เมื่อเวลา 15.30 น. วานนี้ (18เม.ย.) น.ส.สมจิตต์ นวเครือสุนทร ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 ได้ยื่นคำร้องต่อ นายสัก กอแสงเรือง นายกสภาทนายความ เพื่อขอความอนุเคราะห์ ในการยื่นฟ้องน.ส.พรทิพย์ ปักษานนท์ ประธานนปช.เพชรบุรี ต่อศาล หลังจากที่พนักงานสอบสวนและอัยการ สั่งไม่ฟ้องในคดีที่น.ส.พรทิพย์ ส่งอีเมล์ข่มขู่น.ส.สมจิตต์ ไปยังเครือข่ายคนเสื้อแดง
โดยนายสัก กล่าวว่า ทางสภาทนายความยินดีที่จะดำเนินคดีเรื่องนี้ให้กับผู้เสียหาย เพราะเป็นคดีที่สื่อมวลชนถูกคุกคาม โดยตั้งใจจะทำให้เป็นคดีตัวอย่าง ซึ่งจะได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย เพื่อเป็นตัวแทนน.ส.สมจิตต์ ยื่นเรื่องฟ้องศาลต่อไป
"ปัญหาของสังคมไทยคือ คนไม่เคารพกฎหมาย และคนที่ได้รับความเสียหายก็ไม่กล้าที่จะต่อสู้ เช่น บางกรณีตำรวจถูกย้ายโดยไม่เป็นธรรม เพราะไปบังคับใช้กฎหมายกับผู้มีอิทธิพล ทางสภาทนายความ ก็ยืนยันว่า สามารถดำเนินการทางปกครองด้วยการฟ้องต่อศาลปกครองได้ แต่ก็ไม่มีตำรวจกล้าที่จะต่อสู้ เพื่อรักษากฎหมาย เหมือนกับกรณีการวิสามัญฆาตกรรม กรณี โจด่านช้าง มีการยื่นฟ้องโดยสภาทนายความให้ความช่วยเหลือ แต่สุดท้ายผู้เสียหายแอบไปถอนฟ้อง เพราะถูกข่มขู่ การคุกคามสื่อมวลชนเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้จนสื่อเกิดความหวาดกลัว ไม่กล้าเสนอข่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนในการรับรู้ข่าวสารด้วย จึงยินดีที่ น.ส.สมจิตต์ ไว้ใจให้สภาทนายความดำเนินการในเรื่องนี้ให้ เพราะเดี๋ยวนี้ สังคมเราขาดคนกล้าที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม" นายสัก กล่าว
ด้านนายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความ กล่าวว่า จะตั้งคณะทำงานให้ไปศึกษาข้อเท็จจริง เบื้องต้นเห็นว่าเข้าข่ายละเมิดชัดเจน โดยมีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง พาณิชย์ มาตรา 420 และกฎหมายอาญา มาตรา 392 ซึ่งจากพฤติการณ์ทั้งหมดเชื่อได้ว่า น.ส.พรทิพย์ มีเจตนาข่มขู่ให้น.ส.สมจิตต์ เกิดความหวาดกลัวโดยใช้ถ้อยคำว่า "จำหน้าหล่อนไว้นะครับ เจอหน้าที่ไหนช่วยจัดให้ด้วยนะครับ"
ทั้งนี้ จะให้คณะทำงานศึกษาด้วยว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเข้าข่ายความผิดอื่นหรือไม่ เพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป โดยเบื้องต้นจะติดต่ออัยการ ขอสำนวนประกอบการดำเนินคดีด้วยตนเอง หลังจากศึกษารายละเอียดทั้งหมดคาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงไม่เกิน 1 เดือน น่าจะยื่นฟ้องต่อศาลได้
ด้านน.ส.สมจิตต์ กล่าวว่า มีความอุ่นใจมากขึ้นว่า ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ แม้ว่ากระบวนการยุติธรรมตั้งต้นอย่างตำรวจ และอัยการ จะไม่สั่งฟ้อง แต่ต้องขอบคุณสภาทนายความ ที่ช่วยรักษาสิทธิให้กับประชาชนในการยื่นฟ้องต่อศาลด้วยตัวเอง ซึ่งจากการที่ได้ปรึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงกับตัวแทนของสภาทนายความ ก็พบว่า การทำหน้าที่ของตำรวจ มีลักษณะตัดตอนความผิดทางกฎหมาย โดยไม่ยอมรวมเหตุการณ์ต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการส่งอีเมล์ข่มขู่เข้าไปรวมในสำนวน เช่น การออกแถลงการณ์องค์กรสื่อเรียกร้องให้ยุติการข่มขู่คุกคาม รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ที่บุกไปช่อง 7 เพื่อขอให้ปลดตนจากการเป็นผู้สื่อข่าว จึงคิดว่าการรวบรวมข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แตกต่างจากการตัดตอนความจริงที่ตำรวจไม่ยอมนำเรื่องเหล่านี้รวมในสำนวน น่าจะทำให้คดีมีน้ำหนักต่อการพิจารณาคดีของศาลได้ และยืนยันว่า จะดำเนินคดีถึงที่สุดไม่มีการถอนฟ้องแน่นอน
โดยนายสัก กล่าวว่า ทางสภาทนายความยินดีที่จะดำเนินคดีเรื่องนี้ให้กับผู้เสียหาย เพราะเป็นคดีที่สื่อมวลชนถูกคุกคาม โดยตั้งใจจะทำให้เป็นคดีตัวอย่าง ซึ่งจะได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย เพื่อเป็นตัวแทนน.ส.สมจิตต์ ยื่นเรื่องฟ้องศาลต่อไป
"ปัญหาของสังคมไทยคือ คนไม่เคารพกฎหมาย และคนที่ได้รับความเสียหายก็ไม่กล้าที่จะต่อสู้ เช่น บางกรณีตำรวจถูกย้ายโดยไม่เป็นธรรม เพราะไปบังคับใช้กฎหมายกับผู้มีอิทธิพล ทางสภาทนายความ ก็ยืนยันว่า สามารถดำเนินการทางปกครองด้วยการฟ้องต่อศาลปกครองได้ แต่ก็ไม่มีตำรวจกล้าที่จะต่อสู้ เพื่อรักษากฎหมาย เหมือนกับกรณีการวิสามัญฆาตกรรม กรณี โจด่านช้าง มีการยื่นฟ้องโดยสภาทนายความให้ความช่วยเหลือ แต่สุดท้ายผู้เสียหายแอบไปถอนฟ้อง เพราะถูกข่มขู่ การคุกคามสื่อมวลชนเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้จนสื่อเกิดความหวาดกลัว ไม่กล้าเสนอข่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนในการรับรู้ข่าวสารด้วย จึงยินดีที่ น.ส.สมจิตต์ ไว้ใจให้สภาทนายความดำเนินการในเรื่องนี้ให้ เพราะเดี๋ยวนี้ สังคมเราขาดคนกล้าที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม" นายสัก กล่าว
ด้านนายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความ กล่าวว่า จะตั้งคณะทำงานให้ไปศึกษาข้อเท็จจริง เบื้องต้นเห็นว่าเข้าข่ายละเมิดชัดเจน โดยมีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง พาณิชย์ มาตรา 420 และกฎหมายอาญา มาตรา 392 ซึ่งจากพฤติการณ์ทั้งหมดเชื่อได้ว่า น.ส.พรทิพย์ มีเจตนาข่มขู่ให้น.ส.สมจิตต์ เกิดความหวาดกลัวโดยใช้ถ้อยคำว่า "จำหน้าหล่อนไว้นะครับ เจอหน้าที่ไหนช่วยจัดให้ด้วยนะครับ"
ทั้งนี้ จะให้คณะทำงานศึกษาด้วยว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเข้าข่ายความผิดอื่นหรือไม่ เพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป โดยเบื้องต้นจะติดต่ออัยการ ขอสำนวนประกอบการดำเนินคดีด้วยตนเอง หลังจากศึกษารายละเอียดทั้งหมดคาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงไม่เกิน 1 เดือน น่าจะยื่นฟ้องต่อศาลได้
ด้านน.ส.สมจิตต์ กล่าวว่า มีความอุ่นใจมากขึ้นว่า ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ แม้ว่ากระบวนการยุติธรรมตั้งต้นอย่างตำรวจ และอัยการ จะไม่สั่งฟ้อง แต่ต้องขอบคุณสภาทนายความ ที่ช่วยรักษาสิทธิให้กับประชาชนในการยื่นฟ้องต่อศาลด้วยตัวเอง ซึ่งจากการที่ได้ปรึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงกับตัวแทนของสภาทนายความ ก็พบว่า การทำหน้าที่ของตำรวจ มีลักษณะตัดตอนความผิดทางกฎหมาย โดยไม่ยอมรวมเหตุการณ์ต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับการส่งอีเมล์ข่มขู่เข้าไปรวมในสำนวน เช่น การออกแถลงการณ์องค์กรสื่อเรียกร้องให้ยุติการข่มขู่คุกคาม รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ที่บุกไปช่อง 7 เพื่อขอให้ปลดตนจากการเป็นผู้สื่อข่าว จึงคิดว่าการรวบรวมข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แตกต่างจากการตัดตอนความจริงที่ตำรวจไม่ยอมนำเรื่องเหล่านี้รวมในสำนวน น่าจะทำให้คดีมีน้ำหนักต่อการพิจารณาคดีของศาลได้ และยืนยันว่า จะดำเนินคดีถึงที่สุดไม่มีการถอนฟ้องแน่นอน