กรณีการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ วัย 61 ปี ที่ถูกศาลพิพากษาจำคุกในการกระทำความผิดหลายกระทง ความผิดต่างกรรมต่างวาระรวม 20 ปี โดยขบวนการแดงล้มเจ้า ใช้คำว่า “อากง” มาเรียกนำหน้าแทนชื่อนายอำพล ด้วยหวังผลให้สาธารณชนเข้าใจว่า นายอำพล เป็นคนแก่ ถูกรังแกจากกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นบทบัญญัติกฎหมายคุ้มครององค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
เมื่อนายอำพล เสียชีวิตลงในระหว่างคุมขังอยู่ในเรือนจำด้วยสาเหตุของโรคมะเร็งในตับขั้นสุดท้าย ขบวนการแดงล้มเจ้านอกจากอาศัยกรณีคดีของอากงมาเป็นเหตุผล และข้ออ้างในการรณรงค์ขอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว พวกเขายังได้บังอาจเอาศพที่ไร้วิญญาณของอากงมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อเคลื่อนไหว รณรงค์ ให้ผู้คนเข้าใจผิดในปัญหาข้อเท็จจริงแห่งคดี เพื่อประจานและโจมตีกระบวนการยุติธรรม ใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ หวังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย กระทบชิ่งถึงสถาบันสูงสุดอันเป็นที่เคารพของประชาชน ตามเป้าหมายทางการเมืองอันชั่วร้ายของพวกเขา
ปัญหาคือข้อเท็จจริงของเรื่องนี้เป็นอย่างไร และการเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการแดงล้มเจ้า มีสิทธิที่จะกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการที่รัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงผู้พิพากษา สำนักงานศาลยุติธรรม และศาลอาญาที่ยินยอมและปล่อยให้ขบวนการเหล่านี้แห่ศพผู้ตายซึ่งเป็นผู้ต้องโทษและถูกควบคุมในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นที่สุดแล้ว มาก่อเหตุชุมนุมกระทั่งจัดพิธีสวดศพบริเวณหน้าศาลสถิตยุติธรรม กระทั่งก่อปัญหาเดือดร้อนแก่ประชาชนที่สัญจรไปมาผ่านถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าศาลอาญาดังกล่าว ถือเป็นการสมควรและเป็นการละเมิดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ สังคมพึงได้พิจารณา
ข้อเท็จจริงกรณีของคดีหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเป็นคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี หรือ 15 ปี การกระทำความผิดของนายอำพล ตั้งนพกุล เป็นกรณีที่นายอำพลได้ส่งข้อความอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยังโทรศัพท์มือถือของบุคคลอื่น โดยมีการกระทำหลายกรรมต่างวาระ จึงเป็นความผิดหลายกระทงในการพิจารณาของศาล
นายอำพลมีทนายต่อสู้คดีเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมโดยชอบ และข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติ โดยพยานหลักฐานและข้ออ้าง ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น พยานหลักฐานโจทย์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ละกระทงความผิด รวมจำคุก 20 ปี นายอำพล ได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์ แต่ต่อมาได้ให้ทนายความถอนอุทธรณ์ เพื่อให้คดีถึงที่สุด และกำลังดำเนินการให้ทนายความประสานความร่วมมือไปยังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลของพวกเสื้อแดงเอง เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล ดังปรากฏตามจดหมายของนายอำพล ฉบับสุดท้ายที่เขียนถึงทนายความของตนก่อนตาย
กรณีของนายอำพล หรืออากง จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมกลั่นแกล้ง แต่เป็นเพราะนายอำพล หรืออากง เป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจริง จึงถูกศาลพิพากษาจำคุก การที่ขบวนการแดงล้มเจ้า อันประกอบไปด้วยกลุ่มนักวิชาการ ภายใต้ชื่อกลุ่มนิติราษฎร์ และบรรดาอาจารย์และบุคคลทั้งหลายที่ไปปรากฏตัวและเข้าร่วมขบวนการแห่ศพนายอำพล มาประจานและจัดกิจกรรมทางการเมืองตั้งศพสวดกลางถนนหน้าศาล จึงไม่มีเหตุผลและความชอบธรรมใดๆ ที่จะกระทำได้ อีกทั้งสาเหตุการตายของนายอำพล ก็มาจากการเจ็บไข้อันเป็นโรคประจำตัวร้ายแรง ที่เกิดกับนายอำพลมาก่อนที่จะถูกดำเนินคดี โดยผลการตรวจชันสูตรของเจ้าหน้าที่แพทย์และคณะกรรมการที่กรมราชทัณฑ์ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบ ก็ปรากฏว่านายอำพล หรืออากง ป่วยเป็นโรคมะเร็งขั้นสุดท้าย กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมรวมถึงศาลอาญา ซึ่งเป็นผู้พิจารณาคดีนี้ก็มิได้เป็นฆาตกร หรือผู้ฆ่า หรือผู้ทำให้นายอำพลถึงแก่ความตายแต่อย่างใด
การกล่าวอ้างของพวกนักวิชาการแดงล้มเจ้าว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ สมควรต้องแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเสีย จึงเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยและไร้เหตุผลสิ้นดี ไม่มีตรรกะหรือเหตุผลอันจะนำมาเป็นข้ออ้างในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวได้เลย เพราะความตายของนายอำพล มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลยกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม หากเกิดขึ้นเพราะความเจ็บป่วย หากจะอ้างว่าไม่ได้รับความสะดวกหรือความช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล ก็เป็นเรื่องของผู้ต้องโทษกับกรมราชทัณฑ์ ซึ่งจะว่าไปแล้วอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนปัจจุบัน ก็เป็นพวกของคนเสื้อแดงมิใช่หรือ
ผู้ถูกคุมขังคดีการเมืองที่เป็นพวกเสื้อแดงหลายคน ก็ได้รับการอนุเคราะห์เป็นพิเศษ จัดคุกติดแอร์ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขนให้แบบประทับใจมาแล้ว ข้ออ้างนี้ต้องไปว่ากล่าวเอากับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ มิใช่มาแห่ศพประจาน ประท้วงศาลและโจมตีกระบวนการยุติธรรม โดยพาดพิงกระทบชิ่งไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และเอามาเป็นข้ออ้างขอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แบบน้ำขุ่นๆ ถ้าอ้างแบบนี้ได้ นักโทษที่ตายในคุกในคดีอื่นๆ เช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าผู้อื่น และความผิดตามกฎหมายอาญาทั้งหมด ก็ต้องมาขอให้แก้กฎหมายที่ลงโทษตนให้จำคุกแล้วเสียชีวิตทั้งหมดทุกมาตรา ตามประมวลกฎหมายอาญา ประเทศนี้ก็ไม่ต้องมีกฎหมายบังคับกันอีกต่อไป
นอกจากข้อเท็จจริงในคดีและเหตุผลตามกฎหมายแล้ว ตัวนายอำพล หรืออากง รวมถึงภรรยาของเขา ก็เป็นบุคคลที่มีความคิด และพฤติกรรมทางการเมืองที่ฝักใฝ่ และเข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวแดงล้มเจ้า ดังปรากฏตามจดหมายของนายอำพล หรืออากง ที่เขียนถึงทนายความของตนเป็นฉบับสุดท้ายก่อนตาย ระบุว่าตนเป็นสมาชิกครอบครัว 112 ซึ่งหมายถึง เป็นสมาชิกผู้ชื่นชมและศรัทธาในการเข้าร่วมกระบวนการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมาอาญา มาตรา 112 และเป็นสมาชิกร่วมกับนักโทษหรือผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีอยู่หลายคนภายในเรือนจำ ส่วนภรรยาของนายอำพล หรืออากง ก็เคยเขียนจดหมายถึง ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหอกและแกนนำของกลุ่มนิติราษฎร์ ด้วยความชื่นชมศัรทธา ความคิดที่เธอแสดงออกผ่านจดหมายฉบับดังกล่าว เธอก็มีความคิดและฝักใฝ่ในอุดมการณ์ของแดงล้มเจ้าเช่นเดียวกัน
ความตายของนายอำพล หรืออากงหรือความผิดที่ต้องมารับโทษจำคุก จึงเกิดขึ้นเพราะกรรมและการกระทำของตนเองที่เต็มใจและสมัครใจที่จะเข้าร่วมกับขบวนการชั่วร้ายนี้ ไม่มีใครกลั่นแกล้งหรือยัดเยียดความผิดให้เขา เขาติดคุกและตายเพราะยอมเป็นเหยื่อ เป็นเครื่องมือให้กับขบวนการแดงล้มเจ้าด้วยตัวเขาเอง ใครก็ตามที่มาชูป้ายถามว่าใครทำให้อากงตาย อยากรู้จริงก็จงตามอากงไปถามยมบาลเอาเองก็แล้วกัน
เมื่อนายอำพล เสียชีวิตลงในระหว่างคุมขังอยู่ในเรือนจำด้วยสาเหตุของโรคมะเร็งในตับขั้นสุดท้าย ขบวนการแดงล้มเจ้านอกจากอาศัยกรณีคดีของอากงมาเป็นเหตุผล และข้ออ้างในการรณรงค์ขอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว พวกเขายังได้บังอาจเอาศพที่ไร้วิญญาณของอากงมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อเคลื่อนไหว รณรงค์ ให้ผู้คนเข้าใจผิดในปัญหาข้อเท็จจริงแห่งคดี เพื่อประจานและโจมตีกระบวนการยุติธรรม ใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ หวังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย กระทบชิ่งถึงสถาบันสูงสุดอันเป็นที่เคารพของประชาชน ตามเป้าหมายทางการเมืองอันชั่วร้ายของพวกเขา
ปัญหาคือข้อเท็จจริงของเรื่องนี้เป็นอย่างไร และการเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการแดงล้มเจ้า มีสิทธิที่จะกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการที่รัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงผู้พิพากษา สำนักงานศาลยุติธรรม และศาลอาญาที่ยินยอมและปล่อยให้ขบวนการเหล่านี้แห่ศพผู้ตายซึ่งเป็นผู้ต้องโทษและถูกควบคุมในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นที่สุดแล้ว มาก่อเหตุชุมนุมกระทั่งจัดพิธีสวดศพบริเวณหน้าศาลสถิตยุติธรรม กระทั่งก่อปัญหาเดือดร้อนแก่ประชาชนที่สัญจรไปมาผ่านถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าศาลอาญาดังกล่าว ถือเป็นการสมควรและเป็นการละเมิดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญ สังคมพึงได้พิจารณา
ข้อเท็จจริงกรณีของคดีหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเป็นคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี หรือ 15 ปี การกระทำความผิดของนายอำพล ตั้งนพกุล เป็นกรณีที่นายอำพลได้ส่งข้อความอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยังโทรศัพท์มือถือของบุคคลอื่น โดยมีการกระทำหลายกรรมต่างวาระ จึงเป็นความผิดหลายกระทงในการพิจารณาของศาล
นายอำพลมีทนายต่อสู้คดีเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมโดยชอบ และข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติ โดยพยานหลักฐานและข้ออ้าง ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น พยานหลักฐานโจทย์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ละกระทงความผิด รวมจำคุก 20 ปี นายอำพล ได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลอุทธรณ์ แต่ต่อมาได้ให้ทนายความถอนอุทธรณ์ เพื่อให้คดีถึงที่สุด และกำลังดำเนินการให้ทนายความประสานความร่วมมือไปยังรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลของพวกเสื้อแดงเอง เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล ดังปรากฏตามจดหมายของนายอำพล ฉบับสุดท้ายที่เขียนถึงทนายความของตนก่อนตาย
กรณีของนายอำพล หรืออากง จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมกลั่นแกล้ง แต่เป็นเพราะนายอำพล หรืออากง เป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจริง จึงถูกศาลพิพากษาจำคุก การที่ขบวนการแดงล้มเจ้า อันประกอบไปด้วยกลุ่มนักวิชาการ ภายใต้ชื่อกลุ่มนิติราษฎร์ และบรรดาอาจารย์และบุคคลทั้งหลายที่ไปปรากฏตัวและเข้าร่วมขบวนการแห่ศพนายอำพล มาประจานและจัดกิจกรรมทางการเมืองตั้งศพสวดกลางถนนหน้าศาล จึงไม่มีเหตุผลและความชอบธรรมใดๆ ที่จะกระทำได้ อีกทั้งสาเหตุการตายของนายอำพล ก็มาจากการเจ็บไข้อันเป็นโรคประจำตัวร้ายแรง ที่เกิดกับนายอำพลมาก่อนที่จะถูกดำเนินคดี โดยผลการตรวจชันสูตรของเจ้าหน้าที่แพทย์และคณะกรรมการที่กรมราชทัณฑ์ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบ ก็ปรากฏว่านายอำพล หรืออากง ป่วยเป็นโรคมะเร็งขั้นสุดท้าย กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมรวมถึงศาลอาญา ซึ่งเป็นผู้พิจารณาคดีนี้ก็มิได้เป็นฆาตกร หรือผู้ฆ่า หรือผู้ทำให้นายอำพลถึงแก่ความตายแต่อย่างใด
การกล่าวอ้างของพวกนักวิชาการแดงล้มเจ้าว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ สมควรต้องแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเสีย จึงเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยและไร้เหตุผลสิ้นดี ไม่มีตรรกะหรือเหตุผลอันจะนำมาเป็นข้ออ้างในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวได้เลย เพราะความตายของนายอำพล มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรเลยกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม หากเกิดขึ้นเพราะความเจ็บป่วย หากจะอ้างว่าไม่ได้รับความสะดวกหรือความช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล ก็เป็นเรื่องของผู้ต้องโทษกับกรมราชทัณฑ์ ซึ่งจะว่าไปแล้วอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนปัจจุบัน ก็เป็นพวกของคนเสื้อแดงมิใช่หรือ
ผู้ถูกคุมขังคดีการเมืองที่เป็นพวกเสื้อแดงหลายคน ก็ได้รับการอนุเคราะห์เป็นพิเศษ จัดคุกติดแอร์ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขนให้แบบประทับใจมาแล้ว ข้ออ้างนี้ต้องไปว่ากล่าวเอากับอธิบดีกรมราชทัณฑ์ มิใช่มาแห่ศพประจาน ประท้วงศาลและโจมตีกระบวนการยุติธรรม โดยพาดพิงกระทบชิ่งไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และเอามาเป็นข้ออ้างขอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แบบน้ำขุ่นๆ ถ้าอ้างแบบนี้ได้ นักโทษที่ตายในคุกในคดีอื่นๆ เช่น ลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าผู้อื่น และความผิดตามกฎหมายอาญาทั้งหมด ก็ต้องมาขอให้แก้กฎหมายที่ลงโทษตนให้จำคุกแล้วเสียชีวิตทั้งหมดทุกมาตรา ตามประมวลกฎหมายอาญา ประเทศนี้ก็ไม่ต้องมีกฎหมายบังคับกันอีกต่อไป
นอกจากข้อเท็จจริงในคดีและเหตุผลตามกฎหมายแล้ว ตัวนายอำพล หรืออากง รวมถึงภรรยาของเขา ก็เป็นบุคคลที่มีความคิด และพฤติกรรมทางการเมืองที่ฝักใฝ่ และเข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวแดงล้มเจ้า ดังปรากฏตามจดหมายของนายอำพล หรืออากง ที่เขียนถึงทนายความของตนเป็นฉบับสุดท้ายก่อนตาย ระบุว่าตนเป็นสมาชิกครอบครัว 112 ซึ่งหมายถึง เป็นสมาชิกผู้ชื่นชมและศรัทธาในการเข้าร่วมกระบวนการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมาอาญา มาตรา 112 และเป็นสมาชิกร่วมกับนักโทษหรือผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีอยู่หลายคนภายในเรือนจำ ส่วนภรรยาของนายอำพล หรืออากง ก็เคยเขียนจดหมายถึง ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหอกและแกนนำของกลุ่มนิติราษฎร์ ด้วยความชื่นชมศัรทธา ความคิดที่เธอแสดงออกผ่านจดหมายฉบับดังกล่าว เธอก็มีความคิดและฝักใฝ่ในอุดมการณ์ของแดงล้มเจ้าเช่นเดียวกัน
ความตายของนายอำพล หรืออากงหรือความผิดที่ต้องมารับโทษจำคุก จึงเกิดขึ้นเพราะกรรมและการกระทำของตนเองที่เต็มใจและสมัครใจที่จะเข้าร่วมกับขบวนการชั่วร้ายนี้ ไม่มีใครกลั่นแกล้งหรือยัดเยียดความผิดให้เขา เขาติดคุกและตายเพราะยอมเป็นเหยื่อ เป็นเครื่องมือให้กับขบวนการแดงล้มเจ้าด้วยตัวเขาเอง ใครก็ตามที่มาชูป้ายถามว่าใครทำให้อากงตาย อยากรู้จริงก็จงตามอากงไปถามยมบาลเอาเองก็แล้วกัน