“เดอะ เอชทีพีฯ” รุกธุรกิจสร้างลาดจอดรถไฮเทครับที่ดินในเมืองแพง เจรจาค่ายบิ๊กอสังหาฯศึกษาและพัฒนารูปแบบลาดจอดรถแยกกับคอนโดฯ หวังสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่โครงการ เร่งเครื่องเจาะ 5 กระทรวงใหญ่ภาครัฐ คาดภายในปีงบประมาณ 56 รู้ผลชัด ลั่นยอดขายปี 55 ได้ 100 ล้านบาท ปี 57 กระโดดเป็น 1,000 ล้านบาท
นายจรัส อารยะชัย นายกสมาคมลานจอดรถไฮเทค (ประเทศไทย) ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ เอชทีพี กรุ๊ป จำกัด และบริษัทในเครือ กล่าวถึงแผนการขยายธุรกิจเกี่ยวกับลานจอดรถไฮเทคสำเร็จรูป ว่า ในปีนี้ ทางบริษัทฯจะเข้าไปเสนอบริการแก่หน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้น โดยมีการเสนอโครงการไปยังหน่วยงานราชาการ ที่มีข้อจำกัดการให้บริการการจอดรถแก่ข้าราชการและประชาชนที่มาใช้บริการ อาทิเช่น กระทรวงคมนาคม , กระทรวงศึกษาธิการ , การทรวงคลัง ,กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย คาดว่า จะรู้ผลชัดเจนเกี่ยวกับงบประมาณที่แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณ 56 (ต.ค.55- ก.ย.56)
ขณะเดียวกัน ทางบริษัทฯกำลังเจรจากับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ เช่น บริษัทพฤกษา เรียลเอสเตทฯ , บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ฯ บริษัท ศุภาลัยฯ และกับทางกรุงเทพมหานคร ที่จะเสนอบริการเกี่ยวกับลานจอดรถไฮเทคให้แก่โครงการและลูกค้าได้ใช้บริการ อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่โครงการคอนโดมิเนียม โดยหากสามารถแยกที่จอดรถออกมาจากอาคารชุดได้ มูลค่าโครงการจะสูงขึ้น ขณะที่ผู้อยู่อาศัยก็ยังได้ที่จอดรถตามเดิม หรืออาจจะลงทุนซื้อที่จอดรถ เพื่อรับผลประโยชน์ในรูปของค่าเช่าอีกทางหนึ่ง
" ที่ประเทศไต้หวัน หรือ ที่ญี่ปุ่น การให้บริการเกี่ยวกับลานจอดรถไฮเทคมีมาหลายสิบปีแล้ว เนื่องจากที่ดินค่อนข้างแพง ทำให้ธุรกิจดังกล่าวเป็นที่นิยมและเติบโต ขณะที่ของประเทศไทย ยังอาจจะเป็นเรื่องใหม่ แต่ก็คิดว่าไม่นาน อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจดังกล่าวนั้น เราไม่ได้มีปัญหาอะไร ยกเว้นเรื่องลิฟท์ ที่บริษัทฯได้เสนอไปยังกรมโยธิการและผังเมือง ในการออกเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับธุรกิจลาดจอดรถ เนื่องจากกฎหมายเดิมมีข้อกำหนดไว้ว่า ลิฟท์ 1 ตัว ที่ขนคนและรถต้องไม่เกิน 30 คัน จะขอปรับเป็น ลิฟท์ 1 ตัวที่ขนคนและรถได้ 50 คัน รวมถึงต้องมี 2 ลิฟท์ นั้น ให้เป็นแค่ 1 ลิฟท์ คาดว่าเร็วๆนี้ จะสามารถออกเป็นพรบ.ได้ และจะสอดคล้องกับต้นทุนที่ขายขาดให้แก่ลูกค้าที่ 2-4 แสนบาท แล้วแต่ทำเล " นายจรัส กล่าว
สำหรับแนวโน้มของธุรกิจในปี 55 นั้น นายจรัส ระบุว่า ได้เปิดบริษัทมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 8 ปี ซึ่งธุรกิจของบริษัทเริ่มมาจากไม่มีอะไร จนขณะนี้ มีลูกค้ามาใช้บริการจำนวนมาก
“เราคิดว่าในปี 55 ยอดขายที่ 100 ล้านบาท สามารถทำได้ โดย เลข ณ สิ้นเดือนเม.ย.มียอดขายไปแล้ว 50 ล้านบาท ส่วนในปี 56 น่าจะมียอดขายอยู่ที่ 500 ล้านบาท และปี 57 อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท ”
นายจรัส อารยะชัย นายกสมาคมลานจอดรถไฮเทค (ประเทศไทย) ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ เอชทีพี กรุ๊ป จำกัด และบริษัทในเครือ กล่าวถึงแผนการขยายธุรกิจเกี่ยวกับลานจอดรถไฮเทคสำเร็จรูป ว่า ในปีนี้ ทางบริษัทฯจะเข้าไปเสนอบริการแก่หน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้น โดยมีการเสนอโครงการไปยังหน่วยงานราชาการ ที่มีข้อจำกัดการให้บริการการจอดรถแก่ข้าราชการและประชาชนที่มาใช้บริการ อาทิเช่น กระทรวงคมนาคม , กระทรวงศึกษาธิการ , การทรวงคลัง ,กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย คาดว่า จะรู้ผลชัดเจนเกี่ยวกับงบประมาณที่แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณ 56 (ต.ค.55- ก.ย.56)
ขณะเดียวกัน ทางบริษัทฯกำลังเจรจากับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ เช่น บริษัทพฤกษา เรียลเอสเตทฯ , บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ฯ บริษัท ศุภาลัยฯ และกับทางกรุงเทพมหานคร ที่จะเสนอบริการเกี่ยวกับลานจอดรถไฮเทคให้แก่โครงการและลูกค้าได้ใช้บริการ อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่โครงการคอนโดมิเนียม โดยหากสามารถแยกที่จอดรถออกมาจากอาคารชุดได้ มูลค่าโครงการจะสูงขึ้น ขณะที่ผู้อยู่อาศัยก็ยังได้ที่จอดรถตามเดิม หรืออาจจะลงทุนซื้อที่จอดรถ เพื่อรับผลประโยชน์ในรูปของค่าเช่าอีกทางหนึ่ง
" ที่ประเทศไต้หวัน หรือ ที่ญี่ปุ่น การให้บริการเกี่ยวกับลานจอดรถไฮเทคมีมาหลายสิบปีแล้ว เนื่องจากที่ดินค่อนข้างแพง ทำให้ธุรกิจดังกล่าวเป็นที่นิยมและเติบโต ขณะที่ของประเทศไทย ยังอาจจะเป็นเรื่องใหม่ แต่ก็คิดว่าไม่นาน อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจดังกล่าวนั้น เราไม่ได้มีปัญหาอะไร ยกเว้นเรื่องลิฟท์ ที่บริษัทฯได้เสนอไปยังกรมโยธิการและผังเมือง ในการออกเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับธุรกิจลาดจอดรถ เนื่องจากกฎหมายเดิมมีข้อกำหนดไว้ว่า ลิฟท์ 1 ตัว ที่ขนคนและรถต้องไม่เกิน 30 คัน จะขอปรับเป็น ลิฟท์ 1 ตัวที่ขนคนและรถได้ 50 คัน รวมถึงต้องมี 2 ลิฟท์ นั้น ให้เป็นแค่ 1 ลิฟท์ คาดว่าเร็วๆนี้ จะสามารถออกเป็นพรบ.ได้ และจะสอดคล้องกับต้นทุนที่ขายขาดให้แก่ลูกค้าที่ 2-4 แสนบาท แล้วแต่ทำเล " นายจรัส กล่าว
สำหรับแนวโน้มของธุรกิจในปี 55 นั้น นายจรัส ระบุว่า ได้เปิดบริษัทมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 8 ปี ซึ่งธุรกิจของบริษัทเริ่มมาจากไม่มีอะไร จนขณะนี้ มีลูกค้ามาใช้บริการจำนวนมาก
“เราคิดว่าในปี 55 ยอดขายที่ 100 ล้านบาท สามารถทำได้ โดย เลข ณ สิ้นเดือนเม.ย.มียอดขายไปแล้ว 50 ล้านบาท ส่วนในปี 56 น่าจะมียอดขายอยู่ที่ 500 ล้านบาท และปี 57 อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท ”