เอเจนซีส์ – จี8 ประกาศสนับสนุนกรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป ยันพร้อมดำเนินการทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อจัดการกับความยุ่งเหยิงทางการเงินควบคู่ไปกับการฟื้นเศรษฐกิจโลกที่ถูกคุกคามหนักข้อจากวิกฤตหนี้ยุโรป กระนั้น แถลงการณ์ร่วมบ่งชี้ความขัดแย้งชัดเจนระหว่างเจ้าภาพ “โอบามา” ที่หนุนแนวทางสร้างการเติบโตของฝรั่งเศส กับ “แมร์เคิล” ที่ผลักดันมาตรการรัดเข็มขัดสุดตัว
การประชุมสุดยอด 8 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหรือจี8 มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในการสร้างสมดุลระหว่างมาตรการรัดเข็มขัดที่ผลักดันโดยนายกรัฐมนตรีอังเงลา แมร์เคิลของเยอรมนี กับยาตำรับใหม่คือมาตรการกระตุ้นสไตล์อเมริกันที่สำคัญต่อการเยียวยาเศรษฐกิจยูโรโซน แต่ขณะเดียวกัน ความไม่ลงรอยยังคงปรากฏอยู่ชัดเจน
“เราให้คำมั่นในการดำเนินมาตรการทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมและฟื้นเศรษฐกิจ และต่อสู้กับแรงกดดันทางการเงิน โดยตระหนักว่ามาตรการที่เหมาะสมสำหรับแต่ละประเทศไม่ใช่มาตรการเดียวกัน” แถลงการณ์ร่วมจี 8 หลังการประชุมที่แคมป์เดวิด ใน มลรัฐแมริแลนด์ สหรัฐฯ วันเสารที่ผ่านมา (19) ระบุ
แถลงการณ์จากซัมมิตสะท้อนความกังวลของเจ้าภาพคือ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ว่าปัญหายูโรโซนอาจคุกคามอนาคตของระบบเงินสกุลเดียวแห่งยุโรป รวมทั้งกระทบต่อแผนการฟื้นตัวของอเมริกา และโอกาสในการได้รับเลือกสมัยสองของตนเอง
สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจของกรีซที่วุ่นวายอย่างยิ่งกลายเป็นวาระการหารือสำคัญ และกระตุ้นความกังวลเกี่ยวกับความไร้เสถียรภาพในสเปนและอิตาลี ทำให้ผู้นำจี8 ต้องพยายามทำให้สถานการณ์สงบลง
ในบรรทัดแรกของแถลงการณ์สุดท้ายว่าด้วยเศรษฐกิจ ผู้นำจี8 รับรองข้อเรียกร้องในการขยายเศรษฐกิจด้วย นอกเหนือจากการรัดเข็มขัด โดยระบุถึงความจำเป็นในการส่งเสริมการเติบโต
“เรายืนยันว่าต้องการให้กรีซคงอยู่ในยูโรโซน และเราเคารพในคำมั่นของกรีซ" กระนั้น แถลงการณ์ไม่ได้ระบุถึงมาตรการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อคลี่คลายวิกฤตเอเธนส์แต่อย่างใด
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปกติแล้วแถลงการณ์ จี8 จะไม่พาดพิงถึงประเทศเล็กๆ ประเทศเดียว จากแถลงการณ์ฉบับนี้จึงบ่งชี้ถึงความกังวลที่ว่า ความปั่นป่วนทางการเมืองอาจทำให้กรีซหลุดจากยูโรโซน นำมาซึ่งต้นทุนที่ประเมินค่าไม่ได้ต่อระบบการเงินและเสถียรภาพเศรษฐกิจโลก
เดือนนี้ประชาชนชาวกรีกล้มรัฐบาลที่เห็นชอบมาตรการรัดเข็มขัดอันเจ็บปวดเพื่อแลกกับแผนการช่วยเหลือของนานาชาติ และทำให้การเลือกตั้งครั้งหน้าในวันที่ 17 มิถุนายนยังเป็นอนาคตที่ไร้ความแน่นอน
ตลาดยังกังวลกับสถานการณ์ของสเปนไม่แพ้กัน หลังจากมีการเปิดเผยหนี้เสียก้อนโตในระบบการธนาคาร และรัฐบาลกำลังพยายามควบคุมงบประมาณพร้อมกับรับมือภาวะถดถอย
แมร์เคิลอยู่ในฐานะโดดเดี่ยวมากขึ้น หลังจากที่ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ คือ ฟรังซัวส์ ออลลองด์ ซึ่งมีแนวทางที่มุ่งเน้นการเติบโต แต่เธอก็พยายามคลี่คลายความไม่ลงรอยโดยกล่าวว่า การเข้มงวดทางการเงินและการเติบโตที่เข้มแข็ง ไม่อาจแยกจากกันและไม่ควรขัดแย้งกัน
ด้านโอบามาที่กดดันให้ยุโรปมุ่งเน้นมาตรการส่งเสริมการเติบโตและการจ้างงานมากกว่าการรัดเข็มขัด ใช้การแถลงปิดประชุมเตือนผู้นำยูโรโซนว่า เดิมพันครั้งนี้สูงและอาจมีราคาแพงมากหากล้มเหลว
จี8 ยังพยายามปกป้องการเติบโตของเศรษฐกิจโลกด้วยการประกาศติดตามตลาดน้ำมันอย่างใกล้ชิด และพร้อมเปิดคลังยุทธศาสตร์น้ำมันเพื่อเพิ่มซัปพลายหากจำเป็น เพราะแม้ราคาน้ำมันลดลง 10% ในเดือนที่ผ่านมา แต่ผลพวงจากการแซงก์ชันน้ำมันอิหร่านจะปรากฏให้เห็นกันเดือนหน้า
ต่อกรณีอิหร่านนั้น จี8 เพิ่มแรงกดดันเตหะรานเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ที่สงสัยกันว่ามีวัตถุประสงค์ทางทหารแอบแฝงอยู่ ด้วยการประกาศว่าจะดำเนินมาตรการลงโทษร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนั้น จี8 ยังจะพยายามดึงราคาน้ำมันลงหากจำเป็น ด้วยการเรียกร้องชัดเจนผิดปกติให้สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านพลังงานที่รับผิดชอบคลังน้ำมันสำรองของตะวันตก เตรียมพร้อมดำเนินการ ซึ่งหมายถึงการนำน้ำมันจากคลังสำรองฉุกเฉินออกมาใช้อย่างรวดเร็วในช่วงฤดูร้อนนี้ หากมาตรการแซงก์ชันใหม่ต่อเตหะรานทำให้ซัปพลายน้ำมันตึงตัว
เกี่ยวกับประเด็นการเมืองอื่นๆ ผู้นำ จี8 กล่าวยกย่องความพยายามสำคัญของประธานาธิบดีเต็งเส่ง และอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า ในการส่งเสริมการปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศนั้น
แถลงการณ์ฉบับนี้ออกมาหลังจากสหรัฐฯ ผ่อนคลายมาตรการลงโทษพม่าบางส่วน และแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำเป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี(17)ที่แล้ว
นอกจากนี้ แถลงการณ์จี8 ยังเรียกร้องให้ซีเรีย “เปลี่ยนผ่านทางการเมือง” สู่ระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรค และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 12,000 รายโดยประมาณ
ทั้งนี้ จี8 ประกอบด้วยอังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น รัสเซีย และอเมริกา
การประชุมสุดยอด 8 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหรือจี8 มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในการสร้างสมดุลระหว่างมาตรการรัดเข็มขัดที่ผลักดันโดยนายกรัฐมนตรีอังเงลา แมร์เคิลของเยอรมนี กับยาตำรับใหม่คือมาตรการกระตุ้นสไตล์อเมริกันที่สำคัญต่อการเยียวยาเศรษฐกิจยูโรโซน แต่ขณะเดียวกัน ความไม่ลงรอยยังคงปรากฏอยู่ชัดเจน
“เราให้คำมั่นในการดำเนินมาตรการทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมและฟื้นเศรษฐกิจ และต่อสู้กับแรงกดดันทางการเงิน โดยตระหนักว่ามาตรการที่เหมาะสมสำหรับแต่ละประเทศไม่ใช่มาตรการเดียวกัน” แถลงการณ์ร่วมจี 8 หลังการประชุมที่แคมป์เดวิด ใน มลรัฐแมริแลนด์ สหรัฐฯ วันเสารที่ผ่านมา (19) ระบุ
แถลงการณ์จากซัมมิตสะท้อนความกังวลของเจ้าภาพคือ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ว่าปัญหายูโรโซนอาจคุกคามอนาคตของระบบเงินสกุลเดียวแห่งยุโรป รวมทั้งกระทบต่อแผนการฟื้นตัวของอเมริกา และโอกาสในการได้รับเลือกสมัยสองของตนเอง
สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจของกรีซที่วุ่นวายอย่างยิ่งกลายเป็นวาระการหารือสำคัญ และกระตุ้นความกังวลเกี่ยวกับความไร้เสถียรภาพในสเปนและอิตาลี ทำให้ผู้นำจี8 ต้องพยายามทำให้สถานการณ์สงบลง
ในบรรทัดแรกของแถลงการณ์สุดท้ายว่าด้วยเศรษฐกิจ ผู้นำจี8 รับรองข้อเรียกร้องในการขยายเศรษฐกิจด้วย นอกเหนือจากการรัดเข็มขัด โดยระบุถึงความจำเป็นในการส่งเสริมการเติบโต
“เรายืนยันว่าต้องการให้กรีซคงอยู่ในยูโรโซน และเราเคารพในคำมั่นของกรีซ" กระนั้น แถลงการณ์ไม่ได้ระบุถึงมาตรการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อคลี่คลายวิกฤตเอเธนส์แต่อย่างใด
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปกติแล้วแถลงการณ์ จี8 จะไม่พาดพิงถึงประเทศเล็กๆ ประเทศเดียว จากแถลงการณ์ฉบับนี้จึงบ่งชี้ถึงความกังวลที่ว่า ความปั่นป่วนทางการเมืองอาจทำให้กรีซหลุดจากยูโรโซน นำมาซึ่งต้นทุนที่ประเมินค่าไม่ได้ต่อระบบการเงินและเสถียรภาพเศรษฐกิจโลก
เดือนนี้ประชาชนชาวกรีกล้มรัฐบาลที่เห็นชอบมาตรการรัดเข็มขัดอันเจ็บปวดเพื่อแลกกับแผนการช่วยเหลือของนานาชาติ และทำให้การเลือกตั้งครั้งหน้าในวันที่ 17 มิถุนายนยังเป็นอนาคตที่ไร้ความแน่นอน
ตลาดยังกังวลกับสถานการณ์ของสเปนไม่แพ้กัน หลังจากมีการเปิดเผยหนี้เสียก้อนโตในระบบการธนาคาร และรัฐบาลกำลังพยายามควบคุมงบประมาณพร้อมกับรับมือภาวะถดถอย
แมร์เคิลอยู่ในฐานะโดดเดี่ยวมากขึ้น หลังจากที่ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ คือ ฟรังซัวส์ ออลลองด์ ซึ่งมีแนวทางที่มุ่งเน้นการเติบโต แต่เธอก็พยายามคลี่คลายความไม่ลงรอยโดยกล่าวว่า การเข้มงวดทางการเงินและการเติบโตที่เข้มแข็ง ไม่อาจแยกจากกันและไม่ควรขัดแย้งกัน
ด้านโอบามาที่กดดันให้ยุโรปมุ่งเน้นมาตรการส่งเสริมการเติบโตและการจ้างงานมากกว่าการรัดเข็มขัด ใช้การแถลงปิดประชุมเตือนผู้นำยูโรโซนว่า เดิมพันครั้งนี้สูงและอาจมีราคาแพงมากหากล้มเหลว
จี8 ยังพยายามปกป้องการเติบโตของเศรษฐกิจโลกด้วยการประกาศติดตามตลาดน้ำมันอย่างใกล้ชิด และพร้อมเปิดคลังยุทธศาสตร์น้ำมันเพื่อเพิ่มซัปพลายหากจำเป็น เพราะแม้ราคาน้ำมันลดลง 10% ในเดือนที่ผ่านมา แต่ผลพวงจากการแซงก์ชันน้ำมันอิหร่านจะปรากฏให้เห็นกันเดือนหน้า
ต่อกรณีอิหร่านนั้น จี8 เพิ่มแรงกดดันเตหะรานเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ที่สงสัยกันว่ามีวัตถุประสงค์ทางทหารแอบแฝงอยู่ ด้วยการประกาศว่าจะดำเนินมาตรการลงโทษร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนั้น จี8 ยังจะพยายามดึงราคาน้ำมันลงหากจำเป็น ด้วยการเรียกร้องชัดเจนผิดปกติให้สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านพลังงานที่รับผิดชอบคลังน้ำมันสำรองของตะวันตก เตรียมพร้อมดำเนินการ ซึ่งหมายถึงการนำน้ำมันจากคลังสำรองฉุกเฉินออกมาใช้อย่างรวดเร็วในช่วงฤดูร้อนนี้ หากมาตรการแซงก์ชันใหม่ต่อเตหะรานทำให้ซัปพลายน้ำมันตึงตัว
เกี่ยวกับประเด็นการเมืองอื่นๆ ผู้นำ จี8 กล่าวยกย่องความพยายามสำคัญของประธานาธิบดีเต็งเส่ง และอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า ในการส่งเสริมการปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศนั้น
แถลงการณ์ฉบับนี้ออกมาหลังจากสหรัฐฯ ผ่อนคลายมาตรการลงโทษพม่าบางส่วน และแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำเป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี(17)ที่แล้ว
นอกจากนี้ แถลงการณ์จี8 ยังเรียกร้องให้ซีเรีย “เปลี่ยนผ่านทางการเมือง” สู่ระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรค และเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 12,000 รายโดยประมาณ
ทั้งนี้ จี8 ประกอบด้วยอังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น รัสเซีย และอเมริกา