สอดแนมการเมือง
โดย : ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย
ก่อนอื่น..ผมอยากพาท่านผู้อ่านมารู้จัก การเกิด ปตท.หน่วยงานพลังงานของชาติ ก่อนจะมาเป็นบริษัทมหาชนในวันนี้ว่า..มีที่มาที่ไปอย่างไร?
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้สร้างถนน ไฟฟ้า รถราง ต่อมาใน พ.ศ.2435 บริษัทรอยัล-ดัทช์ ปิโตรเลียม ได้เข้ามาจำหน่ายน้ำมันก๊าด และอีก 2 ปีต่อมา บริษัทสแตนดาร์ด ออยล์ ก็เข้ามาค้าขายน้ำมันเป็นรายใหญ่ที่สุดในไทย
พ.ศ.2439 พระยาสุรศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้นำรถคันแรกมาวิ่งบนถนน 6 ปีต่อมา บริษัท“รถเมล์นายเลิศ”หรือ“รถเมล์ขาว” และบริษัทต่างชาติได้นำน้ำมันเบนซินมาจำหน่าย
พ.ศ.2461 ชาวอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้พบน้ำมันผุดขึ้นบนผิวดิน ลือกันว่าทารักษาโรคได้ รู้ถึงเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ จึงสั่งให้ขุดบ่อกักน้ำมันไว้ เรียกบ่อน้ำมันนี้ว่า”บ่อเจ้าหลวง”หรือ “บ่อหลวง”
พ.ศ.2464-2465 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทราบเรื่อง..จึงว่าจ้าง นายวอลเลซ ลี (Mr. Wallace Lee) นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน ให้สำรวจน้ำมันและถ่านหิน เพื่อนำขึ้นมาใช้เป็นเชื้อเพลิงรถไฟเครื่องจักรไอน้ำ
พ.ศ.2476 กระทรวงกลาโหมได้ตั้ง“แผนกเชื้อเพลิง” เพื่อจัดการน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด และ น้ำมันหล่อลื่นใช้ในประเทศ อีก 4 ปีต่อมาได้เปลี่ยนเป็น“กรมเชื้อเพลิง” มีการสร้างคลังเก็บน้ำมันที่ช่องนนทรี เพื่อขจัดปัญหาน้ำมันขาดแคลนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะต่างชาติหยุดค้าน้ำมันในไทย หลังสงครามโลกยุติลง ไทยต้องยุบกรมเชื้อเพลิง ขายกิจการและทรัพย์สินให้บริษัท รอยัล-ดัทช์ฯ
พ.ศ.2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ยกเลิกข้อผูกพันที่ไทยเสียเปรียบต่อต่างชาติ ที่ห้ามรัฐบาลไทยจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแก่ประชาชน อีกทั้งในวันที่ 27 มกราคม 2503 ได้จัดตั้ง”องค์การเชื้อเพลิง”ใช้เครื่องหมายตรา“สามทหาร” ทำหน้าที่จัดหาและกลั่นน้ำมัน รวมทั้งเปิดสถานีหรือปั๊มขายน้ำมันด้วย
พ.ศ.2516-2517 โลกเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 1 ไทยได้รับผลกระทบนี้อย่างหนัก จึงเริ่มสำรวจหาแหล่งพลังงานปิโตรเลียมในประเทศ จน พ.ศ.2520 รัฐบาลไทยจึงตั้ง”องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย” (อธก.) เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย
29 ธันวาคม 2520 รัฐบาลได้ตรา พ.ร.บ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย มารองรับหน่วยงานเป็นครั้งแรก 12 กันยายน 2524 ได้มีการนำก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ จากอ่าวไทยมาใช้เป็นครั้งแรก ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือ”ยุคโชติช่วงชัชวาล” ปั๊มน้ำมัน“สามทหาร”ก็หายไป และเกิดตรา“ปตท.”มาแทนที่..จนทุกวันนี้..
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ช่วงแรกใช้สัญลักษณ์อักษรย่อ ปตท.และPPT ต่อมา นายทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ ผู้ว่าการ ปตท.ได้ประกาศให้ใช้ตราสัญลักษณ์ ปตท.ใหม่ในปี 2523
พ.ศ.2521-2525 ปตท.มีบทบาทสำคัญช่วยแก้วิกฤตน้ำมันโลกครั้งที่ 2 และมีการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นแรกของประเทศไทย จาก“แหล่งก๊าซเอราวัณ”ในอ่าวไทยมา จ.ระยอง และเริ่มใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าที่โรงบางปะกง
พ.ศ.2526-2530 มีการสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 1 จ.ระยอง สร้างคลังก๊าซแอลพีจี 6 แห่ง และคลังสำรองผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี “เขาบ่อยา” จ.ชลบุรี และร่วมทุนจัดตั้งบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ.) และ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด
พ.ศ.2531-2535 ปตท.เป็นผู้นำจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษ “พีทีที ไฮอ็อกเทน ไร้สารตะกั่ว” เป็นรายแรกของประเทศ และเปิดโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 2
นั่นเป็นบทบาทในอดีตที่เป็นประโยชน์ของ ปตท.ในฐานะรัฐวิสาหกิจสำคัญของชาติ ที่มีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงทางพลังงาน และความมั่นคงของชาติไทย อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของการเกิด ปตท.บนแผ่นดินไทย มิใช่ให้ปตท.เกิดมาเพื่อค้ากำไรเกินควร กับประชาชนคนไทยอย่างแน่นอน..จริงไหม?
พ.ศ.2544 รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เริ่มแปลงสภาพ ปตท.ให้กลายพันธุ์ จากรัฐวิสาหกิจที่ทำกำไรมาตลอด และคนไทยทั้งชาติเป็นเจ้าของ100% แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน ทำให้ ปตท.ต้องเสียหุ้นถึง 49% ให้กับบุคคลกลุ่มหนึ่งและนักการเมืองเพียงไม่กี่ตระกูล ทั้งๆ ที่ ปตท.ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน เพราะปีนั้น ปตท.ก็ได้กำไรถึง 20,000 ล้านบาท!
หลัง ปตท.รับโอนกิจการสิทธิ หนี้ สินทรัพย์ พนักงาน ทั้งหมด ภายใต้ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ด้วยทุนจดทะเบียน 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยกระทรวงการคลังถือหุ้นแทนคนไทยที่เหลือแค่ 51 % เท่านั้น
ส่วนการขายหุ้นของปตท.นั้น ถูกแจกจ่ายไปอย่างไม่โปร่งใส นั่นคือ หุ้นจำนวน 800 ล้านหุ้นนั้น (เพิ่มทุน 750 ล้านหุ้น บวก 50 ล้านหุ้นของกระทรวงการคลัง) คณะกรรมการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปตท.มีมติให้
1.ขายหุ้นราคาพาร์(10 บาทต่อหุ้น)ให้ผู้มีอุปการคุณรวม 25 ล้านหุ้น ต่ำกว่าราคาเปิดจอง 31-35 บาทต่อหุ้น(ต่ำกว่าราคาแท้จริง)ซึ่งไม่มีสิทธิจะกระทำได้ และไม่เปิดเผยผุ้ได้รับหุ้นอุปการคุณใดๆ อีกด้วย
2.ขายให้แก่นักลงทุนประเภทสถาบันไทย 235 ล้านหุ้น โดยไม่แถลงวิธีการคัดเลือกและประกาศให้สาธารณชนรู้ เพื่อต้องการให้ครอบงำและแย่งชิงหุ้นสามัญ ปตท.อีกทางหนึ่ง
3.ขายให้นิติบุคคลต่างประเทศ 320 ล้านหุ้น ซึ่งอยู่นอกอำนาจศาลไทย และเจ้าพนักงานไทยจะเข้าตรวจสอบ และแทบทั้งหมดเป็นตัวแทนเชิด(Norminee) จึงมีบุคคลในรัฐบาลบางคน มีผลประโยชน์ทับซ้อน ด้วยการตั้งกองทุนส่วนบุคคลเข้ามาซื้อหุ้น ปตท.
4.ขายแก่นักลงทุนรายย่อยเพียง 220 ล้านหุ้น แต่ให้คนในปตท.แย่งชิงสิทธิการจองอย่างเท่าเทียม ก่อนเวลาประกาศรับจอง(09.30 น.) พบ 863 ราย ไม่ทราบจำนวนหุ้น อีกทั้งมีการจองซื้อมากกว่า1 ใบจอง พบ 428 ราย เป็นหุ้นจำนวน 67,357,600 หุ้น ขัดกับหนังสือชี้ชวนโดย ปตท. และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ช่วยปิดบังซ่อนเร้นข้อมูล
ต่อมามีการตรวจสอบโดย“กลต.”ในเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า การประเมินความต้องการจองซื้อหุ้น ปตท.ต่ำกว่าความเป็นจริง จนหลายคนตั้งคำถามว่า จงใจ-ตั้งใจ-ประเมินความต้องการให้ต่ำหรือเปล่า? การจัดสรรหุ้นให้ผู้จองซื้อรายย่อย ได้ทำตามหลักการหรือไม่?
ปกติผู้จองซื้อก่อน-จ่ายเงินก่อน มีสิทธิได้รับจัดสรรก่อน แต่มีการตั้งตัวแทนจำหน่ายหุ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง จึงมีความเป็นไปได้สูง ที่ผู้ลงทุนเป็นรายแรกหรือคิวที่ 1 ของบาง Terminal อาจไม่สามารถจองซื้อหุ้นได้
ยิ่งการจองซื้อหุ้นสิ้นสุดลงชั่วพริบตา ทำให้ผู้จองซื้อไม่เชื่อมั่นในวิธีการจัดสรรว่า ผู้จองซื้อทุกรายจะได้รับความเป็นธรรม
15 พฤศจิกายน 2544 รัฐบาลทักษิณเปิดให้คนทั่วไป จองหุ้นปตท.เป็นวันแรกจนเกลี้ยงชั่วพริบตา! 6 ธันวาคม 2544 หุ้นปตท.ทำการซื้อขายวันแรก ก็ขายหมดในวันแรกชั่วพริบตาอีก!! 19 กันยายน 2549 ราคาหุ้นของ ปตท.พุ่งขึ้นถึง 218 บาทต่อหุ้น!!!
ผลกำไรสุทธิอันมหาศาลของ ปตท. นับตั้งแต่การแปรรูปตลอดระยะเวลา 10 ปี รวมทั้งสิ้น 774,167 ล้านบาท ปตท.ต้องแบ่งกำไรให้ผู้ลงทุนเอกชน ไม่ต่ำกว่า 296,000 ล้านบาท ขณะที่ ปตท.ได้เงินจากการระดมทุนและเพิ่มทุนเพียงไม่ถึง 28,277 ล้านบาท
จนมาถึงปี 2554 ปตท.ได้จ่ายผลตอบแทนให้เอกชน 49% สูงถึง 61,361 ล้านบาท หรือเกือบ 120% จากเงินลงทุนผู้ถือหุ้นเอกชน 28,277 ล้านบาท
เฮ้อ..นี่แหละผลงานอัปยศ“ปตท.ทรราชน้ำมัน” ซึ่งยังมีเรื่องไม่โปร่งใสให้เปิดโปงอีกมากมายครับ!
โดย : ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย
ก่อนอื่น..ผมอยากพาท่านผู้อ่านมารู้จัก การเกิด ปตท.หน่วยงานพลังงานของชาติ ก่อนจะมาเป็นบริษัทมหาชนในวันนี้ว่า..มีที่มาที่ไปอย่างไร?
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้สร้างถนน ไฟฟ้า รถราง ต่อมาใน พ.ศ.2435 บริษัทรอยัล-ดัทช์ ปิโตรเลียม ได้เข้ามาจำหน่ายน้ำมันก๊าด และอีก 2 ปีต่อมา บริษัทสแตนดาร์ด ออยล์ ก็เข้ามาค้าขายน้ำมันเป็นรายใหญ่ที่สุดในไทย
พ.ศ.2439 พระยาสุรศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้นำรถคันแรกมาวิ่งบนถนน 6 ปีต่อมา บริษัท“รถเมล์นายเลิศ”หรือ“รถเมล์ขาว” และบริษัทต่างชาติได้นำน้ำมันเบนซินมาจำหน่าย
พ.ศ.2461 ชาวอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้พบน้ำมันผุดขึ้นบนผิวดิน ลือกันว่าทารักษาโรคได้ รู้ถึงเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ จึงสั่งให้ขุดบ่อกักน้ำมันไว้ เรียกบ่อน้ำมันนี้ว่า”บ่อเจ้าหลวง”หรือ “บ่อหลวง”
พ.ศ.2464-2465 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทราบเรื่อง..จึงว่าจ้าง นายวอลเลซ ลี (Mr. Wallace Lee) นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน ให้สำรวจน้ำมันและถ่านหิน เพื่อนำขึ้นมาใช้เป็นเชื้อเพลิงรถไฟเครื่องจักรไอน้ำ
พ.ศ.2476 กระทรวงกลาโหมได้ตั้ง“แผนกเชื้อเพลิง” เพื่อจัดการน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด และ น้ำมันหล่อลื่นใช้ในประเทศ อีก 4 ปีต่อมาได้เปลี่ยนเป็น“กรมเชื้อเพลิง” มีการสร้างคลังเก็บน้ำมันที่ช่องนนทรี เพื่อขจัดปัญหาน้ำมันขาดแคลนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะต่างชาติหยุดค้าน้ำมันในไทย หลังสงครามโลกยุติลง ไทยต้องยุบกรมเชื้อเพลิง ขายกิจการและทรัพย์สินให้บริษัท รอยัล-ดัทช์ฯ
พ.ศ.2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ยกเลิกข้อผูกพันที่ไทยเสียเปรียบต่อต่างชาติ ที่ห้ามรัฐบาลไทยจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแก่ประชาชน อีกทั้งในวันที่ 27 มกราคม 2503 ได้จัดตั้ง”องค์การเชื้อเพลิง”ใช้เครื่องหมายตรา“สามทหาร” ทำหน้าที่จัดหาและกลั่นน้ำมัน รวมทั้งเปิดสถานีหรือปั๊มขายน้ำมันด้วย
พ.ศ.2516-2517 โลกเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 1 ไทยได้รับผลกระทบนี้อย่างหนัก จึงเริ่มสำรวจหาแหล่งพลังงานปิโตรเลียมในประเทศ จน พ.ศ.2520 รัฐบาลไทยจึงตั้ง”องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย” (อธก.) เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย
29 ธันวาคม 2520 รัฐบาลได้ตรา พ.ร.บ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย มารองรับหน่วยงานเป็นครั้งแรก 12 กันยายน 2524 ได้มีการนำก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ จากอ่าวไทยมาใช้เป็นครั้งแรก ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือ”ยุคโชติช่วงชัชวาล” ปั๊มน้ำมัน“สามทหาร”ก็หายไป และเกิดตรา“ปตท.”มาแทนที่..จนทุกวันนี้..
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ช่วงแรกใช้สัญลักษณ์อักษรย่อ ปตท.และPPT ต่อมา นายทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ ผู้ว่าการ ปตท.ได้ประกาศให้ใช้ตราสัญลักษณ์ ปตท.ใหม่ในปี 2523
พ.ศ.2521-2525 ปตท.มีบทบาทสำคัญช่วยแก้วิกฤตน้ำมันโลกครั้งที่ 2 และมีการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นแรกของประเทศไทย จาก“แหล่งก๊าซเอราวัณ”ในอ่าวไทยมา จ.ระยอง และเริ่มใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าที่โรงบางปะกง
พ.ศ.2526-2530 มีการสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 1 จ.ระยอง สร้างคลังก๊าซแอลพีจี 6 แห่ง และคลังสำรองผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี “เขาบ่อยา” จ.ชลบุรี และร่วมทุนจัดตั้งบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ.) และ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด
พ.ศ.2531-2535 ปตท.เป็นผู้นำจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษ “พีทีที ไฮอ็อกเทน ไร้สารตะกั่ว” เป็นรายแรกของประเทศ และเปิดโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 2
นั่นเป็นบทบาทในอดีตที่เป็นประโยชน์ของ ปตท.ในฐานะรัฐวิสาหกิจสำคัญของชาติ ที่มีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงทางพลังงาน และความมั่นคงของชาติไทย อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของการเกิด ปตท.บนแผ่นดินไทย มิใช่ให้ปตท.เกิดมาเพื่อค้ากำไรเกินควร กับประชาชนคนไทยอย่างแน่นอน..จริงไหม?
พ.ศ.2544 รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เริ่มแปลงสภาพ ปตท.ให้กลายพันธุ์ จากรัฐวิสาหกิจที่ทำกำไรมาตลอด และคนไทยทั้งชาติเป็นเจ้าของ100% แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน ทำให้ ปตท.ต้องเสียหุ้นถึง 49% ให้กับบุคคลกลุ่มหนึ่งและนักการเมืองเพียงไม่กี่ตระกูล ทั้งๆ ที่ ปตท.ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน เพราะปีนั้น ปตท.ก็ได้กำไรถึง 20,000 ล้านบาท!
หลัง ปตท.รับโอนกิจการสิทธิ หนี้ สินทรัพย์ พนักงาน ทั้งหมด ภายใต้ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ด้วยทุนจดทะเบียน 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยกระทรวงการคลังถือหุ้นแทนคนไทยที่เหลือแค่ 51 % เท่านั้น
ส่วนการขายหุ้นของปตท.นั้น ถูกแจกจ่ายไปอย่างไม่โปร่งใส นั่นคือ หุ้นจำนวน 800 ล้านหุ้นนั้น (เพิ่มทุน 750 ล้านหุ้น บวก 50 ล้านหุ้นของกระทรวงการคลัง) คณะกรรมการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ปตท.มีมติให้
1.ขายหุ้นราคาพาร์(10 บาทต่อหุ้น)ให้ผู้มีอุปการคุณรวม 25 ล้านหุ้น ต่ำกว่าราคาเปิดจอง 31-35 บาทต่อหุ้น(ต่ำกว่าราคาแท้จริง)ซึ่งไม่มีสิทธิจะกระทำได้ และไม่เปิดเผยผุ้ได้รับหุ้นอุปการคุณใดๆ อีกด้วย
2.ขายให้แก่นักลงทุนประเภทสถาบันไทย 235 ล้านหุ้น โดยไม่แถลงวิธีการคัดเลือกและประกาศให้สาธารณชนรู้ เพื่อต้องการให้ครอบงำและแย่งชิงหุ้นสามัญ ปตท.อีกทางหนึ่ง
3.ขายให้นิติบุคคลต่างประเทศ 320 ล้านหุ้น ซึ่งอยู่นอกอำนาจศาลไทย และเจ้าพนักงานไทยจะเข้าตรวจสอบ และแทบทั้งหมดเป็นตัวแทนเชิด(Norminee) จึงมีบุคคลในรัฐบาลบางคน มีผลประโยชน์ทับซ้อน ด้วยการตั้งกองทุนส่วนบุคคลเข้ามาซื้อหุ้น ปตท.
4.ขายแก่นักลงทุนรายย่อยเพียง 220 ล้านหุ้น แต่ให้คนในปตท.แย่งชิงสิทธิการจองอย่างเท่าเทียม ก่อนเวลาประกาศรับจอง(09.30 น.) พบ 863 ราย ไม่ทราบจำนวนหุ้น อีกทั้งมีการจองซื้อมากกว่า1 ใบจอง พบ 428 ราย เป็นหุ้นจำนวน 67,357,600 หุ้น ขัดกับหนังสือชี้ชวนโดย ปตท. และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ช่วยปิดบังซ่อนเร้นข้อมูล
ต่อมามีการตรวจสอบโดย“กลต.”ในเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า การประเมินความต้องการจองซื้อหุ้น ปตท.ต่ำกว่าความเป็นจริง จนหลายคนตั้งคำถามว่า จงใจ-ตั้งใจ-ประเมินความต้องการให้ต่ำหรือเปล่า? การจัดสรรหุ้นให้ผู้จองซื้อรายย่อย ได้ทำตามหลักการหรือไม่?
ปกติผู้จองซื้อก่อน-จ่ายเงินก่อน มีสิทธิได้รับจัดสรรก่อน แต่มีการตั้งตัวแทนจำหน่ายหุ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง จึงมีความเป็นไปได้สูง ที่ผู้ลงทุนเป็นรายแรกหรือคิวที่ 1 ของบาง Terminal อาจไม่สามารถจองซื้อหุ้นได้
ยิ่งการจองซื้อหุ้นสิ้นสุดลงชั่วพริบตา ทำให้ผู้จองซื้อไม่เชื่อมั่นในวิธีการจัดสรรว่า ผู้จองซื้อทุกรายจะได้รับความเป็นธรรม
15 พฤศจิกายน 2544 รัฐบาลทักษิณเปิดให้คนทั่วไป จองหุ้นปตท.เป็นวันแรกจนเกลี้ยงชั่วพริบตา! 6 ธันวาคม 2544 หุ้นปตท.ทำการซื้อขายวันแรก ก็ขายหมดในวันแรกชั่วพริบตาอีก!! 19 กันยายน 2549 ราคาหุ้นของ ปตท.พุ่งขึ้นถึง 218 บาทต่อหุ้น!!!
ผลกำไรสุทธิอันมหาศาลของ ปตท. นับตั้งแต่การแปรรูปตลอดระยะเวลา 10 ปี รวมทั้งสิ้น 774,167 ล้านบาท ปตท.ต้องแบ่งกำไรให้ผู้ลงทุนเอกชน ไม่ต่ำกว่า 296,000 ล้านบาท ขณะที่ ปตท.ได้เงินจากการระดมทุนและเพิ่มทุนเพียงไม่ถึง 28,277 ล้านบาท
จนมาถึงปี 2554 ปตท.ได้จ่ายผลตอบแทนให้เอกชน 49% สูงถึง 61,361 ล้านบาท หรือเกือบ 120% จากเงินลงทุนผู้ถือหุ้นเอกชน 28,277 ล้านบาท
เฮ้อ..นี่แหละผลงานอัปยศ“ปตท.ทรราชน้ำมัน” ซึ่งยังมีเรื่องไม่โปร่งใสให้เปิดโปงอีกมากมายครับ!