วานนี้ ( 31 พ.ค.) นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นหนังสือต่อ นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบกรณีการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณษจักรไทย พ.ศ. 50 ที่อาจเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ และยื่นคำร้องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่า การดำเนินการดังกล่าว เป็นการขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
โดยนายศรีราชา กล่าวว่า จะทำให้ดีที่สุด เพราะเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งจะนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินในบ่ายวันเดียวกันนี้ จากนั้นก็จะมีการศึกษาข้อมูล และอาจเชิญผู้ร้องมาให้ข้อมูล หากยังมีความไม่ชัดเจนในประเด็นใด รวมทั้งจะขอความเห็นจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ทั้ง 10 คน ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาสาระที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งผู้ตรวจฯ จะทำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และหากว่าจะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ ก็คาดว่า จะส่งภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ หรือหากเป็นไปได้ ก็อาจจะส่งก่อนที่จะมีการลงมติวาระ 3 ของรัฐสภา ในวันที่ 5 ก.ค. ก็ได้
ผูสื่อข่าวถามว่า ระหว่างการพิจารณาของผู้ตรวจฯ จะมีหนังสือไปถึงประธานสภา ขอให้ระงับการพิจารณาลงมติไว้ก่อนหรือไม่ นายศรีราชา กล่าวว่า ขอไปศึกษาก่อนว่าการที่ผู้ตรวจฯ จะไปปฏิบัติเช่นนั้น ทำได้หรือไม่ แต่คิดว่าอะไรที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เราจะทำ จะไม่ทำอะไรที่เป็นการลูบหน้าปะจมูก ถ้าอะไรที่ถูกต้องเราก็จะไม่เห็นแก่หน้าใคร หรือเกรงใจใคร เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น จะมีองค์กรนี้ไว้ทำไม การตั้งองค์กรผู้ตรวจฯ ก็เพื่อแก้วิกฤตของการเมือง
เมื่อถามว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 30 พ.ค. เกิดเหตุวุ่นวาย และส.ส.แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ผู้ตรวจการในฐานะดูแลเรื่องจริยธรรม จะดำเนินการอย่างไร นายศรีราชา กล่าวว่า เรื่องจริยธรรม ถ้าไม่มีผู้ร้อง ผู้ตรวจฯไม่สามารถหยิบยกขึ้นมาดำเนินการเองได้ ถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพราะถ้ายกขึ้นมาพิจารณาเอง จะถูกมองว่า เป็นการเลือกปฏิบัติ
โดยนายศรีราชา กล่าวว่า จะทำให้ดีที่สุด เพราะเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งจะนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินในบ่ายวันเดียวกันนี้ จากนั้นก็จะมีการศึกษาข้อมูล และอาจเชิญผู้ร้องมาให้ข้อมูล หากยังมีความไม่ชัดเจนในประเด็นใด รวมทั้งจะขอความเห็นจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ทั้ง 10 คน ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาสาระที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาของผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งผู้ตรวจฯ จะทำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และหากว่าจะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ ก็คาดว่า จะส่งภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ หรือหากเป็นไปได้ ก็อาจจะส่งก่อนที่จะมีการลงมติวาระ 3 ของรัฐสภา ในวันที่ 5 ก.ค. ก็ได้
ผูสื่อข่าวถามว่า ระหว่างการพิจารณาของผู้ตรวจฯ จะมีหนังสือไปถึงประธานสภา ขอให้ระงับการพิจารณาลงมติไว้ก่อนหรือไม่ นายศรีราชา กล่าวว่า ขอไปศึกษาก่อนว่าการที่ผู้ตรวจฯ จะไปปฏิบัติเช่นนั้น ทำได้หรือไม่ แต่คิดว่าอะไรที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เราจะทำ จะไม่ทำอะไรที่เป็นการลูบหน้าปะจมูก ถ้าอะไรที่ถูกต้องเราก็จะไม่เห็นแก่หน้าใคร หรือเกรงใจใคร เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น จะมีองค์กรนี้ไว้ทำไม การตั้งองค์กรผู้ตรวจฯ ก็เพื่อแก้วิกฤตของการเมือง
เมื่อถามว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 30 พ.ค. เกิดเหตุวุ่นวาย และส.ส.แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ผู้ตรวจการในฐานะดูแลเรื่องจริยธรรม จะดำเนินการอย่างไร นายศรีราชา กล่าวว่า เรื่องจริยธรรม ถ้าไม่มีผู้ร้อง ผู้ตรวจฯไม่สามารถหยิบยกขึ้นมาดำเนินการเองได้ ถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพราะถ้ายกขึ้นมาพิจารณาเอง จะถูกมองว่า เป็นการเลือกปฏิบัติ