใจที่ได้เห็นถูก จงทำในสิ่งที่ถูกต้องยิ่งใหญ่ เริ่มนโยบายใหม่ ที่ถูกต้องยิ่งใหญ่แก่ชาติ นั่นก็คือ นโยบายส่งเสริมประชาชนร่วมกันผลักดันสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ซึ่งเป็นนโยบายที่ต่อสู้เอาชนะเผด็จการทุกรูปแบบนั่นเอง
มีอำนาจทางการเมืองที่ถูกต้อง คือ ผลักดันนโยบายสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 (จะได้ระบอบประชาธิปไตยจริงๆ ตัวเป็นๆ แบบเปิดเผย
ในทางกลับกันมีอำนาจทางการเมืองแล้วเห็นผิด คิดคดทรยศต่อชาติต่อประชาชนคือ ผลักดันนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะเพิ่ม จะส่งเสริมความจัญไรให้ท่วมทับประเทศชาติและประชาชนให้ยาวนานออกไปอีก อย่างนี้ใครๆ ก็คัดค้าน
ท่านปัญญาชน คนดีทั้งหลาย ได้พิจารณาอย่างแยบยลเถิด แนวทางการเมืองในขณะนี้ ไม่มีอะไรใหม่จาก 80 ปี ที่แล้วเลย เป็นความขัดแย้งของคณะผู้ปกครองด้วยกันเองที่ยึดมั่นถือมั่นในลัทธิรัฐธรรมนูญ คือ ความเชื่อที่ยึดมั่นในวิธีการปกครองเป็นจุดมุ่งหมาย มันจึงเป็นการเมืองการปกครองที่รับใช้คณะผู้ปกครองเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเพียงวิธีการปกครองอย่างหนึ่งมันไม่สามารถเป็นจุดมุ่งหมายทางการเมืองการปกครองของปวงชนได้ มันจึงกลายเป็นระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ใช้รูปการปกครองระบบรัฐสภา จึงเรียกว่า “เผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา” (ซึ่งเห็นด้วยปัญญา) อันเป็นเหตุแห่งเผด็จการรัฐสภา ที่เราเห็นได้ด้วยตานั่นเอง
“ทุกข์ ย่อมเป็นผลอันเกิดจากเหตุฉันใด เผด็จการรัฐสภาย่อมเป็นผลอันเกิดจากเผด็จการรัฐธรรมนูญฉันนั้น”
พิจารณาง่ายๆ ดังนี้ครับ อดีต 80 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีหลักการปกครองโดยธรรม ก็เท่ากับไม่มีระบอบโดยธรรมเมื่อไม่มีระบอบโดยธรรมตัวระบอบมันหายไปไหน ขอตอบว่า ตัวระบอบมันจึงกลายเป็นแนวคิดของพวกนักการเมืองและกลุ่มทุนเพียงหยิบมือเดียว มันจึงเป็นเผด็จการใช้รัฐธรรมนูญเป็นวิธีการปกครอง จึงเรียกว่าระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ใช้รูปการปกครองระบบรัฐสภา (Parliamentary System) จึงเรียกเต็มๆ ว่า ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา ดังนั้นจึงเห็นว่าเผด็จการรัฐสภาเป็นผลของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญนั่นเอง
“การทำชั่วทางกาย วาจา เกิดจากจิตชั่ว ฉันใด เผด็จการรัฐภาอันเป็นปรากฏการณ์อันเกิดจากเหตุเลวคือเผด็จการรัฐธรรมนูญ ฉันนั้น”
หากเรามองความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง (นามธรรม) กับการปกครอง (รูปธรรม) การเมือง (ของปวงชน) ซึ่งก็คือหลักการปกครองโดยธรรม ส่วนการปกครองก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นวิธีการปกครอง (วิธีการ คือการให้ทำอย่างนี้ ห้ามทำอย่างนั้น)
หลักการปกครองเป็นเหตุของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างจุดมุ่งหมายกับวิธีการไปสู่จุดมุ่งหมาย ดังตัวอย่างง่ายๆ มีคนถามว่า “ท่านจะไปไหน” คนนั้นตอบว่า “ไปวัดพระแก้ว” หากเขาถามต่อว่า “ไปอย่างไร” คนนั้นอาจจะตอบว่า “เดิน วิ่ง ขี่รถจักรยาน มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เป็นต้น”
เราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างจุดมุ่งหมายกับวิธีการไป วิธีการย่อมมีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายคือวัดพระแก้ว
เราจะเห็นได้ว่า เราจะเข้าถึงสิ่งใด สิ่งนั้นต้องมีอยู่ก่อน เช่น วัดพระแก้วมีอยู่ก่อนแล้ว เราจึงไปได้ มหาวิทยาลัย มีอยู่ก่อนแล้วเราจึงเข้าไปสมัครเรียน ทำงานได้ หนังสือพิมพ์ มีอยู่ก่อนแล้ว เราจึงเข้าไปทำงานได้
หากเราต้องเดินทางร่วมไปกันทั้งประเทศ 65 ล้านคน จุดมุ่งหมายร่วมของปวงชนทั้งประเทศอันสำคัญยิ่งยวดนั้นคืออะไร และสิ่งนั้นจะต้องมีอยู่ก่อน สิ่งนั้นคืออะไร
ก็ขอตอบว่า จุดมุ่งหมายร่วมของปวงชนในชาติและสิ่งนั้นต้องมีอยู่ก่อน สิ่งนั้น ก็คือ ชาติ (คือหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน) ศาสนา (คือหลักธรรมาธิปไตย) พระมหากษัตริย์ คือ หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีอยู่ก่อน จากนั้นการเข้าถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ปวงชนในชาติย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ที่จะเข้าถึงจุดมุ่งหมาย ดังกล่าวได้
ปวงชนในชาติย่อมมีความเสมอภาคทางโอกาสที่จะเข้าถึงจุดมุ่งหมายนั้นร่วมกันเมื่อมีเสรีภาพ มีความเสมอภาคทางโอกาส ก็แน่นอนว่าเป็นเหตุให้ปวงชนในชาติมีภราดรภาพ ดังนี้แล้ว ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ปวงชนในชาติมีเอกภาพ พลังอันยิ่งใหญ่ของปวงชนในชาติไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมเป็นพลังแห่งการสร้างชาติอย่างยิ่งใหญ่ ดังนี้แล้ว ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ เมื่อเกิดดุลยภาพแล้ว แสดงว่าหลักการปกครองดังกล่าวถูกต้องดีแล้ว จึงเป็นเหตุปัจจัยของหลักการปกครองดังกล่าวตั้งขึ้นเป็นหลักนิติธรรม
นี่คือ หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อันเป็นจุดมุ่งหมายร่วมของปวงชนในชาติ เป็นสัญญาประชาคมของปวงชนในชาติ เป็นหลักที่ให้ความเป็นธรรมแก่ปวงชนในชาติ เป็นหลักแห่งความมั่นคงของชาติหรือเป็นกฎหมายความมั่นคงของชาติ เป็นหลักหรือเป็นเหตุของการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ นี่คือความถูกต้องยิ่งใหญ่ในการสร้างการเมืองการปกครองโดยธรรม จึงได้กล่าวเป็นสัจธรรมว่า “สภาวะนิพพาน ย่อมขึ้นก่อน เกิดก่อนคำสอน 84,000 พระธรรมขันธ์ ฉันใด หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ย่อมมาก่อน เกิดก่อนรัฐธรรมนูญ ฉันนั้น”
แต่เพราะคณะราษฎรทำรัฐประหารและเป็นผู้ปกครองไทยในอดีตไปเรียนมาผิด เห็นผิด คิดผิด ทำผิด เห็นแต่เพียงรูปแบบ (รัฐธรรมนูญ) แล้วไปยึดเอารูปแบบนั้นว่าครอบงำประชาชนยาวนานร่วม 80 ปี และวันนี้ ผู้ปกครองรุ่นล่าสุดผู้มีอำนาจตัวจริงคือทักษิณ ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทยและสมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมาก กำลังดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับที่ 19 เพื่อยกเลิกฉบับที่ 18 โดยอ้างประชาชนเห็นด้วย
ประชาชนที่มีปัญญาไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน เพราะนี่คือการทำผิด ทำความจัญไรให้กับประเทศอีกวาระหนึ่งซ้ำรอยเดิมแบบเดียวกับคณะราษฎรเมื่อ 2475 และสืบทอดความจัญไรทำผิดซ้ำซากมาแล้ว 18 ครั้ง
หากทักษิณ ยิ่งลักษณ์ พรรคเพื่อไทย มีอำนาจแล้ว ทำคุณไถ่บาปให้กับประเทศ จะต้องเลิกวิธีคิด “ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย” เพราะมันเป็นวิธีคิดที่เห็นผิด ทำผิดอย่างร้ายแรง จงยกเลิกแผนการ ยกเลิกนโยบายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แล้วกลับหลังหัน ดุจดังองคุลิมาลกลับใจที่ได้เห็นถูก จงทำในสิ่งที่ถูกต้องยิ่งใหญ่ เริ่มนโยบายใหม่ ที่ถูกต้องยิ่งใหญ่แก่ชาติ นั่นก็คือ นโยบายส่งเสริมประชาชนร่วมกันผลักดันสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ซึ่งเป็นนโยบายที่ต่อสู้เอาชนะเผด็จการทุกรูปแบบนั่นเอง
มีอำนาจทางการเมืองที่ถูกต้อง คือ ผลักดันนโยบายสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 (จะได้ระบอบประชาธิปไตยจริงๆ ตัวเป็นๆ แบบเปิดเผย
ในทางกลับกันมีอำนาจทางการเมืองแล้วเห็นผิด คิดคดทรยศต่อชาติต่อประชาชนคือ ผลักดันนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จะเพิ่ม จะส่งเสริมความจัญไรให้ท่วมทับประเทศชาติและประชาชนให้ยาวนานออกไปอีก อย่างนี้ใครๆ ก็คัดค้าน
ท่านปัญญาชน คนดีทั้งหลาย ได้พิจารณาอย่างแยบยลเถิด แนวทางการเมืองในขณะนี้ ไม่มีอะไรใหม่จาก 80 ปี ที่แล้วเลย เป็นความขัดแย้งของคณะผู้ปกครองด้วยกันเองที่ยึดมั่นถือมั่นในลัทธิรัฐธรรมนูญ คือ ความเชื่อที่ยึดมั่นในวิธีการปกครองเป็นจุดมุ่งหมาย มันจึงเป็นการเมืองการปกครองที่รับใช้คณะผู้ปกครองเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเพียงวิธีการปกครองอย่างหนึ่งมันไม่สามารถเป็นจุดมุ่งหมายทางการเมืองการปกครองของปวงชนได้ มันจึงกลายเป็นระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ใช้รูปการปกครองระบบรัฐสภา จึงเรียกว่า “เผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา” (ซึ่งเห็นด้วยปัญญา) อันเป็นเหตุแห่งเผด็จการรัฐสภา ที่เราเห็นได้ด้วยตานั่นเอง