**การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยาวนานมาเป็นวันที่ 11 ตามใบสั่งทางไกล ที่กดปุ่มให้ครม.ขยายเวลาสมัยประชุมสภาออกไปโดยไม่มีกำหนด มีเรื่องที่น่าพิเคราะห์ด้วยกัน 5 ฝ่าย ผ่านปรากฏการณ์นี้ คือ
การทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมของ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา พรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาล และ สื่อมวลชน
เริ่มจากการทำหน้าที่ของ ประธานรัฐสภา “สมศักดิ์” หรือบุคคลที่ทำหน้าที่ประธานตามที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แดกดันผ่านการเรียกขาน ระหว่างการอภิปราย และถึงขั้นน๊อตหลุด ทนไม่ได้กับความเผด็จการ รวบรัดตัดสินตามธงของรัฐบาล ด้วการทำความเคารพในเชิงประชดว่า "ไฮ ฮิตเลอร์"
เป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏเป็นข่าว เพราะเกิดขึ้นในช่วงดึกก่อนการลงมติ มาตรา 291/6 แต่บ่งบอกพฤติกรรมตลอด 9 เดือนของ สมศักดิ์ เจ้าของวลี “อำนาจประธาน ถือเป็นที่สุด จะผิดจะถูกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง” หรือ พูดภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ว่า “ถึงกูผิด มึงก็ต้องฟังกู” นั่นแหละ
**ดังนั้นสมญานาม "ไฮ ฮิตเลอร์" จึงอธิบายความเป็น “ค้อนปลอมตราดูไบ” ได้เป็นอย่างดี
ส่วน พล.อ.ธีรเดช ก็ต้องขอยืมคำของ รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ที่ว่า "ท่านประธานไม่แข็ง" นอกจากไม่แข็งแล้ว บางทียังกะเดียดไปทางหน่อมแน้ม ขาดดุลพินิจที่ดีในการตัดสินปัญหา จึงทำให้ทุกครั้งที่ พล.อ.ธีรเดช ขึ้นทำหน้าที่ จะเกิดความปั่นป่วนที่ยากต่อการควบคุม เพราะการประท้วงโดยไม่มีเหตุผลตลอดเวลา เรียกว่า เป็นนาทีทองของ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ไชยศีรษะ
สำหรับการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา ก็เห็นได้ชัดเจนถึงการแบ่งขั้ว ฝ่ายหนึ่งเข้าข้างรัฐบาลโดยไม่ต้องมีเหตุผลรองรับ พร้อมยกมือเป็นฝักถั่ว ไม่ต่างจากที่วุฒิสภายุคหนึ่งเคยได้รับฉายาว่า “สภาทาส” ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงความเข้มแข็งในการรักษาความถูกต้องอย่างสม่ำเสมอคือ “กลุ่ม 40 ส.ว.” ที่ยังทำหน้าที่คุ้มกับเงินเดือนจากภาษีประชาชน
การยืนหยัดต่อสู้ในฐานะเสียงข้างน้อย ที่ต้องบอกว่า ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ แบบไฟต์บังคับไปโดยปริยาย คู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านพรรคเดียวในขณะนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็น ภูมิใจไทย รักประเทศไทย รักษ์สันติ มิได้ทำหน้าที่ของตนในการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล เพราะเป็นพรรค รอร่วมรัฐบาลเท่านั้น
รัฐธรรมนูญที่กำลังจะคลอดออกมานั้น ไม่ต่างอะไรจาก รัฐธรรมนูญฮิตเลอร์ เพราะมีความเร่งรีบ รวบอำนาจผ่านการใช้เสียงข้างมากที่ไม่ฟังเหตุผลเสียงข้างน้อยตามหลักการประชาธิปไตย ไม่แตกต่างจากการใช้เผด็จการรัฐสภาให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฮิตเลอร์
เมื่อเห็นชัดว่า มีสมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมากอยู่ในอารมณ์หื่นโหวตให้ข่มขืนรัฐธรรมนูญ ให้เอาลูกไปฆ่าแม่ แม้จะไม่ชอบธรรม ไม่ถูกกฎหมาย แต่ก็ยังเดินหน้า โดยไม่สนใจความชอบธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น แล้วจะให้เสียงข้างน้อยที่เขาไม่เห็นด้วย ส่งเจลหล่อลื่นให้ไอ้พวกหื่น ลงแขกรัฐธรรมนูญง่ายขึ้น คล่องขึ้น ก็คงเป็นไปไม่ได้
**สำหรับฝ่ายรัฐบาล คนที่ต้องตำหนิอย่างรุนแรงคือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หนูไม่รู้ ที่ไม่เคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขกติกาสูงสุดของบ้านเมือง ทั้งที่เป็นนโยบายของรัฐบาล และร่างที่พิจารณา ก็เป็นของครม. ที่เสนอต่อที่ประชุมรัฐสภา
ท่าทีของ ยิ่งลักษณ์ สะท้อนชัดว่า ไม่ใช่นักการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย ที่ต้องให้ความเคารพต่อกลไกรัฐสภา หากเป็นแค่ทายาทการเมืองที่ทำตามใบสั่งพี่ชายเท่านั้น ส่วนลูกสมุน ลิ่วล้อ ทั้งหลายไม่ต้องพูดถึง เดินหน้าหาธงที่ปักไว้ลูกเดียว
ที่ต้องตำหนิไม่แพ้กัน คือ การทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน ในยามที่อุดมการณ์อ่อนแรง คุณภาพอ่อนล้า ก็ถือเป็นคราวเคราะห์ของประเทศ เพราะสื่อไม่ทำการบ้าน ขาดความรู้เท่าทันต่อสถานการณ์ ไร้อุดมการณ์ที่จะต่อสู้เพื่อรักษาหลักการของบ้านเมือง ดำรงตนเป็นเพียงแค่ผู้สังเกตการณ์ และบุรุษไปรษณีย์
**ที่สำคัญคือ ให้พื้นที่กับสวะมากกว่าจะแหวกกอสวะ สื่อสารให้ประชาชนเห็นว่าน้ำมันขุ่น หรือใส เขาจะได้ตัดสินใจว่า สมควรตัดมากิน มาใช้ หรือไม่
การขาดความมุ่งมั่นในการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกติกาสูงสุด กระทบโดยตรงกับโครงสร้างการบริหารประเทศ และสิทธิประชาชน ทำให้สื่อจำนวนไม่น้อยกลายเป็นแนวร่วมมุมกลับให้รัฐบาลย่ำยีรัฐธรรมนูญตามอำเภอใจ เพียงเพราะอยากเลิกงานเร็ว เบื่อการยืดเยื้อ โดยไม่ดูเนื้อหา ว่าที่เขาโต้แย้งกันนั้น ฝ่ายใดมีเหตุผล ทำเพื่อรักษาหลักการของบ้านเมือง
เลวร้ายกว่านั้นคือ เนื้อหาที่จะกระทบเป็นวงกว้างต่อโครงสร้างประเทศนี้ กลับได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนน้อยกว่าการประท้วงโหลยโท่ย ของ “จ่าประสาท” จับประเด็น "ปากตลาด ปากหมา" มาสื่อสารเป็นประเด็นหลัก
**ทำให้คุณค่าของหนังสือพิมพ์หลายฉบับยามนี้ ไม่แตกต่างอะไรจากกระดาษเปื้อนหมึก
การทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมของ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา พรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาล และ สื่อมวลชน
เริ่มจากการทำหน้าที่ของ ประธานรัฐสภา “สมศักดิ์” หรือบุคคลที่ทำหน้าที่ประธานตามที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แดกดันผ่านการเรียกขาน ระหว่างการอภิปราย และถึงขั้นน๊อตหลุด ทนไม่ได้กับความเผด็จการ รวบรัดตัดสินตามธงของรัฐบาล ด้วการทำความเคารพในเชิงประชดว่า "ไฮ ฮิตเลอร์"
เป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏเป็นข่าว เพราะเกิดขึ้นในช่วงดึกก่อนการลงมติ มาตรา 291/6 แต่บ่งบอกพฤติกรรมตลอด 9 เดือนของ สมศักดิ์ เจ้าของวลี “อำนาจประธาน ถือเป็นที่สุด จะผิดจะถูกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง” หรือ พูดภาษาชาวบ้านง่าย ๆ ว่า “ถึงกูผิด มึงก็ต้องฟังกู” นั่นแหละ
**ดังนั้นสมญานาม "ไฮ ฮิตเลอร์" จึงอธิบายความเป็น “ค้อนปลอมตราดูไบ” ได้เป็นอย่างดี
ส่วน พล.อ.ธีรเดช ก็ต้องขอยืมคำของ รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ที่ว่า "ท่านประธานไม่แข็ง" นอกจากไม่แข็งแล้ว บางทียังกะเดียดไปทางหน่อมแน้ม ขาดดุลพินิจที่ดีในการตัดสินปัญหา จึงทำให้ทุกครั้งที่ พล.อ.ธีรเดช ขึ้นทำหน้าที่ จะเกิดความปั่นป่วนที่ยากต่อการควบคุม เพราะการประท้วงโดยไม่มีเหตุผลตลอดเวลา เรียกว่า เป็นนาทีทองของ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ไชยศีรษะ
สำหรับการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา ก็เห็นได้ชัดเจนถึงการแบ่งขั้ว ฝ่ายหนึ่งเข้าข้างรัฐบาลโดยไม่ต้องมีเหตุผลรองรับ พร้อมยกมือเป็นฝักถั่ว ไม่ต่างจากที่วุฒิสภายุคหนึ่งเคยได้รับฉายาว่า “สภาทาส” ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงความเข้มแข็งในการรักษาความถูกต้องอย่างสม่ำเสมอคือ “กลุ่ม 40 ส.ว.” ที่ยังทำหน้าที่คุ้มกับเงินเดือนจากภาษีประชาชน
การยืนหยัดต่อสู้ในฐานะเสียงข้างน้อย ที่ต้องบอกว่า ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ แบบไฟต์บังคับไปโดยปริยาย คู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านพรรคเดียวในขณะนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็น ภูมิใจไทย รักประเทศไทย รักษ์สันติ มิได้ทำหน้าที่ของตนในการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล เพราะเป็นพรรค รอร่วมรัฐบาลเท่านั้น
รัฐธรรมนูญที่กำลังจะคลอดออกมานั้น ไม่ต่างอะไรจาก รัฐธรรมนูญฮิตเลอร์ เพราะมีความเร่งรีบ รวบอำนาจผ่านการใช้เสียงข้างมากที่ไม่ฟังเหตุผลเสียงข้างน้อยตามหลักการประชาธิปไตย ไม่แตกต่างจากการใช้เผด็จการรัฐสภาให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฮิตเลอร์
เมื่อเห็นชัดว่า มีสมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมากอยู่ในอารมณ์หื่นโหวตให้ข่มขืนรัฐธรรมนูญ ให้เอาลูกไปฆ่าแม่ แม้จะไม่ชอบธรรม ไม่ถูกกฎหมาย แต่ก็ยังเดินหน้า โดยไม่สนใจความชอบธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น แล้วจะให้เสียงข้างน้อยที่เขาไม่เห็นด้วย ส่งเจลหล่อลื่นให้ไอ้พวกหื่น ลงแขกรัฐธรรมนูญง่ายขึ้น คล่องขึ้น ก็คงเป็นไปไม่ได้
**สำหรับฝ่ายรัฐบาล คนที่ต้องตำหนิอย่างรุนแรงคือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หนูไม่รู้ ที่ไม่เคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขกติกาสูงสุดของบ้านเมือง ทั้งที่เป็นนโยบายของรัฐบาล และร่างที่พิจารณา ก็เป็นของครม. ที่เสนอต่อที่ประชุมรัฐสภา
ท่าทีของ ยิ่งลักษณ์ สะท้อนชัดว่า ไม่ใช่นักการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย ที่ต้องให้ความเคารพต่อกลไกรัฐสภา หากเป็นแค่ทายาทการเมืองที่ทำตามใบสั่งพี่ชายเท่านั้น ส่วนลูกสมุน ลิ่วล้อ ทั้งหลายไม่ต้องพูดถึง เดินหน้าหาธงที่ปักไว้ลูกเดียว
ที่ต้องตำหนิไม่แพ้กัน คือ การทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน ในยามที่อุดมการณ์อ่อนแรง คุณภาพอ่อนล้า ก็ถือเป็นคราวเคราะห์ของประเทศ เพราะสื่อไม่ทำการบ้าน ขาดความรู้เท่าทันต่อสถานการณ์ ไร้อุดมการณ์ที่จะต่อสู้เพื่อรักษาหลักการของบ้านเมือง ดำรงตนเป็นเพียงแค่ผู้สังเกตการณ์ และบุรุษไปรษณีย์
**ที่สำคัญคือ ให้พื้นที่กับสวะมากกว่าจะแหวกกอสวะ สื่อสารให้ประชาชนเห็นว่าน้ำมันขุ่น หรือใส เขาจะได้ตัดสินใจว่า สมควรตัดมากิน มาใช้ หรือไม่
การขาดความมุ่งมั่นในการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกติกาสูงสุด กระทบโดยตรงกับโครงสร้างการบริหารประเทศ และสิทธิประชาชน ทำให้สื่อจำนวนไม่น้อยกลายเป็นแนวร่วมมุมกลับให้รัฐบาลย่ำยีรัฐธรรมนูญตามอำเภอใจ เพียงเพราะอยากเลิกงานเร็ว เบื่อการยืดเยื้อ โดยไม่ดูเนื้อหา ว่าที่เขาโต้แย้งกันนั้น ฝ่ายใดมีเหตุผล ทำเพื่อรักษาหลักการของบ้านเมือง
เลวร้ายกว่านั้นคือ เนื้อหาที่จะกระทบเป็นวงกว้างต่อโครงสร้างประเทศนี้ กลับได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนน้อยกว่าการประท้วงโหลยโท่ย ของ “จ่าประสาท” จับประเด็น "ปากตลาด ปากหมา" มาสื่อสารเป็นประเด็นหลัก
**ทำให้คุณค่าของหนังสือพิมพ์หลายฉบับยามนี้ ไม่แตกต่างอะไรจากกระดาษเปื้อนหมึก