ASTVผู้จัดการรายวัน-เผยต้นตอวลีฮิต “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” เด็ก ม.1 ร.ร.มัธยมฯ ในสมุทรสาคร แพร่คลิปผ่านยูทูป ขู่จะฟ้องครูประจำชั้น หลังโดนเพื่อนไล่ออกจากกลุ่มในเฟซบุ๊ก ด้าน “ครูอังคณา” ตัวจริง เผย เคลียร์เรื่องจบไปตั้งแต่เดือน ม.ค.แล้ว ชี้ แฟนเพจชื่อตนและนักเรียนคู่กรณี เป็นของปลอมทั้งสิ้น ขณะที่ “สุชาติ” ชี้เป็นหน้าที่ครู ผู้ปกครองต้องชี้แนะเด็ก และไม่จำเป็นต้องทบทวนการแจกแท็บเล็ต
ประโยคที่ว่า “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” กำลังกลายเป็นวลีฮิตในสังคมออนไลน์ และมีการนำไปพูดกันมากในขณะนี้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มาจากวิดีโอคลิปในเว็บไซต์ยูทูป ชื่อ “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” ที่มีการแชร์กันอย่างแพร่หลายทั้งทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์
เนื้อหาในวิดีโอคลิปดังกล่าว เป็นภาพเด็กชายคนหนึ่งพูดด้วยน้ำเสียงก้าวร้าว ว่า “หวัดดีเพื่อนๆ ชาวเฟซบุ๊กครับ คือ ผมได้อัดคลิปเข้าไปแล้ว มีกระแสคอมเมนต์เกิดขึ้นมาบอกว่าให้อัดคลิปที่สองฮะ จัดไปฮับ ไอ้บอลเอ๊ย คิดได้เนาะ ให้ไล่กูออกจากพวกเราชาว 1/9 อ่ะ ก็เพราะเรื่องกะโหลกกะลาแค่นี้เองเหรอ.... ถ้าไม่เอากูเป็นพวกเราชาว 1/9 เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” ซึ่งพบว่าวีดีโอคลิปชิ้นนี้ถูกแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังมีวีดีโออีกคลิปหนึ่ง ชื่อ “ก่อน เรื่อง นี้ ถึง ครู อังคณา แน่ v.1” โดยเด็กชายคนเดิม พูดว่า “หวัดดีเพื่อนๆ ชาวเฟซบุ๊กครับ คือ กูทนไม่ไหวกูขออัดคลิปแม่งเลย...” ต่อมามีการเผยแพร่วิดีโอคลิปชื่อ “ก่อน เรื่อง นี้ ถึง ครู อังคณา แน่ v.2” ข้อความว่า “หวัดดีเพื่อน ๆ ชาวเฟซบุ๊กครับ คือ ตอนนี้กูเข้ากลุ่มพวกเราชาว 1/9 ไม่ได้อีกแล้ว... ” ซึ่งถูกส่งต่อไม่แพ้กัน
ผู้สื่อข่าวตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า เป็นกรณีพิพาทระหว่าง ด.ช.พงศธร (ขอสงวนนามสกุล) หรือ โอ๊ต ซึ่งเป็นผู้อัดวิดีโอคลิป กับ ด.ช.ปวริศร์ (ขอสงวนนามสกุล) หรือ บอล นักเรียนชั้น ม.1/9 โรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ ต.ตลาดกระทุ่มแบน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร กรณีดังกล่าวเกิดจากการที่ ด.ช.ปวริศร์ ตัดสินใจบล็อกไม่ให้ ด.ช.พงศธร เข้ากลุ่ม ม.1/9 ด้วยเหตุผลบางประการ ด.ช.พงศธร ไม่พอใจจึงบันทึกภาพเป็นวิดีคลิปขู่ว่าจะนำเรื่องนี้ไปฟ้องครูอังคณานำเผยแพร่ทางยูทูป ส่วนอาจารย์ที่ถูกพาดพิงถึงในวิดีโอคลิป คาดว่า เป็น นางอังคณา แสบงบาล ครู คศ.1 ซึ่งเป็นครูประจำชั้น ม.1/9 ของโรงเรียนแห่งนี้
ต่อมา นางอังคณา แสบงบาล โรงเรียนกระทุ่มแบนวิเศษสมุทคุณ เปิดเผยกับทวิตเตอร์ @yoware สื่อมวลชนสำนักหนึ่ง ว่า เรื่องนี้เกิดประมาณเดือน ม.ค.2555 ซึ่งน้องบอล หัวหน้าห้อง ม.1/9 ได้ตั้งกลุ่มในเฟซบุ๊กของห้อง ม.1/9 และดึงตนไปอยู่ด้วยเพื่อใช้คุยกันในห้องเวลาอาจารย์สั่งงาน หรือหากมีสอบต้องเตรียมอะไรไปบ้าง โดยได้ตั้งกติกาไว้ว่า ห้ามใช้คำหยาบ ห้ามมีพฤติกรรมเชิงชู้สาว ส่วนเรื่องนี้ทราบว่าเกิดประมาณวันที่ 5-6 ม.ค.ซึ่งหัวหน้าห้องนั่งทำงานอยู่ และน้องโอ๊ต พิมพ์คอมเมนต์เป็นเครื่องหมายจุด (.) ซ้ำกันหลายครั้ง ทำให้งานของหัวหน้าห้องที่คุยงานกับเพื่อนที่เล่นเฟซบุ๊กด้วยกันเกิดค้างเลยบล็อกน้องโอ๊ตไม่ให้เข้ากลุ่มห้อง 1/9 ทำให้น้องโอ๊ตไม่พอใจ เมื่อตนทราบเรื่องก็ได้เรียกสมาชิกในห้องมาคุยกัน เคลียร์กันไปหมดแล้ว และหัวหน้าห้องได้ดึงน้องโอ๊ต กลับเข้ากลุ่มในเฟซบุ๊กเหมือนเดิม ซึ่งเรื่องนี้จบไปตั้งแต่เดือน ม.ค.แล้ว
นางอังคณา กล่าวถึงกระแส “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” มาพูดล้อเลียนกันเล่น ว่า การใช้เฟซบุ๊กมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งตนได้บอกถึงประโยชน์ในการใช้พร้อมกับกำชับนักเรียนทำอะไรให้เหมาะสมทั้งการลงรูป การพิมพ์อะไรสักอย่างหนึ่ง ชื่อหนูก็ขึ้น ชื่อห้องก็ขึ้น ชื่อโรงเรียนก็ขึ้น เพราะฉะนั้นจะทำะไรก็ควรใช้ให้เหมาะสม ซึ่งนานๆ ตนก็จะเข้าไปดูสักครั้งหนึ่ง เพราะว่าตนก็ไม่ได้เข้าบ่อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเช้านี้ตนได้คุยทั้งน้องบอล และสมาชิกในห้อง ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน ว่า มันเกิดอะไรขึ้น เนื่องจากเรื่องนี้จบไปตั้งแต่เดือน ม.ค.และน้องโอ๊ต ก็บอกว่าไม่ได้เอาวิดีโอคลิปไปลงและตอนนี้ทุกคนในห้องไม่ได้มีปัญหา ไม่ได้ทะเลาะกันเลยงงว่ามันเกิดอะไรขึ้น
นางอังคณา กล่าวถึงการสร้างเพจปลอมในอินเทอร์เน็ต ว่า อย่าคิดว่าเป็นครูอังคณา อย่าคิดว่าเป็นโอ๊ต อย่าคิดว่าเป็นบอล ยืนยันว่าไม่ใช่แน่นอน เพราะตนไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาก อยากจะฝากบอกเลยว่าเวลานี้ไม่ว่าเพจไม่ใช่ตัวจริงทั้ง 3 คน และวอนให้เอาเพจออก เพราะแม้จะเป็นความสนุกของเขา แต่เป็นความทุกข์ของครู และความทุกข์ของเด็กด้วย ซึ่งยังเป็นน้องๆ ม.1 คนที่มีความรู้มีความสามารถด้านนี้ก็น่าจะเอาไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์มากกว่า
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นการแสดงออกของเด็กที่เล่นกันในกลุ่มเพื่อน ซึ่งมั่นใจว่า แม้จะมีนโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับเด็ก ป.1 ทั่วประเทศ แต่เชื่อว่า เด็กก็จะไม่นำแท็บเล็ตที่ทางรัฐบาลแจกให้ไปทำเรื่องไร้สาระเพราะแท็บเล็ต คือ เครื่องมือการเรียนรู้ที่บรรจุเนื้อสาระที่มีคุณภาพ และการใช้แท็บเล็ตต้องอยู่ในการควบคุมของครูผู้สอน ดังนั้น อะไรที่เป็นเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดผลด้านลบต่อเด็ก ครูจะต้องดูแลให้เกิดความเหมาะสม ขณะเดียวกัน ต้องมีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และตัวครูเองก็ต้องรู้เท่าทันเด็กด้วยเช่นกัน เพื่อควบคุมพฤติกรรมการใช้ไอทีอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ด้าน ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนและผู้ปกครองที่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องเปลี่ยนเป้าหมายการแจกแท็บเล็ต เพราะเป้าหมายของประเทศในปัจจุบัน คือ โลกแห่งเทคโนโลยีแทบทั้งสิ้น เหมือนโลกที่มีการเปลี่ยนไปตลอดเวลาจากสมัยก่อนเราเคยใช้กระดานชนวน ต่อจากนั้นมาเรื่อยๆ เราก็เปลี่ยนมาใช้กระดาษ ซึ่งเด็กจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีแต่อยู่ที่การดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครองมากกว่า
ประโยคที่ว่า “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” กำลังกลายเป็นวลีฮิตในสังคมออนไลน์ และมีการนำไปพูดกันมากในขณะนี้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มาจากวิดีโอคลิปในเว็บไซต์ยูทูป ชื่อ “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” ที่มีการแชร์กันอย่างแพร่หลายทั้งทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์
เนื้อหาในวิดีโอคลิปดังกล่าว เป็นภาพเด็กชายคนหนึ่งพูดด้วยน้ำเสียงก้าวร้าว ว่า “หวัดดีเพื่อนๆ ชาวเฟซบุ๊กครับ คือ ผมได้อัดคลิปเข้าไปแล้ว มีกระแสคอมเมนต์เกิดขึ้นมาบอกว่าให้อัดคลิปที่สองฮะ จัดไปฮับ ไอ้บอลเอ๊ย คิดได้เนาะ ให้ไล่กูออกจากพวกเราชาว 1/9 อ่ะ ก็เพราะเรื่องกะโหลกกะลาแค่นี้เองเหรอ.... ถ้าไม่เอากูเป็นพวกเราชาว 1/9 เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” ซึ่งพบว่าวีดีโอคลิปชิ้นนี้ถูกแชร์ในสื่อสังคมออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังมีวีดีโออีกคลิปหนึ่ง ชื่อ “ก่อน เรื่อง นี้ ถึง ครู อังคณา แน่ v.1” โดยเด็กชายคนเดิม พูดว่า “หวัดดีเพื่อนๆ ชาวเฟซบุ๊กครับ คือ กูทนไม่ไหวกูขออัดคลิปแม่งเลย...” ต่อมามีการเผยแพร่วิดีโอคลิปชื่อ “ก่อน เรื่อง นี้ ถึง ครู อังคณา แน่ v.2” ข้อความว่า “หวัดดีเพื่อน ๆ ชาวเฟซบุ๊กครับ คือ ตอนนี้กูเข้ากลุ่มพวกเราชาว 1/9 ไม่ได้อีกแล้ว... ” ซึ่งถูกส่งต่อไม่แพ้กัน
ผู้สื่อข่าวตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า เป็นกรณีพิพาทระหว่าง ด.ช.พงศธร (ขอสงวนนามสกุล) หรือ โอ๊ต ซึ่งเป็นผู้อัดวิดีโอคลิป กับ ด.ช.ปวริศร์ (ขอสงวนนามสกุล) หรือ บอล นักเรียนชั้น ม.1/9 โรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ ต.ตลาดกระทุ่มแบน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร กรณีดังกล่าวเกิดจากการที่ ด.ช.ปวริศร์ ตัดสินใจบล็อกไม่ให้ ด.ช.พงศธร เข้ากลุ่ม ม.1/9 ด้วยเหตุผลบางประการ ด.ช.พงศธร ไม่พอใจจึงบันทึกภาพเป็นวิดีคลิปขู่ว่าจะนำเรื่องนี้ไปฟ้องครูอังคณานำเผยแพร่ทางยูทูป ส่วนอาจารย์ที่ถูกพาดพิงถึงในวิดีโอคลิป คาดว่า เป็น นางอังคณา แสบงบาล ครู คศ.1 ซึ่งเป็นครูประจำชั้น ม.1/9 ของโรงเรียนแห่งนี้
ต่อมา นางอังคณา แสบงบาล โรงเรียนกระทุ่มแบนวิเศษสมุทคุณ เปิดเผยกับทวิตเตอร์ @yoware สื่อมวลชนสำนักหนึ่ง ว่า เรื่องนี้เกิดประมาณเดือน ม.ค.2555 ซึ่งน้องบอล หัวหน้าห้อง ม.1/9 ได้ตั้งกลุ่มในเฟซบุ๊กของห้อง ม.1/9 และดึงตนไปอยู่ด้วยเพื่อใช้คุยกันในห้องเวลาอาจารย์สั่งงาน หรือหากมีสอบต้องเตรียมอะไรไปบ้าง โดยได้ตั้งกติกาไว้ว่า ห้ามใช้คำหยาบ ห้ามมีพฤติกรรมเชิงชู้สาว ส่วนเรื่องนี้ทราบว่าเกิดประมาณวันที่ 5-6 ม.ค.ซึ่งหัวหน้าห้องนั่งทำงานอยู่ และน้องโอ๊ต พิมพ์คอมเมนต์เป็นเครื่องหมายจุด (.) ซ้ำกันหลายครั้ง ทำให้งานของหัวหน้าห้องที่คุยงานกับเพื่อนที่เล่นเฟซบุ๊กด้วยกันเกิดค้างเลยบล็อกน้องโอ๊ตไม่ให้เข้ากลุ่มห้อง 1/9 ทำให้น้องโอ๊ตไม่พอใจ เมื่อตนทราบเรื่องก็ได้เรียกสมาชิกในห้องมาคุยกัน เคลียร์กันไปหมดแล้ว และหัวหน้าห้องได้ดึงน้องโอ๊ต กลับเข้ากลุ่มในเฟซบุ๊กเหมือนเดิม ซึ่งเรื่องนี้จบไปตั้งแต่เดือน ม.ค.แล้ว
นางอังคณา กล่าวถึงกระแส “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” มาพูดล้อเลียนกันเล่น ว่า การใช้เฟซบุ๊กมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งตนได้บอกถึงประโยชน์ในการใช้พร้อมกับกำชับนักเรียนทำอะไรให้เหมาะสมทั้งการลงรูป การพิมพ์อะไรสักอย่างหนึ่ง ชื่อหนูก็ขึ้น ชื่อห้องก็ขึ้น ชื่อโรงเรียนก็ขึ้น เพราะฉะนั้นจะทำะไรก็ควรใช้ให้เหมาะสม ซึ่งนานๆ ตนก็จะเข้าไปดูสักครั้งหนึ่ง เพราะว่าตนก็ไม่ได้เข้าบ่อย อย่างไรก็ตาม เมื่อเช้านี้ตนได้คุยทั้งน้องบอล และสมาชิกในห้อง ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน ว่า มันเกิดอะไรขึ้น เนื่องจากเรื่องนี้จบไปตั้งแต่เดือน ม.ค.และน้องโอ๊ต ก็บอกว่าไม่ได้เอาวิดีโอคลิปไปลงและตอนนี้ทุกคนในห้องไม่ได้มีปัญหา ไม่ได้ทะเลาะกันเลยงงว่ามันเกิดอะไรขึ้น
นางอังคณา กล่าวถึงการสร้างเพจปลอมในอินเทอร์เน็ต ว่า อย่าคิดว่าเป็นครูอังคณา อย่าคิดว่าเป็นโอ๊ต อย่าคิดว่าเป็นบอล ยืนยันว่าไม่ใช่แน่นอน เพราะตนไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาก อยากจะฝากบอกเลยว่าเวลานี้ไม่ว่าเพจไม่ใช่ตัวจริงทั้ง 3 คน และวอนให้เอาเพจออก เพราะแม้จะเป็นความสนุกของเขา แต่เป็นความทุกข์ของครู และความทุกข์ของเด็กด้วย ซึ่งยังเป็นน้องๆ ม.1 คนที่มีความรู้มีความสามารถด้านนี้ก็น่าจะเอาไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์มากกว่า
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นการแสดงออกของเด็กที่เล่นกันในกลุ่มเพื่อน ซึ่งมั่นใจว่า แม้จะมีนโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับเด็ก ป.1 ทั่วประเทศ แต่เชื่อว่า เด็กก็จะไม่นำแท็บเล็ตที่ทางรัฐบาลแจกให้ไปทำเรื่องไร้สาระเพราะแท็บเล็ต คือ เครื่องมือการเรียนรู้ที่บรรจุเนื้อสาระที่มีคุณภาพ และการใช้แท็บเล็ตต้องอยู่ในการควบคุมของครูผู้สอน ดังนั้น อะไรที่เป็นเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดผลด้านลบต่อเด็ก ครูจะต้องดูแลให้เกิดความเหมาะสม ขณะเดียวกัน ต้องมีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และตัวครูเองก็ต้องรู้เท่าทันเด็กด้วยเช่นกัน เพื่อควบคุมพฤติกรรมการใช้ไอทีอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ด้าน ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนและผู้ปกครองที่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องเปลี่ยนเป้าหมายการแจกแท็บเล็ต เพราะเป้าหมายของประเทศในปัจจุบัน คือ โลกแห่งเทคโนโลยีแทบทั้งสิ้น เหมือนโลกที่มีการเปลี่ยนไปตลอดเวลาจากสมัยก่อนเราเคยใช้กระดานชนวน ต่อจากนั้นมาเรื่อยๆ เราก็เปลี่ยนมาใช้กระดาษ ซึ่งเด็กจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีแต่อยู่ที่การดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครองมากกว่า