พฤติการณ์ของผู้คนในการสาดน้ำเข้าหากันอย่างแปลกประหลาดในวันสงกรานต์นั้น ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติของสังคมไทยในปัจจุบันเสียแล้ว “ใครๆ ในวันสงกรานต์ก็เล่นสาดน้ำกันได้” จากเดิมที่ใช้ขันมีพัฒนาการไปสู่ปืนฉีดน้ำกำลังแรง นี่ยังไม่รวมถึงเอาน้ำสารพัดน้ำใส่ถุงพลาสติกปากันอย่างสนุกสนาน
จากประเพณีพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นพิธีกรรมกำมะลอและพฤติการณ์หยาบช้าสามานย์ในวันสงกรานต์ของคนไทยบางกลุ่มบางคน จนยากแก่การแก้ไขเยียวยาได้ เช่น ถือโอกาสลวนลามด้วยแกล้งว่าเป็นการไปพรมน้ำปะแป้ง ลูบคลำอวัยวะเพศ แต่งกายวาบวิว หรือตั้งใจแต่งเต้นยั่วยวนโชว์ของลับ สงกรานต์ในอดีตไม่บัดสีบัดเถลิงเหมือนคนไทยในปัจจุบัน ยิ่งได้ชาวต่างชาติมาร่วมวงบันเทิงเช่นนี้ด้วยก็ยิ่งจะทำให้ “สงกรานต์” ต้อง “รักษาศีล” กลับตาลปัตร “ผิดศีล” ที่สำคัญราชการไทยและผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองกลับเห็นเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องการท่องเที่ยวที่จะขายชาวต่างประเทศได้ แล้วประเทศไทยของเราจะเหลือซึ่งสงกรานต์ที่ดีงามได้อย่างไร
คนไทยกำหนดวันสงกรานต์อย่างปัจจุบันนี้ 3 วัน และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการและเอกชนถือเป็นวันหยุดยาวต่อเนื่อง พฤติการณ์ของคนไทยเล่นสงกรานต์มีพัฒนาการมาไม่เกิน 80 ปี จากเดิมเป็นพิธีกรรมของหลวงที่เข้มข้น ปรับเปลี่ยนมาสู่พิธีกรรมของราษฎรสามัญชน (เลียนแบบและตัดทอนจากพิธีหลวงหรือพระราชพิธี) มาเป็นวิถีที่ “ไม่ทำเทียมเจ้า” คนไทยหลายคนอาจคิดว่า สงกรานต์คือการสาดน้ำ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ การสาดน้ำเป็นของใหม่และเป็นกะพี้ของพิธีกรรมในวันสงกรานต์
การสาดน้ำในวันสงกรานต์ที่เห็นอยู่โดยทั่วไป มักทำกันข้างถนน สาดคนที่สัญจรไปมา หรือใช้สายยางฉีดน้ำไปที่พาหนะและตัวผู้ขับขี่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุตั้งแต่บาดเจ็บไปจนถึงเสียชีวิต มีการใช้รถกระบะบรรทุกผู้เล่นน้ำไปตามที่ต่างๆ จนเป็นความนิยมของผู้เล่นน้ำสงกรานต์ “น้ำ” ถูกใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์และใช้กันอย่างไม่คิดว่า “กำลังลบหลู่ดูหมิ่นน้ำ (พระแม่คงคา)” พระราชพิธี 12 เดือนของพระเจ้าแผ่นดินถือเป็นแบบอย่างให้ไพร่สามัญชนได้นำไปปฏิบัติในการดำรงไว้ซึ่งประเพณีในแต่ละเดือนเช่นกัน เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยนไป ทั้งของหลวงและของไพร่ก็ต้องปรับตัว พระราชพิธี 12 เดือนที่ได้รับสืบทอดและรักษาไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่สำหรับพิธีกรรมของไพร่แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก
ในเดือน 12 คือเวลาที่น้ำขึ้นเต็มที่มากกว่าเดือนใดๆ ประเทศไทยมีความเชื่อว่า สายน้ำคือผู้หล่อเลี้ยงชีวิต เป็นผู้มีพระคุณทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นจึงพระราชพิธีที่เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียง มีการลอยโคมและเฉพาะอยุธยามีการลอยพระประทีป เพื่อเป็นเครื่องแสดงความกตัญญูและขอขมาน้ำที่ได้ทำการลบหลู่ดูหมิ่นที่กระทำไปต่อการ “ใช้” น้ำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามีเดือน 12 ที่เห็นคุณค่าของน้ำ เราก็มีเดือนห้าอย่างสงกรานต์ที่ลบหลู่ดูหมิ่นน้ำ โดยมีการสาดน้ำ ปิดถนน ให้น้ำหกเปรอะเปื้อนท้องถนนใช้น้ำอย่างไม่เห็นคุณค่า เดือนห้าซึ่งเป็นหน้าแล้งแล้วด้วย น้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคย่อมมีความต้องการเป็นอันมากบางท้องที่ถึงกับขาดแคลน แต่ทว่าความเข้าใจผิดที่สืบเนื่องกันมาโดยไม่มีใคร (กล้า) บอกกล่าว ทำให้บางครั้งต้องไปซื้อน้ำจากที่อื่นเพื่อมาเล่น “สงกรานต์” ให้ตรงกับประเพณีที่ถูกฝังหัวมา ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันเมื่อการสาดน้ำแพร่ระบาดออกไปอย่างไม่มีขีดจำกัด
วัตถุประสงค์ของสงกรานต์ไม่ได้ให้มาสาดน้ำข้างถนนหรือใช้น้ำอย่างไม่มีจิตสำนึก ประเพณีสงกรานต์ไม่ได้ถูกสร้างให้ใครมาเต้นระบำโป๊ ลูบคลำของสงวน สาดน้ำใส่กันอย่างบ้าคลั่ง นั่งรถกระบะแบกน้ำไปทำตัวเหมือนไปทำสงครามน้ำกัน ประเพณีสงกรานต์สร้างขึ้นมาเพื่อบอกวาระและเวลาที่เปลี่ยนผ่านจากปีเก่าไปยังปีใหม่ ให้ผู้คนที่เป็นโคตรญาติมารวมกัน ณ บ้านเกิด ทำบุญตักบาตร ถวายข้าวบิณฑ์ (สำรับสำหรับพระพุทธรูป) ก่อพระเจดีย์ทราย เพื่อให้พื้นแผ่นดินของวัดสูงขึ้น โดยมีความเชื่อว่าเมื่อเรากลับจากวัด เราได้นำทรายบริเวณที่ธรณีสงฆ์และเขตพุทธาวาสออกมา
เมื่อถึงปีใหม่ไทยคือวันสงกรานต์จึงต้องขนทรายเข้าวัด โดยก่อเป็นพระเจดีย์ทรายเพื่อเป็นพุทธบูชา มีการปักธงแฉก เป็นพระเจดีย์เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัตถุประสงค์ของการก่อพระเจดีย์ทรายนอกจากมีนัยทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการรวมญาติที่จากกันไปไกล (บ้านเกิด) กลับมารวมตัวกันแล้วช่วยกันก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกันเป็นเครื่องแสดงความสามัคคี (อ่านต่อสัปดาห์หน้า)
จากประเพณีพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นพิธีกรรมกำมะลอและพฤติการณ์หยาบช้าสามานย์ในวันสงกรานต์ของคนไทยบางกลุ่มบางคน จนยากแก่การแก้ไขเยียวยาได้ เช่น ถือโอกาสลวนลามด้วยแกล้งว่าเป็นการไปพรมน้ำปะแป้ง ลูบคลำอวัยวะเพศ แต่งกายวาบวิว หรือตั้งใจแต่งเต้นยั่วยวนโชว์ของลับ สงกรานต์ในอดีตไม่บัดสีบัดเถลิงเหมือนคนไทยในปัจจุบัน ยิ่งได้ชาวต่างชาติมาร่วมวงบันเทิงเช่นนี้ด้วยก็ยิ่งจะทำให้ “สงกรานต์” ต้อง “รักษาศีล” กลับตาลปัตร “ผิดศีล” ที่สำคัญราชการไทยและผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองกลับเห็นเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องการท่องเที่ยวที่จะขายชาวต่างประเทศได้ แล้วประเทศไทยของเราจะเหลือซึ่งสงกรานต์ที่ดีงามได้อย่างไร
คนไทยกำหนดวันสงกรานต์อย่างปัจจุบันนี้ 3 วัน และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการและเอกชนถือเป็นวันหยุดยาวต่อเนื่อง พฤติการณ์ของคนไทยเล่นสงกรานต์มีพัฒนาการมาไม่เกิน 80 ปี จากเดิมเป็นพิธีกรรมของหลวงที่เข้มข้น ปรับเปลี่ยนมาสู่พิธีกรรมของราษฎรสามัญชน (เลียนแบบและตัดทอนจากพิธีหลวงหรือพระราชพิธี) มาเป็นวิถีที่ “ไม่ทำเทียมเจ้า” คนไทยหลายคนอาจคิดว่า สงกรานต์คือการสาดน้ำ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ การสาดน้ำเป็นของใหม่และเป็นกะพี้ของพิธีกรรมในวันสงกรานต์
การสาดน้ำในวันสงกรานต์ที่เห็นอยู่โดยทั่วไป มักทำกันข้างถนน สาดคนที่สัญจรไปมา หรือใช้สายยางฉีดน้ำไปที่พาหนะและตัวผู้ขับขี่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุตั้งแต่บาดเจ็บไปจนถึงเสียชีวิต มีการใช้รถกระบะบรรทุกผู้เล่นน้ำไปตามที่ต่างๆ จนเป็นความนิยมของผู้เล่นน้ำสงกรานต์ “น้ำ” ถูกใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์และใช้กันอย่างไม่คิดว่า “กำลังลบหลู่ดูหมิ่นน้ำ (พระแม่คงคา)” พระราชพิธี 12 เดือนของพระเจ้าแผ่นดินถือเป็นแบบอย่างให้ไพร่สามัญชนได้นำไปปฏิบัติในการดำรงไว้ซึ่งประเพณีในแต่ละเดือนเช่นกัน เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยนไป ทั้งของหลวงและของไพร่ก็ต้องปรับตัว พระราชพิธี 12 เดือนที่ได้รับสืบทอดและรักษาไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่สำหรับพิธีกรรมของไพร่แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก
ในเดือน 12 คือเวลาที่น้ำขึ้นเต็มที่มากกว่าเดือนใดๆ ประเทศไทยมีความเชื่อว่า สายน้ำคือผู้หล่อเลี้ยงชีวิต เป็นผู้มีพระคุณทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นจึงพระราชพิธีที่เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียง มีการลอยโคมและเฉพาะอยุธยามีการลอยพระประทีป เพื่อเป็นเครื่องแสดงความกตัญญูและขอขมาน้ำที่ได้ทำการลบหลู่ดูหมิ่นที่กระทำไปต่อการ “ใช้” น้ำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามีเดือน 12 ที่เห็นคุณค่าของน้ำ เราก็มีเดือนห้าอย่างสงกรานต์ที่ลบหลู่ดูหมิ่นน้ำ โดยมีการสาดน้ำ ปิดถนน ให้น้ำหกเปรอะเปื้อนท้องถนนใช้น้ำอย่างไม่เห็นคุณค่า เดือนห้าซึ่งเป็นหน้าแล้งแล้วด้วย น้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคย่อมมีความต้องการเป็นอันมากบางท้องที่ถึงกับขาดแคลน แต่ทว่าความเข้าใจผิดที่สืบเนื่องกันมาโดยไม่มีใคร (กล้า) บอกกล่าว ทำให้บางครั้งต้องไปซื้อน้ำจากที่อื่นเพื่อมาเล่น “สงกรานต์” ให้ตรงกับประเพณีที่ถูกฝังหัวมา ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันเมื่อการสาดน้ำแพร่ระบาดออกไปอย่างไม่มีขีดจำกัด
วัตถุประสงค์ของสงกรานต์ไม่ได้ให้มาสาดน้ำข้างถนนหรือใช้น้ำอย่างไม่มีจิตสำนึก ประเพณีสงกรานต์ไม่ได้ถูกสร้างให้ใครมาเต้นระบำโป๊ ลูบคลำของสงวน สาดน้ำใส่กันอย่างบ้าคลั่ง นั่งรถกระบะแบกน้ำไปทำตัวเหมือนไปทำสงครามน้ำกัน ประเพณีสงกรานต์สร้างขึ้นมาเพื่อบอกวาระและเวลาที่เปลี่ยนผ่านจากปีเก่าไปยังปีใหม่ ให้ผู้คนที่เป็นโคตรญาติมารวมกัน ณ บ้านเกิด ทำบุญตักบาตร ถวายข้าวบิณฑ์ (สำรับสำหรับพระพุทธรูป) ก่อพระเจดีย์ทราย เพื่อให้พื้นแผ่นดินของวัดสูงขึ้น โดยมีความเชื่อว่าเมื่อเรากลับจากวัด เราได้นำทรายบริเวณที่ธรณีสงฆ์และเขตพุทธาวาสออกมา
เมื่อถึงปีใหม่ไทยคือวันสงกรานต์จึงต้องขนทรายเข้าวัด โดยก่อเป็นพระเจดีย์ทรายเพื่อเป็นพุทธบูชา มีการปักธงแฉก เป็นพระเจดีย์เพื่อความเจริญรุ่งเรือง วัตถุประสงค์ของการก่อพระเจดีย์ทรายนอกจากมีนัยทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการรวมญาติที่จากกันไปไกล (บ้านเกิด) กลับมารวมตัวกันแล้วช่วยกันก่อพระเจดีย์ทรายร่วมกันเป็นเครื่องแสดงความสามัคคี (อ่านต่อสัปดาห์หน้า)