“กลุ่มเซ็นทรัล” เคลื่อนทัพสู่อินเตอร์ เปิดโมเดลรุกต่างประเทศ ซื้อกิจการและหาพันธมิตรท้องถิ่น พร้อมใช้แบรนด์ท้องถิ่นเพราะติดตลาดแล้ว ปักธงศึกษาตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดอีก 2 ปีน่าจะสรุปได้ไม่ต่ำกว่า 1 ดีล เป้าอีก 5 ปีสัดส่วนรายได้ต่างประเทศเป็น 15%
นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร-การเงิน บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เปิดเผยว่า จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 ซึ่งประเทศไทยก็เข้าร่วมด้วย ซึ่งบริษัทจะตั้งรับอย่างเดียวไม่ได้ต้องไปบุกตลาดต่างประเทศด้วย รวมทั้งตลาดค้าปลีกในไทยที่เริ่มอิ่มตัวเพราะพื้นที่ที่มีศักยภาพขนาดใหญ่เริ่มหาได้น้อยลง เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้กลุ่มเซ็นทรัลจะขยายการลงทุนต่างประเทศมากขึ้น เบื้องต้นให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนรูปแบบการลงทุนค้าปลีกในต่างประเทศ บริษัทฯจะเน้นการซื้อกิจการเป็นหลัก และการหาพันธมิตรของแต่ละประเทศเข้ามาร่วมธุรกิจ เพราะจะมีมูลค่าการลงทุนน้อยกว่าสร้างใหม่ ซึ่งหากเป็นโครงการขนาดใหญ่คาดว่าจะใช้งบลงทุนในการซื้อกิจการไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ขณะที่โครงการเล็กประมาณ 5,000 ล้านบาท
ในเร็วๆนี้อาจจะยังไม่มีการสรุปดีลการเจรจา เพราะส่วนใหญ่การเจรจาซื้อกิจการในแต่ละครั้งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3-4 ปี แต่ในอีก 2 ปีนับจากนี้น่าจะสรุปดีลซื้อกิจการได้ไม่ต่ำกว่า 1 ดีล โดยตั้งเป้าหมายอีก 5 ปีจากนี้ จะมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 15%
ภายหลังซื้อกิจการในแต่ละประเทศแล้ว คงจะใช้ชื่อเดิมของห้างค้าปลีกนั้นต่อไป หากห้างค้าปลีกแบรนด์นั้นติดตลาดอยู่แล้ว การใช้แบรนด์เก่าน่าจะดีกว่าการนำแบรนด์ใหม่ในเครืออย่างเซ็นทรัลหรือโรบินสันเข้าไป เพราะคนในประเทศเหล่านั้นยังไม่รู้จัก
“ความเป็นไปได้ในการเข้าไปขยายธุรกิจค้าปลีกในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 5 ปี จึงจะได้ข้อสรุป ซึ่งบริษัทได้เริ่มเข้าไปศึกษาตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม มาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ส่วนประเทศพม่า ซึ่งบริษัทก็มีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนแต่ต้องขอศึกษาตลาดและความชัดเจนของกฎหมายก่อน แม้ว่าขณะนี้จะมีกลุ่มนักธุรกิจต่างประเทศสนใจเข้าไปลงทุนในประเทศพม่าเป็นจำนวนมาก เพราะพม่าเพิ่งเปิดประเทศ “
นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร-การเงิน บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เปิดเผยว่า จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558 ซึ่งประเทศไทยก็เข้าร่วมด้วย ซึ่งบริษัทจะตั้งรับอย่างเดียวไม่ได้ต้องไปบุกตลาดต่างประเทศด้วย รวมทั้งตลาดค้าปลีกในไทยที่เริ่มอิ่มตัวเพราะพื้นที่ที่มีศักยภาพขนาดใหญ่เริ่มหาได้น้อยลง เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้กลุ่มเซ็นทรัลจะขยายการลงทุนต่างประเทศมากขึ้น เบื้องต้นให้ความสำคัญกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนรูปแบบการลงทุนค้าปลีกในต่างประเทศ บริษัทฯจะเน้นการซื้อกิจการเป็นหลัก และการหาพันธมิตรของแต่ละประเทศเข้ามาร่วมธุรกิจ เพราะจะมีมูลค่าการลงทุนน้อยกว่าสร้างใหม่ ซึ่งหากเป็นโครงการขนาดใหญ่คาดว่าจะใช้งบลงทุนในการซื้อกิจการไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ขณะที่โครงการเล็กประมาณ 5,000 ล้านบาท
ในเร็วๆนี้อาจจะยังไม่มีการสรุปดีลการเจรจา เพราะส่วนใหญ่การเจรจาซื้อกิจการในแต่ละครั้งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3-4 ปี แต่ในอีก 2 ปีนับจากนี้น่าจะสรุปดีลซื้อกิจการได้ไม่ต่ำกว่า 1 ดีล โดยตั้งเป้าหมายอีก 5 ปีจากนี้ จะมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 15%
ภายหลังซื้อกิจการในแต่ละประเทศแล้ว คงจะใช้ชื่อเดิมของห้างค้าปลีกนั้นต่อไป หากห้างค้าปลีกแบรนด์นั้นติดตลาดอยู่แล้ว การใช้แบรนด์เก่าน่าจะดีกว่าการนำแบรนด์ใหม่ในเครืออย่างเซ็นทรัลหรือโรบินสันเข้าไป เพราะคนในประเทศเหล่านั้นยังไม่รู้จัก
“ความเป็นไปได้ในการเข้าไปขยายธุรกิจค้าปลีกในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 5 ปี จึงจะได้ข้อสรุป ซึ่งบริษัทได้เริ่มเข้าไปศึกษาตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม มาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ส่วนประเทศพม่า ซึ่งบริษัทก็มีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนแต่ต้องขอศึกษาตลาดและความชัดเจนของกฎหมายก่อน แม้ว่าขณะนี้จะมีกลุ่มนักธุรกิจต่างประเทศสนใจเข้าไปลงทุนในประเทศพม่าเป็นจำนวนมาก เพราะพม่าเพิ่งเปิดประเทศ “