ASTVผู้จัดการรายวัน- ทีมกฎหมายปชป.ยื่นกก.สิทธิฯ ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ล้มการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมเตรียมยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินวันนี้ ( 31 พ.ค.)
วานนี้ (30 พ.ค.) นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายทศพล เพ็งส้ม ส.ส.นนทบุรี ในฐานะทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผ่าน พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ประธานอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านสิทธิในกระบวนยุติธรรม และนายไพบูลย์ วราหไพฑูรย์ ประธานอนุกรรมการด้านกฏหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ขอให้พิจารณากรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
นายวิรัตน์ กล่าวว่าในฐานะประชาชนชาวไทย ถือเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ตามที่รัฐธรรมนูญปี 50 กำหนดไว้ จึงมีความจำเป็นต้องยื่นคำร้องฉบับนี้ ต่อกรรมการสิทธิฯ โดยอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 257 (1) และ (2) เพื่อขอให้กรรมการสิทธิฯ เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็น ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งได้แนบเอกสารเป็นสำเนาภาพข่าวในประเด็นเกี่ยวกับ ส.ส.ร. 2550 ค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพราะถือว่าเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ มาประกอบการพิจารณาด้วย
“เราใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องไว้ และมีอยู่ เมื่อรัฐบาลเพิกเฉย และใช้เสียงข้างมากในสภาดำเนินการในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ กำหนดให้มี ส.ส.ร. 99 คน ทั้งที่รัฐธรรมนูญอนุญาตให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ โดยสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว ซึ่งก็ควรมีการประชามติก่อนยกร่างแก้ไข และการแก้ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ทั้งฉบับ แต่นี่ใช้อำนาจเผด็จการทางสภา เพื่อตั้งส.ส.ร. 99 คนขึ้นมาทำหน้าที่ เสร็จแล้วก็ไม่ต้องรับผิดชอบ และเป็นไปได้ว่า น่าจะได้รับโบนัสตอบแทน จากนายใหญ่ ซึ่งบางคนอาจจะได้รับการตอบแทนเป็นตำแหน่งรัฐมนตรี"
ส่วนที่ตนรู้ว่า ส.ส.ร.ที่จะมีการเลือกตั้งจะเป็นคนของรัฐบาลทั้งหมด ก็เพราะดูได้จากการเลือกตั้ง และฐานเสียงที่มีอยู่ในปัจจุบัน เชื่อว่ามี 45 จังหวัดเป็นของเขา ส่วนนักวิชาการ 22 คน ก็เป็นของเขาทั้ง 100 % คาดว่าตอนนี้รัฐธรรมนูญฉบับของเขา อาจจะเสร็จแล้วมีพิมพ์เขียวแล้วก็เป็นได้ จึงจำเป็นต้องหวังพึ่งกระบวนการตามรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ ตรวจสอบ และกรรมการสิทธิฯ ก็เป็นหนึ่งหน่วยงานที่จะถูกยุบ เหมือน กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง
เมื่อถามว่า การยื่นองค์กรอิสระให้ช่วยดำเนินการตรวจสอบ อาจทำให้ถูกมองว่ากำลังดึงองค์กรที่จะถูกยุบมาเป็นพวกตนเอง นายวิรัตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการสิทธิฯ มีหน้าที่ดูแลสิทธิของมนุษยชน ฉะนั้นการกระทำใดๆ เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคล กรรมการสิทธิ มีหน้าที่ดูแล ซึ่งเราก็ต่อสู้ตามกระบวนการ และช่องทางที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ ก่อนหน้านี้ก็ยื่นที่อัยการสูงสุด และวันนี้ ( 31 พ.ค.) ก็จะไปยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งองค์กรอิสระที่ยื่น ก็ยังไม่รู้ว่าอนาคตว่าองค์กรใดจะถูกยุบหรือไม่ จึงไม่ใช่เรื่องการเอาองค์กรมาเป็นพวก
ด้านนายไพบูลย์ กล่าวว่า ตามขั้นตอนเมื่อรับเรื่องแล้ว ก็จะนำเข้าอนุกรรมการ ดูว่า คำร้องมีประเด็นเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เป็นการดูตามอำนาจหน้าที่ และบทบัญญัติของกฎหมาย และคณะกรรมการฯ ก็จะมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯต่อไป ส่วนจะส่งศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ คงต้องดูประเด็นตามคำร้องก่อน ว่าสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งการพิจารณายังไม่สามารถบอกได้ว่า จะใช้เวลานานเท่าใด
วานนี้ (30 พ.ค.) นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายทศพล เพ็งส้ม ส.ส.นนทบุรี ในฐานะทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผ่าน พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ประธานอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านสิทธิในกระบวนยุติธรรม และนายไพบูลย์ วราหไพฑูรย์ ประธานอนุกรรมการด้านกฏหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ขอให้พิจารณากรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
นายวิรัตน์ กล่าวว่าในฐานะประชาชนชาวไทย ถือเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ตามที่รัฐธรรมนูญปี 50 กำหนดไว้ จึงมีความจำเป็นต้องยื่นคำร้องฉบับนี้ ต่อกรรมการสิทธิฯ โดยอาศัยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 257 (1) และ (2) เพื่อขอให้กรรมการสิทธิฯ เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็น ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งได้แนบเอกสารเป็นสำเนาภาพข่าวในประเด็นเกี่ยวกับ ส.ส.ร. 2550 ค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพราะถือว่าเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ มาประกอบการพิจารณาด้วย
“เราใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องไว้ และมีอยู่ เมื่อรัฐบาลเพิกเฉย และใช้เสียงข้างมากในสภาดำเนินการในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ กำหนดให้มี ส.ส.ร. 99 คน ทั้งที่รัฐธรรมนูญอนุญาตให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ โดยสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว ซึ่งก็ควรมีการประชามติก่อนยกร่างแก้ไข และการแก้ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ทั้งฉบับ แต่นี่ใช้อำนาจเผด็จการทางสภา เพื่อตั้งส.ส.ร. 99 คนขึ้นมาทำหน้าที่ เสร็จแล้วก็ไม่ต้องรับผิดชอบ และเป็นไปได้ว่า น่าจะได้รับโบนัสตอบแทน จากนายใหญ่ ซึ่งบางคนอาจจะได้รับการตอบแทนเป็นตำแหน่งรัฐมนตรี"
ส่วนที่ตนรู้ว่า ส.ส.ร.ที่จะมีการเลือกตั้งจะเป็นคนของรัฐบาลทั้งหมด ก็เพราะดูได้จากการเลือกตั้ง และฐานเสียงที่มีอยู่ในปัจจุบัน เชื่อว่ามี 45 จังหวัดเป็นของเขา ส่วนนักวิชาการ 22 คน ก็เป็นของเขาทั้ง 100 % คาดว่าตอนนี้รัฐธรรมนูญฉบับของเขา อาจจะเสร็จแล้วมีพิมพ์เขียวแล้วก็เป็นได้ จึงจำเป็นต้องหวังพึ่งกระบวนการตามรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ ตรวจสอบ และกรรมการสิทธิฯ ก็เป็นหนึ่งหน่วยงานที่จะถูกยุบ เหมือน กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง
เมื่อถามว่า การยื่นองค์กรอิสระให้ช่วยดำเนินการตรวจสอบ อาจทำให้ถูกมองว่ากำลังดึงองค์กรที่จะถูกยุบมาเป็นพวกตนเอง นายวิรัตน์ กล่าวว่า คณะกรรมการสิทธิฯ มีหน้าที่ดูแลสิทธิของมนุษยชน ฉะนั้นการกระทำใดๆ เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคล กรรมการสิทธิ มีหน้าที่ดูแล ซึ่งเราก็ต่อสู้ตามกระบวนการ และช่องทางที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ ก่อนหน้านี้ก็ยื่นที่อัยการสูงสุด และวันนี้ ( 31 พ.ค.) ก็จะไปยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งองค์กรอิสระที่ยื่น ก็ยังไม่รู้ว่าอนาคตว่าองค์กรใดจะถูกยุบหรือไม่ จึงไม่ใช่เรื่องการเอาองค์กรมาเป็นพวก
ด้านนายไพบูลย์ กล่าวว่า ตามขั้นตอนเมื่อรับเรื่องแล้ว ก็จะนำเข้าอนุกรรมการ ดูว่า คำร้องมีประเด็นเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เป็นการดูตามอำนาจหน้าที่ และบทบัญญัติของกฎหมาย และคณะกรรมการฯ ก็จะมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯต่อไป ส่วนจะส่งศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ คงต้องดูประเด็นตามคำร้องก่อน ว่าสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งการพิจารณายังไม่สามารถบอกได้ว่า จะใช้เวลานานเท่าใด