ASTVผู้จัดการรายวัน- ครบรอบ 2 ปี 10 เมษาฯเลือด "เมียพล.อ.ร่มเกล้า" ชี้คดีสามีนอกจากช้าแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลง อัดกระบวนการปรองดองรัฐบาลกำลังทำข้ามขั้นตอน เพราะไม่ยอมค้นหาความจริงก่อนนิรโทษกรรม ด้าน "มาร์ค" แจงกรณีถูกกล่าวหาสั่งทำร้ายประชาชน ย้ำทุกอย่างอยู่ในขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ ( 10เม.ย. ) ที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร มีการจัดพิธีทำบุญครบรอบ 2 ปี การเสียชีวิตของพล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จากเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่จากการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 โดยมี พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.วลิต โรจนภักดี รองแม่ทัพภาคที่ 1 นายทหารชั้นผู้ใหญ่จากพล.ร.2 รอ. และผู้บังคับหน่วยของกองทัพภาคที่ 1 พร้อมด้วยญาติ และครอบครัวผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว และบุคคลในแวดวงการเมืองมาร่วมงานจำนวนมาก
ทั้งนี้ ภายในงานได้นำหนังสือ "ในความรัก พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม" ซึ่งเคยตีพิมพ์ในงานครบรอบวันเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้ว มาจัดพิมพ์ใหม่ และจัดจำหน่าย เพื่อนำเงินไปสมทบทุน "มูลนิธิพลเอกร่มเกล้าฯ" ช่วยเหลือครอบครัว และบุตรข้าราชการทหาร
นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า กล่าวว่า วันนี้ตนมาทำบุญครบรอบ 2 ปี ร่วมกับญาติของทหารที่เสียชีวิตพร้อมพล.อ.ร่มเกล้า ซึ่งเหตุการณ์ผ่านไป 2 ปีแล้ว แต่ยังมีสิ่งที่เราไม่เข้าใจเกิดขึ้น จนต้องสอบถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับคดีเรื่องนี้ เพราะ 2 ปี ก็เป็นเวลาที่เราให้มากพอสมควรกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ ซึ่งตอนแรกคดีมีความคืบหน้าไประยะหนึ่งแล้ว ดูเหมือนกับว่าตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราไม่เข้าใจ ก็ต้องถามด้วยเจตนาบริสุทธิ์ที่อยากจะฟังคำตอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจว่าจะหาตัวคนร้ายที่สังหาร พ.อ.ร่มเกล้าได้หรือไม่ นางนิชากล่าวว่า เป็นเรื่องยาก เพราะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก แต่อย่างน้อยที่สุด ถ้าเราเห็นความตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะป้องกัน ป้องปราม ไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก คงจะทำให้การตายของคนที่ตายไป ไม่สูญเปล่า ไม่ว่าจะหาตัวผู้กระทำได้หรือไม่ได้ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือภาครัฐ ต้องแสดงให้เห็นว่า หลักนิติรัฐ คืออะไร อะไรคือการทำผิด อะไรคือการไม่เคารพนิติรัฐ อะไร คือการฝ่าฝืนศีลธรรมที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมที่พูดกันมาตลอด หากว่าคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เราเชื่อมั่น แต่ว่าขั้นตอนกว่าจะเดินไปถึงจุดนั้น เป็นสิ่งที่เราก็รอคอยอยู่
เมื่อถามว่า ขณะที่ครอบครัวผู้สูญเสียยังเรียกร้องไม่สำเร็จ แต่อีกฝ่ายกลับต้องการนิรโทษกรรม นางนิชา กล่าวว่า ถ้ามองความปรองดอง สมานฉันท์ ไม่ใช่มีแค่การนิรโทษกรรม แต่มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ 1. การค้นหาความจริง 2. การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 3. การเยียวยา 4. การนิรโทษกรรม ไม่สามารถจะแตะเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วบอกว่านี่คือการปรองดอง ทุกอย่างต้องไปทั้ง 4 ข้อ แล้วควรต้องเรียงลำดับจาก 1 ไปสู่ 2 -3 และ 4 แต่วันนี้ต้องการคำอธิบาย ว่า ทำไมข้ามขั้นตอนการค้นหาความจริง แล้วกระโดดไปสู่นิรโทษกรรม จึงอยากจะฝากว่า ความปรองดอง สมานฉันท์ เป็นเรื่องของคนในชาติ และประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นอาจต้องใช้เวลาในการเยียวยา เวลามันเป็นโอสถที่ใช้ในการเยียวยา จะทำให้การพูดคุยกันในสังคม การเปิดใจความคิดเห็นรับฟังซึ่งกันละกัน ก็เป็นการเยียวยาไปในตัว หากรีบเร่งมาก น่าจะนำไปสู่ผลเสียมากกว่าผลดี ประชาชนน่าจะมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสมานฉันท์
" วันนี้ เรายังไม่รู้ว่า คำว่าปรองดองหมาย ถึงอะไร เราพูดกันจนเป็นวาทกรรม แต่ความปรองดอง คือ การยอมรับของคู่กรณีทุกฝ่าย บางทีเราก็สับสนว่า อะไรคือคำว่า ปรองดอง ผลลัพธ์ คืออะไร ต้องใช้เวลา เพราะเป็นเรื่องของความรู้สึกที่ขัดแย้งในหัวใจของเราให้คลี่คลายออกไปได้ และจากความรู้สึกของเหยื่อ หากความขัดแย้งมันก่อตัวขึ้นในใจ มันน่ากลัวว่าจะพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าว รุนแรง และนำไปสู่การเผชิญหน้าในการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา การจัดการกับความรู้สึกของมนุษย์มันยาก" นางนิชา กล่าว และว่า ความปรองดองก็น่าจะเดินหน้าไปเรื่อยๆ แต่ต้องทำคู่กันไปทุกด้าน ทั้ง 4 ด้าน ควรเริ่มเดินตั้งแต่วันนี้ แต่เราให้น้ำหนักอะไรมากกว่ากัน สิ่งที่ทำมันตอบโจทย์หรือไม่ว่า ทำให้ความรู้สึกของคนในชาติดีขึ้น
** 2 ปี 10 เม.ย.ยังรอคอยความจริง
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะแกนนำกลุ่มเสื้อแดง กล่าวถึงวันครบรอบเหตุการณ์ 10 เม.ย. ปีที่ 2 ว่า ความจริงที่เกิดขึ้น และดำรงอยู่ตั้งแต่คืนนั้น คือ มีประชาชนและเจ้าหน้าที่บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้เสียชีวิตแทบทั้งหมดเสียชีวิตจากกระสนปืน และอาวุธสงคราม มีการใช้ปืนติดกล้อง หรือสไนเปอร์ ในการจัดการการชุมนุนของประชาชน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ และเชื่อว่าความจริงเหล่านี้เป็นข้อมูล รอหลักฐานที่จะนำมาบรรยายประกอบภาพให้สังคมได้เข้าใจว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง และคนที่ละเมิดกฎหมาย ต้องเข้าสู่กระบวนการุติธรรม สังคม ยังรอคอยที่จะเห็น และเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไปพร้อมกับกระบวนการปรองดอง
**“มาร์ค”แจงถูกกล่าวหาสั่งทำร้ายปชช.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กำล่าวถึงกรณีเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหาร กับกลุ่มเสื้อแดง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ที่ตนเองถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้สังการ ว่า ขณะนี้เรื่องอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ที่สอบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งได้ตั้งคณะกรรรมการ และคณะกรรมการ คอป. ซึ่งเรื่องก็ได้เข้าสู่กระบวนยุติธรรมและเดินหน้า โดยกระบวนการตรวจสอบ ก็เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในสังคม
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ทำหน้าที่ประธาน ปคอป. นั้น นายยงยุทธ ควรทำหน้าที่ประสานนำข้อเสนอของ คอป.ไปเสนอให้กับรัฐบาล แต่จะต้องไม่มีการแปลงสาร ต้องให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปรองดองอย่างแท้จริง เพราะ คอป.ได้มีการศึกษา และเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาร่วมให้ข้อเสนอแนะ และมีการระบุแล้วว่าไม่ควรจะมีการดำเนินการเพื่อใครคนใดคนหนึ่งคนเดียว
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ ( 10เม.ย. ) ที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร มีการจัดพิธีทำบุญครบรอบ 2 ปี การเสียชีวิตของพล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จากเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่จากการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 โดยมี พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.วลิต โรจนภักดี รองแม่ทัพภาคที่ 1 นายทหารชั้นผู้ใหญ่จากพล.ร.2 รอ. และผู้บังคับหน่วยของกองทัพภาคที่ 1 พร้อมด้วยญาติ และครอบครัวผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว และบุคคลในแวดวงการเมืองมาร่วมงานจำนวนมาก
ทั้งนี้ ภายในงานได้นำหนังสือ "ในความรัก พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม" ซึ่งเคยตีพิมพ์ในงานครบรอบวันเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้ว มาจัดพิมพ์ใหม่ และจัดจำหน่าย เพื่อนำเงินไปสมทบทุน "มูลนิธิพลเอกร่มเกล้าฯ" ช่วยเหลือครอบครัว และบุตรข้าราชการทหาร
นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า กล่าวว่า วันนี้ตนมาทำบุญครบรอบ 2 ปี ร่วมกับญาติของทหารที่เสียชีวิตพร้อมพล.อ.ร่มเกล้า ซึ่งเหตุการณ์ผ่านไป 2 ปีแล้ว แต่ยังมีสิ่งที่เราไม่เข้าใจเกิดขึ้น จนต้องสอบถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับคดีเรื่องนี้ เพราะ 2 ปี ก็เป็นเวลาที่เราให้มากพอสมควรกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ ซึ่งตอนแรกคดีมีความคืบหน้าไประยะหนึ่งแล้ว ดูเหมือนกับว่าตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราไม่เข้าใจ ก็ต้องถามด้วยเจตนาบริสุทธิ์ที่อยากจะฟังคำตอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจว่าจะหาตัวคนร้ายที่สังหาร พ.อ.ร่มเกล้าได้หรือไม่ นางนิชากล่าวว่า เป็นเรื่องยาก เพราะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก แต่อย่างน้อยที่สุด ถ้าเราเห็นความตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะป้องกัน ป้องปราม ไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก คงจะทำให้การตายของคนที่ตายไป ไม่สูญเปล่า ไม่ว่าจะหาตัวผู้กระทำได้หรือไม่ได้ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือภาครัฐ ต้องแสดงให้เห็นว่า หลักนิติรัฐ คืออะไร อะไรคือการทำผิด อะไรคือการไม่เคารพนิติรัฐ อะไร คือการฝ่าฝืนศีลธรรมที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมที่พูดกันมาตลอด หากว่าคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เราเชื่อมั่น แต่ว่าขั้นตอนกว่าจะเดินไปถึงจุดนั้น เป็นสิ่งที่เราก็รอคอยอยู่
เมื่อถามว่า ขณะที่ครอบครัวผู้สูญเสียยังเรียกร้องไม่สำเร็จ แต่อีกฝ่ายกลับต้องการนิรโทษกรรม นางนิชา กล่าวว่า ถ้ามองความปรองดอง สมานฉันท์ ไม่ใช่มีแค่การนิรโทษกรรม แต่มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ 1. การค้นหาความจริง 2. การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 3. การเยียวยา 4. การนิรโทษกรรม ไม่สามารถจะแตะเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วบอกว่านี่คือการปรองดอง ทุกอย่างต้องไปทั้ง 4 ข้อ แล้วควรต้องเรียงลำดับจาก 1 ไปสู่ 2 -3 และ 4 แต่วันนี้ต้องการคำอธิบาย ว่า ทำไมข้ามขั้นตอนการค้นหาความจริง แล้วกระโดดไปสู่นิรโทษกรรม จึงอยากจะฝากว่า ความปรองดอง สมานฉันท์ เป็นเรื่องของคนในชาติ และประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นอาจต้องใช้เวลาในการเยียวยา เวลามันเป็นโอสถที่ใช้ในการเยียวยา จะทำให้การพูดคุยกันในสังคม การเปิดใจความคิดเห็นรับฟังซึ่งกันละกัน ก็เป็นการเยียวยาไปในตัว หากรีบเร่งมาก น่าจะนำไปสู่ผลเสียมากกว่าผลดี ประชาชนน่าจะมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสมานฉันท์
" วันนี้ เรายังไม่รู้ว่า คำว่าปรองดองหมาย ถึงอะไร เราพูดกันจนเป็นวาทกรรม แต่ความปรองดอง คือ การยอมรับของคู่กรณีทุกฝ่าย บางทีเราก็สับสนว่า อะไรคือคำว่า ปรองดอง ผลลัพธ์ คืออะไร ต้องใช้เวลา เพราะเป็นเรื่องของความรู้สึกที่ขัดแย้งในหัวใจของเราให้คลี่คลายออกไปได้ และจากความรู้สึกของเหยื่อ หากความขัดแย้งมันก่อตัวขึ้นในใจ มันน่ากลัวว่าจะพัฒนาไปสู่ความก้าวร้าว รุนแรง และนำไปสู่การเผชิญหน้าในการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา การจัดการกับความรู้สึกของมนุษย์มันยาก" นางนิชา กล่าว และว่า ความปรองดองก็น่าจะเดินหน้าไปเรื่อยๆ แต่ต้องทำคู่กันไปทุกด้าน ทั้ง 4 ด้าน ควรเริ่มเดินตั้งแต่วันนี้ แต่เราให้น้ำหนักอะไรมากกว่ากัน สิ่งที่ทำมันตอบโจทย์หรือไม่ว่า ทำให้ความรู้สึกของคนในชาติดีขึ้น
** 2 ปี 10 เม.ย.ยังรอคอยความจริง
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะแกนนำกลุ่มเสื้อแดง กล่าวถึงวันครบรอบเหตุการณ์ 10 เม.ย. ปีที่ 2 ว่า ความจริงที่เกิดขึ้น และดำรงอยู่ตั้งแต่คืนนั้น คือ มีประชาชนและเจ้าหน้าที่บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้เสียชีวิตแทบทั้งหมดเสียชีวิตจากกระสนปืน และอาวุธสงคราม มีการใช้ปืนติดกล้อง หรือสไนเปอร์ ในการจัดการการชุมนุนของประชาชน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ และเชื่อว่าความจริงเหล่านี้เป็นข้อมูล รอหลักฐานที่จะนำมาบรรยายประกอบภาพให้สังคมได้เข้าใจว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง และคนที่ละเมิดกฎหมาย ต้องเข้าสู่กระบวนการุติธรรม สังคม ยังรอคอยที่จะเห็น และเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไปพร้อมกับกระบวนการปรองดอง
**“มาร์ค”แจงถูกกล่าวหาสั่งทำร้ายปชช.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กำล่าวถึงกรณีเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหาร กับกลุ่มเสื้อแดง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 ที่ตนเองถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้สังการ ว่า ขณะนี้เรื่องอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ที่สอบสวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งได้ตั้งคณะกรรรมการ และคณะกรรมการ คอป. ซึ่งเรื่องก็ได้เข้าสู่กระบวนยุติธรรมและเดินหน้า โดยกระบวนการตรวจสอบ ก็เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในสังคม
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ทำหน้าที่ประธาน ปคอป. นั้น นายยงยุทธ ควรทำหน้าที่ประสานนำข้อเสนอของ คอป.ไปเสนอให้กับรัฐบาล แต่จะต้องไม่มีการแปลงสาร ต้องให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปรองดองอย่างแท้จริง เพราะ คอป.ได้มีการศึกษา และเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาร่วมให้ข้อเสนอแนะ และมีการระบุแล้วว่าไม่ควรจะมีการดำเนินการเพื่อใครคนใดคนหนึ่งคนเดียว