ASTVผู้จัดการรายวัน -นร.บดินทรฯ รายงานตัวเพิ่มและเข้าเรียนอีก 3 คน หลังมีคนสละสิทธิ์ 1 ใน 3 เคยร่วมประท้วงขอเรียนที่เดิม สุดท้ายเจอแรงกดดันจนต้องยื่นเรื่องลาออก ผอ.ร.ร.เร่งกล่อมและชี้แจงนักเรียนคนอื่นให้เข้าใจ ด้านเด็ก 13 คน มอบตัวเข้าเรียนที่เตรียมฯพัฒน์แล้ว ด้านเลขาฯภตช.เตรียมพา นร.บดินทรฯ ม.3 ร้องศาลปกครองขอให้มีการนัดไต่สวนฉุกเฉิน
วานนี้ (28 พ.ค.) ที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 อีก 3 คนเดินทางมารายงานตัว หลังจากมีเด็กสละสิทธิ์ และได้เข้าเรียนพร้อมกับเพื่อนๆ โดยนักเรียน 1 ใน 3 คนเคยเป็นผู้ที่เคลื่อนไหวประท้วงขอเข้าเรียนโรงเรียนเดิมต่อหลังถูกตัดสิทธิ์ ทั้งนี้ การเรียกนักเรียนเข้ารายงานตัวเป็นไปตามลำดับคะแนนที่สอบได้ ไม่ได้มาจากกระแสกดดัน
ด้านผู้ปกครองของเด็กที่ได้เกรดเฉลี่ย 2.85 กล่าวว่า มีความเชื่อมั่นว่าลูกของตนจะได้เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนบดินทรเดชาฯ แต่สุดท้ายติดกฎเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ให้คัดเลือกเด็กเก่า 80% เด็กใหม่ 20% จึงขอให้ยกเลิกกฎเกณฑ์ดังกล่าว เพราะไม่เป็นธรรมกับเด็กที่เรียนอยู่
ขณะที่นักเรียน ม.3 ที่พลาดหวังไม่ได้เรียนต่อโรงเรียนบดินทรเดชาฯ จำนวน 13 คน ได้ไปมอบตัวนักเรียน ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จัดสรรที่เรียนให้
นายณรงค์ นิยมราช หนึ่งในผู้ปกครองที่ลูกเคยประท้วงอดข้าว กล่าวว่า พอใจการจัดที่เรียนในสายศิลป์-คำนวณที่นี่ให้ลูกได้มีที่เรียน เพราะเปิดเทอมแล้ว แม้ไม่ใช่โรงเรียนบดินทรเดชาฯ แต่รับได้ ส่วนตัวจะยุติการเคลื่อนไหวประท้วง
ด้าน นายปรีชา จิตรสิงห์ ประธานคณะกรรมการรับนักเรียนโรงเรียนบดินทรฯ กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 28 พฤษภาคมนี้ พบว่ายังมีนักเรียนชั้นม. 3 โรงเรียนบดินทรฯ ที่ยังไม่มีที่เรียนม.4 ทยอยเข้ามาลงชื่อเพื่อให้คณะกรรมการเยียวฯ หาที่เรียนใน 12 โรงที่จัดเตรียมให้ โดยมีนักเรียนที่เข้ามาลงชื่อขอรับการเยียวจำนวนทั้งสิ้น 54 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนในกลุ่มที่ออกมาประท้วง จำนวน 38 คน และเป็นนักเรียนที่ไม่ได้มาประท้วง 15 คน อย่างไรก็ตาม จะมีการสรุปข้อมูลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายนนี้เนื่องจากขณะนี้พบว่ามีนักเรียนบางรายเปลี่ยนใจมาขอให้สลับที่เรียนอยู่ เช่น ตอนแรกแสดงความจำนงอยู่โรงเรียนเทพลีลา ได้มาขอเปลี่ยนไปโรงเรียนบางกะปิ เป็นต้น ซึ่งเราก็ได้ดำเนินการให้
“ขณะนี้น่าเป็นห่วงเด็ก 3 คนที่ได้เรียนต่อในชั้นม.4 โรงเรียนบดินทรฯ ทั้งที่ได้เข้าไปอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่ทราบว่าขณะนี้มีนักเรียนคนหนึ่งได้ยื่นเรื่องลาออกแล้วเพราะทนแรงกดดันจากเพื่อนในโรงเรียนไม่ไหว และกำลังจะตัดสินใจลาออกตามมาอีกราย ซึ่งทางผอ.โรงเรียนฯ กำลังเกลี้ยกล่อมอยู่และได้พยายามชี้แจงกับนักเรียนคนอื่นๆ ให้เข้าใจด้วย”
ด้าน นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันแห่งชาติ (ภตช.) เปิดเผยว่า เตรียมพานักเรียนชั้นม.3 ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกขึ้น ม.4 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เข้าร้องต่อศาลปกครองว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการรับนักเรียน ที่กำหนดให้จัดที่นั่ง ม.4 ร้อยละ 80 สำหรับนักเรียน ม.3 เดิม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 มาตรา 10 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพทางการศึกษา และขัดกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 49 รวมทั้งจะใช้ต้องมีการประชาพิจารณ์ก่อนประกาศใช้เพราะส่งผลกระทบวงกว้าง โดยจะขอศาลนัดไต่สวนฉุกเฉิน และขอให้มีการคุ้มครองชั่วคราว ให้เด็ก ม.3 ได้เข้าเรียน ม.4 ก่อน ซึ่งจะมีผลต่อโรงเรียนทั่วประเทศ และถ้าคำพิพากษาสุดท้ายระบุว่าเป็นระเบียบที่ไม่ชอบกฎหมาย จะต้องให้เด็ก ม.3 เดิมทุกคน ได้กลับเข้าเรียนโรงเรียนเดิม ยกเว้นเด็กสละสิทธิ์
วันเดียวกันผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการการประชุมวุฒิสภา ซึ่งมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้หารือกรณีเงินแป๊ะเจี๊ยะ ว่า เป็นเรื่องสำคัญในสังคม โดยเฉพาะกรณีเด็กนักเรียนโรงเรียนบดินเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่โรงเรียนกันที่นั่งสำหรับนักเรียนที่บริจาค ส่งผลให้นักเรียนที่ควรได้เรียนไม่ได้เรียน ปัญหานี้มีมานานทุกฝ่ายพยายามแก้ไข แต่เมื่อรมว.ศึกษาธิการคนปัจจุบันมีนโยบายให้เรื่องจ่ายเงินแป๊ะเจี๊ยะเป็นเรื่องที่ทำได้ ทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อเกิดปัญหากลับปัดความรับผิดชอบ อยากถามไปถึงรมว.ศึกษาธิการว่า แท้จริงแล้วมีนโยบายเรื่องนี้อย่างไร โดยเฉพาะรายละเอียดแนวทางดำเนินการ เมื่อให้นโยบายไปแล้วแต่ไม่ชัดเจน เอาไปดำเนินการถูกบ้างผิดบ้างทำให้เกิดความเสียหาย
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ความจริงเรื่องแป๊ะเจี๊ยะเป็นการแปลงร่างเงินแป๊ะเจี๊ยะเป็นเงินบริจาคที่ถูกกฎหมาย เป็นการทำร้ายและทำลายสังคม สร้างค่านิยมทุจริตคอร์รัปชันให้เยาวชน ประเด็นไม่ใช่แค่นโยบายผิดพลาดแต่เป็นการละเมิดสิทธิของเด็กตามรัฐธรรมนูญ ขอเรียกร้องให้รมว.ศึกษาธิการต้องทบทวนนโยบายใหม่ทั้งหมด โดยการยกเลิก ต้องแสดงความรับผิดชอบนโยบายที่ผิดพลาดโดยการขอโทษนักเรียนและผู้ปกครองที่เสียหาย ดำเนินการสืบสวนสอบสวนคนที่เอานโยบายไปละเมิดสิทธิเด็กโดยด่วน และต้องปฏิรูปการเรียนรู้มุ่งสู่คุณภาพ ลดช่องว่างโรงเรียนในเมืองกับโรงเรียนในต่างจังหวัด ลดช่วงว่างระว่างคนรวยคนจนโดยเร็วที่สุด
ขณะเดียวกันพ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. พร้อมด้วย นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ และ พ.ต.อ.ดุษฏี อารยวุฒิ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. ประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้อำนวยการโรงเรียนกว่า 20 แห่ง โดยที่ประชุมมีมติให้ทั้ง 3 หน่วยงานดำเนินการตรวจสอบร่วมกัน เบื้องต้นดีเอสไอจะตั้งคณะทำงานเพื่อสอบพยานในส่วนของผู้ร้อง รวมถึงพฤติการณ์ของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียน พร้อมเตรียมชงเป็นคดีพิเศษ ปลายเดือน มิ.ย. ส่วน ป.ป.ท. จะดำเนินการตรวจสอบสอบข้าราชการ เบื้องต้นได้สุ่มตรวจสอบโรงเรียนบางแห่ง พบมีพฤติการณ์เข้าข่ายกระทำความผิด แต่ยังก็ขาดพยานหลักฐานสำคัญ ในขณะที่ ปปง. จะดำเนินการตรวจสอบและทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมายและดำเนินคดีทางแพ่ง
วานนี้ (28 พ.ค.) ที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 อีก 3 คนเดินทางมารายงานตัว หลังจากมีเด็กสละสิทธิ์ และได้เข้าเรียนพร้อมกับเพื่อนๆ โดยนักเรียน 1 ใน 3 คนเคยเป็นผู้ที่เคลื่อนไหวประท้วงขอเข้าเรียนโรงเรียนเดิมต่อหลังถูกตัดสิทธิ์ ทั้งนี้ การเรียกนักเรียนเข้ารายงานตัวเป็นไปตามลำดับคะแนนที่สอบได้ ไม่ได้มาจากกระแสกดดัน
ด้านผู้ปกครองของเด็กที่ได้เกรดเฉลี่ย 2.85 กล่าวว่า มีความเชื่อมั่นว่าลูกของตนจะได้เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนบดินทรเดชาฯ แต่สุดท้ายติดกฎเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ให้คัดเลือกเด็กเก่า 80% เด็กใหม่ 20% จึงขอให้ยกเลิกกฎเกณฑ์ดังกล่าว เพราะไม่เป็นธรรมกับเด็กที่เรียนอยู่
ขณะที่นักเรียน ม.3 ที่พลาดหวังไม่ได้เรียนต่อโรงเรียนบดินทรเดชาฯ จำนวน 13 คน ได้ไปมอบตัวนักเรียน ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จัดสรรที่เรียนให้
นายณรงค์ นิยมราช หนึ่งในผู้ปกครองที่ลูกเคยประท้วงอดข้าว กล่าวว่า พอใจการจัดที่เรียนในสายศิลป์-คำนวณที่นี่ให้ลูกได้มีที่เรียน เพราะเปิดเทอมแล้ว แม้ไม่ใช่โรงเรียนบดินทรเดชาฯ แต่รับได้ ส่วนตัวจะยุติการเคลื่อนไหวประท้วง
ด้าน นายปรีชา จิตรสิงห์ ประธานคณะกรรมการรับนักเรียนโรงเรียนบดินทรฯ กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 28 พฤษภาคมนี้ พบว่ายังมีนักเรียนชั้นม. 3 โรงเรียนบดินทรฯ ที่ยังไม่มีที่เรียนม.4 ทยอยเข้ามาลงชื่อเพื่อให้คณะกรรมการเยียวฯ หาที่เรียนใน 12 โรงที่จัดเตรียมให้ โดยมีนักเรียนที่เข้ามาลงชื่อขอรับการเยียวจำนวนทั้งสิ้น 54 คน ในจำนวนนี้เป็นนักเรียนในกลุ่มที่ออกมาประท้วง จำนวน 38 คน และเป็นนักเรียนที่ไม่ได้มาประท้วง 15 คน อย่างไรก็ตาม จะมีการสรุปข้อมูลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มิถุนายนนี้เนื่องจากขณะนี้พบว่ามีนักเรียนบางรายเปลี่ยนใจมาขอให้สลับที่เรียนอยู่ เช่น ตอนแรกแสดงความจำนงอยู่โรงเรียนเทพลีลา ได้มาขอเปลี่ยนไปโรงเรียนบางกะปิ เป็นต้น ซึ่งเราก็ได้ดำเนินการให้
“ขณะนี้น่าเป็นห่วงเด็ก 3 คนที่ได้เรียนต่อในชั้นม.4 โรงเรียนบดินทรฯ ทั้งที่ได้เข้าไปอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่ทราบว่าขณะนี้มีนักเรียนคนหนึ่งได้ยื่นเรื่องลาออกแล้วเพราะทนแรงกดดันจากเพื่อนในโรงเรียนไม่ไหว และกำลังจะตัดสินใจลาออกตามมาอีกราย ซึ่งทางผอ.โรงเรียนฯ กำลังเกลี้ยกล่อมอยู่และได้พยายามชี้แจงกับนักเรียนคนอื่นๆ ให้เข้าใจด้วย”
ด้าน นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันแห่งชาติ (ภตช.) เปิดเผยว่า เตรียมพานักเรียนชั้นม.3 ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกขึ้น ม.4 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เข้าร้องต่อศาลปกครองว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการรับนักเรียน ที่กำหนดให้จัดที่นั่ง ม.4 ร้อยละ 80 สำหรับนักเรียน ม.3 เดิม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 มาตรา 10 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพทางการศึกษา และขัดกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 49 รวมทั้งจะใช้ต้องมีการประชาพิจารณ์ก่อนประกาศใช้เพราะส่งผลกระทบวงกว้าง โดยจะขอศาลนัดไต่สวนฉุกเฉิน และขอให้มีการคุ้มครองชั่วคราว ให้เด็ก ม.3 ได้เข้าเรียน ม.4 ก่อน ซึ่งจะมีผลต่อโรงเรียนทั่วประเทศ และถ้าคำพิพากษาสุดท้ายระบุว่าเป็นระเบียบที่ไม่ชอบกฎหมาย จะต้องให้เด็ก ม.3 เดิมทุกคน ได้กลับเข้าเรียนโรงเรียนเดิม ยกเว้นเด็กสละสิทธิ์
วันเดียวกันผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการการประชุมวุฒิสภา ซึ่งมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้หารือกรณีเงินแป๊ะเจี๊ยะ ว่า เป็นเรื่องสำคัญในสังคม โดยเฉพาะกรณีเด็กนักเรียนโรงเรียนบดินเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่โรงเรียนกันที่นั่งสำหรับนักเรียนที่บริจาค ส่งผลให้นักเรียนที่ควรได้เรียนไม่ได้เรียน ปัญหานี้มีมานานทุกฝ่ายพยายามแก้ไข แต่เมื่อรมว.ศึกษาธิการคนปัจจุบันมีนโยบายให้เรื่องจ่ายเงินแป๊ะเจี๊ยะเป็นเรื่องที่ทำได้ ทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อเกิดปัญหากลับปัดความรับผิดชอบ อยากถามไปถึงรมว.ศึกษาธิการว่า แท้จริงแล้วมีนโยบายเรื่องนี้อย่างไร โดยเฉพาะรายละเอียดแนวทางดำเนินการ เมื่อให้นโยบายไปแล้วแต่ไม่ชัดเจน เอาไปดำเนินการถูกบ้างผิดบ้างทำให้เกิดความเสียหาย
นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ความจริงเรื่องแป๊ะเจี๊ยะเป็นการแปลงร่างเงินแป๊ะเจี๊ยะเป็นเงินบริจาคที่ถูกกฎหมาย เป็นการทำร้ายและทำลายสังคม สร้างค่านิยมทุจริตคอร์รัปชันให้เยาวชน ประเด็นไม่ใช่แค่นโยบายผิดพลาดแต่เป็นการละเมิดสิทธิของเด็กตามรัฐธรรมนูญ ขอเรียกร้องให้รมว.ศึกษาธิการต้องทบทวนนโยบายใหม่ทั้งหมด โดยการยกเลิก ต้องแสดงความรับผิดชอบนโยบายที่ผิดพลาดโดยการขอโทษนักเรียนและผู้ปกครองที่เสียหาย ดำเนินการสืบสวนสอบสวนคนที่เอานโยบายไปละเมิดสิทธิเด็กโดยด่วน และต้องปฏิรูปการเรียนรู้มุ่งสู่คุณภาพ ลดช่องว่างโรงเรียนในเมืองกับโรงเรียนในต่างจังหวัด ลดช่วงว่างระว่างคนรวยคนจนโดยเร็วที่สุด
ขณะเดียวกันพ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. พร้อมด้วย นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ และ พ.ต.อ.ดุษฏี อารยวุฒิ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. ประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้อำนวยการโรงเรียนกว่า 20 แห่ง โดยที่ประชุมมีมติให้ทั้ง 3 หน่วยงานดำเนินการตรวจสอบร่วมกัน เบื้องต้นดีเอสไอจะตั้งคณะทำงานเพื่อสอบพยานในส่วนของผู้ร้อง รวมถึงพฤติการณ์ของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียน พร้อมเตรียมชงเป็นคดีพิเศษ ปลายเดือน มิ.ย. ส่วน ป.ป.ท. จะดำเนินการตรวจสอบสอบข้าราชการ เบื้องต้นได้สุ่มตรวจสอบโรงเรียนบางแห่ง พบมีพฤติการณ์เข้าข่ายกระทำความผิด แต่ยังก็ขาดพยานหลักฐานสำคัญ ในขณะที่ ปปง. จะดำเนินการตรวจสอบและทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมายและดำเนินคดีทางแพ่ง