เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว ผมอ้างถึงบางประเด็นในหนังสือสองเล่มซึ่งเขียนโดยนักเศรษฐศาสตร์ชั้นรางวัลโนเบลทั้งคู่ เล่มแรกเขียนโดยโจเซฟ สติกลิตซ์ ชื่อ Freefall : America, Free Markets, and the Sinking of the World Economy ซึ่งพิมพ์เมื่อสองปีก่อน เล่มสองเขียนโดยพอล ครุกแมน ชื่อ End This Depression Now! ซึ่งพิมพ์เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา วันนี้ขอนำอีกประเด็นหนึ่งซึ่งกำลังเกิดขึ้นเกือบทั่วโลกมาให้พิจารณาร่วมกัน
ตามชื่อของหนังสือ สติกลิตซ์มองว่าเศรษฐกิจของอเมริกากำลังดิ่งพสุธาพร้อมๆ กับเศรษฐกิจโลก การดิ่งพสุธาหมายถึงปัญหาปัจจุบันซึ่งแสดงอาการออกมาในรูปของความถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เริ่มในปี 2551 ทั้งในอเมริกาและในประเทศก้าวหน้าจำนวนมาก แม้ตัวเลขจะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาและของประเทศก้าวหน้าหลายประเทศจะฟื้นขึ้นจากภาวะถดถอยแล้ว แต่ครุกแมนมองว่าส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในภาวะวิกฤตเนื่องจากอัตราการว่างงานยังสูงมาก จาก 8% ในอเมริกาถึง 25% ในสเปนอัตราการว่างงานระดับนี้มีแต่เสียกับเสียทุกด้าน
สติกลิตซ์ มองว่าปัจจัยพื้นฐานของการถดถอยครั้งนี้มีต้นตออยู่ที่ความเสื่อมทรามทางศีลธรรมจรรยาจนเป็นปัญหาระดับวิกฤต คนอเมริกันและชาวโลกส่วนใหญ่คิดเฉพาะแต่จะสร้างความร่ำรวยแม้จะด้วยวิธีผิดกฎหมายและละเมิดศีลธรรมจรรยาก็ยังกล้าทำ ในหลายๆ กรณีพวกเขามักใช้วิธีชี้นำนักการเมืองผ่านการบริจาคเงินสำหรับหาเสียงบ้าง จ้างนักวิชาการบ้างและจ้างนักวิ่งเต้นบ้างเพื่อเป้าประสงค์อย่างเดียวคือ ให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายและกฎหมายไปในทางที่ตนต้องการ เมื่อทำได้ พวกเขาก็สร้างกำไรจำนวนมหาศาลจากกิจการของตนเพิ่มขึ้น สติกลิตซ์มองว่า อเมริกาและชาวโลกจะต้องเปลี่ยนฐานความคิดหากจะยับยั้งเศรษฐกิจมิให้ดิ่งพสุธาต่อไป แต่เขาไม่ได้เสนอรายละเอียดไว้ในหนังสือเล่มนั้น
หลังจากอ่านหนังสือของเขา ผมเดาเอาว่าเขากำลังเขียนหนังสือเล่มต่อไปซึ่งจะเสนอทางออกให้อเมริกาและชาวโลก ในการวิพากษ์หนังสือออกตามสื่อรวมทั้งครั้งหลังสุดทางโทรทัศน์เพื่อมนุษยชาติเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ผมพูดซ้ำหลายครั้งว่า เขาจะเสนอแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางออกแม้เขาจะไม่ใช้ชื่อนั้นก็ตาม ตอนนี้มีข้อมูลออกมาว่าผมเดาผิดประเด็นสำคัญ นั่นคือ จริงอยู่เขากำลังเขียนหนังสือเล่มต่อไปในช่วงที่ผมวิพากษ์หนังสือของเขาออกสื่อต่างๆ แต่หนังสือเล่มใหม่ไม่น่าจะเสนอทางออกให้อเมริกาและชาวโลกตามแนวที่ผมเดาเพราะเขาตั้งชื่อหนังสือว่า The Price of Inequality: How Today’s Divided Society Endangers Our Future ซึ่งจะวางตลาดวันจันทร์หน้า หากเนื้อหาครอบคลุมเฉพาะความเหลื่อมล้ำตามชื่อ เราอาจไม่ต้องอ่านหนังสือเล่มนั้นเพราะครุกแมนได้เสนอมุมมองอันน่าสนใจไว้ในหนังสือของเขาเล่มที่เพิ่งกล่าวถึงข้างต้นแล้ว
ครุกแมนยอบรับว่า กระบวนการพัฒนาที่ผ่านมาสร้างความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น คนยากจนซึ่งเป็นชนชั้นไพร่มักยากจนต่อไป ในขณะที่ชนชั้นอำมาตย์ใช้โอกาสที่มีมากกว่าสร้างความร่ำรวยเพิ่มขึ้น ผู้ประดิษฐ์คิดค้นและผู้เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่จะสร้างความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็ว เช่น บิล เกตส์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก อย่างไรก็ตาม ในแต่ละยุคสมัย กลุ่มนี้จะมีสมาชิกเพียงไม่กี่คน ต่างกับกลุ่มอำมาตย์ที่เกิดใหม่เมื่อไม่นานมานี้ซึ่งมีจำนวนมากกว่าและมิได้ร่ำรวยจากการใช้มันสมองคิดค้นจนพบเทคโนโลยีใหม่ หากใช้อำนาจเงิน สติกลิตซ์อธิบายประเด็นนี้ไว้ในหนังสือเรื่อง Freefall ละเอียดกว่าครุกแมนเสียอีกและให้สมญาการสร้างความร่ำรวยของกลุ่มอำมาตย์ใหม่นี้ว่าเป็น “การปล้นอเมริกาครั้งใหญ่” (The Great American Robbery) คอลัมน์นี้ได้พูดถึงกระบวนการที่ชนชั้นอำมาตย์ใช้อำนาจเงินคุมอำนาจการเมืองเพื่อนำไปสู่ความร่ำรวยเพิ่มขึ้นเมื่อสองสัปดาห์ก่อนแล้ว จึงจะไม่พูดถึงอีก
ครุกแมนชี้ให้เห็นผลเสียหายร้ายแรงที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นอำมาตย์และชนชั้นไพร่ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง เมื่อพวกอำมาตย์สามารถเปลี่ยนนโยบายและกฎหมายไปในทางที่ตนต้องการ เพียงเวลาไม่นานนอกจากความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มขึ้นแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจยังจะตามมาติดๆ อีกด้วย วิกฤตเศรษฐกิจทำให้คนจำนวนมากมีชีวิตที่ยากลำบากและมักอดอยากแสนสาหัส ในสภาพเช่นนี้พวกเขาพร้อมที่จะรับแนวคิดชนิดตกขอบ มันเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ผู้นำจำพวกทรชนสามารถรวบอำนาจไว้ในมือตนได้ เขายกตัวอย่างโดยอ้างถึงยอดทรชนคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติชื่อ อะดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ณ วันนี้ อเมริกายังตกอยู่ในภาวะวิกฤต ชาวอเมริกันจึงยอมรับแนวคิดชนิดตกขอบมากขึ้นเรื่อยๆ ฝ่ายอำมาตย์ต้องการเข้าสู่อำนาจด้วยการชูนโยบายที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าขวาจัด เช่น กลุ่มที่ชื่อ ”พรรคชา” (Tea Party) ส่วนฝ่ายไพร่ชูนโยบายแนวซ้ายจัดซึ่งโดยทั่วไปได้รับการสนับสนุนจากกระบวนการ “ยึดครองถนนวอลล์” (Occupy Wall Street) อันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในหลายๆ กรณี ความแตกต่างระหว่างผู้ถือหางฝ่ายอำมาตย์กับผู้ถือหางฝ่ายไพร่กำลังทำให้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอยู่ในภาวะติดหล่ม เศรษฐกิจจึงจะจมอยู่ในภาวะวิกฤตต่อไป สิ่งที่ครุกแมนละไว้ให้ผู้อ่านสรุปเอาเองคือ หากภาวะเช่นนี้ยังดำเนินต่อไป ผลสุดท้ายอเมริกาจะได้ผู้นำจำพวกทรชน
เมื่อพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างไพร่กับอำมาตย์ที่ครองอำนาจเพื่อพวกตนจนนำไปสู่ความวิบัติก็ต้องพูดถึงอาร์เจนตินาแม้ครุกแมนจะมิได้พูดถึงก็ตาม ในอาร์เจนตินา การขับไล่นักการเมืองชั้นอำมาตย์ที่ครองอำนาจจากวันที่ประเทศเป็นเอกราชสำเร็จได้โดยการใช้นโยบายประชานิยมที่พวกไพร่ให้ความสนับสนุนแบบเต็มอัตรา คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่านโยบายนั้นนำไปสู่ความล้มละลายและการใช้อำนาจแบบป่าเถื่อนของรัฐบาลนำโดยทรชนจนชาวอาร์เจนตินาถูกฆ่าเป็นเรือนหมื่น
นักการเมืองชั้นอำมาตย์ผู้ร่ำรวยมหาศาลของไทยเริ่มใช้นโยบายประชานิยมหลอกไพร่เพื่อเอื้อให้ตนเข้าสู่อำนาจเมื่อปี 2544 ณ วันนี้พวกอำมาตย์ที่ครองอำนาจอยู่ก็ยังอ้างว่าตนเป็นไพร่เพื่อหลอกใช้พวกไพร่ตัวจริงที่หูตาและปัญญาไม่ค่อยสว่างให้เป็นฐานสำหรับการรวบอำนาจของพวกตนในขั้นต่อไป เมืองไทยจึงตกอยู่ในภาวะวิบัติดังที่เป็นอยู่ หากคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ หรือรู้แล้วดูดายต่อไป เมืองไทยก็จะได้ผู้นำจำพวกทรชนส่งผลให้ประเทศล้มละลายและคนไทยตายกันเป็นเบือ หากไม่เชื่อก็จงดูดายกันต่อไป ยอดทรชนคนหนีคดีอาญาจะได้กลับมาทำลายชาติก่อนสิ้นปีให้สมกับที่เป็น “วันสิ้นโลก 2555”
ตามชื่อของหนังสือ สติกลิตซ์มองว่าเศรษฐกิจของอเมริกากำลังดิ่งพสุธาพร้อมๆ กับเศรษฐกิจโลก การดิ่งพสุธาหมายถึงปัญหาปัจจุบันซึ่งแสดงอาการออกมาในรูปของความถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เริ่มในปี 2551 ทั้งในอเมริกาและในประเทศก้าวหน้าจำนวนมาก แม้ตัวเลขจะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาและของประเทศก้าวหน้าหลายประเทศจะฟื้นขึ้นจากภาวะถดถอยแล้ว แต่ครุกแมนมองว่าส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในภาวะวิกฤตเนื่องจากอัตราการว่างงานยังสูงมาก จาก 8% ในอเมริกาถึง 25% ในสเปนอัตราการว่างงานระดับนี้มีแต่เสียกับเสียทุกด้าน
สติกลิตซ์ มองว่าปัจจัยพื้นฐานของการถดถอยครั้งนี้มีต้นตออยู่ที่ความเสื่อมทรามทางศีลธรรมจรรยาจนเป็นปัญหาระดับวิกฤต คนอเมริกันและชาวโลกส่วนใหญ่คิดเฉพาะแต่จะสร้างความร่ำรวยแม้จะด้วยวิธีผิดกฎหมายและละเมิดศีลธรรมจรรยาก็ยังกล้าทำ ในหลายๆ กรณีพวกเขามักใช้วิธีชี้นำนักการเมืองผ่านการบริจาคเงินสำหรับหาเสียงบ้าง จ้างนักวิชาการบ้างและจ้างนักวิ่งเต้นบ้างเพื่อเป้าประสงค์อย่างเดียวคือ ให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายและกฎหมายไปในทางที่ตนต้องการ เมื่อทำได้ พวกเขาก็สร้างกำไรจำนวนมหาศาลจากกิจการของตนเพิ่มขึ้น สติกลิตซ์มองว่า อเมริกาและชาวโลกจะต้องเปลี่ยนฐานความคิดหากจะยับยั้งเศรษฐกิจมิให้ดิ่งพสุธาต่อไป แต่เขาไม่ได้เสนอรายละเอียดไว้ในหนังสือเล่มนั้น
หลังจากอ่านหนังสือของเขา ผมเดาเอาว่าเขากำลังเขียนหนังสือเล่มต่อไปซึ่งจะเสนอทางออกให้อเมริกาและชาวโลก ในการวิพากษ์หนังสือออกตามสื่อรวมทั้งครั้งหลังสุดทางโทรทัศน์เพื่อมนุษยชาติเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ผมพูดซ้ำหลายครั้งว่า เขาจะเสนอแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางออกแม้เขาจะไม่ใช้ชื่อนั้นก็ตาม ตอนนี้มีข้อมูลออกมาว่าผมเดาผิดประเด็นสำคัญ นั่นคือ จริงอยู่เขากำลังเขียนหนังสือเล่มต่อไปในช่วงที่ผมวิพากษ์หนังสือของเขาออกสื่อต่างๆ แต่หนังสือเล่มใหม่ไม่น่าจะเสนอทางออกให้อเมริกาและชาวโลกตามแนวที่ผมเดาเพราะเขาตั้งชื่อหนังสือว่า The Price of Inequality: How Today’s Divided Society Endangers Our Future ซึ่งจะวางตลาดวันจันทร์หน้า หากเนื้อหาครอบคลุมเฉพาะความเหลื่อมล้ำตามชื่อ เราอาจไม่ต้องอ่านหนังสือเล่มนั้นเพราะครุกแมนได้เสนอมุมมองอันน่าสนใจไว้ในหนังสือของเขาเล่มที่เพิ่งกล่าวถึงข้างต้นแล้ว
ครุกแมนยอบรับว่า กระบวนการพัฒนาที่ผ่านมาสร้างความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น คนยากจนซึ่งเป็นชนชั้นไพร่มักยากจนต่อไป ในขณะที่ชนชั้นอำมาตย์ใช้โอกาสที่มีมากกว่าสร้างความร่ำรวยเพิ่มขึ้น ผู้ประดิษฐ์คิดค้นและผู้เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่จะสร้างความร่ำรวยได้อย่างรวดเร็ว เช่น บิล เกตส์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก อย่างไรก็ตาม ในแต่ละยุคสมัย กลุ่มนี้จะมีสมาชิกเพียงไม่กี่คน ต่างกับกลุ่มอำมาตย์ที่เกิดใหม่เมื่อไม่นานมานี้ซึ่งมีจำนวนมากกว่าและมิได้ร่ำรวยจากการใช้มันสมองคิดค้นจนพบเทคโนโลยีใหม่ หากใช้อำนาจเงิน สติกลิตซ์อธิบายประเด็นนี้ไว้ในหนังสือเรื่อง Freefall ละเอียดกว่าครุกแมนเสียอีกและให้สมญาการสร้างความร่ำรวยของกลุ่มอำมาตย์ใหม่นี้ว่าเป็น “การปล้นอเมริกาครั้งใหญ่” (The Great American Robbery) คอลัมน์นี้ได้พูดถึงกระบวนการที่ชนชั้นอำมาตย์ใช้อำนาจเงินคุมอำนาจการเมืองเพื่อนำไปสู่ความร่ำรวยเพิ่มขึ้นเมื่อสองสัปดาห์ก่อนแล้ว จึงจะไม่พูดถึงอีก
ครุกแมนชี้ให้เห็นผลเสียหายร้ายแรงที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นอำมาตย์และชนชั้นไพร่ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง เมื่อพวกอำมาตย์สามารถเปลี่ยนนโยบายและกฎหมายไปในทางที่ตนต้องการ เพียงเวลาไม่นานนอกจากความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มขึ้นแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจยังจะตามมาติดๆ อีกด้วย วิกฤตเศรษฐกิจทำให้คนจำนวนมากมีชีวิตที่ยากลำบากและมักอดอยากแสนสาหัส ในสภาพเช่นนี้พวกเขาพร้อมที่จะรับแนวคิดชนิดตกขอบ มันเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ผู้นำจำพวกทรชนสามารถรวบอำนาจไว้ในมือตนได้ เขายกตัวอย่างโดยอ้างถึงยอดทรชนคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติชื่อ อะดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ณ วันนี้ อเมริกายังตกอยู่ในภาวะวิกฤต ชาวอเมริกันจึงยอมรับแนวคิดชนิดตกขอบมากขึ้นเรื่อยๆ ฝ่ายอำมาตย์ต้องการเข้าสู่อำนาจด้วยการชูนโยบายที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าขวาจัด เช่น กลุ่มที่ชื่อ ”พรรคชา” (Tea Party) ส่วนฝ่ายไพร่ชูนโยบายแนวซ้ายจัดซึ่งโดยทั่วไปได้รับการสนับสนุนจากกระบวนการ “ยึดครองถนนวอลล์” (Occupy Wall Street) อันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในหลายๆ กรณี ความแตกต่างระหว่างผู้ถือหางฝ่ายอำมาตย์กับผู้ถือหางฝ่ายไพร่กำลังทำให้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอยู่ในภาวะติดหล่ม เศรษฐกิจจึงจะจมอยู่ในภาวะวิกฤตต่อไป สิ่งที่ครุกแมนละไว้ให้ผู้อ่านสรุปเอาเองคือ หากภาวะเช่นนี้ยังดำเนินต่อไป ผลสุดท้ายอเมริกาจะได้ผู้นำจำพวกทรชน
เมื่อพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างไพร่กับอำมาตย์ที่ครองอำนาจเพื่อพวกตนจนนำไปสู่ความวิบัติก็ต้องพูดถึงอาร์เจนตินาแม้ครุกแมนจะมิได้พูดถึงก็ตาม ในอาร์เจนตินา การขับไล่นักการเมืองชั้นอำมาตย์ที่ครองอำนาจจากวันที่ประเทศเป็นเอกราชสำเร็จได้โดยการใช้นโยบายประชานิยมที่พวกไพร่ให้ความสนับสนุนแบบเต็มอัตรา คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่านโยบายนั้นนำไปสู่ความล้มละลายและการใช้อำนาจแบบป่าเถื่อนของรัฐบาลนำโดยทรชนจนชาวอาร์เจนตินาถูกฆ่าเป็นเรือนหมื่น
นักการเมืองชั้นอำมาตย์ผู้ร่ำรวยมหาศาลของไทยเริ่มใช้นโยบายประชานิยมหลอกไพร่เพื่อเอื้อให้ตนเข้าสู่อำนาจเมื่อปี 2544 ณ วันนี้พวกอำมาตย์ที่ครองอำนาจอยู่ก็ยังอ้างว่าตนเป็นไพร่เพื่อหลอกใช้พวกไพร่ตัวจริงที่หูตาและปัญญาไม่ค่อยสว่างให้เป็นฐานสำหรับการรวบอำนาจของพวกตนในขั้นต่อไป เมืองไทยจึงตกอยู่ในภาวะวิบัติดังที่เป็นอยู่ หากคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ หรือรู้แล้วดูดายต่อไป เมืองไทยก็จะได้ผู้นำจำพวกทรชนส่งผลให้ประเทศล้มละลายและคนไทยตายกันเป็นเบือ หากไม่เชื่อก็จงดูดายกันต่อไป ยอดทรชนคนหนีคดีอาญาจะได้กลับมาทำลายชาติก่อนสิ้นปีให้สมกับที่เป็น “วันสิ้นโลก 2555”