วานนี้ (23 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดประชุมเสวนาเรื่อง บทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
โดยนายประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เสนอโครงการวิจัยบทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีข้อเสนอ หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์ในแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นมา เพื่อให้ผู้ต้องคำพิพากษามีสิทธิอุทธรณ์ โดยลดองค์คณะเหลือเพียง 5 คน จากเดิมที่มีอยู่ 9 คน แต่หากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ให้ผู้ต้องคำพิพากษา มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่เฉพาะข้อขัดแย้งในทางกฎหมายเท่านั้น
นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. กล่าวว่า คดีของนักการเมืองมีความซับซ้อนตั้งแต่เริ่มระบบการสรรหา ไต่สวน เนื่องจากมีอำนาจอิทธิพลกดดันคณะกรรมการ หากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่เข้าใจ ก็อาจจะตัดสินคดีได้ไม่ตรงตามเจตนารมณ์การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดังนั้น จะแยกกระบวนการส่วนหนึ่งส่วนใดออกจากกันไม่ได้
นายวิชา กล่าวด้วยว่า ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา ถูกคุกคาม บางครั้งไม่ได้คุกคามโดยตรง แต่อาจจะมาในรูปแบบของการเชิญไปกินข้าว หรือไปหาโดยไม่รู้ตัว เพื่อมาขอให้ช่วยนักการเมือง เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล เพราะกลัวถูกตัดสิทธิทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการตัดทางการทำมาหากิน
โดยนายประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เสนอโครงการวิจัยบทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีข้อเสนอ หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์ในแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขึ้นมา เพื่อให้ผู้ต้องคำพิพากษามีสิทธิอุทธรณ์ โดยลดองค์คณะเหลือเพียง 5 คน จากเดิมที่มีอยู่ 9 คน แต่หากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ให้ผู้ต้องคำพิพากษา มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่เฉพาะข้อขัดแย้งในทางกฎหมายเท่านั้น
นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. กล่าวว่า คดีของนักการเมืองมีความซับซ้อนตั้งแต่เริ่มระบบการสรรหา ไต่สวน เนื่องจากมีอำนาจอิทธิพลกดดันคณะกรรมการ หากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่เข้าใจ ก็อาจจะตัดสินคดีได้ไม่ตรงตามเจตนารมณ์การป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดังนั้น จะแยกกระบวนการส่วนหนึ่งส่วนใดออกจากกันไม่ได้
นายวิชา กล่าวด้วยว่า ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา ถูกคุกคาม บางครั้งไม่ได้คุกคามโดยตรง แต่อาจจะมาในรูปแบบของการเชิญไปกินข้าว หรือไปหาโดยไม่รู้ตัว เพื่อมาขอให้ช่วยนักการเมือง เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล เพราะกลัวถูกตัดสิทธิทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการตัดทางการทำมาหากิน