วานนี้ ( 31 พ.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้มีการเสวนาหัวข้อเรื่อง "ข้อยกเว้นในมาตรา 3 ตาม พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ... เลือกปฏิบัติ ?" ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อระดมความเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ซึ่งครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอให้พิจารณา
ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้ให้นิยามการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยมีข้อยกเว้นด้วยเหตุผลทางวิชาการ ทางศาสนา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การกำหนดคำนิยามการเลือกปฏิบัติโดยมีข้อยกเว้น ทำให้กฎหมายนี้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของร่าง พ.ร.บ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 30 ซึ่งการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมจะกระทำมิได้ และเมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้ไปรายงานต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ตามกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ประเด็นคำนิยามการเลือกปฏิบัติใน ร่าง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ก็เป็นหนึ่งในข้อเสนอแนะจากที่ประชุมให้แก้ไขคำนิยามโดยไม่ให้มีข้อยกเว้น
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร นายกสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ย.ม.ท.) กล่าวว่า คำนิยามที่ระบุข้อยกเว้นทางศาสนา เป็นข้อยกเว้นที่กว้างเกินไป อาจจะเป็นการเปิดช่องให้มีการอ้างศาสนาเพื่อเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง
ทั้งนี้ตามหลักอิสลาม หญิงชายมีความเท่าเทียมกัน และได้กำหนดหน้าที่ที่แตกต่างกัน กรณีที่ประสบปัญหา บางกรณีผู้หญิงมุสลิมก็ต้องการการคุ้มครองจากกระบวนการยุติธรรม ทั้งทางอาญาและจากศาลครอบครัว ซึ่งจะต้องให้ความชอบธรรมแก่ผู้หญิงที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมทางกฎหมายโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
ขณะที่ น.ส.อุษา เลิศศรีสันทัด ตัวแทนจากมูลนิธิผู้หญิง กล่าวว่า กลุ่มผู้หญิงต่างๆ ร่วมกับกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงเพื่อนๆ จากกลุ่มหลากหลายทางเพศ กำลังเตรียมการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ของภาคประชาชนเข้าสู่สภาให้ได้ โดยจะรวบรวมรายชื่อต่อให้ครบหนึ่งหมื่นชื่อ เพราะไม่เห็นด้วยที่ ร่าง พ.ร.บ.ของรัฐบาลมีคำนิยามโดยกำหนดข้อยกเว้น ซึ่งเท่ากับยอมรับการกีดกัน ทำให้มีการจำกัดสิทธิของผู้หญิง และสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศโดยอ้างเหตุผลทางวิชาการ ศาสนา และประโยชน์สาธารณะ อีกทั้งจะนำประเด็นนี้เสนอต่อคณะกรรมการอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี เนื่องจากประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาฯนี้ และคำนิยามตามร่างพ.ร.บ.ของรัฐบาลขัดต่ออนุสัญญาฯนี้
ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้ให้นิยามการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยมีข้อยกเว้นด้วยเหตุผลทางวิชาการ ทางศาสนา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การกำหนดคำนิยามการเลือกปฏิบัติโดยมีข้อยกเว้น ทำให้กฎหมายนี้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของร่าง พ.ร.บ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 30 ซึ่งการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมจะกระทำมิได้ และเมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้ไปรายงานต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ตามกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ประเด็นคำนิยามการเลือกปฏิบัติใน ร่าง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ก็เป็นหนึ่งในข้อเสนอแนะจากที่ประชุมให้แก้ไขคำนิยามโดยไม่ให้มีข้อยกเว้น
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร นายกสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ย.ม.ท.) กล่าวว่า คำนิยามที่ระบุข้อยกเว้นทางศาสนา เป็นข้อยกเว้นที่กว้างเกินไป อาจจะเป็นการเปิดช่องให้มีการอ้างศาสนาเพื่อเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง
ทั้งนี้ตามหลักอิสลาม หญิงชายมีความเท่าเทียมกัน และได้กำหนดหน้าที่ที่แตกต่างกัน กรณีที่ประสบปัญหา บางกรณีผู้หญิงมุสลิมก็ต้องการการคุ้มครองจากกระบวนการยุติธรรม ทั้งทางอาญาและจากศาลครอบครัว ซึ่งจะต้องให้ความชอบธรรมแก่ผู้หญิงที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมทางกฎหมายโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
ขณะที่ น.ส.อุษา เลิศศรีสันทัด ตัวแทนจากมูลนิธิผู้หญิง กล่าวว่า กลุ่มผู้หญิงต่างๆ ร่วมกับกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงเพื่อนๆ จากกลุ่มหลากหลายทางเพศ กำลังเตรียมการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ของภาคประชาชนเข้าสู่สภาให้ได้ โดยจะรวบรวมรายชื่อต่อให้ครบหนึ่งหมื่นชื่อ เพราะไม่เห็นด้วยที่ ร่าง พ.ร.บ.ของรัฐบาลมีคำนิยามโดยกำหนดข้อยกเว้น ซึ่งเท่ากับยอมรับการกีดกัน ทำให้มีการจำกัดสิทธิของผู้หญิง และสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศโดยอ้างเหตุผลทางวิชาการ ศาสนา และประโยชน์สาธารณะ อีกทั้งจะนำประเด็นนี้เสนอต่อคณะกรรมการอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี เนื่องจากประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาฯนี้ และคำนิยามตามร่างพ.ร.บ.ของรัฐบาลขัดต่ออนุสัญญาฯนี้