ผมทราบดีว่าประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก ซึ่งอยู่ภายในโครงสร้างขององค์การยูเนสโก และผมก็ทราบดีอยู่แล้วว่า ประเทศไทยมีมรดกโลกทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรม 5 แห่ง ได้แก่ สุโขทัย อยุธยา ห้วยขาแข้ง บ้านเชียง และเขาใหญ่ การจะเป็นมรดกโลกได้หรือไม่ได้จะต้องมีองค์ประกอบ หลักการและเหตุผลหลายประการ รวมทั้งการตัดสินว่าสถานที่ใดๆ จะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกจะต้องผ่านการกลั่นกรองจาก “อีโคโมสสากล” ศูนย์มรดกโลกนำเสนอเข้าระเบียบวาระการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศทำการตัดสิน ขึ้นทะเบียน ส่งแผนบริหารจัดการและอนุมัติให้เป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์ในที่สุด
คณะกรรมการมรดกโลกดำเนินงานตามอนุสัญญาและมีกฎระเบียบที่ละเอียดละออต่อการคัดเลือกสถานที่ในการเสนอขึ้นทะเบียน ที่สำคัญที่เป็นหัวใจของมรดกโลกก็คือ สถานที่ที่จะนำขึ้นสู่การพิจารณา สถานที่นั้นๆ จะต้องอยู่ภายใต้อธิปไตยและดินแดนของประเทศภาคีสมาชิกที่ร้องขอ มีคุณค่าเข้าเกณฑ์ของคณะกรรมการมรดกโลกตามข้อต่างๆ และไม่มีประเทศภาคีสมาชิกใดที่โต้แย้งการนำเสนอ
กรณีปราสาทพระวิหาร นับเป็นการผิดพลาดครั้งสำคัญของคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 32 ที่ควิเบก ประเทศแคนนาดา คณะกรรมการมรดกโลกชุดนี้ได้พิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกเฉพาะตัวอาคารหรือเฉพาะตัวปราสาท อันเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎเกณฑ์ของตนเอง เพราะปราสาทพระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมที่ประกอบไปด้วยภูมิสถาปัตย์ อาคารแต่ละหลังถูกเชื่อมโยงด้วยพื้นที่โดยรอบ จากหน้าผาที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาทขึ้นไปทางทิศเหนือที่ตีนบันไดสิงห์ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารต้องขึ้นด้วยเกณฑ์หลายข้อ แต่คณะกรรมการกับฉ้อฉลถือว่าตนเองมีอำนาจพิจารณาจึงขึ้นทะเบียนเฉพะตัวปราสาทและมีการเขียนถ้อยคำว่า “ไม่รวมหน้าผา ชะง่อนผาและเพิงผาทั้งหลาย” นั่นก็เป็นเพราะพื้นที่เหล่านี้เป็นของไทยแต่เพื่อเอาใจภาคีสมาชิกกัมพูชาจึงให้ขึ้นทะเบียนไว้ก่อน แล้วคณะกรรมการก็เขียนต่อไปว่าให้ไทยร่วมเป็นสมาชิกในรูปของคณะกรรมการ 7 ชาติ ภายใต้องค์กรพระวิหาร โดยเลียนแบบมาจากการจัดตั้งคณะกรรมการนครวัดซึ่งมีองค์กรอัปสราเป็นแบบอย่างของการบริหารการจัดการที่ประสบผลสำเร็จ
คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ได้กระทำการผิดต่ออนุสัญญาการคุ้มครองมรดกโลกทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมฯ ไม่สนใจว่าการตัดสินขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเฉพาะตัวปราสาทนั้น จะส่งผลเสียมาจนถึงปัจจุบันนี้เพราะพื้นที่โดยรอบตัวปราสาทเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย การพิจารณาครั้งนั้นจึงเป็นการเอาใจภาคีสมาชิกกัมพูชาโดยหลงลืมภาคีสมาชิกที่จงรักภักดีอย่างประเทศไทยไป
การขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้ทำให้เกิดปัญหากันระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ในเวลาต่อมามีการปะทะกันและเกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน กัมพูชาใช้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นบังเกอร์โดยไม่คิดห่วงว่าตัวปราสาทจะได้รับความเสียหาย กัมพูชาส่งรายงานว่าทหารไทยเข้ารุกรานอธิปไตยของกัมพูชาในบริเวณพื้นที่รอบตัวปราสาท นำเสนอไปถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ฟ้องอาเซียนและแม้แต่การกล่าวหาว่าไทยใช้คลัสเตอร์บอม ซึ่งฝ่ายไทยปฏิเสธสิ่งที่กัมพูชาได้รายงานออกไป คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33-35 ยังคงดำเนินการที่จะพิจารณาแผนบริหารการจัดการอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการประชุมครั้งที่ 35 ณ กรุงปารีส คณะกรรมการได้ดำเนินการเกลี่ยกล่อมให้ฝ่ายไทยยอมรับแผนบริหารการจัดการ แต่ฝ่ายไทยไม่ยอมรับและลาออกจากภาคีสมาชิกในที่สุด
ผู้อำนายการใหญ่ขององค์การยูเนสโก ส่งหนังสือด่วนมายังนายกรัฐมนตรีของไทยโกหกอย่างหน้าด้านๆ ว่าคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีวาระการประชุมเรื่องแผนบริหารการจัดการ การโกหกครั้งนั้นของผู้อำนวยการใหญ่ทำให้นายกรัฐมนตรีของไทยหลงเชื่อและไม่ยอมรับการลาออกของคุณสุวิทย์ คุณกิตติในฐานะตัวแทนฝ่ายไทยและได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีดำเนินการแทนนายกรัฐมนตรีได้ (อ่านต่อสัปดาห์หน้า)
คณะกรรมการมรดกโลกดำเนินงานตามอนุสัญญาและมีกฎระเบียบที่ละเอียดละออต่อการคัดเลือกสถานที่ในการเสนอขึ้นทะเบียน ที่สำคัญที่เป็นหัวใจของมรดกโลกก็คือ สถานที่ที่จะนำขึ้นสู่การพิจารณา สถานที่นั้นๆ จะต้องอยู่ภายใต้อธิปไตยและดินแดนของประเทศภาคีสมาชิกที่ร้องขอ มีคุณค่าเข้าเกณฑ์ของคณะกรรมการมรดกโลกตามข้อต่างๆ และไม่มีประเทศภาคีสมาชิกใดที่โต้แย้งการนำเสนอ
กรณีปราสาทพระวิหาร นับเป็นการผิดพลาดครั้งสำคัญของคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ 32 ที่ควิเบก ประเทศแคนนาดา คณะกรรมการมรดกโลกชุดนี้ได้พิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกเฉพาะตัวอาคารหรือเฉพาะตัวปราสาท อันเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎเกณฑ์ของตนเอง เพราะปราสาทพระวิหารเป็นสถาปัตยกรรมที่ประกอบไปด้วยภูมิสถาปัตย์ อาคารแต่ละหลังถูกเชื่อมโยงด้วยพื้นที่โดยรอบ จากหน้าผาที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาทขึ้นไปทางทิศเหนือที่ตีนบันไดสิงห์ การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารต้องขึ้นด้วยเกณฑ์หลายข้อ แต่คณะกรรมการกับฉ้อฉลถือว่าตนเองมีอำนาจพิจารณาจึงขึ้นทะเบียนเฉพะตัวปราสาทและมีการเขียนถ้อยคำว่า “ไม่รวมหน้าผา ชะง่อนผาและเพิงผาทั้งหลาย” นั่นก็เป็นเพราะพื้นที่เหล่านี้เป็นของไทยแต่เพื่อเอาใจภาคีสมาชิกกัมพูชาจึงให้ขึ้นทะเบียนไว้ก่อน แล้วคณะกรรมการก็เขียนต่อไปว่าให้ไทยร่วมเป็นสมาชิกในรูปของคณะกรรมการ 7 ชาติ ภายใต้องค์กรพระวิหาร โดยเลียนแบบมาจากการจัดตั้งคณะกรรมการนครวัดซึ่งมีองค์กรอัปสราเป็นแบบอย่างของการบริหารการจัดการที่ประสบผลสำเร็จ
คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ได้กระทำการผิดต่ออนุสัญญาการคุ้มครองมรดกโลกทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรมฯ ไม่สนใจว่าการตัดสินขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเฉพาะตัวปราสาทนั้น จะส่งผลเสียมาจนถึงปัจจุบันนี้เพราะพื้นที่โดยรอบตัวปราสาทเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย การพิจารณาครั้งนั้นจึงเป็นการเอาใจภาคีสมาชิกกัมพูชาโดยหลงลืมภาคีสมาชิกที่จงรักภักดีอย่างประเทศไทยไป
การขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้ทำให้เกิดปัญหากันระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ในเวลาต่อมามีการปะทะกันและเกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน กัมพูชาใช้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นบังเกอร์โดยไม่คิดห่วงว่าตัวปราสาทจะได้รับความเสียหาย กัมพูชาส่งรายงานว่าทหารไทยเข้ารุกรานอธิปไตยของกัมพูชาในบริเวณพื้นที่รอบตัวปราสาท นำเสนอไปถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ฟ้องอาเซียนและแม้แต่การกล่าวหาว่าไทยใช้คลัสเตอร์บอม ซึ่งฝ่ายไทยปฏิเสธสิ่งที่กัมพูชาได้รายงานออกไป คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33-35 ยังคงดำเนินการที่จะพิจารณาแผนบริหารการจัดการอยู่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการประชุมครั้งที่ 35 ณ กรุงปารีส คณะกรรมการได้ดำเนินการเกลี่ยกล่อมให้ฝ่ายไทยยอมรับแผนบริหารการจัดการ แต่ฝ่ายไทยไม่ยอมรับและลาออกจากภาคีสมาชิกในที่สุด
ผู้อำนายการใหญ่ขององค์การยูเนสโก ส่งหนังสือด่วนมายังนายกรัฐมนตรีของไทยโกหกอย่างหน้าด้านๆ ว่าคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีวาระการประชุมเรื่องแผนบริหารการจัดการ การโกหกครั้งนั้นของผู้อำนวยการใหญ่ทำให้นายกรัฐมนตรีของไทยหลงเชื่อและไม่ยอมรับการลาออกของคุณสุวิทย์ คุณกิตติในฐานะตัวแทนฝ่ายไทยและได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีดำเนินการแทนนายกรัฐมนตรีได้ (อ่านต่อสัปดาห์หน้า)