เงินสนับสนุนจากรัฐเพื่อก่อสร้างคันกั้นน้ำถาวรรอบนิคมฯที่ประสบภาวะน้ำท่วมยังคงไร้วี่แววจะมาถึง ขณะที่เอกชนต้องควักเงินเองพร้อมดอกเบี้ยเพื่อฟื้นเชื่อมั่นหวังส.ค.เสร็จตามแผน ด้านก.อุตฯยอมรับเงิน 2 ใน 3 ยังควานหาวิธีเบิกจ่ายไม่ได้
นายวิทยา เลื่องลือยศ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การก่อสร้างคันกั้นน้ำถาวรเพื่อป้องกันน้ำท่วมของบริษัทฯและนิคมอุตสาหกรรมที่ประสบภาวะน้ำท่วมยังคงรอเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่ได้ประกาศไว้คือ 1 ส่วนจากเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารออมสิน และอีก 2 ใน3 เป็นเงินสนับสนุนให้เปล่าจากรัฐที่เงินดังกล่าวเบื้องต้นจะผ่านไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อจัดสรรให้
“ ผมคิดว่าทุกฝ่ายเองก็รอคำตอบอยู่เท่าที่ทราบก็ยังไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรแน่ ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งยังไม่มีราคากลางของการก่อสร้างคันกั้นน้ำที่มีการก่อสร้างหลายรูปแบบ ทั้งคอนกรีต ทั้งผสม ทำให้ราคาที่ออกมายังต้องดูแต่ละส่วนอีก”นายวิทยากล่าว
ปัจจุบันบริษัทได้ลงทุนจากเงินกู้ของบริษัทไปก่อนซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมแล้วนับ 100 ล้านบาท ซึ่งตามแผนบริษัทฯจะก่อสร้างคันกั้นน้ำถาวรเป็นระยะทาง 77.6 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาทซึ่งบริษัทได้จ้างบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นต์ (ITD)เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างเขื่อนขณะนี้ได้ดำเนินงานไปแล้วกว่า 20% และคาดว่าจะเสร็จตามกำหนดภายในส.ค. 55
“ถ้าดูตามแผนงานแล้วยอมรับว่าช้ากว่ากำหนดเพราะมีปัญหาขณะนี้ว่าคนงานรับเหมาก่อสร้างหายากมาก และอีกส่วนอุปกรณ์นำเข้าเพิ่งมาถึง ซึ่งหลังจากนี้เราจะพยายามเร่งเพื่อให้ทันตามแผนที่กำหนดไว้ที่จะเสร็จภายในส.ค.นี้เพื่อทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นมากขึ้น”นายวิทยากล่าว
นายณัฐพล ณัฐฏสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้นิคมฯสหรัตนนครยังคงไม่สามารถก่อสร้างคันกันน้ำได้เนื่องจากติดแผนฟื้นฟูทำให้ไม่มีเงินเป็นของตนเองเพื่อดำเนินการจึงต้องรอเงินจากภาครัฐเท่านั้น ขณะที่อื่นมีความคืบหน้าการก่อสร้างเช่น นิคมฯไอเทค เริ่มแล้ว 28%, นิคมฯ บางปะอิน 25%, สวนอุตสาหกรรมนวนคร 18% , สวนฯบางกะดี 15% และเขตประกอบการฯ โรจนะ 20%
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ยอมรับว่ากรณีการจัดสรรเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อนำสนับสนุนให้เอกชนสร้างคันกั้นน้ำถาวรรอบนิคมฯและเขตประกอบการทั้ง 6 แห่ง 2 ใน 3ของเงินลงทุนโดยผ่านกระทรวงอุตสาหกรรมหากพิจารณารายละเอียดคาดว่าการดำเนินงานจะไม่ง่ายเนื่องจากเมื่อผ่านระบบราชการแล้วเท่ากับจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออีอ๊อกชั่น แต่เอกชนได้ทำการจ้างผู้รับเหมาแล้วดำเนินการไปแล้ว
หากเป็นเช่นนี้ก็ต้องไปแก้ระเบียบที่ต้องใช้เวลาซึ่งขณะนี้ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งเห็นว่าการนำเงินผ่านออมสินไปทั้งหมดเลยน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า
นายวิทยา เลื่องลือยศ ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การก่อสร้างคันกั้นน้ำถาวรเพื่อป้องกันน้ำท่วมของบริษัทฯและนิคมอุตสาหกรรมที่ประสบภาวะน้ำท่วมยังคงรอเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่ได้ประกาศไว้คือ 1 ส่วนจากเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารออมสิน และอีก 2 ใน3 เป็นเงินสนับสนุนให้เปล่าจากรัฐที่เงินดังกล่าวเบื้องต้นจะผ่านไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อจัดสรรให้
“ ผมคิดว่าทุกฝ่ายเองก็รอคำตอบอยู่เท่าที่ทราบก็ยังไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรแน่ ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งยังไม่มีราคากลางของการก่อสร้างคันกั้นน้ำที่มีการก่อสร้างหลายรูปแบบ ทั้งคอนกรีต ทั้งผสม ทำให้ราคาที่ออกมายังต้องดูแต่ละส่วนอีก”นายวิทยากล่าว
ปัจจุบันบริษัทได้ลงทุนจากเงินกู้ของบริษัทไปก่อนซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมแล้วนับ 100 ล้านบาท ซึ่งตามแผนบริษัทฯจะก่อสร้างคันกั้นน้ำถาวรเป็นระยะทาง 77.6 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาทซึ่งบริษัทได้จ้างบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นต์ (ITD)เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างเขื่อนขณะนี้ได้ดำเนินงานไปแล้วกว่า 20% และคาดว่าจะเสร็จตามกำหนดภายในส.ค. 55
“ถ้าดูตามแผนงานแล้วยอมรับว่าช้ากว่ากำหนดเพราะมีปัญหาขณะนี้ว่าคนงานรับเหมาก่อสร้างหายากมาก และอีกส่วนอุปกรณ์นำเข้าเพิ่งมาถึง ซึ่งหลังจากนี้เราจะพยายามเร่งเพื่อให้ทันตามแผนที่กำหนดไว้ที่จะเสร็จภายในส.ค.นี้เพื่อทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นมากขึ้น”นายวิทยากล่าว
นายณัฐพล ณัฐฏสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้นิคมฯสหรัตนนครยังคงไม่สามารถก่อสร้างคันกันน้ำได้เนื่องจากติดแผนฟื้นฟูทำให้ไม่มีเงินเป็นของตนเองเพื่อดำเนินการจึงต้องรอเงินจากภาครัฐเท่านั้น ขณะที่อื่นมีความคืบหน้าการก่อสร้างเช่น นิคมฯไอเทค เริ่มแล้ว 28%, นิคมฯ บางปะอิน 25%, สวนอุตสาหกรรมนวนคร 18% , สวนฯบางกะดี 15% และเขตประกอบการฯ โรจนะ 20%
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ยอมรับว่ากรณีการจัดสรรเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเพื่อนำสนับสนุนให้เอกชนสร้างคันกั้นน้ำถาวรรอบนิคมฯและเขตประกอบการทั้ง 6 แห่ง 2 ใน 3ของเงินลงทุนโดยผ่านกระทรวงอุตสาหกรรมหากพิจารณารายละเอียดคาดว่าการดำเนินงานจะไม่ง่ายเนื่องจากเมื่อผ่านระบบราชการแล้วเท่ากับจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออีอ๊อกชั่น แต่เอกชนได้ทำการจ้างผู้รับเหมาแล้วดำเนินการไปแล้ว
หากเป็นเช่นนี้ก็ต้องไปแก้ระเบียบที่ต้องใช้เวลาซึ่งขณะนี้ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งเห็นว่าการนำเงินผ่านออมสินไปทั้งหมดเลยน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า