นับตั้งแต่มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มีผลบังคับใช้ และกำหนดให้กรุงเทพมหานครเน้นการปกครองแบบท้องถิ่น มีผู้ว่าราชการที่มาจากการเลือกตั้ง อันถือเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2518 เป็นต้นมา กรุงเทพมหานคร ได้จัดให้มีการเลือกตั้งมาแล้วทั้งสิ้นรวม 9 ครั้ง คือ
1) 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 แข่งขันระหว่าง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ พรรคพลังใหม่ กับนายธรรมนูญ เทียนเงิน พรรคประชาธิปัตย์ ผลปรากฏว่า นายธรรมนูญ เทียนเงิน พรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้ง แต่มีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ปลดออกจากตำแหน่ง
2) 14 พฤศจิกายน 2528 เป็นการแข่งขันที่สำคัญระหว่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กลุ่มรวมพลัง, นายชนะ รุ่งแสง พรรคประชาธิปัตย์, พล.ต.ต.เจตจันทร์ ประวิตร พรรคประชากรไทย และนายมงคล สิมะโรจน์ พรรคก้าวหน้า ผลปรากฏว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนน 408,233 คะแนน
3) 7 มกราคม พ.ศ. 2533 แข่งขันระหว่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พรรคพลังธรรม นายเดโช สวนานนท์ พรรคประชากรไทย และนายประวิทย์ รุจิรวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ ผลปรากฏว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้รับชัยชนะท่วมท้น จำนวน 703,672 คะแนน ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.เป็นสมัยที่สอง
4) 19 เมษายน พ.ศ. 2535 แข่งขันระหว่าง ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา พรรคพลังธรรม, นายพิจิตต รัตตกุล พรรคประชาธิปัตย์, พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช พรรคประชากรไทย ผลปรากฏว่า ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ชนะเลือกตั้งได้ 363,668 คะแนน
5) 3 มิถุนายน 2539 แข่งขันระหว่างนายพิจิตต รัตตกุล ผู้สมัครอิสระ, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พรรคพลังธรรม, ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้สมัครอิสระ, นายอากร ฮุนตระกูล ผู้สมัครอิสระ ผลปรากฏว่า นายพิจิตต รัตตกุล ชนะการเลือกตั้งได้ 768,994 คะแนน
6) 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เป็นการแข่งขันระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชากรไทย, นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยรักไทย, นายธวัชชัย สัจจกุล พรรคประชาธิปัตย์, คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ผู้สมัครอิสระ, พ.อ.วินัย สมพงษ์ ผู้สมัครอิสระ, นางปวีณา หงสกุล พรรคชาติพัฒนา ผลปรากฏว่า นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับชัยชนะด้วยคะแนน 1,016,096 คะแนน
7) 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นการแข่งขันระหว่างนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์, นางปวีณา หงสกุล ผู้สมัครพรรคอิสระ, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ, ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้สมัครอิสระ, ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ผู้สมัครอิสระ และดร.พิจิตต รัตตกุล ผลปรากฏว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนน 911,441 คะแนน
8) 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 แข่งขันระหว่างนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์, นายประภัสร์ จงสงวน พรรคพลังประชาชน, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ, ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัครอิสระ ผลปรากฏว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับชัยชนเป็นผู้ว่าฯ กทม.สมัยที่สอง ด้วยคะแนน 991,018 คะแนน
9) 11 มกราคม พ.ศ. 2552 แข่งขันระหว่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์, นายยุรนันท์ ภมรมนตรี พรรคเพื่อไทย, ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้สมัครอิสระ, นายแก้วสรร อติโพธิ ผู้สมัครอิสระ ผลปรากฏว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับชัยชนะด้วยคะแนน 934,602 คะแนน
จากผลการเลือกตั้งทั้ง 9 ครั้งที่ผ่านมา ผู้สมัครอิสระสามารถชนะเลือกตั้ง 2 ครั้ง คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เมื่อปี 2528 และนายพิจิตต รัตตกุล เมื่อปี 2539 นอกจากนั้น 7 ครั้ง ชัยชนะเป็นของผู้สมัครสังกัดพรรค แต่ก็มีข้อสังเกตกรณีพรรคพลังธรรม เป็นกรณีที่เป็นพรรคการเมือง ซึ่งพัฒนามาจากกลุ่มอิสระ คือ “กลุ่มรวมพลัง” ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หากรวบรวมชัยชนะของพรรคพลังธรรมรวมกับกลุ่ม “รวมพลัง” แล้วพลังอิสระกลุ่มนี้สามารถกำชัยชนะในสนามเลือกตั้ง กทม.ได้ถึง 3 สมัย
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่ 10 ใกล้จะมาถึงอีกครั้งเนื่องด้วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัฒน์ จะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 11 มกราคม2556 และตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา 47 เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ว่างลงโดยเหตุอื่น จึงให้ทำการเลือกตั้งภายในเก้าสิบวัน กรณีของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร คงไม่น่าจะมีเหตุอื่นให้ตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ว่างลง จึงเป็นที่คาดหมายได้ว่า การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 10 คงจะเกิดขึ้นแน่นอนภายในวันที่ 11 มีนาคม 2556 จึงเหลือเวลาอีกประมาณ 9 เดือนเศษเท่านั้น ที่คนกรุงเทพมหานคร จะได้มีโอกาสเลือกผู้บริหารท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร มหานครขนาดใหญ่ เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา และความเจริญของประเทศ จนอาจจะเรียกได้ว่า “กรุงเทพฯ คือประเทศไทย” ถ้าจะปรียบเทียบในระดับโลก กรุงเทพมหานครถือเป็นเมืองใหญ่อันดับ 73 ของโลก และเป็นเมือง 1 ใน 10 ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวมากที่สุด
ในทางการเมือง กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.มากที่สุดถึง 36 คน ด้วยมีจำนวนประชากรอยู่อาศัยถึง 5,674,843 คน ในเขตปกครอง 36 เขต ช่วงเวลาที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครถูกบริหารโดยตัวแทนจากพรรคการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ผลของการบริหารและการแก้ไขปัญหากรุงเทพมหานคร ที่มีปัญหามากมายไม่ว่าปัญหาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่ น่าอาศัย ปัญหาอาชญากรรม และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย การคมนาคมขนส่ง หรือสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ล้วนแต่เป็นปัญหาที่หมักหมม และยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดี
ขณะเดียวกัน คน กทม.ยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติร้ายแรงจากปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือปัญหาแผ่นดินไหว การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่ผิดปกติ การเลือกผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานของประชาชนคน กทม. จึงต้องถือว่าเป็นวาระสำคัญ ที่ผ่านมาประชาชนไม่เคยมีบทบาทในการควบคุมและกำกับการทำงานหรือตรวจสอบให้ผู้ว่าฯ กทม.ทำงานตามนโยบายที่ดี และยึดประโยชน์ของคน กทม.ส่วนใหญ่ได้เลย ผู้ว่าฯ กทม.มักสนใจทำงานรับใช้พรรคการเมืองของตน แสวงประโยชน์เพื่อตนเอง และพรรคพวกเป็นสำคัญ
ถึงเวลาหรือยังที่คนกรุงเทพมหานคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้ผนึกกำลังรวมตัวกันเพื่อเป็นผู้กำหนดทิศทางและนโยบายการบริหาร กทม. และกำหนดชะตากรรมของคน กทม.ด้วยพลังของตัวเอง ไม่ควรปล่อยให้พรรคการเมืองยัดเยียดใครก็ได้มาให้คน กทม. ทั้งๆ ที่บริหารล้มเหลว และมิได้สร้างผลงานใดๆ ให้คน กทม.ได้ชื่นชม ท่านอยากได้ผู้ว่าฯ กทม.แบบไหน อย่างไร เป็นสิ่งที่คน กทม.แสดงออกร่วมกัน สร้างอำนาจต่อรองร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธมิตรฯ คน กทม.ควรมีบทบาทในการกำหนดทิศทางครั้งนี้ด้วยพลังของพวกเรา อย่าให้นักการเมือง พรรคการเมืองมาหลอก หรือตีกินอีกต่อไป
1) 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 แข่งขันระหว่าง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ พรรคพลังใหม่ กับนายธรรมนูญ เทียนเงิน พรรคประชาธิปัตย์ ผลปรากฏว่า นายธรรมนูญ เทียนเงิน พรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้ง แต่มีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ปลดออกจากตำแหน่ง
2) 14 พฤศจิกายน 2528 เป็นการแข่งขันที่สำคัญระหว่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กลุ่มรวมพลัง, นายชนะ รุ่งแสง พรรคประชาธิปัตย์, พล.ต.ต.เจตจันทร์ ประวิตร พรรคประชากรไทย และนายมงคล สิมะโรจน์ พรรคก้าวหน้า ผลปรากฏว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนน 408,233 คะแนน
3) 7 มกราคม พ.ศ. 2533 แข่งขันระหว่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พรรคพลังธรรม นายเดโช สวนานนท์ พรรคประชากรไทย และนายประวิทย์ รุจิรวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ ผลปรากฏว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้รับชัยชนะท่วมท้น จำนวน 703,672 คะแนน ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.เป็นสมัยที่สอง
4) 19 เมษายน พ.ศ. 2535 แข่งขันระหว่าง ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา พรรคพลังธรรม, นายพิจิตต รัตตกุล พรรคประชาธิปัตย์, พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช พรรคประชากรไทย ผลปรากฏว่า ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ชนะเลือกตั้งได้ 363,668 คะแนน
5) 3 มิถุนายน 2539 แข่งขันระหว่างนายพิจิตต รัตตกุล ผู้สมัครอิสระ, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พรรคพลังธรรม, ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้สมัครอิสระ, นายอากร ฮุนตระกูล ผู้สมัครอิสระ ผลปรากฏว่า นายพิจิตต รัตตกุล ชนะการเลือกตั้งได้ 768,994 คะแนน
6) 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เป็นการแข่งขันระหว่างนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชากรไทย, นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยรักไทย, นายธวัชชัย สัจจกุล พรรคประชาธิปัตย์, คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ผู้สมัครอิสระ, พ.อ.วินัย สมพงษ์ ผู้สมัครอิสระ, นางปวีณา หงสกุล พรรคชาติพัฒนา ผลปรากฏว่า นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับชัยชนะด้วยคะแนน 1,016,096 คะแนน
7) 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นการแข่งขันระหว่างนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์, นางปวีณา หงสกุล ผู้สมัครพรรคอิสระ, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ, ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้สมัครอิสระ, ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ผู้สมัครอิสระ และดร.พิจิตต รัตตกุล ผลปรากฏว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนน 911,441 คะแนน
8) 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 แข่งขันระหว่างนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์, นายประภัสร์ จงสงวน พรรคพลังประชาชน, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ, ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัครอิสระ ผลปรากฏว่า นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับชัยชนเป็นผู้ว่าฯ กทม.สมัยที่สอง ด้วยคะแนน 991,018 คะแนน
9) 11 มกราคม พ.ศ. 2552 แข่งขันระหว่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์, นายยุรนันท์ ภมรมนตรี พรรคเพื่อไทย, ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้สมัครอิสระ, นายแก้วสรร อติโพธิ ผู้สมัครอิสระ ผลปรากฏว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับชัยชนะด้วยคะแนน 934,602 คะแนน
จากผลการเลือกตั้งทั้ง 9 ครั้งที่ผ่านมา ผู้สมัครอิสระสามารถชนะเลือกตั้ง 2 ครั้ง คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เมื่อปี 2528 และนายพิจิตต รัตตกุล เมื่อปี 2539 นอกจากนั้น 7 ครั้ง ชัยชนะเป็นของผู้สมัครสังกัดพรรค แต่ก็มีข้อสังเกตกรณีพรรคพลังธรรม เป็นกรณีที่เป็นพรรคการเมือง ซึ่งพัฒนามาจากกลุ่มอิสระ คือ “กลุ่มรวมพลัง” ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หากรวบรวมชัยชนะของพรรคพลังธรรมรวมกับกลุ่ม “รวมพลัง” แล้วพลังอิสระกลุ่มนี้สามารถกำชัยชนะในสนามเลือกตั้ง กทม.ได้ถึง 3 สมัย
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่ 10 ใกล้จะมาถึงอีกครั้งเนื่องด้วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัฒน์ จะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 11 มกราคม2556 และตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา 47 เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ว่างลงโดยเหตุอื่น จึงให้ทำการเลือกตั้งภายในเก้าสิบวัน กรณีของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร คงไม่น่าจะมีเหตุอื่นให้ตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ว่างลง จึงเป็นที่คาดหมายได้ว่า การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 10 คงจะเกิดขึ้นแน่นอนภายในวันที่ 11 มีนาคม 2556 จึงเหลือเวลาอีกประมาณ 9 เดือนเศษเท่านั้น ที่คนกรุงเทพมหานคร จะได้มีโอกาสเลือกผู้บริหารท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร มหานครขนาดใหญ่ เมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา และความเจริญของประเทศ จนอาจจะเรียกได้ว่า “กรุงเทพฯ คือประเทศไทย” ถ้าจะปรียบเทียบในระดับโลก กรุงเทพมหานครถือเป็นเมืองใหญ่อันดับ 73 ของโลก และเป็นเมือง 1 ใน 10 ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวมากที่สุด
ในทางการเมือง กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.มากที่สุดถึง 36 คน ด้วยมีจำนวนประชากรอยู่อาศัยถึง 5,674,843 คน ในเขตปกครอง 36 เขต ช่วงเวลาที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครถูกบริหารโดยตัวแทนจากพรรคการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ผลของการบริหารและการแก้ไขปัญหากรุงเทพมหานคร ที่มีปัญหามากมายไม่ว่าปัญหาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่ น่าอาศัย ปัญหาอาชญากรรม และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย การคมนาคมขนส่ง หรือสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ล้วนแต่เป็นปัญหาที่หมักหมม และยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดี
ขณะเดียวกัน คน กทม.ยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติร้ายแรงจากปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือปัญหาแผ่นดินไหว การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่ผิดปกติ การเลือกผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานของประชาชนคน กทม. จึงต้องถือว่าเป็นวาระสำคัญ ที่ผ่านมาประชาชนไม่เคยมีบทบาทในการควบคุมและกำกับการทำงานหรือตรวจสอบให้ผู้ว่าฯ กทม.ทำงานตามนโยบายที่ดี และยึดประโยชน์ของคน กทม.ส่วนใหญ่ได้เลย ผู้ว่าฯ กทม.มักสนใจทำงานรับใช้พรรคการเมืองของตน แสวงประโยชน์เพื่อตนเอง และพรรคพวกเป็นสำคัญ
ถึงเวลาหรือยังที่คนกรุงเทพมหานคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้ผนึกกำลังรวมตัวกันเพื่อเป็นผู้กำหนดทิศทางและนโยบายการบริหาร กทม. และกำหนดชะตากรรมของคน กทม.ด้วยพลังของตัวเอง ไม่ควรปล่อยให้พรรคการเมืองยัดเยียดใครก็ได้มาให้คน กทม. ทั้งๆ ที่บริหารล้มเหลว และมิได้สร้างผลงานใดๆ ให้คน กทม.ได้ชื่นชม ท่านอยากได้ผู้ว่าฯ กทม.แบบไหน อย่างไร เป็นสิ่งที่คน กทม.แสดงออกร่วมกัน สร้างอำนาจต่อรองร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธมิตรฯ คน กทม.ควรมีบทบาทในการกำหนดทิศทางครั้งนี้ด้วยพลังของพวกเรา อย่าให้นักการเมือง พรรคการเมืองมาหลอก หรือตีกินอีกต่อไป