เคแฟคเตอรีกวาดสินเชื่อไตรมาสแรกโต 92% รับอานิสงส์ธุรกิจซื้อเครื่องจักรทดแทนถูกน้ำท่วมเสียหาย คาดสิ้นปีได้ยอดสินเชื่อตามเป้า ขึ้นอันดับ 1 ในอีก 2 ปี
นายศาศวัต วีระปรีย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แฟคเตอรี แอนด์ อีควิปเมนท์ กสิกรไทย จำกัด (KF&E)เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรก ปี 2555 ผู้ประกอบการของไทยยังคงมีการนำเข้าเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ณ สิ้นไตรมาสแรก ปี 2555 บริษัทมียอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 8,600 ล้านบาท เติบโตจากสิ้นไตรมาสแรกปี 2554 ประมาณ 92% โดยกลุ่มที่มีอัตราเติบโตสูงสุด คือ กลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากลูกค้าได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ทำให้เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมได้รับความเสียหาย บริการลีสซิ่งเครื่องจักรจึงเป็นทางเลือกเพื่อฟื้นฟูธุรกิจ เพื่อนำไปซื้อเครื่องจักรใหม่ ทดแทนของเดิม
ขณะที่กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ (Corporate & Multi-Corporate)มีการลงทุนเพื่อขยายการผลิตเพิ่มขึ้น โดยมีการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดรวมสินเชื่อลีสซิ่งเครื่องจักรเติบโตกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2554
นอกจากนั้น บริษัทยังได้ขยายความร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้แทนจำหน่ายเครื่องจักร (Vendor) เพิ่มจาก 136 ราย เป็น 190 ราย ทำให้มียอดการแนะนำลูกค้าใหม่จากพันธมิตรเพิ่มขึ้นกว่า 50% โดยกว่า 80% เป็นกลุ่มลูกค้าขนาดย่อม (Small) อีก 20% เป็นกลุ่มลูกค้าขนาดกลาง (Medium)
สำหรับในปี 2555 นอกจากบริษัทจะรุกธุรกิจลีสซิ่งเครื่องจักรในประเทศแล้ว ยังได้เริ่มหาช่องทางในการขยายธุรกิจไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)โดยได้เริ่มเข้าไปสำรวจตลาดในประเทศลาว ซึ่งมีนักธุรกิจไทยเข้าไปดำเนินธุรกิจจำนวนมาก และคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีค่าแรงงานที่ต่ำกว่า และได้รับสัมปทานโครงการขนาดใหญ่ใหม่ๆในลาว โดยในช่วงปลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้สนับสนุนวงเงินสินเชื่อลีสซิ่งเครื่องจักรในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างแก่ผู้ประกอบการไทยที่มีการนำเครื่องจักรไปใช้ในโครงการที่ได้รับสัมปทานในลาว ส่งผลให้บริษัทมั่นใจได้ว่าสิ้นปีนี้จะสามารถทำยอดสินเชื่อได้ตามเป้าหมายที่ 10,000 ล้านบาท และพร้อมก้าวสู่ที่ 1 ในตลาดลีสซิ่งเครื่องจักรภายใน 2 ปีตามที่กำหนดไว้ได้อย่างแน่นอน
นายศาศวัต วีระปรีย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แฟคเตอรี แอนด์ อีควิปเมนท์ กสิกรไทย จำกัด (KF&E)เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรก ปี 2555 ผู้ประกอบการของไทยยังคงมีการนำเข้าเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ณ สิ้นไตรมาสแรก ปี 2555 บริษัทมียอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 8,600 ล้านบาท เติบโตจากสิ้นไตรมาสแรกปี 2554 ประมาณ 92% โดยกลุ่มที่มีอัตราเติบโตสูงสุด คือ กลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากลูกค้าได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ทำให้เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมได้รับความเสียหาย บริการลีสซิ่งเครื่องจักรจึงเป็นทางเลือกเพื่อฟื้นฟูธุรกิจ เพื่อนำไปซื้อเครื่องจักรใหม่ ทดแทนของเดิม
ขณะที่กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ (Corporate & Multi-Corporate)มีการลงทุนเพื่อขยายการผลิตเพิ่มขึ้น โดยมีการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดรวมสินเชื่อลีสซิ่งเครื่องจักรเติบโตกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2554
นอกจากนั้น บริษัทยังได้ขยายความร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้แทนจำหน่ายเครื่องจักร (Vendor) เพิ่มจาก 136 ราย เป็น 190 ราย ทำให้มียอดการแนะนำลูกค้าใหม่จากพันธมิตรเพิ่มขึ้นกว่า 50% โดยกว่า 80% เป็นกลุ่มลูกค้าขนาดย่อม (Small) อีก 20% เป็นกลุ่มลูกค้าขนาดกลาง (Medium)
สำหรับในปี 2555 นอกจากบริษัทจะรุกธุรกิจลีสซิ่งเครื่องจักรในประเทศแล้ว ยังได้เริ่มหาช่องทางในการขยายธุรกิจไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)โดยได้เริ่มเข้าไปสำรวจตลาดในประเทศลาว ซึ่งมีนักธุรกิจไทยเข้าไปดำเนินธุรกิจจำนวนมาก และคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีค่าแรงงานที่ต่ำกว่า และได้รับสัมปทานโครงการขนาดใหญ่ใหม่ๆในลาว โดยในช่วงปลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้สนับสนุนวงเงินสินเชื่อลีสซิ่งเครื่องจักรในกลุ่มรับเหมาก่อสร้างแก่ผู้ประกอบการไทยที่มีการนำเครื่องจักรไปใช้ในโครงการที่ได้รับสัมปทานในลาว ส่งผลให้บริษัทมั่นใจได้ว่าสิ้นปีนี้จะสามารถทำยอดสินเชื่อได้ตามเป้าหมายที่ 10,000 ล้านบาท และพร้อมก้าวสู่ที่ 1 ในตลาดลีสซิ่งเครื่องจักรภายใน 2 ปีตามที่กำหนดไว้ได้อย่างแน่นอน