ทุกวันนี้คนไทยกำลังเผชิญอยู่กับภัยธรรมชาติอย่างหนึ่ง นั่นคือ ภัยจากจิตชั่วของคนคนหนึ่ง คนกลุ่มหนึ่ง และผู้โง่เขลาทั้งหลาย จิตชั่วอันได้แก่ความโลภ โกรธ หลง ยึดติดอยู่กับอำนาจ ความหลงตัวเอง และความมีมิจฉาทิฐิ เห็นตนเองเป็นศูนย์อำนาจ
ที่กล่าวว่าอำนาจชั่วเป็นภัยธรรมชาติ ก็เพราะว่าจิตใจของมนุษย์เป็นธรรมชาติ และเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงกว่าภัยธรรมชาติอื่นๆ ทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นวาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว สึนามิ หรือภูเขาไฟระเบิด เพราะว่าภัยธรรมชาติเหล่านี้เกิดแล้วดับ แต่ภัยธรรมชาติอันเกิดกับความชั่วร้าย มิจฉาทิฐิและกิเลสของมนุษย์แล้ว เกิดแล้วดับยาก
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบอริยสัจ 4 เมื่อ 2555 ปีมาแล้ว ด้วยทรงคาดหวังให้มวลมนุษยชาติลด ละ เลิกมิจฉาทิฐิชั่วทั้งหลาย เพื่อที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง
นับตั้งแต่ทักษิณก่อร่างสร้างตนจนเป็นนักธุรกิจที่ร่ำรวย และเลือกธุรกิจที่เหมาะสมกับกาลเวลา สร้างอำนาจทุนนิยม และเข้าสู่วงการเมืองด้วยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนเพียงอย่างเดียวคือได้อำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจที่ป้องกันมิให้ใครมาแย่งได้ แต่ความเจ้าเล่ห์แบ่งปันอำนาจให้กับบุคคลที่เขาจะใช้ประโยชน์ได้เท่านั้น และการแบ่งปันนั้นมิใช่เป็นการแบ่งปันด้วยน้ำใจ แต่เป็นการแบ่งปันด้วยลาภ ยศ สรรเสริญที่หวังได้คืน
คนไทยคงไม่ลืมว่าทักษิณทดแทนบุญคุณให้กับ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ ด้วยรถยนต์ยี่ห้อแพง 2 คัน ทักษิณบอกว่า “มันเป็นเพียงของขวัญ” หรือแม้กระทั่งคนที่เคยด่าว่าทักษิณทั้งในสภาและนอกสภาอย่างนายเสนาะ เทียนทอง ยังยอมสยบและกลับกลืนน้ำลายตนเอง ไปสวามิภักดิ์กับทักษิณเพราะลาภ ยศ และสรรเสริญที่เขาทุ่มเทให้เพื่อการเสพอำนาจซึ่งกันและกัน หรือแม้กระทั่ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารบก ผู้ซึ่ง “ชักเข้าชักออก” ในกลุ่มเสื้อแดงการ์ดปกป้องทักษิณ และบัดนี้อดีตนายทหารใหญ่ท่านนี้ก็ยอมสวามิภักดิ์กับเสื้อแดง โดยให้สัมภาษณ์ว่า “คนเสื้อแดง” มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย เราจึงไม่รู้ว่า พล.อ.ชวลิต เข้าใจประชาธิปไตยอย่างไร เมื่อคนเสื้อแดงทำร้าย ทำลายชาติ เบียดเบียนสิทธิประชากรคนไทยด้วยความรุนแรง ทั้งอาวุธปืนและระเบิด รวมทั้งการเผาบ้านเผาเมือง ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นอะไร
โดยเฉพาะเหตุการณ์พฤษภาคมหฤโหด 2553 ที่ปะทุขึ้นด้วยการปลุกระดมของสาวกสายนิยมความรุนแรงของทักษิณ ที่ประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่าจะเผาบ้านเผาเมือง ถ้าการประท้วงรัฐบาลด้วยการเปิดสงครามใช้ความรุนแรง แล้วจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร เพราะมันเป็นเพียงกลไกของกลุ่มอนาธิปไตยนิยม หรือพวกที่นิยมความรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงขือแปของบ้านเมืองและสิทธิของบุคคลอื่น
ยุทธศาสตร์สำคัญของทักษิณประการแรก คือ ซื้อตัวตนของคนโลภทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักการเมือง ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร และอันธพาลทั่วไป
ยุทธศาสตร์รองลงมา คือ การสร้างภาพสวยสดงดงามของความร่ำรวย ความไร้ความจน และวิมานในอากาศอื่นๆ ด้านธุรกิจที่ทักษิณฝันไว้ได้แก่พลังงาน ทำให้ลัทธิประชานิยมต้องเปลี่ยนนิยามศัพท์ใหม่ว่า ประชานิยมคือทุนนิยมสามานย์ การสร้างพลังการซื้อด้วยเงินในอนาคต คือระบบเศรษฐกิจของทักษิณ ผลที่ตามมาคือความหายนะของอนาคตของคนที่หลงเชื่อ
ความจนเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับคนที่เกิดมาโชคดีและมีโอกาส ยอมเสียสละประโยชน์ให้กับผู้ที่ด้อยกว่าทั้งกรรมและโอกาส ในปัจจุบันคือการยอมเสียภาษีให้กับรัฐ เพื่อรัฐจะได้ทำนุบำรุงสังคมระดับล่างให้มีฐานะดีขึ้นอย่างทั่วฟ้า มิใช่ให้กับกลุ่มเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะต้องการประโยชน์จากคนกลุ่มนี้
เรื่อง “กรรม” เป็นสัจจะทางพุทธศาสนา เพราะว่าแม้ในประเทศที่ร่ำรวย เช่น ญี่ปุ่น เรายังคงพบคนจรจัด ยากจน ไร้ที่อยู่อาศัย อาชีพการงาน และศักดิ์ศรีความเป็นคน คนเหล่านี้อาศัยอยู่ตามแหล่งชุมชน เช่น สถานีรถไฟชินโชกุ
ไม่มีใครที่จะพ้นกฎแห่งกรรมได้ ยังคงมีคนจนในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน อินเดีย ไทย และทั่วโลก แม้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยายามที่จะให้มนุษย์พ้นจากกฎแห่งกรรมมาเป็นเวลา 2555 ปี ก็ยังมีคนต้องรับกรรมที่ก่อไว้ เพราะว่าทฤษฎีบัวใต้น้ำของพระองค์เป็นสัจจะเสมอ
หนึ่งในพหุยุทธศาสตร์ของทักษิณ คือ การสร้างภาพปรองดองขึ้นในชาติ ทั้งๆ ที่ความขัดแย้งเกิดจากตัวเขาเอง
ความขัดแย้งทางสังคมหรือมนุษยชาตินั้น เกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุนับร้อยนับพัน แต่สาเหตุจากจิตใจของคนคนหนึ่งนั้น มิใช่ความขัดแย้งของสังคม แต่มันเป็นเพียงกิเลสของคนคนหนึ่ง เช่น ฮิตเลอร์ เกลียดคนยิว จึงสร้างภาพคนยิวให้เป็นเหมือน “ผู้ร้ายในสายตาของคนเยอรมันยุค 1930” และทำสำเร็จ ผลที่ตามมาคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนยิวในเยอรมนี และเขตยึดครองของนาซีเยอรมันนับสิบล้านคน
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ ฆ่าตัวตาย ส่วนฆาตกรนาซีเยอรมันตกเป็นจำเลยข้อหาอาชญากรสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สัมพันธมิตรและรัฐบาลเยอรมันตะวันตกหรือเยอรมันตะวันออกในขณะนั้น มิได้ออกกฎหมายปรองดองระหว่างคนเยอรมันกับคนยิว แต่กฎหมายอาชญากรสงคราม และฆาตกรโหดในค่ายกักกันคนยิวต่างหากถูกลงโทษ นิติธรรมเป็นกลไกทำให้เกิดสันติสุข
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ประเทศไทยยังไม่มีสงครามกลางเมืองเช่นในอังกฤษ สหรัฐฯ และสเปน หรือประเทศไหนๆ ที่ประชากรรบกันเพราะอุดมการณ์ทางการเมืองขัดแย้งกัน จึงไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายปรองดอง
แต่ความขัดแย้งในเรื่องบุคคลต่างหากที่ทำให้เกิดแยกฝ่ายขึ้น คนฝ่ายหนึ่งรู้ว่าทักษิณมีมิจฉาทิฐิ โกงกินบ้านเมือง และหวังตั้งตนเป็นใหญ่ และอีกฝ่ายหนึ่งเชิดชูทักษิณว่าเป็น “ผู้ช่วยให้อยู่รอดและร่ำรวย”
ถ้าเรายกตัวละครชื่อทักษิณออกจากโรงละครโรงใหญ่แห่งนี้แล้ว ความขัดแย้งในเรื่องตัวตนดีชั่วของทักษิณจะหมดไปหรือไม่ แม้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่คนไทยรบกันเอง เช่น กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 กบฏวังหลวง พ.ศ. 2482 และกบฏแมนฮัตตัน พ.ศ. 2484 นั้น ไม่มีกฎหมายปรองดอง แต่มีกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับเหล่าทหารที่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ส่วนแกนนำก็ถูกลงโทษเพราะเป็นกบฏ
ความขัดแย้งของบุคคลระหว่าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษ ยุติเมื่อนายปรีดี ลี้ภัยการเมืองไม่กลับมา ความขัดแย้งของจอมพล ป. กับจอมพลสฤษดิ์ ยุติเมื่อ จอมพล ป. ลี้ยภัยการเมืองและบวชที่พุทธคยาหนึ่งพรรษา และไม่กลับมาเมืองไทย ความขัดแย้งของคนแต่ละกลุ่มก็สลายไปด้วย
อดีตเป็นบทเรียนที่ดีเสมอให้แก่สังคม และบทเรียนการยุติความขัดแย้งของบุคคลที่มีบริวารยุติได้ เมื่อบุคคลที่เป็นเงื่อนไขยอมรับสภาพที่แท้จริง อย่าได้ยึดติด และละมิจฉาทิฐิ สันติสุขเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในจิตใจของคนไทย
ที่กล่าวว่าอำนาจชั่วเป็นภัยธรรมชาติ ก็เพราะว่าจิตใจของมนุษย์เป็นธรรมชาติ และเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงกว่าภัยธรรมชาติอื่นๆ ทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นวาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว สึนามิ หรือภูเขาไฟระเบิด เพราะว่าภัยธรรมชาติเหล่านี้เกิดแล้วดับ แต่ภัยธรรมชาติอันเกิดกับความชั่วร้าย มิจฉาทิฐิและกิเลสของมนุษย์แล้ว เกิดแล้วดับยาก
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบอริยสัจ 4 เมื่อ 2555 ปีมาแล้ว ด้วยทรงคาดหวังให้มวลมนุษยชาติลด ละ เลิกมิจฉาทิฐิชั่วทั้งหลาย เพื่อที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง
นับตั้งแต่ทักษิณก่อร่างสร้างตนจนเป็นนักธุรกิจที่ร่ำรวย และเลือกธุรกิจที่เหมาะสมกับกาลเวลา สร้างอำนาจทุนนิยม และเข้าสู่วงการเมืองด้วยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนเพียงอย่างเดียวคือได้อำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจที่ป้องกันมิให้ใครมาแย่งได้ แต่ความเจ้าเล่ห์แบ่งปันอำนาจให้กับบุคคลที่เขาจะใช้ประโยชน์ได้เท่านั้น และการแบ่งปันนั้นมิใช่เป็นการแบ่งปันด้วยน้ำใจ แต่เป็นการแบ่งปันด้วยลาภ ยศ สรรเสริญที่หวังได้คืน
คนไทยคงไม่ลืมว่าทักษิณทดแทนบุญคุณให้กับ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ ด้วยรถยนต์ยี่ห้อแพง 2 คัน ทักษิณบอกว่า “มันเป็นเพียงของขวัญ” หรือแม้กระทั่งคนที่เคยด่าว่าทักษิณทั้งในสภาและนอกสภาอย่างนายเสนาะ เทียนทอง ยังยอมสยบและกลับกลืนน้ำลายตนเอง ไปสวามิภักดิ์กับทักษิณเพราะลาภ ยศ และสรรเสริญที่เขาทุ่มเทให้เพื่อการเสพอำนาจซึ่งกันและกัน หรือแม้กระทั่ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารบก ผู้ซึ่ง “ชักเข้าชักออก” ในกลุ่มเสื้อแดงการ์ดปกป้องทักษิณ และบัดนี้อดีตนายทหารใหญ่ท่านนี้ก็ยอมสวามิภักดิ์กับเสื้อแดง โดยให้สัมภาษณ์ว่า “คนเสื้อแดง” มีอุดมการณ์ประชาธิปไตย เราจึงไม่รู้ว่า พล.อ.ชวลิต เข้าใจประชาธิปไตยอย่างไร เมื่อคนเสื้อแดงทำร้าย ทำลายชาติ เบียดเบียนสิทธิประชากรคนไทยด้วยความรุนแรง ทั้งอาวุธปืนและระเบิด รวมทั้งการเผาบ้านเผาเมือง ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นอะไร
โดยเฉพาะเหตุการณ์พฤษภาคมหฤโหด 2553 ที่ปะทุขึ้นด้วยการปลุกระดมของสาวกสายนิยมความรุนแรงของทักษิณ ที่ประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่าจะเผาบ้านเผาเมือง ถ้าการประท้วงรัฐบาลด้วยการเปิดสงครามใช้ความรุนแรง แล้วจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร เพราะมันเป็นเพียงกลไกของกลุ่มอนาธิปไตยนิยม หรือพวกที่นิยมความรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงขือแปของบ้านเมืองและสิทธิของบุคคลอื่น
ยุทธศาสตร์สำคัญของทักษิณประการแรก คือ ซื้อตัวตนของคนโลภทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ นักการเมือง ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร และอันธพาลทั่วไป
ยุทธศาสตร์รองลงมา คือ การสร้างภาพสวยสดงดงามของความร่ำรวย ความไร้ความจน และวิมานในอากาศอื่นๆ ด้านธุรกิจที่ทักษิณฝันไว้ได้แก่พลังงาน ทำให้ลัทธิประชานิยมต้องเปลี่ยนนิยามศัพท์ใหม่ว่า ประชานิยมคือทุนนิยมสามานย์ การสร้างพลังการซื้อด้วยเงินในอนาคต คือระบบเศรษฐกิจของทักษิณ ผลที่ตามมาคือความหายนะของอนาคตของคนที่หลงเชื่อ
ความจนเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับคนที่เกิดมาโชคดีและมีโอกาส ยอมเสียสละประโยชน์ให้กับผู้ที่ด้อยกว่าทั้งกรรมและโอกาส ในปัจจุบันคือการยอมเสียภาษีให้กับรัฐ เพื่อรัฐจะได้ทำนุบำรุงสังคมระดับล่างให้มีฐานะดีขึ้นอย่างทั่วฟ้า มิใช่ให้กับกลุ่มเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะต้องการประโยชน์จากคนกลุ่มนี้
เรื่อง “กรรม” เป็นสัจจะทางพุทธศาสนา เพราะว่าแม้ในประเทศที่ร่ำรวย เช่น ญี่ปุ่น เรายังคงพบคนจรจัด ยากจน ไร้ที่อยู่อาศัย อาชีพการงาน และศักดิ์ศรีความเป็นคน คนเหล่านี้อาศัยอยู่ตามแหล่งชุมชน เช่น สถานีรถไฟชินโชกุ
ไม่มีใครที่จะพ้นกฎแห่งกรรมได้ ยังคงมีคนจนในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน อินเดีย ไทย และทั่วโลก แม้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยายามที่จะให้มนุษย์พ้นจากกฎแห่งกรรมมาเป็นเวลา 2555 ปี ก็ยังมีคนต้องรับกรรมที่ก่อไว้ เพราะว่าทฤษฎีบัวใต้น้ำของพระองค์เป็นสัจจะเสมอ
หนึ่งในพหุยุทธศาสตร์ของทักษิณ คือ การสร้างภาพปรองดองขึ้นในชาติ ทั้งๆ ที่ความขัดแย้งเกิดจากตัวเขาเอง
ความขัดแย้งทางสังคมหรือมนุษยชาตินั้น เกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุนับร้อยนับพัน แต่สาเหตุจากจิตใจของคนคนหนึ่งนั้น มิใช่ความขัดแย้งของสังคม แต่มันเป็นเพียงกิเลสของคนคนหนึ่ง เช่น ฮิตเลอร์ เกลียดคนยิว จึงสร้างภาพคนยิวให้เป็นเหมือน “ผู้ร้ายในสายตาของคนเยอรมันยุค 1930” และทำสำเร็จ ผลที่ตามมาคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนยิวในเยอรมนี และเขตยึดครองของนาซีเยอรมันนับสิบล้านคน
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ ฆ่าตัวตาย ส่วนฆาตกรนาซีเยอรมันตกเป็นจำเลยข้อหาอาชญากรสงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สัมพันธมิตรและรัฐบาลเยอรมันตะวันตกหรือเยอรมันตะวันออกในขณะนั้น มิได้ออกกฎหมายปรองดองระหว่างคนเยอรมันกับคนยิว แต่กฎหมายอาชญากรสงคราม และฆาตกรโหดในค่ายกักกันคนยิวต่างหากถูกลงโทษ นิติธรรมเป็นกลไกทำให้เกิดสันติสุข
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ประเทศไทยยังไม่มีสงครามกลางเมืองเช่นในอังกฤษ สหรัฐฯ และสเปน หรือประเทศไหนๆ ที่ประชากรรบกันเพราะอุดมการณ์ทางการเมืองขัดแย้งกัน จึงไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายปรองดอง
แต่ความขัดแย้งในเรื่องบุคคลต่างหากที่ทำให้เกิดแยกฝ่ายขึ้น คนฝ่ายหนึ่งรู้ว่าทักษิณมีมิจฉาทิฐิ โกงกินบ้านเมือง และหวังตั้งตนเป็นใหญ่ และอีกฝ่ายหนึ่งเชิดชูทักษิณว่าเป็น “ผู้ช่วยให้อยู่รอดและร่ำรวย”
ถ้าเรายกตัวละครชื่อทักษิณออกจากโรงละครโรงใหญ่แห่งนี้แล้ว ความขัดแย้งในเรื่องตัวตนดีชั่วของทักษิณจะหมดไปหรือไม่ แม้ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่คนไทยรบกันเอง เช่น กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 กบฏวังหลวง พ.ศ. 2482 และกบฏแมนฮัตตัน พ.ศ. 2484 นั้น ไม่มีกฎหมายปรองดอง แต่มีกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับเหล่าทหารที่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ส่วนแกนนำก็ถูกลงโทษเพราะเป็นกบฏ
ความขัดแย้งของบุคคลระหว่าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษ ยุติเมื่อนายปรีดี ลี้ภัยการเมืองไม่กลับมา ความขัดแย้งของจอมพล ป. กับจอมพลสฤษดิ์ ยุติเมื่อ จอมพล ป. ลี้ยภัยการเมืองและบวชที่พุทธคยาหนึ่งพรรษา และไม่กลับมาเมืองไทย ความขัดแย้งของคนแต่ละกลุ่มก็สลายไปด้วย
อดีตเป็นบทเรียนที่ดีเสมอให้แก่สังคม และบทเรียนการยุติความขัดแย้งของบุคคลที่มีบริวารยุติได้ เมื่อบุคคลที่เป็นเงื่อนไขยอมรับสภาพที่แท้จริง อย่าได้ยึดติด และละมิจฉาทิฐิ สันติสุขเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในจิตใจของคนไทย