โดย : ดร.สุวินัย ภรณวลัย
www.dragon-press.com
*เวลากับความแก่*
การเปลี่ยนความแตกแยกไปสู่ความเป็นเอกภาพ, การเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่สันติ คือ จุดหมายของวิถีแห่งจิตวิญญาณทั้งปวง แม้ว่าโลกทัศน์ของควอนตัมในแง่ที่เป็นสมการ และข้อสมมติจะไม่ใช่เรื่องของจิตวิญญาณก็จริง แต่การค้นพบของเหล่าอัจฉริยะทางด้านควอนตัม ฟิสิกส์ ทั้งหลาย โดยเฉพาะ เออร์วิน ชโรดิงเจอร์ (1887-1961) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1933 จากทฤษฎีกลศาสตร์ของคลื่น ได้สรุปความเชื่อตลอดชีวิตของเขาว่า “จักรวาลเองเป็นจิตที่มีชีวิต”
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากการพิสูจน์เรื่องจิตวิญญาณของตัวเราเอง มักนำตัวเราไปสู่ริมขอบของจิตวิญญาณในความหมายที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมแล้วไซร้ แบบแผนใหม่ หรือข้อสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับความจริงที่เรากำลังนำเสนอผู้อ่านอยู่นี้ ก็น่าจะช่วยให้เราก้าวข้ามเส้นแบ่งที่ครั้งหนึ่ง เคยแบ่งแยกจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณออกจากกันในเชิงโลกทัศน์ได้อย่างแท้จริง คนเราทุกคนล้วนอาศัยอยู่ในโลกแห่งภววิสัยเดียวกันก็จริง ผู้ที่ยังมีจิตแบ่งแยกจะมองดูแค่ตัวเองในโลก แต่ผู้ที่มีจิตแบบบูรณาการจะมองดูโลกในตัวของเขาเองด้วย ความคลาดเคลื่อนการรับรู้เพียงเล็กน้อยนี้แหละ ที่ก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิด และกับดักทางความคิดที่พันธนาการผู้ที่มีจิตแบ่งแยกเอาไว้
(8) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่แปด
“เวลาไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์ ความเป็นจริงที่เป็นรากฐานของสรรพสิ่งเป็นนิรันดร์ และสิ่งที่เราเรียกว่า เวลามีค่าเป็นอนันต์”
ความเป็นจริงของจักรวาลก็คือ จักรวาลถือกำเนิดขึ้น และกำลังวิวัฒน์อยู่ เมื่อจักรวาลก่อตัวขึ้นจึงปรากฏ เวลา และพื้นที่หรืออวกาศ (space) ก่อนการเกิดบิ๊กแบงนั้น เวลาและอวกาศมิได้ดำรงอยู่ในสภาพที่เรารู้จัก จริงๆ แล้ว จักรวาลมาจากแหล่งที่มาที่ “ไร้กาลเวลา”
แต่สิ่งที่คนเรารับรู้ว่าเป็น “เวลา” เช่น เป็นวินาที นาที ชั่วโมง วันและปีนั้น แท้ที่จริงก็คือ เศษเสี้ยวเล็กๆ ที่ตัดออกมาจากความเป็นจริงที่ใหญ่กว่านี้ โดยที่มันขึ้นกับตัวเราเองที่เป็นผู้รับรู้ ในการตัดแบ่งการไร้เวลาออกเป็นแบบใดก็ได้ตามใจชอบ ด้วยเหตุนี้เอง จิตสำนึกของคนเราจึงรังสรรค์เวลาตามประสบการณ์ คนที่มีประสบการณ์ต่อเวลาในแบบที่เป็นสินค้าหายาก จึงมักทรมานจาก “โรคเวลา” (time sickness) ที่ทำให้ผู้นั้นหายใจไม่ออก และหวาดวิตกซึ่งส่งผลให้ร่างกายแปลเป็นการเต้นของหัวใจที่เร็วหรือผิดปกติจังหวะ การย่อยอาหารที่ผิดเพี้ยน นอนไม่หลับ และความดันโลหิตสูง สิ่งนี้ต่างไปโดยสิ้นเชิงกับคนที่ถือว่าตัวเองมีเวลาทั้งหมดเหลือเฟือในโลก กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ร่างกายของคนเราจะมีปฏิกิริยาแตกต่างกันไป ตามประสบการณ์ที่คนผู้นั้นมีต่อเวลา ซึ่งไม่เหมือนกันในแต่ละคน
หากความสนใจของผู้นั้นมักอยู่ที่อดีตหรืออนาคต ผู้นั้นก็จะอยู่ใน “สนามของเวลา” ซึ่งเป็นการสร้างความแก่ แต่ถ้าหากผู้นั้นมีชีวิตที่มุ่งอยู่กับปัจจุบันขณะ โดยที่อดีตและอนาคตไม่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตในชั่วขณะนั้น ในห้วงยามนั้นที่ไม่มีทั้งอดีต และอนาคตนี้แหละที่เป็นห้วงยามที่ผู้นั้น “ไม่แก่” หรือเป็นประสบการณ์ที่ดีปัก โชปรา เรียกว่า ประสบการณ์ของร่างกายที่เหนืออายุขัย และจิตใจที่ไร้กาลเวลา (ageless body timeless mind)
การที่คนเราสามารถแยกแยะด้วยความเป็นจริงที่ไม่ถูกผูกมัดจากเวลา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ไม่เช่นนั้นคนเราจะไม่มีทางพ้นจากการเสื่อมถอยที่เวลานำมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ คนเราสามารถเรียนรู้ที่จะนำจิตสำนึกของตนไปสู่ปริมณฑลของการไร้เวลาได้ตามเจตจำนงด้วยการนั่งสมาธิเจริญภาวนา เพราะการนั่งสมาธิเป็นวิธีการขั้นสูงในการควบคุมประสบการณ์นี้ ในการนั่งสมาธินั้น หากผู้นั้นภาวนาจนอยู่ในภาวะของ “สมาธิ” ได้ จิตใจของผู้นั้น จะถูกดึงกลับไปสู่แหล่งกำเนิด ในทำนองเดียวกับที่จักรวาลซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ มีแหล่งกำเนิดที่อยู่เหนือการเปลี่ยนแปลง
การเข้าถึงภาวะของ “สมาธิ” เช่นนี้ได้ จึงเป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่ลึกซึ้งของผู้นั้น เพราะนั่นเป็นสภาวะของการไร้กาลเวลา หรือการอยู่เหนือจิตสำนึก ความเต็ม ความมั่นคง ความสุขสงบจะเข้ามาแทนที่ ความฟุ้ง ความสูญเสีย ความเสื่อมถอย ผู้นั้นจะรู้สึกว่า การไร้ขีดจำกัดดำรงอยู่ทุกแห่งหน และนั่นทำให้กระบวนการแก่ของผู้นั้นช้าลง
(9) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่เก้า
“เราทุกคนอาศัยอยู่ในความเป็นจริงของความไม่เปลี่ยนแปลงที่อยู่นอกเหนือการเปลี่ยนแปลงทั้งปวง ประสบการณ์ของความเป็นจริงนี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ภายใต้การควบคุมของเรา”
เนื่องจากเวลาผูกเข้ากับจิตสำนึก หากเราต้องการเคลื่อนย้ายจาก จิตสำนึกที่มีพันธะของเวลา ไปสู่ จิตสำนึกที่ไร้กาลเวลา เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะ ไม่ยึดติดกับแรงกดดันของเวลา จนกระทั่ง เราสามารถไปถึง ภาวะที่จัดกระบวนการของเวลาใหม่ได้ ด้วยการใช้ “จิตสำนึกแห่งการเลือก” ในการดำรงชีวิตเพื่อหลุดพ้นจากการครอบงำของเวลาให้จงได้ แต่การจะทำเช่นนั้นได้ ตัวเราจะต้อง เจริญสติภาวนา จนสามารถเข้าถึง “ความจริงแท้” ของตัวเราซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในตัวเรา และเป็นแก่นกลางที่ลึกที่สุดของการดำรงอยู่ของตัวเรา ซึ่งในทางธรรมเรียกว่า “จิตผู้รู้” อันเป็นสนามแห่งความไม่เปลี่ยนแปลงที่รังสรรค์บุคลิกภาพ อีโก้ และร่างกายของเราให้ได้บ่อยๆ อยู่เสมอ
(10) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่สิบ
“เราไม่ใช่เหยื่อของความแก่ ความเจ็บป่วย และความตาย สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ทั้งหมด มิใช่ตัวตนที่แท้จริงของเราซึ่งเป็น “ผู้รู้” หรือ “ผู้ดู” (the seer) ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ว่ารูปแบบใด”
หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงร่างกายเพื่อการชะลอวัย ก่อนอื่นเราต้องเปลี่ยนจิตสำนึกก่อน ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดกับตัวเอาคือผลของการที่ตัวเรามองตัวเองอย่างไร ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของความแก่ของมนุษย์มีลักษณะพิเศษคือ ความสิ้นหวัง ความหวาดกลัวการแก่ จึงมักอยู่คู่กับอัตราการเกิดโรคที่เพิ่มขึ้นสูง กับการที่ความชราภาพในหมู่ผู้สูงวัยที่มักปรากฏออกมาให้เห็นเป็นความเกรี้ยวกราด และความคาดหวังที่จะทำให้ตัวเองพอใจ แต่มักไม่ค่อยสมหวังเอาเสียเลย
วัยชราจึงกลายเป็นห้วงเวลาของการเสื่อมถอย และสูญเสียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งเป็นห้วงเวลาของการอ่อนแอของร่างกายและจิตใจด้วย เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะตัวเราไปยอมรับข้อสันนิษฐานเก่าที่บอกว่า มนุษย์ต้องแก่ โดยที่ตัวเราไม่เคยคิดท้าทายข้อสันนิษฐานเก่านี้เลยแม้แต่น้อย ต่อเมื่อเราสามารถเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของเราให้หันมาน้อมรับข้อสันนิษฐานใหม่ และโลกทัศน์ใหม่ได้นั่นแหละ ถึงจะมีความเป็นไปได้ที่เราจะสามารถ “ชะลอวัย”ได้
โลกทัศน์เป็นเพียงวิธีจัดเรียงพลังงานที่ไม่มีขีดจำกัดของจักรวาลให้เข้าสู่ระบบที่มีความหมาย ความแก่อาจมีความหมายในโลกทัศน์เก่าที่มองว่า สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลง เสื่อมถอย และดับสูญ แต่ความแก่จะมีความหมายน้อยลงมากในโลกทัศน์แบบควอนตัม ซึ่งเป็นโลกแห่งกระแสที่ไม่สิ้นสุดของเชาวน์ปัญญาแห่งจักรวาลที่สร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งปรากฏอยู่รอบตัวเราทั้งหมด
คุณสามารถเลือกที่จะมองดูดอกกุหลาบที่บานแล้วเหี่ยวเฉาด้วยโลกทัศน์เก่าก็ได้ หรือคุณจะเลือกมองดูดอกกุหลาบในแบบที่เป็นคลื่นของชีวิตที่ไม่มีวันสิ้นสุดแบบโลกทัศน์ใหม่อย่างโลกทัศน์แบบควอนตัมก็ย่อมได้ เพราะถึงยังไง ในปีหน้ากุหลาบก็จะงอกขึ้นมาใหม่จากเมล็ดของกุหลาบต้นนี้อยู่ดี
เมื่อโลกทัศน์ของเราเปลี่ยนไปเป็นโลกทัศน์ใหม่ แม้ว่ารูปภายนอกทางกายภาพของเราเป็นของแข็ง แต่ร่างกายของเราจะเหมือนสายน้ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราสามารถมีประสบการณ์เกี่ยวกับตนเองดุจเป็นกระแส หรือสายธารแห่งพลังงานที่ดำรงอยู่อย่างผ่อนคลาย ไม่เหนื่อยแรงและไม่อ่อนล้าได้อยู่เสมอในชีวิตประจำวันของเรา การที่จะทำเช่นนั้นได้ เราจะต้อง เปลี่ยนการแปลความหมายของร่างกายเราใหม่ในเชิงปฏิบัติ ให้ได้เสียก่อน
www.dragon-press.com
*เวลากับความแก่*
การเปลี่ยนความแตกแยกไปสู่ความเป็นเอกภาพ, การเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่สันติ คือ จุดหมายของวิถีแห่งจิตวิญญาณทั้งปวง แม้ว่าโลกทัศน์ของควอนตัมในแง่ที่เป็นสมการ และข้อสมมติจะไม่ใช่เรื่องของจิตวิญญาณก็จริง แต่การค้นพบของเหล่าอัจฉริยะทางด้านควอนตัม ฟิสิกส์ ทั้งหลาย โดยเฉพาะ เออร์วิน ชโรดิงเจอร์ (1887-1961) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรียผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1933 จากทฤษฎีกลศาสตร์ของคลื่น ได้สรุปความเชื่อตลอดชีวิตของเขาว่า “จักรวาลเองเป็นจิตที่มีชีวิต”
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากการพิสูจน์เรื่องจิตวิญญาณของตัวเราเอง มักนำตัวเราไปสู่ริมขอบของจิตวิญญาณในความหมายที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมแล้วไซร้ แบบแผนใหม่ หรือข้อสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับความจริงที่เรากำลังนำเสนอผู้อ่านอยู่นี้ ก็น่าจะช่วยให้เราก้าวข้ามเส้นแบ่งที่ครั้งหนึ่ง เคยแบ่งแยกจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณออกจากกันในเชิงโลกทัศน์ได้อย่างแท้จริง คนเราทุกคนล้วนอาศัยอยู่ในโลกแห่งภววิสัยเดียวกันก็จริง ผู้ที่ยังมีจิตแบ่งแยกจะมองดูแค่ตัวเองในโลก แต่ผู้ที่มีจิตแบบบูรณาการจะมองดูโลกในตัวของเขาเองด้วย ความคลาดเคลื่อนการรับรู้เพียงเล็กน้อยนี้แหละ ที่ก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิด และกับดักทางความคิดที่พันธนาการผู้ที่มีจิตแบ่งแยกเอาไว้
(8) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่แปด
“เวลาไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์ ความเป็นจริงที่เป็นรากฐานของสรรพสิ่งเป็นนิรันดร์ และสิ่งที่เราเรียกว่า เวลามีค่าเป็นอนันต์”
ความเป็นจริงของจักรวาลก็คือ จักรวาลถือกำเนิดขึ้น และกำลังวิวัฒน์อยู่ เมื่อจักรวาลก่อตัวขึ้นจึงปรากฏ เวลา และพื้นที่หรืออวกาศ (space) ก่อนการเกิดบิ๊กแบงนั้น เวลาและอวกาศมิได้ดำรงอยู่ในสภาพที่เรารู้จัก จริงๆ แล้ว จักรวาลมาจากแหล่งที่มาที่ “ไร้กาลเวลา”
แต่สิ่งที่คนเรารับรู้ว่าเป็น “เวลา” เช่น เป็นวินาที นาที ชั่วโมง วันและปีนั้น แท้ที่จริงก็คือ เศษเสี้ยวเล็กๆ ที่ตัดออกมาจากความเป็นจริงที่ใหญ่กว่านี้ โดยที่มันขึ้นกับตัวเราเองที่เป็นผู้รับรู้ ในการตัดแบ่งการไร้เวลาออกเป็นแบบใดก็ได้ตามใจชอบ ด้วยเหตุนี้เอง จิตสำนึกของคนเราจึงรังสรรค์เวลาตามประสบการณ์ คนที่มีประสบการณ์ต่อเวลาในแบบที่เป็นสินค้าหายาก จึงมักทรมานจาก “โรคเวลา” (time sickness) ที่ทำให้ผู้นั้นหายใจไม่ออก และหวาดวิตกซึ่งส่งผลให้ร่างกายแปลเป็นการเต้นของหัวใจที่เร็วหรือผิดปกติจังหวะ การย่อยอาหารที่ผิดเพี้ยน นอนไม่หลับ และความดันโลหิตสูง สิ่งนี้ต่างไปโดยสิ้นเชิงกับคนที่ถือว่าตัวเองมีเวลาทั้งหมดเหลือเฟือในโลก กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ร่างกายของคนเราจะมีปฏิกิริยาแตกต่างกันไป ตามประสบการณ์ที่คนผู้นั้นมีต่อเวลา ซึ่งไม่เหมือนกันในแต่ละคน
หากความสนใจของผู้นั้นมักอยู่ที่อดีตหรืออนาคต ผู้นั้นก็จะอยู่ใน “สนามของเวลา” ซึ่งเป็นการสร้างความแก่ แต่ถ้าหากผู้นั้นมีชีวิตที่มุ่งอยู่กับปัจจุบันขณะ โดยที่อดีตและอนาคตไม่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตในชั่วขณะนั้น ในห้วงยามนั้นที่ไม่มีทั้งอดีต และอนาคตนี้แหละที่เป็นห้วงยามที่ผู้นั้น “ไม่แก่” หรือเป็นประสบการณ์ที่ดีปัก โชปรา เรียกว่า ประสบการณ์ของร่างกายที่เหนืออายุขัย และจิตใจที่ไร้กาลเวลา (ageless body timeless mind)
การที่คนเราสามารถแยกแยะด้วยความเป็นจริงที่ไม่ถูกผูกมัดจากเวลา จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ไม่เช่นนั้นคนเราจะไม่มีทางพ้นจากการเสื่อมถอยที่เวลานำมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ คนเราสามารถเรียนรู้ที่จะนำจิตสำนึกของตนไปสู่ปริมณฑลของการไร้เวลาได้ตามเจตจำนงด้วยการนั่งสมาธิเจริญภาวนา เพราะการนั่งสมาธิเป็นวิธีการขั้นสูงในการควบคุมประสบการณ์นี้ ในการนั่งสมาธินั้น หากผู้นั้นภาวนาจนอยู่ในภาวะของ “สมาธิ” ได้ จิตใจของผู้นั้น จะถูกดึงกลับไปสู่แหล่งกำเนิด ในทำนองเดียวกับที่จักรวาลซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ มีแหล่งกำเนิดที่อยู่เหนือการเปลี่ยนแปลง
การเข้าถึงภาวะของ “สมาธิ” เช่นนี้ได้ จึงเป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่ลึกซึ้งของผู้นั้น เพราะนั่นเป็นสภาวะของการไร้กาลเวลา หรือการอยู่เหนือจิตสำนึก ความเต็ม ความมั่นคง ความสุขสงบจะเข้ามาแทนที่ ความฟุ้ง ความสูญเสีย ความเสื่อมถอย ผู้นั้นจะรู้สึกว่า การไร้ขีดจำกัดดำรงอยู่ทุกแห่งหน และนั่นทำให้กระบวนการแก่ของผู้นั้นช้าลง
(9) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่เก้า
“เราทุกคนอาศัยอยู่ในความเป็นจริงของความไม่เปลี่ยนแปลงที่อยู่นอกเหนือการเปลี่ยนแปลงทั้งปวง ประสบการณ์ของความเป็นจริงนี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ภายใต้การควบคุมของเรา”
เนื่องจากเวลาผูกเข้ากับจิตสำนึก หากเราต้องการเคลื่อนย้ายจาก จิตสำนึกที่มีพันธะของเวลา ไปสู่ จิตสำนึกที่ไร้กาลเวลา เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะ ไม่ยึดติดกับแรงกดดันของเวลา จนกระทั่ง เราสามารถไปถึง ภาวะที่จัดกระบวนการของเวลาใหม่ได้ ด้วยการใช้ “จิตสำนึกแห่งการเลือก” ในการดำรงชีวิตเพื่อหลุดพ้นจากการครอบงำของเวลาให้จงได้ แต่การจะทำเช่นนั้นได้ ตัวเราจะต้อง เจริญสติภาวนา จนสามารถเข้าถึง “ความจริงแท้” ของตัวเราซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในตัวเรา และเป็นแก่นกลางที่ลึกที่สุดของการดำรงอยู่ของตัวเรา ซึ่งในทางธรรมเรียกว่า “จิตผู้รู้” อันเป็นสนามแห่งความไม่เปลี่ยนแปลงที่รังสรรค์บุคลิกภาพ อีโก้ และร่างกายของเราให้ได้บ่อยๆ อยู่เสมอ
(10) ข้อสันนิษฐานใหม่ ประการที่สิบ
“เราไม่ใช่เหยื่อของความแก่ ความเจ็บป่วย และความตาย สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ทั้งหมด มิใช่ตัวตนที่แท้จริงของเราซึ่งเป็น “ผู้รู้” หรือ “ผู้ดู” (the seer) ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ว่ารูปแบบใด”
หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงร่างกายเพื่อการชะลอวัย ก่อนอื่นเราต้องเปลี่ยนจิตสำนึกก่อน ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เกิดกับตัวเอาคือผลของการที่ตัวเรามองตัวเองอย่างไร ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของความแก่ของมนุษย์มีลักษณะพิเศษคือ ความสิ้นหวัง ความหวาดกลัวการแก่ จึงมักอยู่คู่กับอัตราการเกิดโรคที่เพิ่มขึ้นสูง กับการที่ความชราภาพในหมู่ผู้สูงวัยที่มักปรากฏออกมาให้เห็นเป็นความเกรี้ยวกราด และความคาดหวังที่จะทำให้ตัวเองพอใจ แต่มักไม่ค่อยสมหวังเอาเสียเลย
วัยชราจึงกลายเป็นห้วงเวลาของการเสื่อมถอย และสูญเสียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งเป็นห้วงเวลาของการอ่อนแอของร่างกายและจิตใจด้วย เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะตัวเราไปยอมรับข้อสันนิษฐานเก่าที่บอกว่า มนุษย์ต้องแก่ โดยที่ตัวเราไม่เคยคิดท้าทายข้อสันนิษฐานเก่านี้เลยแม้แต่น้อย ต่อเมื่อเราสามารถเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของเราให้หันมาน้อมรับข้อสันนิษฐานใหม่ และโลกทัศน์ใหม่ได้นั่นแหละ ถึงจะมีความเป็นไปได้ที่เราจะสามารถ “ชะลอวัย”ได้
โลกทัศน์เป็นเพียงวิธีจัดเรียงพลังงานที่ไม่มีขีดจำกัดของจักรวาลให้เข้าสู่ระบบที่มีความหมาย ความแก่อาจมีความหมายในโลกทัศน์เก่าที่มองว่า สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลง เสื่อมถอย และดับสูญ แต่ความแก่จะมีความหมายน้อยลงมากในโลกทัศน์แบบควอนตัม ซึ่งเป็นโลกแห่งกระแสที่ไม่สิ้นสุดของเชาวน์ปัญญาแห่งจักรวาลที่สร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งปรากฏอยู่รอบตัวเราทั้งหมด
คุณสามารถเลือกที่จะมองดูดอกกุหลาบที่บานแล้วเหี่ยวเฉาด้วยโลกทัศน์เก่าก็ได้ หรือคุณจะเลือกมองดูดอกกุหลาบในแบบที่เป็นคลื่นของชีวิตที่ไม่มีวันสิ้นสุดแบบโลกทัศน์ใหม่อย่างโลกทัศน์แบบควอนตัมก็ย่อมได้ เพราะถึงยังไง ในปีหน้ากุหลาบก็จะงอกขึ้นมาใหม่จากเมล็ดของกุหลาบต้นนี้อยู่ดี
เมื่อโลกทัศน์ของเราเปลี่ยนไปเป็นโลกทัศน์ใหม่ แม้ว่ารูปภายนอกทางกายภาพของเราเป็นของแข็ง แต่ร่างกายของเราจะเหมือนสายน้ำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเราสามารถมีประสบการณ์เกี่ยวกับตนเองดุจเป็นกระแส หรือสายธารแห่งพลังงานที่ดำรงอยู่อย่างผ่อนคลาย ไม่เหนื่อยแรงและไม่อ่อนล้าได้อยู่เสมอในชีวิตประจำวันของเรา การที่จะทำเช่นนั้นได้ เราจะต้อง เปลี่ยนการแปลความหมายของร่างกายเราใหม่ในเชิงปฏิบัติ ให้ได้เสียก่อน