นี่คืออีกหนึ่งบทความที่เราเชื่อว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนที่มองหาช่องทางธุรกิจใหม่ๆบนโลกออนไลน์ ลุกขึ้นมาสร้างอาณาจักรของคุณเองบนแนวคิดที่ง่ายและทำได้จริง แม้ตัวทฤษฎีจะเป็นเรื่องเก่าที่ชาวไอทีรู้กันอยู่แล้ว แต่ความทันสมัยของเนื้อหานี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเมื่อลองพิจารณาเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จในขณะนี้ คุณจะพบว่าหลายเว็บไซต์ยุคใหม่สร้างสรรค์และเติบโตบนแนวคิดนี้อย่างชัดเจน
***แนวทางการสร้างเว็บใหม่ให้ดังและอยู่ได้
โดย พีรพัฒน์ เสืออากาศ
หลายคนเริ่มมีความคิดที่จะทำเงินบนโลกไอที แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองซักที บทความนี้ผมขอแค่ให้ไอเดียเป็นแนวทางในการสร้างเว็บไซต์ใหม่ๆ สำหรับคนที่ยังไม่เคยมีเว็บไซต์ส่วนตัว หรือเคยมีเว็บไซต์แล้ว แต่ทำไมถึงไม่ดัง ผมขอเสนอแนวทางในการคิดคอนเซ็ปของเว็บไซต์ใหม่ที่พวกคุณกำลังจะสร้างขึ้นมาครับ
บางคนบอกว่า เว็บไซต์ในโลกปัจจุบันนี้ก็แทบจะคลอบคลุมทุกอย่างที่เราอยากรู้แล้ว ไม่ว่าจะสร้างอะไรมาก็จะเจอคู่แข่งรายใหญ่ๆ ตีให้แตกอยู่ดี ผมขอยกตัวอย่างบุคคลแห่งปีของผมเลยครับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก ที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลกหรือเกือบ 9 ร้อยล้านยูเซอร์แล้วในขณะนี้ ซึ่งตอนที่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เริ่มทำเฟซบุ๊กนั้น ใช่ว่าจะไม่มีโซเชียล เน็ตเวิร์กรายอื่น เพราะขณะนั้นมีทั้ง myspace, friendster หรือที่คุ้นหูคนไทยหน่อยก็คือ Hi5
เห็นไหมครับว่า เราไม่จำเป็นที่จะต้องคิดเว็บใหม่ขึ้นมา เราอาจจะใช้แนวทางจากเว็บที่มีอยู่แล้วต่อยอด หรือสร้างความแตกต่าง แค่เราทำให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า แค่นี้ความสำเร็จในการสร้างเว็บให้ดังก็ไม่ยาก
และแนวคิดที่ผมจะนำเสนอในการหาไอเดียทำเว็บใหม่ก็มีอยู่สองแนวทางด้วยกันคือ Market Opportunities และ Product Differentiation
Market Opportunities คือการทำเว็บที่มีคนทำอยู่แล้ว แต่เราใช้วิธีเจาะให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
จะเห็นว่าช่วงนี้มีคนพูดถึง Niche Market มากขึ้น เพราะการที่เราจะไปสู้กับเว็บใหญ่ๆ ที่เปิดมานานนั้นบางทีมันก็เป็นเรื่องยาก สู้เรามาสร้างการตลาดที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายไปเลยจะดีกว่า ฐานลูกค้าน้อยหน่อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี ซึ่งวิธีหา Niche Market ผมก็ขอเสนอไว้สองแนวทาง
1) Localization ทำเว็บที่เคยมีอยู่แล้ว แต่เจาะเฉพาะกลุ่มภูมิศาสตร์ที่เราอยู่
หัวข้อฟังดูเข้าใจยากใช่ไหมครับ แต่ที่จริงแล้วมันก็คือ การนำเว็บที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศ เราเพียงแต่เอาเข้ามาทำในประเทศไทย ใช้ภาษาไทย เจอะกลุ่มคนไทย พอเข้าใจไหมครับ
ผมขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ลักษณะนี้ที่เห็นๆ กันอยู่และผมก็เข้าอยู่เป็นประจำคือ
9gag กับ 9gag in thai อันนี้ชัดมากครับ ใช้วิธีเล่ามุขแบบเดิมๆ แต่นำมาเป็นภาษาไทย ไม่ต้องคิดอะไรใหม่ แค่นี้ก็ดังระเบิดเถิดเทิงแล้ว
swoopo.com กับ 25satang.com สองเว็บไซต์นี้เป็นเว็บประมูล โดยที่ตั้งราคาของไว้ถูกมากๆ แล้วก็ให้คนมาแข่งประมูลกัน สำหรับเว็บไทยก็จะประมูลที่ครั้งละ 25 สตางค์ ทุกคนก็จะมาแข่งประมูลกันในราคาที่เพิ่มครั้งละ 25 สตางค์ คนที่ได้ของถูกคือคนที่ประมูลชนะ ส่วนคนที่แพ้ก็จะไม่ได้เงินประมูลคืน จะเห็นว่าคนที่ได้ของจะได้ไปในราคาที่ถูกมากๆ คอนเซ็ปเว็บเหมือนเว็บแรกไม่มีผิด เห็นไหนครับ ไม่จำเป็นต้องคิดใหม่เลย แค่นำสินค้าในแบบที่คนไทยต้องการมาก็พอ
groupon.com กับ ensogo.com เว็บนี้ดังมากครับในไทย ใช้วิธีนำคนจำนวนมากๆมาร่วมลงขันซื้อของ คือเคยไหมครับ เวลาเรารวมตัวกันซื้อของในปริมาณมากๆ ราคาของก็จะถูกลง คอนเซ็ปเว็บมีแค่นี้เองครับ ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แค่คนก็เข้าไปดีลสินค้นวันละเป็นพันคน เจ้าของร้านค้าที่มาลงก็ถูกใจเพราะของขายได้ปริมาณที่เยอะมาก เว็บนี้จึงมีคนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
ลองไปดูครับ เว็บแบบนี้สมัยนี้มีเยอะมาก บางเจ้าก็มาทำเองเลย ล่าสุดเพิ่งเปิดตัวไปไม่นานก็เว็บขอบ goal.com ที่เพิ่งเปิดตัวเวอร์ชั่นภาษาไทยออกมา เรียกว่าชิงทำก่อนที่จะมีคู่แข่ง
2) User Segmentation (vertical/niche) อยู่แหล่งภูมิศาสตร์เดียวกัน แต่เจาะจงลูกค้ามากขึ้น
หัวข้อนี้เป็นการสร้างเว็บที่อยู่แหล่งเดียวกัน ในที่นี้ก็คือ อยู่เมืองไทยเหมือนกันนั่นเอง แต่เราก็ทำให้เจาะจงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น เหมือนกับการไปเฉือนเนื้อเค้กจากรายใหญ่เอามารับประทานนิดหน่อย โดยที่เขาไม่สะเทือน เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพเลยดีกว่า
facebook.com กับ linkedln.com ไม่คิดละครับว่าจะมีคนมาแบ่งก้อนเนื้อชิ้นนี้ จริงๆแล้วอย่าเรียกแบ่งเลยครับ เป็นการเพิ่มช่องทางเพื่อความสะดวกมากกว่า linkedln เป็นเว็บที่ให้กรอกข้อมูลสมัครงาน เพื่อเชื่อต่อกับบริษัทจัดหางานโดยตรง โดยที่ถ้าข้อมูลผู้สมัครกับตำแหน่งว่างในบริษัทใดตรงกัน มันก็จะเชื่อมถึงกัน ดูง่ายใช่ไหมล่ะครับ
Pantip.com กับ vertical forum ชัดเจนมากครับ ใครเคยเข้าพันทิพย์จะเห็นได้เลยว่าเป็นแหล่งรวมเว็บบอร์ดที่ผมถือว่าวาไรตี้ที่สุดในเมืองไทยแล้วก็ว่าได้ ดังนั้นจะเห็นว่า vertical forum หรือเว็บที่มีเว็บบอร์ดย่อยๆ นั้นมีออกมามากมาย ที่ผมเล่นเป้นประจำก็ห้องSupachalasai ที่เป็นห้องของกีฬา และผมก็ยังไปเล่นบอร์ดของ Thailandsusu, soccersuck ที่เป็นบอร์ดย่อยของฟุตบอลไทยและฟุตบอลต่างประเทศ ผมไม่ได้บอกว่าใครลอกใครมานะครับ ผมยกตัวเอย่างเพื่อให้เห็นว่า การทำเว็บบอร์ดย่อยๆ นั้นยังมีโอกาสให้ทำอีกมาก คุณลองหาช่องทางนี้ให้เจอซิครับ
ทีแรกผมตั้งใจว่าจะเขียนแค่บทความเดียวจบ แต่มันเริ่มยาว ไว้ต่อตอนหน้าดีกว่านะครับ สำหรับตอนต่อไปจะมายกตัวอย่างอีกหนึ่งหัวข้อคือ Product Differentiation หรือการต่อยอดจากเว็บที่มีอยู่แล้วในตลาด เพื่อความแปลกใหม่
***แนวทางการสร้างเว็บใหม่ให้ดังและอยู่ได้
โดย พีรพัฒน์ เสืออากาศ
หลายคนเริ่มมีความคิดที่จะทำเงินบนโลกไอที แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองซักที บทความนี้ผมขอแค่ให้ไอเดียเป็นแนวทางในการสร้างเว็บไซต์ใหม่ๆ สำหรับคนที่ยังไม่เคยมีเว็บไซต์ส่วนตัว หรือเคยมีเว็บไซต์แล้ว แต่ทำไมถึงไม่ดัง ผมขอเสนอแนวทางในการคิดคอนเซ็ปของเว็บไซต์ใหม่ที่พวกคุณกำลังจะสร้างขึ้นมาครับ
บางคนบอกว่า เว็บไซต์ในโลกปัจจุบันนี้ก็แทบจะคลอบคลุมทุกอย่างที่เราอยากรู้แล้ว ไม่ว่าจะสร้างอะไรมาก็จะเจอคู่แข่งรายใหญ่ๆ ตีให้แตกอยู่ดี ผมขอยกตัวอย่างบุคคลแห่งปีของผมเลยครับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก ที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลกหรือเกือบ 9 ร้อยล้านยูเซอร์แล้วในขณะนี้ ซึ่งตอนที่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เริ่มทำเฟซบุ๊กนั้น ใช่ว่าจะไม่มีโซเชียล เน็ตเวิร์กรายอื่น เพราะขณะนั้นมีทั้ง myspace, friendster หรือที่คุ้นหูคนไทยหน่อยก็คือ Hi5
เห็นไหมครับว่า เราไม่จำเป็นที่จะต้องคิดเว็บใหม่ขึ้นมา เราอาจจะใช้แนวทางจากเว็บที่มีอยู่แล้วต่อยอด หรือสร้างความแตกต่าง แค่เราทำให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า แค่นี้ความสำเร็จในการสร้างเว็บให้ดังก็ไม่ยาก
และแนวคิดที่ผมจะนำเสนอในการหาไอเดียทำเว็บใหม่ก็มีอยู่สองแนวทางด้วยกันคือ Market Opportunities และ Product Differentiation
Market Opportunities คือการทำเว็บที่มีคนทำอยู่แล้ว แต่เราใช้วิธีเจาะให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
จะเห็นว่าช่วงนี้มีคนพูดถึง Niche Market มากขึ้น เพราะการที่เราจะไปสู้กับเว็บใหญ่ๆ ที่เปิดมานานนั้นบางทีมันก็เป็นเรื่องยาก สู้เรามาสร้างการตลาดที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายไปเลยจะดีกว่า ฐานลูกค้าน้อยหน่อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี ซึ่งวิธีหา Niche Market ผมก็ขอเสนอไว้สองแนวทาง
1) Localization ทำเว็บที่เคยมีอยู่แล้ว แต่เจาะเฉพาะกลุ่มภูมิศาสตร์ที่เราอยู่
หัวข้อฟังดูเข้าใจยากใช่ไหมครับ แต่ที่จริงแล้วมันก็คือ การนำเว็บที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศ เราเพียงแต่เอาเข้ามาทำในประเทศไทย ใช้ภาษาไทย เจอะกลุ่มคนไทย พอเข้าใจไหมครับ
ผมขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ลักษณะนี้ที่เห็นๆ กันอยู่และผมก็เข้าอยู่เป็นประจำคือ
9gag กับ 9gag in thai อันนี้ชัดมากครับ ใช้วิธีเล่ามุขแบบเดิมๆ แต่นำมาเป็นภาษาไทย ไม่ต้องคิดอะไรใหม่ แค่นี้ก็ดังระเบิดเถิดเทิงแล้ว
swoopo.com กับ 25satang.com สองเว็บไซต์นี้เป็นเว็บประมูล โดยที่ตั้งราคาของไว้ถูกมากๆ แล้วก็ให้คนมาแข่งประมูลกัน สำหรับเว็บไทยก็จะประมูลที่ครั้งละ 25 สตางค์ ทุกคนก็จะมาแข่งประมูลกันในราคาที่เพิ่มครั้งละ 25 สตางค์ คนที่ได้ของถูกคือคนที่ประมูลชนะ ส่วนคนที่แพ้ก็จะไม่ได้เงินประมูลคืน จะเห็นว่าคนที่ได้ของจะได้ไปในราคาที่ถูกมากๆ คอนเซ็ปเว็บเหมือนเว็บแรกไม่มีผิด เห็นไหนครับ ไม่จำเป็นต้องคิดใหม่เลย แค่นำสินค้าในแบบที่คนไทยต้องการมาก็พอ
groupon.com กับ ensogo.com เว็บนี้ดังมากครับในไทย ใช้วิธีนำคนจำนวนมากๆมาร่วมลงขันซื้อของ คือเคยไหมครับ เวลาเรารวมตัวกันซื้อของในปริมาณมากๆ ราคาของก็จะถูกลง คอนเซ็ปเว็บมีแค่นี้เองครับ ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน แค่คนก็เข้าไปดีลสินค้นวันละเป็นพันคน เจ้าของร้านค้าที่มาลงก็ถูกใจเพราะของขายได้ปริมาณที่เยอะมาก เว็บนี้จึงมีคนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
ลองไปดูครับ เว็บแบบนี้สมัยนี้มีเยอะมาก บางเจ้าก็มาทำเองเลย ล่าสุดเพิ่งเปิดตัวไปไม่นานก็เว็บขอบ goal.com ที่เพิ่งเปิดตัวเวอร์ชั่นภาษาไทยออกมา เรียกว่าชิงทำก่อนที่จะมีคู่แข่ง
2) User Segmentation (vertical/niche) อยู่แหล่งภูมิศาสตร์เดียวกัน แต่เจาะจงลูกค้ามากขึ้น
หัวข้อนี้เป็นการสร้างเว็บที่อยู่แหล่งเดียวกัน ในที่นี้ก็คือ อยู่เมืองไทยเหมือนกันนั่นเอง แต่เราก็ทำให้เจาะจงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น เหมือนกับการไปเฉือนเนื้อเค้กจากรายใหญ่เอามารับประทานนิดหน่อย โดยที่เขาไม่สะเทือน เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพเลยดีกว่า
facebook.com กับ linkedln.com ไม่คิดละครับว่าจะมีคนมาแบ่งก้อนเนื้อชิ้นนี้ จริงๆแล้วอย่าเรียกแบ่งเลยครับ เป็นการเพิ่มช่องทางเพื่อความสะดวกมากกว่า linkedln เป็นเว็บที่ให้กรอกข้อมูลสมัครงาน เพื่อเชื่อต่อกับบริษัทจัดหางานโดยตรง โดยที่ถ้าข้อมูลผู้สมัครกับตำแหน่งว่างในบริษัทใดตรงกัน มันก็จะเชื่อมถึงกัน ดูง่ายใช่ไหมล่ะครับ
Pantip.com กับ vertical forum ชัดเจนมากครับ ใครเคยเข้าพันทิพย์จะเห็นได้เลยว่าเป็นแหล่งรวมเว็บบอร์ดที่ผมถือว่าวาไรตี้ที่สุดในเมืองไทยแล้วก็ว่าได้ ดังนั้นจะเห็นว่า vertical forum หรือเว็บที่มีเว็บบอร์ดย่อยๆ นั้นมีออกมามากมาย ที่ผมเล่นเป้นประจำก็ห้องSupachalasai ที่เป็นห้องของกีฬา และผมก็ยังไปเล่นบอร์ดของ Thailandsusu, soccersuck ที่เป็นบอร์ดย่อยของฟุตบอลไทยและฟุตบอลต่างประเทศ ผมไม่ได้บอกว่าใครลอกใครมานะครับ ผมยกตัวเอย่างเพื่อให้เห็นว่า การทำเว็บบอร์ดย่อยๆ นั้นยังมีโอกาสให้ทำอีกมาก คุณลองหาช่องทางนี้ให้เจอซิครับ
ทีแรกผมตั้งใจว่าจะเขียนแค่บทความเดียวจบ แต่มันเริ่มยาว ไว้ต่อตอนหน้าดีกว่านะครับ สำหรับตอนต่อไปจะมายกตัวอย่างอีกหนึ่งหัวข้อคือ Product Differentiation หรือการต่อยอดจากเว็บที่มีอยู่แล้วในตลาด เพื่อความแปลกใหม่