ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม ครม.วันที่ 24 เม.ย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบดำเนินงาน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,430,000 บาท เพื่อใช้ในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันใน พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
และขอให้กรมบัญชีกลางจัดสรรกรอบอัตรากำลังบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในงานควบคุมไฟป่า เพิ่มเติมจำนวน 1,000 อัตรา สำหรับดำเนินการตามแผนดังกล่าว ในอัตราไม่เกิน 7,500 บาท ต่อคนต่อเดือน รวมระยะเวลา 2 เดือน โดยว่าจ้างเอกชนดำเนินงานช่วยปฏิบัติงานดับไฟป่าในพื้นที่ จำนวน 100 ชุดๆ ละ 10 คน รวม 1,000 คน ปฏิบัติงานระหว่างเดือน มี.ค.-พ.ค.55
สถานการณ์วิกฤติปัญหาหมอกควันในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ได้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2555 จนถึงปัจจุบันพบว่า ที่จังหวัดเชียงราย มีค่าเฉลี่ยของปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM 10) สูงถึง 437.6 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. ซึ่งอยู่ในระดับที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน (มาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นขนาดเล็ก (PM 10) ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว
โดยสาเหตุของการเกิดวิกฤตการณ์หมอกควันดังกล่าว พบว่า เกิดจากการเผาในที่โล่ง เช่น การเกิดไฟป่าอันเนื่องมาจากการจุดไฟเผาป่าเพื่อบุกรุก ยึดถือ ครอบครองพื้นที่ป่า ล่าสัตว์ ทำไม้ และเก็บหาของป่า การเผาวัชพืชและเศษวัสดุการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกทั้งนอกและในพื้นที่ป่า
ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูล Hotspots ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2554 - 10 มี.ค. 2555 พบว่า จำนวน Hotspots ที่ตรวจพบเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ แม้ว่ากรมอุทยานแห่งชาติฯ จะได้ระดมสรรพกำลังและงบประมาณที่มีอยู่เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยมีหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ จำนวน 31 สถานี หน่วยดับไฟป่าเคลื่อนที่ จำนวน 98 หน่วย มีกำลังพนักงานดับไฟป่ามากกว่า 1,400 คน รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ดังกล่าว โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ แต่ปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนก็ลดลงเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน.
และขอให้กรมบัญชีกลางจัดสรรกรอบอัตรากำลังบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในงานควบคุมไฟป่า เพิ่มเติมจำนวน 1,000 อัตรา สำหรับดำเนินการตามแผนดังกล่าว ในอัตราไม่เกิน 7,500 บาท ต่อคนต่อเดือน รวมระยะเวลา 2 เดือน โดยว่าจ้างเอกชนดำเนินงานช่วยปฏิบัติงานดับไฟป่าในพื้นที่ จำนวน 100 ชุดๆ ละ 10 คน รวม 1,000 คน ปฏิบัติงานระหว่างเดือน มี.ค.-พ.ค.55
สถานการณ์วิกฤติปัญหาหมอกควันในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ได้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2555 จนถึงปัจจุบันพบว่า ที่จังหวัดเชียงราย มีค่าเฉลี่ยของปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM 10) สูงถึง 437.6 ไมโครกรัมต่อ ลบ.ม. ซึ่งอยู่ในระดับที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน (มาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นขนาดเล็ก (PM 10) ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว
โดยสาเหตุของการเกิดวิกฤตการณ์หมอกควันดังกล่าว พบว่า เกิดจากการเผาในที่โล่ง เช่น การเกิดไฟป่าอันเนื่องมาจากการจุดไฟเผาป่าเพื่อบุกรุก ยึดถือ ครอบครองพื้นที่ป่า ล่าสัตว์ ทำไม้ และเก็บหาของป่า การเผาวัชพืชและเศษวัสดุการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกทั้งนอกและในพื้นที่ป่า
ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูล Hotspots ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2554 - 10 มี.ค. 2555 พบว่า จำนวน Hotspots ที่ตรวจพบเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ แม้ว่ากรมอุทยานแห่งชาติฯ จะได้ระดมสรรพกำลังและงบประมาณที่มีอยู่เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยมีหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ จำนวน 31 สถานี หน่วยดับไฟป่าเคลื่อนที่ จำนวน 98 หน่วย มีกำลังพนักงานดับไฟป่ามากกว่า 1,400 คน รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ดังกล่าว โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ แต่ปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนก็ลดลงเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน.