วานนี้ ( 12 เม.ย.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์นัดพร้อมคู่กรณี เพื่อกำหนดกระบวนการพิจารณาในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้พิจารณาวินิจฉัยให้สมาชิกการเป็นส.ส.สิ้นสุดลงรวม 3 คำร้อง โดยในคำร้องที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 (4) ประกอบมาตรา 101 (3) หรือไม่ เนื่องจากขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จึงทำให้สิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส.
ทั้งนี้ นายจตุพร ได้เดินทางมาศาลฯ ด้วยตัวเอง พร้อมกับนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช. นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ กลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 10 คน ที่เดินทางมาให้กำลังใจ
นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะตุลาการฯ ให้อ่านกระบวนวิธีการพิจารณา ระบุว่า ในคดีนี้ นายจตุพร ได้ขอนำพยานเข้าสืบรวม 7 ปาก และขอแถลงเปิดคดีด้วยวาจา และเอกสาร พร้อมขอให้ศาลถ่ายทอดสด แต่คณะตุลาการฯเห็นว่า คดีมีพยานเพียงพอแล้ว โดยประเด็นที่จะวินิจฉัยเป็นประเด็นข้อกฎหมาย จึงมีคำสั่ง งดการไต่สวน และไม่อนุญาตให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียง แต่เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาอนุญาตให้คู่กรณีแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ศาลนัดพร้อม หากไม่แถลง ถือว่าไม่ติดใจ ศาลฯ ได้นัดฟังคำวินิจฉัยในวันที่ 18 พ.ค. 55 เวลา 10.30 น.
จากนั้น ศาลได้นัดพร้อมในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ประกอบมาตรา 106 (6) และ มาตรา 266 (1) หรือไม่ เนื่องจากเข้าไปยุ่งเกี่ยวการแจกถุงยังชีพของกระทรวงพลังงาน ที่ จ.พิษณุโลก และกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของ นายอภิสิทธิ์ พร้อมคณะรวม 153 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของ พล.ต.อ.ประชา , นายการุณ โหสกุล นายสุรชาติ เทียนทอง นายวรชัย เหมะ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ และ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย สิ้นสุดลงตามมาตรารัฐธรรมนูญ 106 (6) ประกอบมาตรา 265 (1) หรือไม่ เนื่องจากเข้าไปแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการแจกถุงยังชีพช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554
ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้มอบหมายให้ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้รับมอบอำนาจมาศาลฯ ขณะที่พรรคเพื่อไทย พล.ต.อ.ประชา และผู้ถูกร้องทั้งหมด ได้เดินทางมารับฟังด้วยตนเอง ซึ่งนายวสันต์ ได้อ่านรายงานกระบวนการวิธีพิจารณา ระบุว่า คดีดังกล่าวนี้จากคำชี้แจงของคู่กรณี และหนังสือยืนยันจากสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ระบุว่า นายจารุพงศ์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.แล้ว และประธานสภาฯ ได้ประกาศเลื่อนลำดับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับถัดไปขึ้นมาทำหน้าที่ โดยมีผลตั้งแต่ เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา
ดังนั้น จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลฯ ต้องวินิจฉัยให้สมาชิกภาพการเป็น ส.ส.สิ้นสุดลง จึงมีคำสั่งจำหน่ายคำร้อง เฉพาะกรณีของนายจารุพงศ์ ส่วนผู้ร้อง และผู้ถูกร้องในทั้งสองคดี ศาลเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอวินิจฉัยแล้ว จึงมีคำสั่งงดการไต่สวน และนัดคู่กรณีฟังคำสั่งศาลในวันที่ 20 เม.ย. เวลา 10.00 น.
อย่างไรก็ตาม คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ได้ขอยื่นเอกสารเพิ่มเติม รวมถึงคำแถลงปิดคดีเป็นเอกสาร โดยนายวิรัตน์ ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกคำอภิปรายของ พล.ต.อ.ประชา และ พวกรวม 8 คน ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งที่ผ่านมา จากสำนักเลขาธิการสภาฯ มาประกอบการพิจารณาวินิจฉัย เนื่องจากเห็นว่าเป็นหลักฐานสำคัญ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ ไม่สามารถขอคำอภิปรายดังกล่าวได้ ซึ่งคณะตุลาการ รับที่จะออกหนังสือเป็นหมายเรียกเอกสารให้นายวิรัตน์ นำไปยื่นเพื่อขอหลักฐานดังกล่าวจากสภาฯ ภายในวันเดียวกันนี้
ทั้งนี้ ศาลได้แจ้งคู่กรณีทราบว่า หากคู่กรณีประสงค์ยื่นเอกสารเพิ่มเติม ขอให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 เม.ย.นี้
นายวิรัตน์ ให้สัมภาษณ์ว่า ในส่วนของนายอภิสิทธิ์ และนพ.วรงค์ ตนมั่นใจในพยานหลักฐานเอกสารที่ยืนยันว่า บุคคลทั้งสองไม่ได้เข้าไปดำเนินการ แทรกแซง การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ อีกทั้งไม่ได้มีการดำเนินการเปลี่ยนแปลงถุงยังชีพให้เป็นของตนเอง โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ก็เห็นด้วย และอนุญาตชัดเจน
ทั้งนี้เป็นหน้าที่ของ ส.ส. ที่ต้องบริการประชาชนให้เร็วที่สุด แต่เมื่อไรที่มีการฉีกถุงยังชีพ เพื่อเปลี่ยนแปลงนั้น จะมีความผิด
ทั้งนี้ นายจตุพร ได้เดินทางมาศาลฯ ด้วยตัวเอง พร้อมกับนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช. นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ กลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 10 คน ที่เดินทางมาให้กำลังใจ
นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะตุลาการฯ ให้อ่านกระบวนวิธีการพิจารณา ระบุว่า ในคดีนี้ นายจตุพร ได้ขอนำพยานเข้าสืบรวม 7 ปาก และขอแถลงเปิดคดีด้วยวาจา และเอกสาร พร้อมขอให้ศาลถ่ายทอดสด แต่คณะตุลาการฯเห็นว่า คดีมีพยานเพียงพอแล้ว โดยประเด็นที่จะวินิจฉัยเป็นประเด็นข้อกฎหมาย จึงมีคำสั่ง งดการไต่สวน และไม่อนุญาตให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียง แต่เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาอนุญาตให้คู่กรณีแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ศาลนัดพร้อม หากไม่แถลง ถือว่าไม่ติดใจ ศาลฯ ได้นัดฟังคำวินิจฉัยในวันที่ 18 พ.ค. 55 เวลา 10.30 น.
จากนั้น ศาลได้นัดพร้อมในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ประกอบมาตรา 106 (6) และ มาตรา 266 (1) หรือไม่ เนื่องจากเข้าไปยุ่งเกี่ยวการแจกถุงยังชีพของกระทรวงพลังงาน ที่ จ.พิษณุโลก และกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของ นายอภิสิทธิ์ พร้อมคณะรวม 153 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของ พล.ต.อ.ประชา , นายการุณ โหสกุล นายสุรชาติ เทียนทอง นายวรชัย เหมะ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ และ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย สิ้นสุดลงตามมาตรารัฐธรรมนูญ 106 (6) ประกอบมาตรา 265 (1) หรือไม่ เนื่องจากเข้าไปแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการแจกถุงยังชีพช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554
ทั้งนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้มอบหมายให้ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้รับมอบอำนาจมาศาลฯ ขณะที่พรรคเพื่อไทย พล.ต.อ.ประชา และผู้ถูกร้องทั้งหมด ได้เดินทางมารับฟังด้วยตนเอง ซึ่งนายวสันต์ ได้อ่านรายงานกระบวนการวิธีพิจารณา ระบุว่า คดีดังกล่าวนี้จากคำชี้แจงของคู่กรณี และหนังสือยืนยันจากสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ระบุว่า นายจารุพงศ์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.แล้ว และประธานสภาฯ ได้ประกาศเลื่อนลำดับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับถัดไปขึ้นมาทำหน้าที่ โดยมีผลตั้งแต่ เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา
ดังนั้น จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลฯ ต้องวินิจฉัยให้สมาชิกภาพการเป็น ส.ส.สิ้นสุดลง จึงมีคำสั่งจำหน่ายคำร้อง เฉพาะกรณีของนายจารุพงศ์ ส่วนผู้ร้อง และผู้ถูกร้องในทั้งสองคดี ศาลเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอวินิจฉัยแล้ว จึงมีคำสั่งงดการไต่สวน และนัดคู่กรณีฟังคำสั่งศาลในวันที่ 20 เม.ย. เวลา 10.00 น.
อย่างไรก็ตาม คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ได้ขอยื่นเอกสารเพิ่มเติม รวมถึงคำแถลงปิดคดีเป็นเอกสาร โดยนายวิรัตน์ ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกคำอภิปรายของ พล.ต.อ.ประชา และ พวกรวม 8 คน ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งที่ผ่านมา จากสำนักเลขาธิการสภาฯ มาประกอบการพิจารณาวินิจฉัย เนื่องจากเห็นว่าเป็นหลักฐานสำคัญ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ ไม่สามารถขอคำอภิปรายดังกล่าวได้ ซึ่งคณะตุลาการ รับที่จะออกหนังสือเป็นหมายเรียกเอกสารให้นายวิรัตน์ นำไปยื่นเพื่อขอหลักฐานดังกล่าวจากสภาฯ ภายในวันเดียวกันนี้
ทั้งนี้ ศาลได้แจ้งคู่กรณีทราบว่า หากคู่กรณีประสงค์ยื่นเอกสารเพิ่มเติม ขอให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 เม.ย.นี้
นายวิรัตน์ ให้สัมภาษณ์ว่า ในส่วนของนายอภิสิทธิ์ และนพ.วรงค์ ตนมั่นใจในพยานหลักฐานเอกสารที่ยืนยันว่า บุคคลทั้งสองไม่ได้เข้าไปดำเนินการ แทรกแซง การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ อีกทั้งไม่ได้มีการดำเนินการเปลี่ยนแปลงถุงยังชีพให้เป็นของตนเอง โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ก็เห็นด้วย และอนุญาตชัดเจน
ทั้งนี้เป็นหน้าที่ของ ส.ส. ที่ต้องบริการประชาชนให้เร็วที่สุด แต่เมื่อไรที่มีการฉีกถุงยังชีพ เพื่อเปลี่ยนแปลงนั้น จะมีความผิด